บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ขับเคลื่อนโครงการความยั่งยืนสู่ชุมชน

ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN  ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน และขนส่งแบบครบวงจร มอบเงินบริจาคทั้งสิ้น จำนวน 200,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลสามโคก, โรงพยาบาลปทุมธานี, มูลนิธิร่วมกตัญญู ศูนย์กู้ภัยสามโคก จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลปากเกร็ด 2 จังหวัดนนทบุรี เมื่อเร็วๆนี้

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยกโมเดลความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และ พลังงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชน ควบคู่กับการนำแนวทาง BCG Economy ประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา ส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริง

นายจารุบุตร เกิดอุดม รองกรรมการผู้จัดการ สำนักความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (SHE&En) ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจและมีส่วนร่วมดูแลสังคมและชุมชนในทุกมิติ รวมไปถึงให้ความสำคัญกับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยการนำแนวทางการปฏิบัติจริงในโรงงานและเกิดผลสำเร็จ ถ่ายทอดความรู้สู่สถานศึกษาและเยาวชน อาทิ การนำความรู้ในเรื่องของความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชนในกิจกรรม "CPF SHE&En Active Learning" ที่มีการดำเนินการในโรงเรียนใกล้สถานประกอบการ เนื่องจากบริษัทฯคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กและบุคลากรทางการศึกษา เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ โดยล่าสุด มีการส่งมอบโครงการให้โรงเรียนที่มีการดำเนินโครงการได้สำเร็จ 100% ได้แก่ โรงเรียนบ้านมะขามเฒ่า (เปรมประชารัฐวิทยา) อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้สถานประกอบการ และเป็นโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ภายใต้การดูแลของซีพีเอฟ

"ซีพีเอฟ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความรู้ไปยังเยาวชนในโรงเรียนต่างๆ ผ่านกิจกรรมด้านความปลอดภัยฯ เพื่อร่วมพัฒนาโรงเรียนเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัยต่อเด็กๆ และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการให้ความรู้กับเยาวชนในการรับมือกับอันตรายใกล้ตัว ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ ทั้งการปฐมพยาบาลเพื่อการฟื้นคืนชีพ หรือ CPR การอบรมดับเพลิงขั้นต้น ซึ่งดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ซี่งมีการดำเนินการกับนักเรียนและบุคลากรทั้งโรงเรียนรวม 150 คน นอกจากนี้ ทีมงานด้าน SHE&En ของซีพีเอฟ ยังได้ปรับปรุงระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหมั และสายต่อลงดิน เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูด เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนมีความปลอดภัยมากขึ้นทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน ปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่ม ทำให้มีน้ำดื่มที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ควบคู่กับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนำแนวทาง BCG มาใช้ในการการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน ต่อยอดสู่ครอบครัว ทั้งฝึกอบรมแยกขยะ จัดให้มีถังแยกประเภท การนำขยะมาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่า เป็นต้น " นายจารุบุตร กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนทีได้รับการถ่ายทอดความรู้จากซีพีเอฟ ด้านความปลอดภัยและแนวทาง BCG ไปใช้ จนเกิดผลสำเร็จ อาทิ โครงการ SAFETY SCHOOL ของสายธุรกิจอาหารสัตว์บก โดย โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้รับรางวัลโครงการซีพีเพื่อความยั่งยืน ประจำปี 2565 จากการเดินหน้าให้ความรู้ด้าน SHE&En แก่โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำน้อย อย่างต่อเนื่องมานานกว่า 5 ปี จนกลายเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ด้วยการเรียนรู้ความปลอดภัย ทั้งการดับเพลิงขั้นต้นและอพยพหนีไฟ กิจกรรมขับขี่ปลอดภัยมีวินัยจราจร การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เรียนรู้พิษภัยของยาเสพติด ถ่ายทอดความรู้กิจกรรม 5 ส. การจัดการขยะ และการอนุรักษ์พลังงาน ทำให้เยาวชนรู้จักจุดเสี่ยงและสามารถค้นหาจุดเสี่ยง ที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุและอัคคีภัยในโรงเรียน ส่งผลให้ไม่มีการบาดเจ็บและสูญเสียทรัพย์สิน หรืออุบัติเหตุเป็นศูนย์

จากความรู้เรื่องความเสี่ยงที่นักเรียนได้รับจากทีมงานของซีพีเอฟและวิทยากรจากภาครัฐและภาคเอกชน เป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีแก่เยาวชนในการสร้างสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้ปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา และโรงเรียนยังผ่านการรับรองสถานศึกษาปลอดภัยระดับประเทศ4ปีต่อเนื่อง พร้อมพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยฯ ระดับประเทศได้อย่างน่าภูมิใจ และบริษัทได้ต่อยอดการจัดอบรมแก่โรงเรียนท่าจีนอุดมวิทยา รวมทั้งมีแนวทางขยายโครงการนำหลักสูตรและระบบการบริหารจัดการ ไปขยายผลในโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงและต่างจังหวัด โดยปี 2566 จะดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรด้วยการใช้สื่อ VDO ในการเรียนการสอน ให้โรงเรียนมีหลักสูตรด้านความปลอดภัยเป็นคู่มือการศึกษา พร้อมมอบหลักสูตรให้ สพฐ. หรือกระทรวงศึกษาธิการต่อไป

นอกจากนี้ โครงการ SAFETY SCHOOL สร้างความปลอดภัยให้กับโรงเรียนในชุมชน โดย ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งปะทิว จ. ชุมพร เป็นอีกหนึ่งปัจจัยขับเคลื่อนให้ศูนย์ฯ ได้รับรางวัลสถานประกอบการต้นแบบดีเด่นประจำปี 2565 เป็นปีที่15 เข้าร่วมให้ความรู้และสนับสนุนกิจกรรมวันชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ด้วยกิจกรรมอบรมความปลอดภัยแก่นักเรียนและครู โรงเรียนวัดดอนทรายแก้ว อ.เมือง จ.ชุมพร และโรงเรียนต่างๆ ที่อยู่ใน อ.ปะทิว จ.ชุมพร เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านความปลอดภัยฯสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในกรณีพบเห็นหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้นและอพยพหนีไฟ อบรมความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าและการฟื้นคืนชีพพื้นฐาน (CPR) โดยพนักงานซีพีเอฟและหน่วยงานราชการ ควบคู่กับกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การจัดการขยะ และการเก็บขยะชายหาด./

 บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จํากัด ผู้นำตลาดอาหารเสริมสุขภาพในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เดินหน้าสานต่อโครงการ “แบรนด์...พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2566” (BRAND’S Young Blood 2023) ต่อเนื่องปีที่ 23 ภายใต้แนวคิด “Give Blood…Give Lives” ชวนคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ ร่วมเป็น “ผู้ให้” ด้วยการเริ่มต้นบริจาคโลหิตสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยบริจาคโลหิต

พร้อมรณรงค์กระตุ้นให้ผู้ที่เคยบริจาคแล้วหันมาบริจาคโลหิตเป็นประจำทุก 3 เดือน รวมถึงจัดการประกวดแต่งเพลงสั้น และประกวดร้อง เต้น และลิปซิงค์ “TikTok Challenge” ชิงโล่พระราชทาน ทุนการศึกษา และรางวัลต่างๆ พร้อมจัดกิจกรรมโรดโชว์ และออกหน่วยรับบริจาคโลหิตไปยังสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งเป้าโลหิตที่ได้รับบริจาคในโครงการฯ จำนวน 90,000 ยูนิตทั่วประเทศ

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “ภารกิจหลักในปี 2566 ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มุ่งมั่นจัดหาโลหิตให้มีปริมาณเพียงพอ และมีคุณภาพสูงสุด โดยตั้งเป้าในการจัดหาโลหิตให้ได้ปีละประมาณ 2,500,000 ยูนิต เพื่อรองรับกับปริมาณการเบิกใช้โลหิตที่เพิ่มขึ้น 8-10% ทุกปี ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่า การบริจาคโลหิตยังไม่สม่ำเสมอ และมีบางช่วงเวลาที่โลหิตขาดแคลน เช่น ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีการบริจาคโลหิตลดน้อยลงมาก ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายและภาคีร่วมในการรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ชวนให้มีการบริจาคโลหิต เพื่อกระตุ้นให้มีผู้บริจาคโลหิตเพิ่มขึ้น และเพื่อจัดหาโลหิตคุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในแต่ละปี รวมถึงจำเป็นต้องมีโลหิตสำรอง เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ต้องการใช้โลหิตอย่างเร่งด่วนอย่างน้อย 2-5 วัน”

“ในส่วนกลุ่มเป้าหมายหลักที่เป็นผู้บริจาคโลหิตที่มีคุณภาพ คือ กลุ่มนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีช่วงระยะเวลาการบริจาคโลหิตได้ยาวนานและยั่งยืนในอนาคต ซึ่งโครงการฯ มุ่งหวังให้เยาวชนมีความตระหนักถึงความสำคัญและรับรู้ถึงการบริจาคโลหิตว่า เป็นเรื่องที่จำเป็นและเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน รวมถึงสร้างจิตสำนึกการเป็น “ผู้ให้” แก่เยาวชนที่มีสุขภาพดีที่ยังไม่เคยบริจาคโลหิตได้เริ่มต้นเป็นผู้บริจาคโลหิตรายใหม่ รวมถึงรณรงค์กระตุ้นให้กลุ่มดังกล่าวบริจาคโลหิตเป็นประจำทุก 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาเป็นโลหิตสำรองคงคลังไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ตลอดจนยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนรับผิดชอบสังคมร่วมกัน ด้วยการรณรงค์การบริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ โดยในปีนี้ตั้งเป้าโลหิตที่ได้รับบริจาค จำนวน 90,000 ยูนิตทั่วประเทศ”

นางมธุวลี สถิตยุทธการ ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจและองค์กรสัมพันธ์ ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย และอินโดไชน่า กล่าวว่า “บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินงานภายใต้ค่านิยม “Giving back to society” ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อตอบแทนสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคมไทย บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการ “แบรนด์...พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต” (BRAND’S Young Blood) ร่วมกับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย และดำเนินโครงการฯ มาอย่างต่อเนื่อง สำหรับการดำเนินโครงการฯ ในปีที่ผ่านมาช่วงระหว่างปี 2563-2564 เราได้รับโลหิตจากการบริจาคภายใต้กิจกรรมรณรงค์ของโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 68,701 ยูนิต สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังแห่งการให้ของบรรดานิสิต นักศึกษา และเยาวชน ที่มีจิตอาสาอย่างแท้จริง นอกจากนี้เรายังได้มีการจัดกิจกรรมการประกวด BRAND’S Young Blood Game Creator ในหัวข้อ BRAND’S Young Blood Hero การสร้างสรรค์ผลงานเกมจากคอมพิวเตอร์ เสนอแนวคิด พร้อมภาพและเสียงประกอบสื่อสารการรณรงค์บริจาคโลหิต สร้างจิตสำนึก และความภูมิใจของการเป็น “ผู้ให้” โดยทีมของน้องๆ เยาวชนที่ชนะเลิศการประกวดผลงานเกมจากคอมพิวเตอร์ ได้แก่ทีม I am alone จากมหาวิทยาลัยรังสิต

สำหรับโครงการ “แบรนด์...พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต 2566” (BRAND'S Young Blood 2023) ปีที่ 23 โครงการฯ ได้เตรียมออกหน่วยรับบริจาคโลหิตไปยังสถานศึกษาต่างๆ และจัดกิจกรรมโรดโชว์ เพื่อสร้างความรับรู้โครงการฯ ทั่วประเทศ พร้อมเดินหน้าสานต่อกิจกรรมเพื่อให้กลุ่มนิสิตนักศึกษาได้ร่วมแสดงพลัง และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฯ โดยมีกิจกรรมหลัก ดังนี้

1. การประกวดแต่งเพลงสั้น ชวนบริจาคโลหิต ในหัวข้อ “Give Blood…Give Lives” เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 17-22 ปี ที่มีพรสวรรค์ ความรู้ ความสามารถด้านการแต่งเนื้อร้อง หรือทำนองเพลง ได้แสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านทางบทเพลงเชิญชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่มาร่วมบริจาคโลหิต และรวมถึงสร้างจิตสำนึก และความภูมิใจของการเป็น “ผู้ให้” โดยผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทานจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเกียรติบัตร และทุนการศึกษาจำนวน 30,000 บาท และผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดดื่มฟรีตลอดปี สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมสามารถส่งผลงานด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ได้ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม - 31 มีนาคม 2566 โดยโครงการฯ จะประกาศผลผู้ที่รับรางวัลในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566

2. การประกวดเต้น “TikTok Challenge” จากเพลงสั้น “Give Blood…Give Lives” ให้นิสิตนักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 17-22 ปี ได้แสดงความสามารถด้วยลีลา ท่าทาง และความคิดสร้างสรรค์ สไตล์ที่เป็นตัวเอง เพียงแค่ร้อง เต้น หรือลิปซิงค์เพลง Give Blood…Give Lives ลงในแพลตฟอร์ม TikTok เพื่อเป็นสื่อชวนเชิญ และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มาร่วมบริจาคโลหิต โดยผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศจะได้รับเกียรติบัตร พร้อมทุนการศึกษาจำนวน 10,000 บาท และผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดดื่มฟรีตลอดปี สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมสามารถกรอกใบสมัครเข้าร่วมการประกวดได้ที่ email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. เริ่มโพสต์ผลงานใน TikTok ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน - 30 กันยายน 2566 โดยโครงการฯ จะประกาศผลผู้ที่ได้รับรางวัล วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566

นายภูศิลป์ วารินรักษ์ หรือเต๋า ศิลปินและนักร้องชื่อดังที่ร่วมรณรงค์โครงการฯ ในปีนี้ กล่าวว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากครับที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ‘แบรนด์...พลังเลือดใหม่ ต่อพลังชีวิต’ อยากชวนคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาร่วมกันทำความดี ด้วยการบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และสำหรับน้องๆ ที่มีความสามารถด้านงานเพลง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลง หรือการร้องและเต้น ผมก็อยากเชิญชวนน้องๆ มาร่วมส่งผลงานประกวดแต่งเพลงสั้น และประกวดร้อง เต้น หรือลิปซิงค์ใน ‘TikTok Challenge’ เพราะนอกจากจะเป็นเวทีให้น้องๆ ได้ฝึกความสามารถให้เก่งยิ่งขึ้นแล้ว ผลงานของเรายังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆ หันมาสนใจการบริจาคโลหิตเพื่อเป็นคลังสำรองในยามฉุกเฉินได้อีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่นี้ ผมอยากส่งมอบความห่วงใย และชวนน้องๆ ร่วมกันบริจาคโลหิตได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย หรือหน่วยรับบริจาคโลหิตประจำที่ 7 แห่ง และภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่งทั่วประเทศครับ”

ทั้งนี้ นิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการฯ บริจาคโลหิต และต้องการร่วมกิจกรรมต่างๆ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.blooddonationthai.com และ www.brandsworld.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายจัดหาผู้บริจาคโลหิตและสื่อสารองค์กร โทร. 02-255-4567, 02-263-9600 ต่อ 1743

ภายใต้คำขวัญ “การศึกษาคือสุดยอดของขวัญแห่งชีวิต” หรือ “The Gift of Education Lasts a Lifetime” สิ่งดี ๆ เพื่อเยาวชนหญิงไทยที่ยังขาดโอกาสจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจากสมาคมสตรีอเมริกันแห่งประเทศไทย (American Women's Club of Thailand) ที่เป็นพันธมิตรกับมูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) ในการมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ยากจนต่อเนื่องติดต่อกันมาทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2555

ล่าสุด สมาคมสตรีอเมริกันแห่งประเทศไทยโดยนางเจนนิเฟอร์ สปาร์คส (แถวยืน-ที่ 4 จากซ้าย) ประธานคณะกรรมการด้านทุนการศึกษา และมูลนิธิ EDF โดยนางสาวศิริลักษณ์ อันตรเสน (แถวยืน-ที่ 3 จากขวา) ผู้จัดการโครงการทุนการศึกษา และนางสาวผกามาศ ทู้ไพเราะ (แถวยืน-ที่ 2 จากซ้าย) เจ้าหน้าที่อาสาสมัคร ถ่ายภาพร่วมกับอาสาสมัครสมาชิกสมาคมสตรีอเมริกันแห่งประเทศไทย คณะครู และตัวแทนนักเรียนในโอกาสจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ (English camp) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เข้าร่วมได้ฝึกฝนด้วยการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษจากหลากหลายกิจกรรมที่จัดขึ้นกับเจ้าของภาษาโดยตรง ณ โรงเรียนแตลศิริวิทยา จังหวัดสุรินทร์ สร้างความสนุกสนานแก่นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก

และในโอกาสไปจัดกิจกรรมครั้งนี้ สมาคมสตรีอเมริกันแห่งประเทศไทยและมูลนิธิ EDF ยังได้ร่วมพูดคุยกับนักเรียนทุนในการอุปการะของสมาคม ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน โอกาสการศึกษาต่อและทำงานในอนาคต รวมทั้งไปเยี่ยมบ้านนักเรียนทุนและครอบครัวอีกด้วย

สำหรับมูลนิธิ EDF เป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 255 ของประเทศไทยที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 และเริ่มมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนที่ขาดแคลนมาตั้งแต่ พ.ศ.2531 รวมถึงดำเนินโครงการซีเอสอาร์ พัฒนาโรงเรียนและชุมชนให้องค์กรที่สนใจ

หน่วยงานหรือผู้สนใจต้องการสนับสนุนทุนการศึกษาหรือทำกิจกรรมซีเอสอาร์ในโรงเรียนและชุมชนร่วมกับมูลนิธิ EDF สามารถติดต่อมูลนิธิได้ที่โทรศัพท์ 02 579 9209-11 (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น.) ทาง LINE @edfthai อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือคลิกเว็บไซต์ www.edfthai.org ทุกการบริจาคหรือทำกิจกรรมผ่านมูลนิธิ EDF สามารถนำใบเสร็จรับเงินไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้ตามที่กฎหมายกำหนด

ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีก่อตั้งขึ้นในฐานะโรงเรียนแพทย์ ควบคู่ไปกับการเปิดให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนจากทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้ป่วยนอกที่เข้าใช้บริการซึ่งมีจำนวนกว่า 2.4 ล้านครั้งต่อปี ด้วยโครงสร้างอาคารหลักที่มีอายุ 58 ปี นี้มีข้อจำกัดไม่เอื้อต่อการปรับปรุงหรือพัฒนางานระบบต่าง ๆ ที่รองรับเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีพื้นที่จำกัดในการขยับขยายพื้นที่เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยในสถานการณ์ที่ ไม่แน่นอนเช่นในปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและมูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมสานต่อภารกิจแห่งการให้ผ่านโครงการก่อสร้างอาคาร โรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับการรักษาผู้ป่วย พร้อมยกระดับวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับสากล

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “เป็นระยะเวลา 58 ปี อาคารหลักของโรงพยาบาลรามาธิบดีแห่งนี้เปิดให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนทั่วประเทศ จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่องค์ความรู้และนวัตกรรมทางการแพทย์พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดและเพิ่มศักยภาพในการรักษาผู้ป่วย รวมถึงการเตรียมความพร้อมรองรับโรคที่อุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นเหตุผลให้เพิ่มพื้นที่โรงพยาบาล ให้มีความพร้อมด้านการรองรับเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอต่อความต้องการ โครงการก่อสร้างโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี มิเพียงแต่เป็นสถานที่ให้การบริการทางการแพทย์เท่านั้น เนื่องจากโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นห้องเรียนและแหล่งค้นคว้าวิจัยที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะแพทย์ในระดับหลังปริญญา (Post-graduation)

เพื่อสร้างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน และเป็นย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID) ศูนย์รวมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากการผนึกกำลังกับเครือข่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND CENTER) พื้นที่ Co- Working Space และ Clinical Research Center เป็นต้น เพื่อ ร่วมพัฒนาต่อยอดในด้านสาธารณสุขของประเทศให้มีศักยภาพในระดับสากล สามารถแข่งขันได้ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)”

อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีแห่งใหม่นี้ จะมีความสูง 25 ชั้นและมีชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของด้านหน้าองค์การเภสัชกรรม มีขนาด 15 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา และมีพื้นที่ใช้สอยกว่า 278,000 ตารางเมตร ซึ่งมากกว่าพื้นที่ใช้สอยของอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์เกือบ 3 เท่า อาคารโรงพยาบาลรามาธิบดีแห่งใหม่นี้สามารถรองรับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างเต็มศักยภาพเทียบเท่าอาคารเดิม แต่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษา โดยเฉพาะโรคที่มีความซับซ้อนซึ่งถือเป็นความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อเป็นต้นแบบทางการรักษาให้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ต่อไป

ศ.ดร.พญ.อติพร อิงค์สาธิต รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “ในด้านศักยภาพของการบริการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นนั้นผ่านการออกแบบโดยคำนึงถึงแนวคิด “เข้าใจเขา เข้าใจเรา เข้าใจทุก(ข์)คน” เพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่ดีที่สุด อาทิ หน่วยตรวจผู้ป่วยนอก (OPD) จำนวน 4 ชั้น ห้องตรวจจำนวน 325 ห้อง ที่คำนึงถึง การส่งเสริมประสบการณ์ที่ดีของผู้ป่วยให้มีความสะดวกสบายใน การเข้ารับบริการ พร้อมศูนย์ “Imagine Center” ที่บริการตรวจด้วยเครื่อง X-ray, เครื่อง Ultrasound เครื่อง CT Scan และเครื่อง MRI ให้บริการแบบ 24 ชั่วโมง เพื่อลดระยะเวลารอคอยการตรวจผู้ป่วย ในจำนวน 826 เตียง ถูกออกแบบเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว ลดความแออัด และควบคุมหรือลดการแพร่เชื้อได้ดียิ่งขึ้น ห้อง ICU จำนวน 240 เตียง จากเดิม 100 เตียง ซึ่งออกแบบตามแนวคิด “Healing Environment” ให้ผู้ป่วยมองเห็นสภาพแวดล้อมภายนอก ช่วยเสริมสร้างกำลังใจและกระตุ้นให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเจ็บป่วยในสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ ห้องผ่าตัด (OR) 52 ห้อง รองรับการผ่าตัดโรคซับซ้อนพร้อมนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และห้องสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cath Lab) รองรับผู้ป่วยวิกฤตที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดโดยเฉพาะ เป็นต้น สามารถให้บริการ ผู้ป่วยนอกได้ถึง 2.5 ล้านครั้งต่อปี และให้บริการผู้ป่วยในได้ถึง 55,000 คนต่อปี”

โครงการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธีให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์ให้มีมาตรฐานพร้อมรองรับสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงและ ความไม่แน่นอนของโรค ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและ เปิดให้บริการภายในปี พ.ศ 2571 แม้จะได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐแต่ยังคงขาดงบประมาณด้านการก่อสร้างอาคารประมาณ 3,000 ล้านบาท และการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ทันสมัยที่มีมูลค่าสูงประมาณ 6,000 ล้านบาท

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จึงขอเชิญชวนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นผู้ให้ด้วยการบริจาคเงินสมทบทุน การให้ครั้งนี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ และเพิ่มโอกาสในการรักษาทุกชีวิต เพราะการให้ชีวิตเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ รับชมวิดีโอแนะนำโครงการอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี และย่านนวัตกรรมโยธี ได้ที่ (คลิก) เฟซบุ๊ก และ ยูทูป มูลนิธิรามาธิบดีฯ

แนะผู้ประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ Net Zero

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด นำคณะผู้บริหารของบริษัทฯ มอบเงินบริจาคจำนวน 200,000 บาท พร้อมถุงใส่หนังสือที่ผลิตจากป้ายไวนิลรีไซเคิลให้กับนางอรวรรณ รัตนาชิราสุทธิ์ ประธานมูลนิธิเรนโบว์แลนด์บริการชุมชน เพื่อสมทบทุนช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านทุนการศึกษา และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในด้านอาหารและสุขอนามัย และเป็นกำลังใจให้กับอาสา สมัครที่ดูแลเด็กลี้ภัยจากประเทศเพื่อนบ้าน

การมอบเงินบริจาคดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “ระบายบนดิน สะพายบนดอย” ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่เอปสัน ประเทศไทยจัดขึ้น โดยมุ่งลดปริมาณขยะจากการอุปโภคที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยเหลือเยาวชนด้อยโอกาสในด้านการศึกษา ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยบริษัทฯ ได้รับความร่วมมือจากพนักงาน พันธมิตรคู่ค้า และสื่อมวลชน ในการออกแบบลายที่นำไปพิมพ์บนป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ที่ใช้แล้วตามหน้าร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ด้วยเครื่องพิมพ์ป้ายโฆษณาของเอปสัน รุ่น SureColor S-Series ที่ใช้หมึก Ultrachrome GS3 ซึ่งปราศจากกลิ่นและไร้สารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายและสิ่งแวดล้อม ก่อนจะนำไปรีไซเคิลเป็นถุงใส่หนังสือเพื่อมอบให้กับเด็กนักเรียนที่อำเภอออมก๋อยต่อไป 

ปัญหาขยะไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ หากแต่แท้จริงแล้วมันคือปัญหาใหญ่ของโลก

X

Right Click

No right click