นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยนางวรางคณา วงศ์ข้าหลวง รองกรรมการผู้จัดการ  EXIM BANK และนายอัตสึโอะ คุโรดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารองค์กรรับประกันแห่งประเทศญี่ปุ่น (NEXI) พบปะหารือกับนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงแนวทางความร่วมมือในการสนับสนุนบริการประกันการส่งออกและบริการประกันความเสี่ยงการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยไปยังประเทศที่สามและลงทุนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงแนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนท่ามกลางปัจจัยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ณ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเร็ว ๆ นี้

ขยายการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นและประเทศเป้าหมายในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

EXIM BANK ประสบความสำเร็จในการเสนอขายพันธบัตรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อ SMEs (SME Green Bond) ครั้งแรกภายใต้กรอบการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Framework) อายุ 3 ปี มูลค่ารวม 3,500 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้สนับสนุนสินเชื่อโครงการพลังงานสะอาดให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs โดยมีธนาคารออมสินเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตร และธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการการจำหน่ายพันธบัตร และนายทะเบียนพันธบัตร ซึ่งนักลงทุนชั้นนำในประเทศไทยตอบรับเป็นอย่างดีด้วยยอดการจองซื้อสูงกว่าวงเงินที่เสนอขายถึง 2.5 เท่า ทำให้ระดมทุนได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ดี ท่ามกลางตลาดการเงินที่มีความผันผวนและภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ตอกย้ำบทบาทการเป็นผู้นำด้านการเงินสีเขียว เติมเต็ม Green Financial Ecosystem ให้ครบวงจรมากขึ้น

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ออก SME Green Bond เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 โดยเสนอขายให้แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่ ในรูปแบบพันธบัตรประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อายุ 3 ปี ครบกำหนดไถ่ถอน ปี 2569 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.71% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก 6 เดือนตลอดอายุพันธบัตร มูลค่ารวม 3,500 ล้านบาท พันธบัตร SME Green Bond ที่เสนอขายในครั้งนี้ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับ AAA โดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด สะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและมั่นคงของ EXIM BANK ต่อเนื่องจากการเสนอขาย Green Bond ในปี 2565 และในปี 2566 ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักลงทุนชั้นนำในประเทศไทยด้วยยอดการจองซื้อสูงกว่าวงเงินที่เสนอขายถึง 2.5 เท่า ทำให้ EXIM BANK สามารถระดมทุนได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีในช่วงที่ตลาดการเงินมีความผันผวนและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวว่า ที่ผ่านมา EXIM BANK ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) ไปแล้วประมาณ 30% ของพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร หรือประมาณ 50,000 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายจะขยายสินเชื่อ BCG ของธนาคารเป็น 100,000 ล้านบาทภายในปี 2570 สนับสนุนการนำพลังงานสะอาดมาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการอุปโภคบริโภคและการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ การออกพันธบัตรในครั้งนี้จึงตอกย้ำความมุ่งมั่นของ EXIM BANK ในการบริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขยายผลความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ นำไปสู่ความร่วมมือระดับชุมชน สังคม และนานาประเทศเพื่อสร้างโลกที่สะอาดและเติบโตอย่างสมดุลในทุกมิติ 

ทั้งนี้ EXIM BANK ได้รับรางวัล Best Green Bond ประเภทสถาบันการเงินจากเวทีระดับโลก The Asset Triple A Awards 2022 จัดโดย The Asset นิตยสารการเงินชั้นนำแห่งเอเชีย และรางวัล State Owned Enterprise ESG Bond of the Year จากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (The Thai Bond Market Association : ThaiBMA) จากการออกพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) จำนวน 2 รุ่น มูลค่ารวม 5,000 ล้านบาท ในปี 2565

“ด้วยเป้าหมายสู่การเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน EXIM BANK มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจที่สร้างผลตอบแทนให้แก่ทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ที่เป็นเลิศให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการ ตลอดจนสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่ออนาคตที่ดีสู่คนรุ่นหลัง ธนาคารจึงพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่อความยั่งยืนของภาคธุรกิจ เสริมสร้างการพัฒนาสังคมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญและจุดแข็ง ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร ในการบริหารจัดการการเงินและดำเนินธุรกิจที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทยและโลกโดยรวม” ดร.รักษ์ กล่าว

นายชลัช รัตนบุญนิธิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ดร.วิชัย ลิมปิติกรานนท์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย และนางประภัสสร ชูทอง ประธานชุมชนหลัง ว.ค.จันทรเกษม เขตจตุจักร ร่วมพิธีเปิดอบรมโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบาง เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการสตรีในชุมชนรอบ EXIM BANK ประกอบด้วยพื้นที่เขตพญาไทและเขตจตุจักร ด้วยการให้ความรู้ในการประกอบธุรกิจ การตลาดในยุคดิจิทัล การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความแตกต่างและการขายสินค้าออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสตรีกลุ่มเปราะบางสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจสู่การส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศต่อไป ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้

EXIM BANK แต่งตั้งนายชาติอวยชัย พุทธิยิ่งยงกุล เป็นผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

X

Right Click

No right click