September 13, 2024

การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อนและแก้ไขปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ตลอดจนสร้างความยั่งยืนแก่โลกใบนี้ กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ภาคธุรกิจทั่วโลกกำลังตื่นตัว ล่าสุด บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP ได้จัดสัมมนา Sustainable Synergy for Decarbonization” เพื่อเปิดพื้นที่แห่งความร่วมมือทั้ง ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ SMEs และสถาบันการเงิน ในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ มาแลกเปลี่ยนมุมมองความท้าทายและแนวทางการปฏิบัติ เพื่อร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

Carbon Footprint ปัจจัยสำคัญสู่ความยั่งยืน

“วิชาญ จิตร์ภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SCGP เปิดประเด็นว่า โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากธุรกิจไม่ปรับตัวจะไม่สามารถแข่งขันได้ ซึ่ง SCGP ได้ปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ Sustainability Transformation ถือเป็นดีเอ็นเอของเอสซีจี โดย SCGP ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 25% ภายในปี 2030 และ Net Zero ภายในปี 2050 ผ่านการดำเนินงานใน 2 ด้านหลัก ได้แก่ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรหรือ CFO (Carbon Footprint for Organization) หันมาใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ โดยติดตั้งโซลาร์รูฟ และใช้พลังงานชีวมวลแทนพลังงานถ่านหิน นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อใช้พลังงานน้อยลงและสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1 ล้านตัน ปลูกต้นไม้สะสมจำนวน 2.3 ล้านต้น นำขยะพลาสติกมาหลอมเป็นเมล็ดพลาสติกใหม่ นำเศษเยื่อกระดาษจากกระบวนการผลิตไปทำสารปรับปรุงดิน 24,000 ตันต่อปี เพื่อนำไปปลูกต้นยูคาลิปตัสสำหรับผลิตกระดาษต่อไป

อีกด้านคือ การได้รับการรับรอง Carbon Footprint of Product  (CFP) 128 ผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ที่สามารถระบุจำนวนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นได้ และได้รับการรับรอง Carbon Footprint จากกระบวนการพิมพ์และขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์กระดาษรวม 16 กระบวนการ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้ากระดาษบรรจุภัณฑ์ โดยลูกค้าสามารถนำ CFP ไปใช้ต่อยอดคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดได้ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนา “ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ที่ออกโดย SCGP (Private Declaration Label)” เพื่อแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบรรจุภัณฑ์ และได้พัฒนา “ซอฟต์แวร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์” ของผลิตภัณฑ์ พร้อมเอกสารรับรองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า ทั้งนี้ได้ตั้งเป้าขอการรับรอง CFP ในกลุ่มสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย 100% ภายในปี 2027 ด้วย

“CFP จะช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่มีการบังคับใช้มากขึ้นในหลายประเทศ ช่วยเพิ่มโอกาสการขาย การเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ให้ลูกค้าส่งออกกลุ่มต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นับเป็นการช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ไทยให้มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย” วิชาญ กล่าว

ร่วมมือธุรกิจขับเคลื่อนความยั่งยืน

ตัวอย่างขององค์กรที่ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น สุทธิพงค์ ลิ่มศิลา” Head of Corporate Strategy บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด  เผยว่า คาโอได้กำหนดกลยุทธ์ทางด้านความยั่งยืน หรือ Kirei Lifestyle Plan ไว้จำนวน 19 แนวทางปฏิบัติด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อทุก ๆ คน และอื่น ๆ คาโอใส่ใจในการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สะดวกต่อการใช้งาน มุ่งใช้นวัตกรรมเพื่อให้ผู้บริโภคมีชีวิตที่ง่ายขึ้น ทางด้านสิ่งแวดล้อมเองก็เป็นเรื่องที่สำคัญในยุคปัจจุบัน คาโอพัฒนาบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน โดยเลือกใช้ Bio PET และวัสดุที่เป็น Mono Material รวมถึงเพิ่มการใช้ Flexible Packaging (บรรจุภัณฑ์ชนิดถุงหรือฟิล์ม) แทน Rigid Packaging (บรรจุภัณฑ์ชนิดขวด) เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกลง 50-70% เพิ่มสัดส่วนการใช้ Green Carton by SCGP เป็น 100% ภายในปีนี้ หรือแม้แต่การคัดเลือกแหล่งวัตถุดิบที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและบุกรุกป่า โดยคาโอมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 100% ภายในปี 2025 และลดการปล่อยคาร์บอนใน Scope 1 (การปล่อยคาร์บอนทางตรง) และ Scope 2 (การปล่อยคาร์บอนทางอ้อม) ให้ได้ 55% และลด CFP ในผลิตภัณฑ์คาโอ ทั้งหมดให้ได้ 22% ภายในปี 2030 นอกจากนี้ได้ตั้งเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2040 และ Carbon Negative ภายในปี 2050

เสริมเอสเอ็มอีสู่แนวทางลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ตัวแทนหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย “ยุทธนา เจียมตระการ” ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม เผยว่า หอการค้าไทยมีสมาชิกกว่า 1.4 แสนรายทั่วประเทศ จากผลสำรวจเมื่อ 4 ปีก่อนพบว่า มีสมาชิกเพียง 30% ที่ตระหนักถึง ESG ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย มาจากปัจจัยหลายอย่าง เพื่อให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน SME  ควรเริ่มหาข้อมูล พรบ.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่มีทั้งหมด 14 หมวด 177 มาตรา เพื่อทำความคุ้นเคย ซึ่งจะเป็นทั้งเครื่องมือและกลไกสำคัญในการพาผู้ประกอบการไปสู่จุดหมาย Net Zero รวมถึงมาตรฐานการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ Taxonomy ระบบการซื้อขายสิทธิคาร์บอนเครดิต (Emission Trading System) เป็นต้น

ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าปรับตัว ลดปล่อยคาร์บอน

“เชวง เศรษฐพร” Head of Credit Product Development ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารสามารถเป็นได้มากกว่าผู้สนับสนุนด้านสินเชื่อ โดยมุ่งให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่ม SME แบบจูงมือไปด้วยกัน มีการจัดเตรียม “สินเชื่อธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน” (Krungsri SME Transition Loan) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ ให้วงเงินกู้สูงสุด 100% ของมูลค่าโครงการ ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 10 ปี โดยมีอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรกที่ 3.50% ต่อปี ปีที่ 3-5 อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่ำสุด 4.75% พร้อมสิทธิ์เข้าสมัครโครงการ Krungsri ESG Academy ให้ลูกค้าได้เรียนรู้และสนับสนุนธุรกิจเปลี่ยนผ่านได้อย่างรู้ลึก ทำได้จริง นอกจากนี้ ธนาคารยังมีกลไกสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ โครงการ Krungsri ESG Awards มอบรางวัลให้ผู้ประกอบการที่มีโครงการเพื่อความยั่งยืนที่โดดเด่น สร้างการมีส่วนร่วมเพิ่มเติม รวมถึงเครือข่ายพันธมิตรใน ESG ecosystem ของกรุงศรีด้วย

ด้าน “สายชล อนุกูล” ผู้จัดการโรงไฟฟ้าและไบโอแก๊ส บริษัทโชคยืนยงอุตสาหกรรม จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการได้ยกตัวอย่างการปรับแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนกล่าวว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูงและมีน้ำเสีย จึงจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อนำ “น้ำเสีย” มาผลิตเป็น “ก๊าซชีวภาพ” เพื่อนำกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าภายในโรงงาน คิดเป็นสัดส่วน 60% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด โดยน้ำเสียส่วนหนึ่งจะถูกนำไปบำบัดและใช้ปลูกหญ้าเนเปียร์ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยผลผลิตที่ได้ 60% จะแบ่งให้ชุมชนโดยรอบ และอีก 40% บริษัทฯ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน นอกจากนี้ ได้ร่วมกับ SCGP ติดตั้งโซลาร์ฟาร์มขนาด 5 เมกะวัตต์ คิดเป็น 20% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ในอนาคตมีเป้าหมายให้เป็นโรงงานที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% โดยจะลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซชีวภาพ หรือติดตั้งโซลาร์ฟาร์มหรือโซลาร์ลอยน้ำเพิ่ม

ส่วน “ธเนศ เมฆินทรางกูร” Commercial Director บริษัทไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ WICE มองว่า ESG เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืน หากไม่เริ่มตั้งแต่วันนี้จะสูญเสียความสามารถการแข่งขันเนื่องจากมีกฎหมายเตรียมบังคับใช้ โดยการลดคาร์บอนในธุรกิจโลจิสติกส์ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนมาใช้รถ EV เท่านั้น แต่รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งให้ดียิ่งขึ้น เช่น การจัดเส้นทางขนส่งใหม่ ใช้เรือขนส่งที่ใช้เชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ ติดตั้งโซลาร์เซลล์ โดยปัจจุบัน WICE อยู่ในระหว่างเตรียมการให้บริการขนส่งเชื้อเพลิงวูดเพลเลท (wood pellets) จาก สปป.ลาว มายังประเทศไทย และส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิต Green Energy

ถือเป็นงานสัมมนาที่ส่งต่อความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ในการเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการเพิ่มมุมมองการดำเนินงานด้าน ESG จะมาช่วยลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อ และเร่งพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน หรือสามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ที่สร้างรายได้ให้เติบโตอย่างมั่นคง

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้นำธุรกิจพอลิเมอร์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้แบรนด์สินค้า อาทิ แอทแทค บิโอเร ไฮเตอร์ มาจิคลีน ลอรีเอะ แฟซ่า ฯลฯ พัฒนาบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลรักษ์โลกสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม “แฟซ่า” (Feather) ผลิตจากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง SCGC GREEN POLYMERTM ด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลจาก SCGC เพื่อผลิตเป็น บรรจุภัณฑ์ที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ และสามารถรีไซเคิลได้ 100% มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม โดยยังคงรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในและให้ความสะดวกกับผู้บริโภคได้เช่นเดิม  

นายยูจิ ชิมิซึ ประธานกรรมการ บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “หากพูดถึงคาโอ หนึ่งในสินค้าที่ทุกคนต้องรู้จักคือ แชมพูแบรนด์ “แฟซ่า” ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 60 ปี ซึ่งแฟซ่าเป็นสินค้าแรกที่คาโอจำหน่ายในประเทศไทย โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่แฟซ่าแบบซองซึ่งอยู่ในรูปแบบผง และได้พัฒนามาตามยุคสมัยจนกลายมาเป็นรูปแบบปัจจุบัน ซึ่งนอกจากการพัฒนาสูตรเองแล้ว คาโอยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2024 นี้ คาโอได้ปรับโฉมบรรจุภัณฑ์ใหม่โดยร่วมมือกับ SCGC ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลาสติกรีไซเคิลครบวงจร เพื่อพัฒนาขวดบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม “แฟซ่า” โดยเลือกใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลประเภทพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Quality PCR HDPE Resin) นับเป็นการชุบชีวิตพลาสติกใช้แล้วให้กลับมามีคุณค่าใหม่อีกครั้ง”  

นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC กล่าวว่า “SCGC มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีรีไซเคิล และมีโซลูชันด้าน Green Polymer ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น บรรจุภัณฑ์  เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดย SCGC จะพัฒนาสูตรการผลิตและเทคโนโลยีให้เหมาะกับความต้องการโดยคำนึงถึงคุณภาพและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน สำหรับความร่วมมือกับคาโอนั้น SCGC ได้พัฒนาสูตรเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงประเภทพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Quality PCR HDPE Resin) จาก SCGC GREEN POLYMERTM ให้กับขวดแชมพูแฟซ่า เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ 100% และมีความปลอดภัย สามารถสัมผัสกับเนื้อผลิตภัณฑ์ภายในได้โดยไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์”  

ทั้งนี้ “ขวดแชมพูรักษ์โลกของแฟซ่า” เป็นดีไซน์ซึ่งสอดคล้องกับวิถีสังคมคาร์บอนต่ำ สามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ทุกชิ้นส่วน 100% เนื่องจากไม่มีการเติมแต่งสีในเนื้อพลาสติก นอกจากนี้ ในส่วนของฉลากยังออกแบบให้สามารถฉีกแยกออกได้ง่ายตามรอยประ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ยกระดับโรงงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ให้อุตสาหกรรมและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพอลิเมอร์เพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันยานยนต์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย สู่การเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์คาร์บอนต่ำ” เพื่อยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อยานยนต์ของไทย เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนำดิจิทัลโซลูชันสู่อุตสาหกรรมยานยนต์อย่างครบวงจร เน้นการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขานรับนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้ใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อเป็นยานยนต์ที่ “สะอาด ประหยัด และปลอดภัย” สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม พร้อมก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม

  • ความร่วมมือระหว่าง SCGC และสถาบันยานยนต์ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และการพัฒนาวัสดุสำหรับแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า รองรับความนิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้าของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
  • การเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี Industrial and Digital Solutions เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานปฏิบัติการ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC เผยว่า “ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ ถือเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์คาร์บอนต่ำ จะช่วยยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป  ทั้งนี้ SCGC มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Polymers) ตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon  โดยได้พัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์เพื่อความยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยตอบโจทย์การใช้งาน พร้อมทั้งแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน สำหรับความร่วมมือกับสถาบันยานยนต์ในครั้งนี้  ได้แก่ 1) การพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ครอบคลุมทั้งการออกแบบ การขึ้นรูป และการคำนวณคาร์บอน  2) พัฒนาวัสดุสำหรับแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า และ 3) นำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลโซลูชันสำหรับภาคอุตสาหกรรม (Industrial & Digital Solutions) จาก REPCO NEX ในกลุ่มธุรกิจ SCGC มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร พร้อมทั้งช่วยผลักดันสู่ยานยนต์เพื่อความยั่งยืน เน้นการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์”

ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการ สถาบันยานยนต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สถาบันยานยนต์มีความตั้งใจที่จะผลักดันวงการยานยนต์สู่การเป็น Future Mobility ไปพร้อมกับการพัฒนาวัสดุในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบัน อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตแบบดั้งเดิม เป็นการผลิตแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ผลักดันให้ใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทย เพื่อเป็นยานยนต์ที่ “สะอาด ประหยัด และปลอดภัย” สร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน  การร่วมมือกับ SCGC ในครั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการใช้องค์ความรู้ทางนวัตกรรมพอลิเมอร์และดิจิทัลโซลูชันมาช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย ให้เกิดความยั่งยืนทางเศรษฐกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์คาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม”

ในวันที่ทั้งโลกกำลังพยายามมุ่งไปสู่ “สังคม Net Zero”

‘วิกฤติโลกรวน’ สร้างผลกระทบให้คนทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด แม้จะมีการตกลงร่วมกันใน ‘ความตกลง​ปารีส’ เพื่อควบคุมไม่ให้อุณภูมิของโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกขึ้นไปที่ 1.42 องศาเซลเซียสแล้ว ทำให้เป้าหมายที่จะไปสู่ “สังคม Net Zero” ของประเทศไทย ภายในปี พ.ศ. 2608 ดูเป็นเรื่องยากและท้าทายขึ้นไปอีก ‘ร่วมมือ-เร่ง-เปลี่ยน’จึงเป็นหนทางที่เราจะหยุดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นได้และไปถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ “เป็นไปได้” ถ้าเรา “เปลี่ยน”

‘การเปลี่ยน’ สู่ ‘ความเป็นไปได้’ ถูกถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ ‘โปรจีน - อาฒยา ฐิติกุล’ บนเส้นทางการไปสู่ระดับโลก เริ่มต้นด้วยภาพในอดีตที่เห็นการแข่งขันที่ ‘โปรจีน’ พลาดโอกาสทำคะแนน แต่ถึงจะพบกับอุปสรรค ความยาก ความท้าทาย และความพ่ายแพ้ แต่ ‘โปรจีน’ เชื่อเสมอว่า “ยากไม่ได้แปลว่าเป็นไปไม่ได้”

“ไม่อยากแพ้อีกแล้ว” เป้าหมายของ ‘โปรจีน’

เป็นการส่งสัญญาณ ‘ความพร้อม’ ทั้งจิตใจและร่างกาย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็น ‘โปรกอล์ฟระดับโลก’ ‘โปรจีน’ จึงมุ่งมั่น ตั้งใจ ‘ลงมือทำ’ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก็พบว่า การทำด้วยวิธีการเดิม ๆ ไม่เพียงพอต่อการไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก

ถ้าอยากไปไกลให้ถึงระดับโลก ต้อง “เร่งเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโอกาส”

ภาพของ ‘โปรจีน’ และทีม สะท้อนให้เห็น “การเปลี่ยน” จากวิธีการเดิม ๆ ไปสู่ ‘การเปลี่ยนวิธีคิด’ พร้อมปลุกความเชื่อร่วมกันว่า ‘เรื่องยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้’ ลุกขึ้นมา ‘เปลี่ยนวงสวิง’ เพื่อตีให้ได้ไกลขึ้น และ ‘ลองทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ยากขึ้นกว่าเดิม’ ไปพร้อมกับทีม

แม้ว่า ‘การเปลี่ยน’ ครั้งนี้ อาจไม่ทำให้เห็นผลสำเร็จในทันที แต่ ‘โปรจีน’ เชื่อเสมอว่า ‘ทุกนาทีที่ลงมือทำคือโอกาสที่จะเข้าใกล้ความเป็นไปได้’ จนกระทั่งความมุ่งมั่น ทุ่มเท และความพยายามนำไปสู่ความสำเร็จ ก้าวสู่ “นักกอล์ฟหญิงมือ 1 ของโลก” ได้สำเร็จในวัยเพียง 19 ปี

เรื่องราวของ ‘โปรจีน’ สะท้อนให้เห็นว่า เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ที่ดูเหมือนจะยาก และท้าทาย ‘เป็นไปได้’ เช่นเดียวกับเป้าหมายสู่ “สังคม Net Zero” ที่เป็นไปได้เช่นเดียวกัน

ภาพการหวดวงสวิงของ ‘โปรจีน’ เปรียบเสมือนแรงส่งให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจของคนทั่วโลก ที่ได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อก้าวสู่เป้าหมาย “สังคม Net Zero” ให้ได้ เช่น นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด พร้อมระบบการซื้อ-ขายพลังงานสะอาดด้วยเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงการใช้พลังงานชีวมวล นวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม เช่น พอลิเมอร์รักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน นวัตกรรมการก่อสร้างรักษ์โลก ด้วยเทคโนโลยี BIM (Building Information Modeling) เพื่อใช้บริหารจัดการการก่อสร้าง รวมถึงอาคารประหยัดพลังงาน รวมถึงนวัตกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์ แต่เพื่อเร่งไปให้ถึงเป้าหมาย ‘สังคม Net Zero’ โดยเร็ว ‘เรา’ จึงต้อง “ร่วมมือ” และ “เร่งเปลี่ยนเพื่อเพิ่มโอกาส” ไปด้วยกัน

เรื่องราวของ ‘โปรจีน’ เป็นแรงบันดาลใจและเน้นย้ำให้เราเชื่อมั่นว่า “การลุกขึ้นสู้เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ อย่างการมุ่งไปสู่ “สังคม Net Zero” แม้จะยาก ท้าทาย แต่สำเร็จและเป็นไปได้

รับชมคลิป“ยากไม่เท่ากับเป็นไปไม่ได้”เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกันที่

เตรียมพบกับการรวมตัวครั้งสำคัญในงาน “ESG Symposium 2024: Driving Inclusive Green Transition” เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสู่สังคม Net Zero ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างธุรกิจให้เติบโตได้ในระยะยาว และมีโลกที่ยั่งยืนจากความร่วมมือของเราทุกคน เร็วๆ นี้

Page 1 of 62
X

Right Click

No right click