การระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและอุปกรณ์มือถือต่อคนต่อครัวเรือนสูงขึ้น

บริษัท เอ็มเอสดี ประเทศไทย (บริษัทในเครือของ บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท เมืองเคนิลเวิร์ธ มลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา)

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ร่วมกับ นายสัมฤทธิ์ แสงลอย (ผู้แทน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ถวายจตุปัจจัยและสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็น ได้แก่ ไข่ไก่สดซีพี จำนวน 10,000 ฟอง และน้ำมันพืชจากกระทรวงแรงงาน จำนวน 25 ลัง ให้แก่ พระคุณเจ้าเลขา ชินกรณ์ ศิริจันโท วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ยากไร้ในสังคม ผ่านโครงการเมตตาธรรมค้ำจุนโลก มูลนิธิธรรมรักษ์ เพื่อเป็นการสร้างบุญกุศล และทำประโยชน์ต่อสั่งคมไทยร่วมกัน โดยมี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน​ ข้าราชการกระทรวงแรงงาน และชาวซีพีเอฟจิตอาสา ร่วมมอบ ณ วัดพระบาทน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

โครงการเมตตาธรรมค้ำจุนโลก มูลนิธิธรรมรักษ์ ของวัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี เกิดขึ้นตามนโยบายโครงการ Volunteer Thailand เพื่อนำจตุปัจจัยและสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคของใช้ที่จำเป็นไปบริหารจัดการดูแลผู้ป่วย HIV เด็กกำพร้า คนชราถูกทอดทิ้ง และผู้ยากไร้ในสังคม ให้ได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในสังคม ขณะเดียวกัน ท่านเจ้าคุณอลงกต ติกฺขปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ และทีมงาน ยังมีโครงการที่อยู่ภายใต้แบรนด์ “นาถะ” ซึ่งเป็นสินค้าสมุนไพรของหลวงพ่อฯ ที่นำมาจำหน่ายเพื่อนำรายได้ไปใช้ในการสานต่อโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อทุกชีวิตภายในวัดที่ท่านดูแล และยังมีดนตรีจิตอาสาด้วย

Go Beyond (Dis) abilities into possibilities together แผนธุรกิจเพื่อต่อยอดศักยภาพผู้พิการ พลิกการขาดหาย ให้กลายเป็นพลังใหม่ พร้อมพาทุกชีวิต “ดีทั่วดีถึง ดีไปด้วยกัน ทุกคน”

6 CSR Trends 2022

March 08, 2022

ปัจจัยความท้าทายใหม่ๆ ในปี 2565 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและปัญหาหนี้สินในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งอิทธิพลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความก้าวหน้าทางสังคม นอกเหนือจากผลพวงของสถานการณ์โควิดที่ยังส่งผลสืบเนื่องต่อในปีนี้


ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ ได้กล่าวในงานแถลงทิศทาง CSR ปี 2565 ที่จัดขึ้นในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่า “ภาคธุรกิจกำลังเผชิญสถานการณ์ที่ไม่อาจพึ่งพารูปแบบการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ในการเติบโตได้ดังเดิม หลายกิจการที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นที่จะต้องมองหาและพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจในวิถีปกติใหม่ (Business as New Normal) ที่เอื้อต่อการเติบโตทางธุรกิจในแบบยั่งยืน และสามารถเสริมหนุนการพัฒนาทางสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน”
ในปีนี้ สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการประเมินทิศทางธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ภายใต้รายงานที่มีชื่อว่า 6 ทิศทาง CSR ปี 2565: From ‘Net Zero’ to ‘Social Positive’ สำหรับหน่วยงานและองค์กรธุรกิจในการใช้พัฒนาแนวทางการสื่อสารข้อมูลผลกระทบทางบวกที่มีต่อสังคมให้เกิดประสิทธิผล สมตามเจตนารมณ์ของกิจการ โดยแนวโน้มทั้ง 6 ประกอบด้วย

1. Regenerative Agriculture & Food System ระบบอาหารและการเกษตรแบบเจริญทดแทน เป็ นธุรกิจการเกษตรที่เน้นการคืนสภาพของหน้าดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับปรุงวัฏจักรของน้า การเพิ่มพูนบริการจากระบบนิเวศการ สนับสนุนการกักเก็บคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ การเพิ่มภาวะพร้อมผันจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวการแปรรูป การขนส่งการจัดจำหน่าย การบริโภค ไปจนถึงกระบวนการก าจัดของเสีย รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมการผลิตอาหารที่เป็น ผลบวกต่อธรรมชาติ(Nature-Positive Production)


2. Biotechnology เทคโนโลยีชีวภาพ เป็นธุรกิจที่จะไปเสริมหนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy) ที่ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาเสริมสร้างจุดแข็งของ ประเทศไทยอาทิพันธุวิศวกรรม (การดัดแปลงยีน) การผลิตสารเวชภัณฑ์(เช่น ยา วัคซีน โปรตีนเพื่อการบ าบัด) การผลิตชุดตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ การเกษตรอาหารและสิ่งแวดลอ้ม การผลิตที่ใช้เซลล์จุลินทรีย์เซลล์พืช และเซลล์สัตว์ในการผลิตสารชีวโมเลกุล สารออกฤทธิ์ ชีวภาพ การผลิตวัตถุดิบและ/ หรือวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการทดลองหรือทดสอบด้านชีววิทยาระดับโมเลกุลรวมท้งับริการตรวจวิเคราะห์และ/หรือสังเคราะห์สารชีวภาพ


3. Renewable Resources & Alternative Energy ทรัพยากรหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน เช่น การใช้เชื้อเพลิงสะอาด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน สำาหรับรองรับการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ ตามที่ประเทศไทยประกาศในเวทีประชุม World Leaders Summit ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่26 (UNFCCC COP26) ที่จะ บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2065


4. Electric Vehicles & Components ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบ เป็นธุรกิจที่สอดรับกับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและร่วมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและ ชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก ั ตามนโยบาย 30/30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปีค.ศ. 2030


5. Social Digital Assets สินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสังคม เป็นธุรกิจการเงินแบบหลากหลาย (Diversified Finance) ที่ไม่ได้มีเพียงธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์หรือธุรกิจประกัน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยก าลัง อยู่ระหว่างศึกษาการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในระดับรายย่อย (Retail CBDC) เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้จ่ายและช าระเงินที่ ปลอดภัยลดต้นทุนต่อหน่วยของการใช้เงินสดในระบบ เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม อีกทั้งได้เริ่มมีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ เป็นศูนย์ซื้อขาย (Exchange) นายหน้า (Broker) ผู้ค้า (Dealer) ที่ปรึกษา (Advisor) และผู้จัดการเงินทุน (Fund Manager) ด าเนินการขอใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจ ที่ก.ล.ต. เพิ่มมาเป็นประเภทธุรกิจใหม่ภายใต้การกำกับดูแลในปัจจุบัน


6. Metaware for Vulnerable Groups เมตาแวร์เพื่อกลุ่มเปราะบาง เป็นธุรกิจที่นาเทคโนโลยีในโลกเมตาเวิร์ส มาพัฒนาอุปกรณ์หรือเมตาแวร์สำหรับเสริมสร้างคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางอาทิกลุ่มคนพิการในกลุ่มที่มีปัญหา ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย กลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและติดเตียง แต่ประสาทสัมผัสทั้งห้ายังเป็นปกติเนื่องจากเมตาเวิร์ส สามารถช่วยจำลองให้ บุคคลไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ได้โดยอาศัยการสวมใส่อุปกรณ์ที่สร้างการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสในรูปแบบของภาพและเสียง เช่น อุปกรณ์สวมศีรษะ VR (Virtual Reality) และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อยู่ในเมตาเวิร์สเดียวกันผ่านการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปิด โอกาสให้กลุ่มเปราะบาง ดังกล่าว สามารถใช้ประโยชน์จากเมตาเวิร์ส มาทดแทนข้อจำากัดในการทำกิจกรรมที่ต้องเดินทางหรือต้องออกจากบ้าน

หลังจากที่บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) (“SPRC”)

ปัญหาใหญ่ของสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนอันยากที่จะจัดการในปัจจุบัน คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องของการจัดการขยะ

บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ  จำกัด (มหาชน) หรือ NT ยังคงยกระดับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลผ่านโครงการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ภายใต้โครงการ "เพาะพันธุ์ดี NT Youth Club" สู่การพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ควบคู่ไปกับกลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมด้าน CSR ในกระบวนการทำงาน

นอกจากเป็นหน่วยงานหลักภาครัฐในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ภายใต้ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 แล้ว NT ยังได้นำศักยภาพหลัก Core Competency ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโทรคมนาคมเป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดย NT ได้จัดทำแผนแม่บทความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2564-2568 เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กร และถือเป็นหนึ่งในพันธกิจเพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน

ในช่วงปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา NT ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมหลากหลายด้าน โดยเฉพาะการขยายโครงการ เพราะพันธุ์ดี NT Youth Club เพิ่มขึ้น ณ ชุมชนเทศบาล 2 อำเภอตะพานหิน จ. พิจิตร และชุมชนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีหนองแก จ. อุทัยธานี ทั้งนี้ NT ร่วมกับทางจังหวัด สถาบันการศึกษา และชุมชน เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้และชุมชนต้นแบบในการทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือ Smart Farming จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของนโยบาย Thailand 4.0

โครงการ เพราะพันธุ์ดี NT Youth Club ถือเป็นกิจกรรมหลักตามแผนงาน CSR after Process ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 ภายใต้แนวคิดการสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value หรือ CSV) ด้วยการนำศักยภาพขององค์กรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างประโยชน์แก่ชุมชน สังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ

ไม่เพียงการฝึกอบรมเพื่อให้เรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในการเพิ่มศักยภาพทั้งด้านการเกษตรและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวของชุมชนแล้ว NT ยังได้ร่วมมือกับธนาคารออมสิน เพื่อต่อยอดโครงการ เพราะพันธุ์ดี NT Youth Club ไปสู่แพลตฟอร์มธุรกิจอีคอมเมิร์ซด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนให้กับชุมชน   

ขณะเดียวกัน NT ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนการศึกษาวิถีใหม่ที่ต้องใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ดังนั้น NT จึงจัดทำโครงการมอบ SIM NT Mobile เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนออนไลน์ ให้กับเยาวชน โรงเรียน และชุมชน ในโครงการเพราะพันธุ์ดี NT Youth Club ประจำปี 2564 โดยเริ่มส่งมอบไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน จนถึงปัจจุบันนับเป็นอีกแนวทางในการส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม  

NT ยังมอบอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนออนไลน์ให้กับบุคลากร และนักเรียนของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายเเดน ในการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ และยังเป็นการลดช่องว่างทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนในเมืองกับพื้นที่ห่างไกล ส่งผลในการพัฒนาระบบการศึกษาของเด็กและเยาวชนต่อไป

นอกจากนี้ NT ยังดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอีกหลายโครงการ อาทิ โครงการเน็ตประชารัฐ การสนับสนุนห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” สุขศาลาพระราชทาน โครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม  (Universal Service Obligation : USO) และโครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น

ขณะเดียวกัน NT ก็ยกระดับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกระบวนการทำงาน หรือ CSR in Process มากขึ้นเช่นกัน เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและสินทรัพย์อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ โครงการ Green NT การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) การใช้อุปกรณ์ด้าน IT ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Innovation) ทั้งนี้ NT มีการณรงค์ให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมสังคมในกระบวนการทำงานอย่างจริงจังทั่วทั้งองค์กร

นอกเหนือจากโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องแล้ว NT ยังมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤต เช่น การสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ในกิจกรรม“พลังน้ำใจเอ็นที” โดยลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประภัยนํ้าท่วมอย่างต่อเนื่องในพื้นที่หลายจังหวัด อาทิ พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี พิจิตร นครราชสีมา นครศรีธรรมราช รวมถึงกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมในภาวะการแพร่ระบาด ของ โควิด-19 อาทิ ด้วยการสนับสนุนด้านโทรคมนาคม บริการอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้กับศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ และโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ เป็นต้น

นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

บ้านปู เน็กซ์ เปิดตัว ‘ระบบไมโครกริด (Microgrid) ผลิต กักเก็บ และจ่ายไฟฟ้าภายในระบบเดียวแบบครบวงจรจากภาคเอกชนรายแรกของไทย

X

Right Click

No right click