นายศักดิ์ชัย ปฏิภาณปรีชาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC พร้อมด้วยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รุดลงพื้นที่พบชุมชนที่ได้รับผลกระทบเพื่อขออภัยและรับฟังข้อปัญหาต่าง ๆ จากชุมชน เชื่อมั่นชุมชนกับโรงงานจะต้องอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขและด้วยความเข้าใจ พร้อมเดินหน้าเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

นายศักดิ์ชัย กล่าวว่า “ผมขออภัยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก เราพยายามอย่างเต็มที่ในการควบคุมสถานการณ์ให้สงบโดยเร็วที่สุด ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในด้านสุขภาพของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเราได้เร่งระดมทีมเข้าช่วยเหลือดูแลชุมชนอย่างเต็มที่ และจะทำให้เข้มข้นมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อคลายกังวลให้กับพี่น้องชุมชน โดยได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบ ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่มีความกังวลในสุขภาพสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข ตากวน-อ่าวประดู่ จ.ระยอง โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญพร้อมตรวจและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ บริษัทฯ จะลงพื้นที่เชิงรุก เพื่อรับฟังและช่วยบรรเทาปัญหาในเบื้องต้นให้กับชุมชน”

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริษัทฯ ได้เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศ จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่องของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และเทศบาลเมืองมาบตาพุด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ น้ำและโฟมจากการดับเพลิงที่ถูกกั้นไว้ในเขื่อนกั้น (Bund) ความสูง 4 เมตร เตรียมนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไปจึงไม่รั่วไหลและปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม” 

สำหรับผู้ได้รับผลกระทบ สามารถติดต่อศูนย์ช่วยเหลือฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โทร 085-650-4049

นำนวัตกรรมเสริมแกร่งธุรกิจ ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง (บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด) และ กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในการนำนวัตกรรมของเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง ผสานกับความเป็นผู้นำภาคการเงินเพื่อความยั่งยืนของกรุงศรี เร่งดำเนินการสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Green House Gas Emissions) เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศให้เปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ความร่วมมือระหว่างสององค์กรในครั้งนี้มีเป้าหมายร่วมกันที่จะศึกษา พัฒนา สรรหา และให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Net Zero Building Materials ของวัสดุก่อสร้าง และโซลูชันต่างๆ ตลอดจน Construction Platform ที่เหมาะสมกับประเทศไทย เพื่อเตรียมความพร้อมในการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ทั้งในแง่ของการ Decarbonization ของวัสดุก่อสร้าง และการพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่เป็น Carbon Sink Based Product ตลอดจนการพัฒนาระบบการก่อสร้างที่จะทำให้มี Carbon Footprint ในองค์รวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะได้นำผลของการดำเนินการต่อยอดสู่การพัฒนาโครงการให้ครบทั้ง Ecosystem เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม และยกระดับการอยู่อาศัยของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น

นายวิโรจน์ รัตนชัยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง กล่าวว่า “สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ สอดคล้องกับกลยุทธ์ ESG ในการดำเนินธุรกิจของเอสซีจีโดยตรง ธุรกิจเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิงมุ่งเสาะหา และพัฒนานวัตกรรมวัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำ โซลูชันการอยู่อาศัยที่ทำให้เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของโครงการลดการใช้พลังงาน รวมถึงกระบวนการก่อสร้างทางเลือกที่ทำให้การก่อสร้างในอนาคตลดการปล่อยคาร์บอนได้มากขึ้น”

“การลงนามในวันนี้เป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของ เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง และ กรุงศรี ในการใช้จุดแข็งของทั้ง 2 ธุรกิจมาพัฒนาต่อยอดสู่เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นพันธกิจของสังคมโลก เราหวังว่าแผนงานสำคัญที่ได้จากโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ ยกระดับศาสตร์การใช้วัสดุก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น และสนับสนุนให้เกิดการผลิตวัสดุคาร์บอนต่ำมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการผลักดันให้เกิดนโยบาย หรือแผนงานที่มุ่งสู่ความเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญเพื่อโลกที่ยั่งยืนให้กับหลายๆ หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ต่อไปในอนาคต” นายวิโรจน์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้านนายไพโรจน์ ชื่นครุฑ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ของกรุงศรีสู่การเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ยั่งยืนที่สุดในประเทศไทย กรุงศรี ยินดีอย่างยิ่งในการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของเอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือครั้งนี้ มีเป้าหมายในการช่วยส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์โซลูชันรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับมาตรฐานงานก่อสร้างให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเร่งขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย Net Zero ได้อย่างชัดเจนและยั่งยืน”

“กรุงศรีในฐานะผู้นำด้านการเงินเพื่อความยั่งยืน (ESG Finance) จะช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสภาวะวิกฤตทางสภาพภูมิอากาศ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ผ่านกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้จุดแข็งของทั้งสองบริษัทให้คำแนะนำแบบครบวงจรเกี่ยวกับโซลูชันด้านการก่อสร้างและการเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับบุคคลทั่วไป และผู้ประกอบการในห่วงโซ่ธุรกิจ การสนับสนุนการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ผ่านเครือข่าย MUFG เพื่อขยายโอกาสในการทำธุรกิจ และเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ รวมไปถึงการร่วมแสวงหาโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน เพื่อช่วยสนับสนุนความสำเร็จในการลดการปล่อยคาร์บอนทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมไทย และขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป”

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นิคมอุตฯ มาบตาพุด จ.ระยอง ผู้บริหารบริษัทฯ ลงพื้นที่ชุมชน ติดตามและพบคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่กระทบต่อชุมชน และน้ำจากการดับเพลิงไม่รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีเขื่อนกั้นบริเวณรอบถัง สามารถรองรับน้ำจากการดับเพลิงได้ 100% พร้อมเปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง โทร. 085-650-4049 ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บ ขณะนี้กลับบ้านแล้ว 2 ราย และ 3 ราย อยู่ในความดูแลแพทย์ใกล้ชิด 

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังรับฟังความคืบหน้าเหตุเพลิงไหม้ บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด เช้าวันนี้ว่า จากการลงตรวจพื้นที่พบว่า สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และบริษัทฯ ได้ทำการควบคุมเพลิงไว้ได้อย่างเด็ดขาด แต่ขณะเดียวกันยังทำการฉีดโฟมหล่อเย็นไว้ เพื่อควบคุมอุณหภูมิจากสภาวะอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ด้านการดูแลประชาชนในพื้นที่โดยรอบนั้น ได้อพยพประชาชนไปยังที่ทำการชุมชนตากวนอ่าวประดู่ จ.ระยอง รวมทั้งประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสหเวชศาสตร์ เพื่อส่งทีมแพทย์เข้ามาดูแลสุขภาพ และตรวจรักษาให้กับพี่น้องประชาชนแล้ว

ส่วนการตรวจวัดคุณภาพน้ำชุมชนโดยรอบพื้นที่ โดยรถโมบายของสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (สนพ.) จำนวน 2 จุด ได้แก่ คลองชากหมาก และบริเวณบริษัท ไทยพลาสติกเคมีภัณฑ์ พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ขณะที่คุณภาพในบรรยากาศพบว่า ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจำนวน 3 จุด ได้แก่ จุดตรวจสถานีอนามัยตากวน จุดตรวจสถานีหนองเสือเกือก และจุดตรวจสถานีเทศบาลเมืองมาบตาพุด อยู่ในเกณฑ์ปกติ”

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ. จะตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเร่งด่วน จัดทำมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกที่ให้การรับรองด้านความปลอดภัย พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางและมาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ได้กำชับทุกนิคมอุตสาหกรรมให้เพิ่มความเข้มงวดของมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่ ตามมาตรฐาน “การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต” (Process Safety Management : PSM) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการ และประชาชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน”

นพ.สุนทร เหรียญภูมิการกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง กล่าวในการแถลงข่าววานนี้ว่า “ตามเอกสารประกอบของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน C9+ เมื่อเกิดเพลิงไหม้พบว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพระดับสอง คือ มีการระคายเคืองเป็นหลัก แสบหู ตา จมูก ไอ ถ้าสูดดมในปริมาณมากอาจจะคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือทำให้หมดสติ โดยทั่วไปจะมีอาการระคายเคือง ยังไม่มีรายงานว่า เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง”

นายธรรมศักดิ์  เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีเร่งดำเนินงานอย่างเต็มที่เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยลงพื้นที่ ติดตามและบรรเทาผลกระทบ ซึ่งได้ตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ชุมชนโดยรอบอย่างเข้มข้น ทั้งจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่องของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และเทศบาลเมืองมาบตาพุด รวมทั้งเครื่องตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายแบบพกพา 18 จุดในพื้นที่ชุมชน พบว่า คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานี โดยยังคงเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สำหรับการป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีและน้ำจากการดับเพลิง บริษัทฯ ได้ออกแบบเขื่อนกั้น (Bund) ที่รองรับน้ำและโฟมจากการดับเพลิง สามารถกักเก็บได้ 100%  จึงมั่นใจได้ว่า จะไม่รั่วไหลและปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ น้ำจากการดับเพลิงจะถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป  นอกจากนี้ ยังได้จัดศูนย์ช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบให้กับพี่น้องชุมชน พร้อมดูแล 24 ชั่วโมง โทร. 085-650-4049 สำหรับผู้บาดเจ็บ 5 ราย นั้น ขณะนี้ 2 ราย อาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 3 ราย อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งบริษัทฯ จะดูแลอย่างเต็มที่”

เอสซีจี ‘องค์กรแห่งโอกาส’ หนุนพลังคนปล่อยแสง เปลี่ยนไอเดียให้เป็นจริง-พัฒนานวัตกรรมระดับโลก-ร่วมมือทุกภาคส่วน ปั้นนวัตกรรมกรีนโดนใจ คาร์บอนต่ำ มุ่งมั่นสร้างการเติบโตร่วมกันบนสังคมคาร์บอนต่ำ คุณภาพชีวิตดี เศรษฐกิจโต สังคม สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ปี 67 ตั้งงบพัฒนากระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำและนวัตกรรมกรีน 10,000 ล้านบาท

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “การพัฒนานวัตกรรมกรีนเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาโลกเดือด และขอเชิญชวนทุกภาคส่วนมาร่วมกันสนับสนุนเลือกใช้นวัตกรรมกรีนที่ตอบโจทย์ การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ไม่ง่าย เพราะต้องปรับเปลี่ยนทั้งเทคโนโลยี ความเข้าใจลูกค้าและตลาด รวมถึงกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ซึ่ง ‘พลังของคน’ เป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้

เอสซีจีจึงเปิดพื้นที่ สร้าง ‘องค์กรแห่งโอกาส’ (Organization of Possibilities) เพื่อให้ทุกคนทั้งพนักงาน พาร์ตเนอร์ คนทุกเจน มีพื้นที่แสดงพลังและปล่อยแพสชันไร้ขีดจำกัด คิดทำนอกกรอบ ทดลองเรียนรู้ เพื่อพัฒนานวัตกรรมกรีนที่ตอบโจทย์ลูกค้า สังคม สิ่งแวดล้อม และสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ เอสซีจี องค์กรแห่งโอกาสต่าง ๆ  ประกอบด้วย 1.) โอกาสเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม เช่น ให้พนักงานก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกับโครงการสตาร์ตอัปภายในองค์กร ‘ZERO TO ONE by SCG’ โดยติดอาวุธทักษะความรู้ ตั้งแต่เริ่มทำความเข้าใจลูกค้า ค้นหาปัญหา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ลูกค้า และการขยายฐานลูกค้าเพื่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดด เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม อาทิ Design Thinking, Generative AI, Data Analytics ปัจจุบันมีผู้ร่วมกว่า 800 คน และมีสตาร์ตอัปในโครงการ 100 สตาร์ตอัป เช่น ‘Wake Up Waste’ แพลตฟอร์มรถบีบอัดขยะ ช่วยให้ขยะเล็กลง ขนส่งได้ปริมาณมากขึ้น เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ‘Dezpax’ แพลตฟอร์มออนไลน์แพคเกจจิ้งครบวงจรรายแรกในไทย สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ฟู้ดเดลิเวอรี่ และคาเฟ่ ขณะเดียวกัน ยังเปิดเวที ‘SCG Young Talent Program’ บ่มเพาะนวัตกรรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยทุกชั้นปี ทุกสาขา ผ่านการทำงานกับเอสซีจี แบบทำจริง เจ็บจริง (Bootcamp) เป็นเวลา 13 สัปดาห์ เพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมดิจิทัล ตอบเทรนด์อนาคต มีคนรุ่นใหม่เข้าร่วมแล้วกว่า 850 คน นอกจากนั้น สนับสนุนให้พนักงานทุกระดับเสนอไอเดียพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้เสมอ สร้างวัฒนธรรมเปิดใจ ใฝ่เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ พัฒนาตัวเอง ไม่ยึดติดจากความสำเร็จเดิม (Open & Challenge) 2.) โอกาสพัฒนานวัตกรรมระดับโลก สนับสนุนการวิจัยภายในองค์กรและร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เช่น ร่วมกับ Norner AS’ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสติก ประเทศนอร์เวย์ และ ‘มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด’ ประเทศอังกฤษ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน รวมทั้ง ร่วมมือกับสตาร์ตอัปจากสหรัฐอเมริกา ‘Rondo Energy’ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) ที่พลิกโฉมอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ เช่น แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานสะอาด และ 3.) โอกาสร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งเครือข่ายภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม เพื่อรวมพลังสร้างสังคมคาร์บอนต่ำที่เติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน เช่น ขับเคลื่อน ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ สร้างเมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย พาไทยมุ่งสู่ Net Zero ทั้งนี้ ปี 2567 เอสซีจี ตั้งงบพัฒนากระบวนการผลิตคาร์บอนต่ำและนวัตกรรมกรีนกว่า 10,000 ล้านบาท”

กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวต่อว่า “พลังของ ‘องค์กรแห่งโอกาส’ ทำให้เอสซีจีสร้างสรรค์หลากหลายนวัตกรรมกรีนโดนใจ โดยออกแบบกระบวนการผลิตให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่กับเพิ่มฟังก์ชันใช้งานที่ตอบโจทย์ลูกค้า สังคม สิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น อาทิ พลิกโฉมการก่อสร้างและอยู่อาศัยให้กรีนครบวงจร ตั้งแต่นวัตกรรมงานโครงสร้างจนถึงระบบเทคโนโลยีภายในและการตกแต่ง ก่อสร้างบ้าน อาคาร โครงการต่าง ๆ ด้วย ‘ปูนคาร์บอนต่ำและคอนกรีตคาร์บอนต่ำ’ จาก ‘เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แข็งแรง ได้มาตรฐาน ผิวเรียบ อายุยาวนาน สามารถตอบโจทย์โครงการรักษ์โลกต่าง ๆ ได้อย่างดี ทั้งงานอาคารขนาดใหญ่ งานนิคมอุตสาหกรรม งานท่าเรือ ไปจนถึงงานใต้ทะเล พร้อมยกระดับการอยู่อาศัยให้ดียิ่งขึ้นและเป็นมิตรต่อโลก โดย ‘เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง’ นำเสนอ ‘วัสดุก่อสร้างครบทั้งหลัง’ ดีไซน์สวยงาม ทนทาน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้รับการรับรอง SCG Green Choice และฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งยังมีเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานครบวงจร ตั้งแต่การลดการใช้พลังงานจากระบบปรับอากาศในอาคาร ด้วย ‘SCG Air Scrubber’ และสร้างพลังงานสะอาดสำหรับใช้ภายในบ้าน-อาคารตลอด 24 ชั่วโมง ด้วย ‘SCG Solar Hybrid Solutions’  ตลอดจนโซลูชันใหม่อย่าง ‘Microgrid and Energy Storage System’ ที่ช่วยให้การบริหารจัดการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด กักเก็บพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ไว้สำหรับใช้งานในช่วงต่าง ๆ ของวัน นอกจากนั้น ‘เอสซีจี เดคคอร์’ พร้อมเสิร์ฟนวัตกรรมตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจร ล่าสุด เปิดตัว ‘COTTO CLAY DECOR COLLECTION’ ดูดซับความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านเย็น ประหยัดพลังงาน และนวัตกรรม ‘ก๊อกน้ำรุ่น GEO Series’ ที่ใช้นวัตกรรมการผลิตแบบ Non-Foundry Process ดีไซน์ก๊อกน้ำที่ใช้ท่อทองเหลืองมาเป็นส่วนหนึ่งในงานออกแบบ สามารถลดใช้พลังงานในการหลอมขึ้นรูป และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าร้อยละ 10

ยกระดับไลฟ์สไตล์ให้สะดวกผู้ใช้ สบายโลกมากยิ่งขึ้น ด้วยนวัตกรรมจาก ‘SCGP’ ที่ช่วยสร้างความยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การพัฒนายูคาลิปตัสเพื่อเป็นวัตถุดิบทดแทน (Renewable Resource) การเพิ่มประสิทธิภาพการนำกระดาษรีไซเคิลสู่กระบวนการผลิต พัฒนากระบวนการผลิตให้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย Machine Learning และปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเพิ่มทางเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลและใช้ซ้ำได้ เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน รวมถึงมุ่งพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มสินค้าใหม่ ๆ อย่างกลุ่มวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเตรียมรองรับเทรนด์การใส่ใจสุขภาพไปกับความยั่งยืน ขณะที่  ‘เอสซีจี เคมิคอลส์ (SCGC)’ มุ่งพัฒนานวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMERTM พร้อมนำเสนอกรีนโซลูชันตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon โดยได้ขยายกำลังการผลิตพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป ได้แก่ ‘ซีพลาสต์’ (Sirplaste) โปรตุเกส เพิ่มขึ้น 9,000 ตันต่อปี เป็น 45,000 ตันต่อปี และ ‘คราส’ (Kras) เนเธอร์แลนด์ เพิ่มขึ้น 9,000 ตันต่อปี เป็น 18,000 ตันต่อปี ตอบโจทย์ความต้องการนวัตกรรมกรีนในระดับโลก ขณะที่ในภูมิภาค ร่วมกับคู่ธุรกิจมุ่งเปลี่ยนของใกล้ตัวผู้บริโภคให้กรีนยิ่งขึ้น อาทิ ร่วมกับ HomePro พัฒนา ‘เครื่องใช้ไฟฟ้ารักษ์โลก’ ครั้งแรกในไทย โดยรีไซเคิลพลาสติกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วให้กลับมาผลิตใช้ใหม่ นอกจากนั้น ร่วมกับ Braskem ผลิต ‘พลาสติกชีวภาพ’ หรือ Bio-Polyethylene ที่เปลี่ยนการใช้วัตถุดิบตั้งต้นจากฟอสซิลเป็นวัตถุดิบชีวภาพ มีปริมาณการปล่อยคาร์บอนเป็นลบ ร่วมกับ Denka ผลิต ‘Acetylene Black’ ซึ่งเป็นสารนำไฟฟ้าสำคัญสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ EV มุ่งสู่ Green Mobility พร้อมทั้งนวัตกรรมสุดล้ำล่าสุดที่ SCGC พัฒนาร่วมกับ Avantium ในการ ‘เปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นพอลิเมอร์คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นลบ’ (Carbon-Negative Plastic)  นอกจากนี้ SCGC ยังได้รุกสู่ธุรกิจโซลูชันในการปรับปรุงและแก้ปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Solutions) ภายใต้แบรนด์ ‘REPCO NEX’ พร้อมส่งมอบ Innovative & Digital โซลูชันเพื่อความยั่งยืน อาทิ พลังงานสะอาด (Renewable Energy) ระบบการผลิตอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากร และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  

สำหรับภาคธุรกิจที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ ‘เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่’ ช่วยก้าวข้ามข้อจำกัดในการใช้พลังงานสะอาดของภาคอุตสาหกรรม เร่งการเปลี่ยนผ่านให้เร็วยิ่งขึ้น ด้วยแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานสะอาดอัจฉริยะ ‘Smart Grid’ เพื่อเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งนวัตกรรมแห่งอนาคตอย่าง ‘แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานความร้อนจากพลังงานสะอาด’ ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำความร้อนหรือไอน้ำในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจน ‘เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์’ พร้อมเป็นตัวกลางเชื่อมต่อสังคมโลว์คาร์บอน ซัพพอร์ทลูกค้าและคู่ธุรกิจมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ใน Scope 3 ด้วยบริการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ที่นำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ ‘กลุ่มธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็น’ (Cold Chain Business) มีการใช้เทคโนโลยีจัดเก็บและจ่ายสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage Retrieval System) หรือ ASRS พร้อมด้วยระบบ ‘Solar Roof’ เปลี่ยนสู่การเป็นคลังสินค้าประหยัดพลังงาน ลดการใช้เชื้อเพลิง ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนั้น ยังมีนวัตกรรมด้านกรีนโลจิสติกส์อื่น ๆ เช่น ‘รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า’ ‘ระบบคำนวณเส้นทางอัจฉริยะ (AI Route Optimization)’ ‘หุ่นยนต์ลำเลียงอัตโนมัติ (AGV & Robotics)’ ที่ช่วยสร้างความยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ”

“เอสซีจีสามารถเดินหน้านวัตกรรมกรีนมาจนถึงวันนี้ มียอดขายนวัตกรรมรักษ์โลก SCG Green Choice ร้อยละ 53 จากยอดขายทั้งหมด และมุ่งสู่เป้าหมายยอดขายร้อยละ 67 ภายในปี 2573 ก็เพราะพลังของทุกคน เราจึงพร้อมเดินหน้าสนับสนุนและชวนทุกคนปล่อยแสงเต็มที่ เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำที่ผู้คนมีคุณภาพชีวิตดี เศรษฐกิจเติบโต สังคม สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ เปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ตามแนวทาง Inclusive Green Growth” นายธรรมศักดิ์ สรุปปิดท้าย

X

Right Click

No right click