ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วย ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) รศ.ดร.วิชิตา รักธรรม คณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และ ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ ประธานสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม CMMU เข้าร่วมพิธีเปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Entrepreneur and Innovation : EI) ซึ่ง EXIM BANK ร่วมกับ TNSC และ CMMU จัดขึ้นเพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการธุรกิจด้วยนวัตกรรมป้อนเข้าสู่ภาคธุรกิจ โดยได้รับการสนับสนุนทั้งด้านความรู้และเงินทุนที่พร้อมสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยจำนวนเพิ่มมากขึ้นในเวทีการค้าโลกยุคใหม่ โดย EXIM BANK ร่วมพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม รวมทั้งเป็นวิทยากรในงานสัมมนา ENTREPRENEURSHIFT เปลี่ยนทิศธุรกิจ คิดต่าง สร้างนวัตกรรม แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับทางลัดสู่ความสำเร็จของ SMEs ยุคใหม่ที่ต้องกล้าเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจรูปแบบเดิมสู่ตลาดโลก โดยบริหารความเสี่ยงทางการค้าระหว่างประเทศอย่างรู้เท่าทันและเป็นมืออาชีพ พร้อมทั้งนำเสนอบทบาทของ EXIM BANK ในการเติมความรู้ เติมโอกาส และเติมเงินทุน เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ไทยมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย เพิ่มมูลค่าการส่งออก และต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ CMMU เมื่อเร็วๆ นี้

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ประกาศคะแนนประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ปี 2565 ตามระบบประเมินผลรัฐวิสาหกิจ State Enterprise Assessment Model (SE-AM) โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 2. การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ 3. การบริหารจัดการองค์กรทั้ง 8 ด้าน (Core Business Enablers) ซึ่ง EXIM BANK มีผลการดำเนินงานด้านยุทธศาสตร์ที่โดดเด่น ได้รับคะแนนเต็ม 5.0000 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และมีคะแนนรวมอยู่ที่ 4.3898 สูงเป็นลำดับที่ 6 จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 51 แห่ง

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยว่า ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นผลมาจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท และทำหน้าที่อย่างแข็งขัน ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์องค์กร วางแผนงานและแนวทางบริหารจัดการองค์กร โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และนำพาองค์กรให้สามารถดำเนินภารกิจได้สำเร็จและมีผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศในด้านต่าง ๆ โดยในปี 2565 EXIM BANK ได้สร้างปาฏิหาริย์ (Miracle Maker) ในหลากหลายมิติ อาทิ ยอดคงค้างสินเชื่อ 168,331 ล้านบาท เติบโต 2 หลักต่อเนื่อง 2 ปีและสูงสุดตั้งแต่ธนาคารเปิดดำเนินงานในปี 2537 ปริมาณธุรกิจสะสมบริการประกัน 169,338 ล้านบาท เติบโต 2 หลักต่อเนื่อง 2 ปีและสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินงาน ยอดคงค้างสินเชื่อสนับสนุนความยั่งยืนและจำนวนลูกค้าทั้งธนาคารเติบโต 2 หลักต่อเนื่อง 2 ปีและสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินงาน เป็นต้น

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย EXIM BANK ยังคงดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนและสร้างรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย ภายใต้บทบาท “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย“ ที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ส่งเสริมการบุกตลาดการค้าการลงทุนที่มีศักยภาพ สนับสนุนธุรกิจไทยให้เติบโตในตลาด CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) และ New Frontiers รวมทั้งยกระดับสินค้าและบริการของไทยให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยทุกระดับพร้อมที่จะเข้าสู่ Supply Chain การส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจใหม่ที่มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมสานพลังพันธมิตรทุกภาคส่วนเดินหน้าสร้างระบบนิเวศสีเขียว ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเสริมอาวุธให้ SMEs เป็นนักรบเศรษฐกิจได้อย่างแข็งแกร่งด้วยการสนับสนุนแบบครบวงจร เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม เพื่อสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล จนได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย อาทิ รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นด้านลูกค้า (Thailand Quality Class Plus : Customer) ประจำปี 2565

“EXIM BANK กล้าที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีบทบาทมากขึ้นต่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยยึดมั่นในเป้าหมายที่จะตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เราจึงสร้างคนและทีมที่แข็งแกร่งที่จะทำหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเทไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ปรับตัวและรับมือได้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่ฐานรากในชุมชนให้เชื่อมโยงกับ Supply Chain ของโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ดร.รักษ์ กล่าว

ดร.พสุ โลหารชุน ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Strategic Meeting) โดยมีคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารระดับฝ่ายของ EXIM BANK ร่วมระดมความคิดเห็นต่อร่างวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และเป้าหมาย เพื่อนำไปจัดทำแผนวิสาหกิจ 5 ปี (ปี 2567-2571) และแผนธุรกิจปี 2567 รวมทั้งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามทิศทางและนโยบายขับเคลื่อน EXIM BANK ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ “การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์รัฐวิสาหกิจไทยและองค์กรของรัฐ มาตรฐานระดับโลก ที่ได้รับรางวัล SOE Award และรางวัลการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ” ในหลักสูตร Strategic Planning for Business Development (SPBD) รุ่นที่ 1 จัดโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) โดย EXIM BANK ได้แลกเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ผันผวน และพลิกโฉมองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนและทัดเทียมมาตรฐานสากล ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้

นายสุวัฒน์ กมลพนัส ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วย ดร.วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล กรรมการบริหาร EXIM BANK และ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พบปะหารือกับนายกิริต ชาห์ ประธานกรรมการบริหาร จีพี กรุ๊ป และนายคาลิด มอยนูดดิน ฮาซิม กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน) (PSL) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางเรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ จีพี กรุ๊ป เพื่อรับฟังสถานการณ์และทิศทางของอุตสาหกรรมเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองและกฎหมายทางทะเลที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ รวมถึงหารือแนวทางสนับสนุนอุตสาหกรรมพาณิชยนาวีไทย โดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายของ EXIM BANK ในการสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ณ สำนักงาน PSL เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2566

X

Right Click

No right click