พฤกษา ผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจอสังหาฯ ไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ชู “PRUKSA Living Tech” เทคโนโลยีที่ยกระดับการอยู่อาศัย ใส่ใจคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างแท้จริง ลงลึกไปยัง 14 แบรนด์ของพฤกษา พร้อมเปิดตัว PRUKSA Living Tech Space โอเอซิสใจกลางกรุงย่านอารีย์ คืนอากาศบริสุทธ์ให้คนกรุง พร้อมจัดแสดงเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยสุดล้ำ เปิดชมวันที่ 6-16 มิ.ย. นี้
นางสุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “พฤกษาเป็นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ส่งมอบบ้านให้กับคนไทยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งทุกปี นอกจากการส่งมอบบ้านที่มีคุณภาพดี เราอยากให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่แล้วมีความสุข ความสะดวกสบาย พฤกษาจึงได้ชูแคมเปญการตลาด “PRUKSA Living Tech” ซึ่งป็นหัวใจหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจในปีนี้ เพื่อตอกย้ำในด้านความเป็นผู้นำด้านเทคโลยีของพฤกษา โดยยังเน้นเรื่อง “ความใส่ใจ” ซึ่งต่อยอดมาจาก Brand Purpose ของพฤกษาที่ “ใส่ใจ...เพื่อทั้งชีวิต” ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ลงลึกไปสู่สินค้าของพฤกษาทั้ง 14 แบรนด์ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยพร้อมเทคโนโลยีที่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น โดย “PRUKSA Living Tech” เป็นการนำเทคโนโลยีที่ผสานกับนวัตกรรมทางธรรมชาติไว้อย่างลงตัว ที่เกิดจากการเข้าใจ Insight ของลูกค้าและคนไทยอย่างแท้จริง
PRUKSA Living Tech ครอบคลุมการอยู่อาศัยทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ Healthy เทคโนโลยีการอยู่อาศัยเพื่อสุขภาพ อาทิ O2 System การติดตั้งเครื่องผลิตออกซิเจน คืนอากาศบริสุทธิ์สดชื่นให้กับคนในครอบครัว รวมไปถึงนวัตกรรมบ้านที่ใส่ใจผู้สูงอายุ Green เทคโนโลยีการอยู่อาศัยเพื่อสังคมสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน อาทิ ระบบ Pruksa Fresh Air ช่วยเรื่องระบบหมุนเวียนอากาศ ทำให้บ้านเย็น ระบบ Solar Cell System ที่นำมาในพื้นที่ส่วนกลาง เช่น บ่อบำบัดน้ำเสีย คลับเฮาส์ ช่วยลดค่าใช้ไฟฟ้า Safety เทคโนโลยีการอยู่อาศัยเพื่อความปลอดภัย มั่นใจได้ด้วยมาตรฐานระดับสากล อาทิ Triple Gate ระบบรักษาความปลอดภัยหน้าทางเข้าโครงการที่แน่นหนาถึง 3 ชั้น Door and Window Magnetic Sensor ระบบเซ็นเซอร์แม่เหล็กประตูและหน้าต่าง ที่จะมีหน้าที่แจ้งเตือนเมื่อมีการงัดแงะประตูหรือหน้าต่าง และ Smart เทคโนโลยีการอยู่อาศัยให้คุณเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์เพื่อความสะดวกสบายของคนยุคดิจิทัล อาทิ Home Automation ควบคุมระบบต่างๆ ภายในบ้านง่ายด้วยปลายนิ้ว Smart Mirror ติดตั้งในห้องน้ำที่เชื่อมต่อโลกโซเชียลได้ทุกเวลา เป็นต้น
นอกเหนือไปจากนี้ พฤกษายังใส่ใจถึงปัญหามลภาวะต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน หรือแม้แต่อากาศที่ร้อนอบอ้าวในแต่ละวัน โดย PRUKSA Living Tech มีเทคโนโลยีที่เข้ามาตอบโจทย์ได้อย่างตรงจุด อาทิ เช่น ระบบ O2 System ที่ผลิตออกซิเจนให้คุณได้พักผ่อนท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์ที่มีปริมาณออกซิเจนในระดับเหมาะสมที่สุดกับร่างกาย ทำให้สมองปลอดโปร่ง สดชื่น Pruksa Fresh Air ช่วยเรื่องการไหลเวียนอากาศภายในบ้าน และช่วยให้บ้านเย็นขึ้น Vertical Green Wall การปลูกต้นไม้แนวตั้ง และต้นไม้ฟอกอากาศ เพื่อช่วยกรองฝุ่นละออง และลดมลภาวะทางเสียง เป็นต้น
PRUKSA Living Tech ได้นำมาใช้ในโครงการทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว และคอนโดมิเนียมของพฤกษาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับฟังก์ชั่นของบ้านและไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในแต่ละเซกเมนต์ มั่นใจว่าที่อาศัยทุกโครงการภายใต้แบรนด์พฤกษา จะช่วยเติมเต็มประสบการณ์การอยู่อาศัยที่ดีเยี่ยม นำไปสู่ความภาคภูมิใจของลูกค้าที่ได้ร่วมเป็นเจ้าของโครงการที่อยู่อาศัยของพฤกษา ซึ่งเป็นความมุ่งหวังของสูงสุดของพฤกษาที่อยากเห็นคนไทยมีบ้าน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” นางสุพัตรา กล่าว
พฤกษาได้เนรมิตอาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก อารีย์ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของพฤกษา ให้เป็น “PRUKSA Living Tech Space” เปิดประสบการณ์ใหม่ในรูปแบบของ Glass House ที่ยกสวนสวยขนาดใหญ่พร้อมกับเทคโนโลยีการอยู่อาศัยสุดล้ำ โดยไฮไลท์อยู่ที่ระบบ O2 System ที่มาพร้อมกับ Co-working space ให้คนกรุงได้เข้ามาสูดอากาศบริสุทธิ์ เปรียบเสมือนได้พักผ่อนอยู่ในโอเอซิสใจกลางกรุงเทพ เปิดชมตั้งแต่วันที่ 6-16 มิถุนายน 2562 พร้อมกิจกรรมที่น่าสนใจในแต่ละวัน อาทิ ตรวจสุขภาพฟรี, นวดบำบัดอากาศออฟฟิศซินโดรม, เวิร์คชอปสอนถ่ายภาพ, DIY การดัดแปลงวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.pruksa.com/livingtech
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิสิทธิ์ แก้วฉา หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจและการจัดการ คณะการบริหารและจัดการ (Faculty Administration and Management : FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวถึงหลักสูตรบริหารธุรกิจที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
“สำหรับหลักสูตรบริหารธุรกิจระดับปริญญาตรีของเราแบ่งย่อยออกเป็น 4 แขนง คือ บริหารธุรกิจเกษตรบริหารจัดการเทคโนโลยี บริหารจัดการอุตสาหกรรม และบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ หลักสูตรบริหารของเราเริ่มต้นจากภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรซึ่งสังกัดอยู่ภายใต้คณะเทคโนโลยีการเกษตร ก่อนจะปรับเป็นวิทยาลัยการบริหารและจัดการ จนกระทั่งกลายมาเป็นคณะการบริหารและจัดการอย่างเต็มรูปแบบในปัจจุบันตามแนวทางของสถาบันฯ ตามที่ท่านคณบดีกล่าวว่า เรามีพื้นฐานมาจากทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ เวลาเราเปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจก็คงจะไม่ใช่ทางด้านบริหารธุรกิจแบบสังคมศาสตร์ทั่วๆ ไป นักศึกษาที่มาเรียนด้านนี้ก็จะมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการบริหารและการจัดการ บางคนสนใจเรื่องเทคโนโลยีมากๆ ก็สามารถพัฒนาตัวเองไปเป็นโปรแกรมเมอร์ได้โดยมีฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการควบคู่กันไป
ในระดับปริญญาโท ภาควิชาบริหารและการจัดการ มี 2 หลักสูตร คือ บริหารธุรกิจทั่วไป เป็นหลักสูตรที่รองรับความต้องการของตลาดแรงงาน จุดเด่นที่ต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นคือ เรามีเรียนเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเรียนแบบปกติ เป็นโอกาสดีของคนทำงานวันธรรมดาและไม่สะดวกเดินทางมาเรียนระหว่างสัปดาห์ กลุ่มที่มาเรียนโดยมากจะเป็นพนักงานจากนิคมอุตสาหกรรมบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ซึ่งเกินกว่าครึ่งของนักศึกษาที่มาเรียน เป็นนักศึกษาที่มีพื้นฐานในระดับปริญญาตรีมาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เด็กที่จบมาแล้วทำงานเป็นวิศวกรเขาสามารถขึ้นไปเป็นผู้บริหารได้ แต่ความรู้ทางหลักการบริหารที่เขานำมาใช้จะเน้นจากการอ่านหนังสือเอาเอง เขาจึงอยากได้ความรู้วิชาการที่เป็นทฤษฎีจริงๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้งานได้เร็วกว่าที่จะไปศึกษาด้วยตนเอง และมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในการทำงานกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่มาจากหน่วยงาน / บริษัทต่างๆ นักศึกษาเหล่านี้สามารถที่จะก้าวขึ้นไปเป็นบอร์ดบริหารในองค์กรได้ อีกหลักสูตรหนึ่งเป็นบริหารธุรกิจระดับปริญญาโทด้านการจัดการกีฬาและสื่อบันเทิง ตอนที่จัดตั้งหลักสูตรนี้ขึ้นมาเรามีความร่วมมือกับไทยไฟท์และสถานีโทรทัศน์ จึงถือเป็นหลักสูตรที่เราออกแบบมาเพื่อตอบสนองธุรกิจกีฬาและสื่อบันเทิงโดยเฉพาะ
สำหรับปริญญาเอกจะเป็นหลักสูตรการจัดการอุตสาหกรรม เนื่องจากเรารับเด็กเข้ามาเรียนค่อนข้างเป็นจำนวนมากจึงต้องเร่งผลักดันให้เด็ก 30 กว่าคนจบให้หมด ช่วงนี้จึงมีการชะลอตัวการเปิดรับ”
แนวทางการจัดหลักสูตรของ FAM จะเน้นความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศซึ่งมีเรื่องของการนำเอาดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจภาพรวม อีกทั้งยังระดมอาจารย์ในหลายสาขาวิชาจากคณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไอที วิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาสอน เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ครอบคลุมและทันสมัยกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่สุด หลักสูตรที่เกิดขึ้นจึงไม่ล้าสมัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิสิทธิ์ แก้วฉา อธิบายถึงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ FAM ว่า
“โดยทั่วไปรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลายๆ วิชาจะใช้ Case Study มา Discussion กัน เครื่องมือ Facility ที่นำมาใช้ก็ค่อนข้างครบครัน มีการทำ Field Trips ไปตามองค์กรต่างๆ มีการใช้สื่อและการสื่อสารแบบออนไลน์มากขึ้น สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรีปีที่ 3 ที่มีความสนใจจะไปฝึกงานที่ต่างประเทศทางคณะฯ ก็มี Connection กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ อย่าง Central Luzon State University ที่ฟิลิปปินส์ Meiji University และ University of Toyama ในญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในไต้หวัน อเมริกา ฝรั่งเศส ส่วนระดับปริญญาโทและเอกก็มีการพาไปดูงานต่างประเทศเป็นปกติ โดยเฉพาะปริญญาเอกที่จะต้องมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับและมีคุณภาพซึ่งถือเป็นเงื่อนไขของการศึกษาอยู่แล้ว
ส่วนการปรับหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรหากเทียบปัจจุบันกับอดีตค่อนข้างต่างกันพอสมควร อย่างไรก็ตาม เราจะยึดแกนหลักเป็นด้านบริหารธุรกิจ ในแต่ละปีถ้าเห็นว่ามีอะไรเหมาะสมก็จะพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและเกี่ยวข้องกับทั้ง 4 แขนงของเรา อย่างช่วงหลายปีให้หลังมานี้ด้านการค้าระหว่างประเทศหรือไอทีค่อนข้างได้รับความนิยม เป็นเทรนด์ที่ต่างไปจากในเมื่อก่อน และเร็วๆ นี้ตามนโยบายของคณะผู้บริหาร เรากำลังอยู่ในกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดหลักสูตร 4+1 ปริญญาตรีควบโทใช้ระยะเวลาเรียนเพียง 5 ปี ทำความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร วิศวกรรมศาสตร์และไอที โดยจะมีการประชุมทำการยกร่างรายวิชา ระดับปริญญาโทนักศึกษาจะได้เรียนหลักทางด้านบริหาร แต่จะมีรายวิชาเลือกที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละประเภทและสอดคล้องกับวิชาชีพของเขา
ต่อมาสิ่งที่เราจะทำคือ หลักสูตรออนไลน์บางรายวิชาและเครดิตแบงกิ้ง เก็บเป็นรายวิชาสะสมไว้แล้วก็สามารถ Transfer หน่วยกิตได้ และตอนนี้ก็จะมีหลักสูตรร่วมกับบริษัทเอกชน อย่างเช่น ไทวัสดุหรือบริษัทเครือเซ็นทรัล ซึ่งจะจัดหลักสูตรร่วม รูปแบบจะเป็นการเรียนกับคณะของเราและฝึกงานเพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ได้ประสบการณ์จากการทำงานจริงในบริษัทเมื่อเด็กจบไปก็ทำงานกับองค์กรได้เลย ตอนนี้ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนการการพูดคุยเบื้องต้นแต่แนวโน้มค่อนข้างเป็นไปได้สูงว่าจะมีความร่วมมือในปีการศึกษา 2562
นอกจากนี้ก็มีกิจกรรมบริการวิชาของการคณะ โดยให้บริการไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่จะมีการคัดเลือกผู้เข้าร่วม อย่างเร็วๆ นี้จะมีโครงการพัฒนาอาชีพของชุมชนสู่ ASEAN ภายใต้หัวข้อ “การสำรวจข้อมูลสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” มีวิทยากรที่เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ เป็นการอบรมเพื่อเปิดช่องทางการขายสินค้าท้องถิ่นแบบออนไลน์ให้คนในชุมชนบริเวณลาดกระบังที่ต้องการพัฒนาอาชีพไปสู่ระดับสากล”
เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล
งานบริการวิชาการเป็นงานที่นำเอาองค์ความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้กับสังคมภายนอกเครือข่ายต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างตรงจุด
หลักสูตร “Made to Order” ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สจล. เน้นการเรียน การสอนวิชาเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ ให้นักศึกษาเก่ง ทั้งวิชาการและการใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์รวมถึงการสร้างความพร้อมในการทำงาน ทั้งเรื่องวิชาการและความแข็งแรงในวิชาชีวิต เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมธุรกิจและการแข่งขันในโลกการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป
ผศ. ดร. โอปอล์ สุวรรณเมฆ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร MBA ถึง หลักสูตรการเรียนการสอนของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ของสจล. ที่รองรับกับยุค Disruptive Education ว่า จากจุดเด่นของการแบ่งวิชา
เศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มวิชา คือ
ซึ่งมีข้อดีที่ว่า นักศึกษาสามารถเลือกวิชาที่สนใจได้ตามที่ต้องการ เพราะไม่ได้กำหนดวิชาเป็นเมเจอร์ ซึ่งจะเป็นการจำกัดกรอบจนเกินไป และเห็นว่าการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสวงหาความรู้อื่น ๆ มาเสริมได้ รวมไปถึงการเพิ่มพูนความรู้จากคอร์สอบรมอื่น ๆ นั้น จะช่วยเพิ่มศักยภาพในเส้นทางการเดินไปในอนาคตของนักศึกษาได้อย่างดี
ในปัจจุบันเรามีการออกแบบหลักสูตร โดยทำงานกับภาคธุรกิจที่ร่วมกันคิดโจทย์ออกมาเป็นหลักสูตร “Made to Order” ซึ่งจะทำให้นักศึกษาที่จบออกมามีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการที่มีเหตุผล นอกจากนี้ยังมีการไป Plug in กับประชาคมภายนอกทั้งวิสาหกิจชุมชน ภาคเอกชนต่าง ๆ และยังขยายวงกว้างไปถึงความร่วมมือกับต่างประเทศ
ผศ. ดร. โอปอล์ ย้ำถึงอีกจุดเด่นที่สำคัญมากของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คือ การเรียนที่ไม่เน้นแต่เพียงทฤษฎีเหมือนที่อื่น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์ที่อาศัยเครื่องมือมาใช้ในการบริหารจัดการ ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไป และยังสามารถนำมาประยุกต์เป็นหลักการทำงาน เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมมหภาค หรือแม้แต่การแข่งขันภายนอกที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
เพราะการเป็นนักเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการนั้น ในฐานะของคนที่สนับสนุนนโยบายหรือกลยุทธ์ขององค์การธุรกิจ จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เกิดการตัดสินใจอย่างเหมาะสม สามารถแนะนำธุรกิจให้ปรับตัวได้ ซึ่งการปรับตัวที่ว่านั้นจะรู้ได้จากสัญญาณที่มาการตัดสินใจอย่างเหมาะสม ซึ่งการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ จะเป็นส่วนสนับสนุนให้ได้คำตอบที่ชัดเจน สามารถวัดผลได้ ทำให้เตรียมความพร้อมเพื่อการปรับตัวทางธุรกิจที่จำเป็นได้
สำหรับการบ่มเพาะความรู้ความสามารถของนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ คณะการบริหารและจัดการ สจล.นั้น ที่นี่จะสร้างความพร้อมในการทำงาน ทั้งเรื่องวิชาการ รวมถึงการดึงศักยภาพเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่มีอยู่แล้วมาใช้ เช่น การดูอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) การพยากรณ์ (Forecasting) โดยใช้ตัวเลขทางเศรษฐกิจมหภาคมาใช้ หรือการประยุกต์คณิตศาสตร์เข้ามาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจข้อมูลต่าง ๆ นอกเหนือจากการสร้างความแข็งแรงในวิชาชีวิต และยังด้านความคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี ตัวเลข และสถิติต่าง ๆ ซึ่งเมื่อมีโจทย์หรือปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติเกิดขึ้นมา นักศึกษาจะรู้ถึงวิธีการจัดการอย่างไรกับตนเอง และกับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ เพื่อที่จะวางแผนกำหนดทิศทางในการรับมืออย่างไรต่อไป
เมื่อนำมาผสานกับจุดแข็งของสจล. ในความเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็ง ในสาขาวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความร่วมมือจากรุ่นพี่ในภาคอุตสาหกรรมมาช่วยรุ่นน้อง และยังมีกลุ่มความร่วมมือจากต่างประเทศ ซึ่งมีที่มาจากการแนะนำในเครือข่ายของคณาจารย์ จากการประชุมวิชาการ เป็นต้น
ในด้านการตั้งเป้าหมายของภาควิชาเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ ซึ่งในวาระที่ ผศ.ดร.โอปอล์ เข้ามารับตำแหน่งใหม่นั้น จะมุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนาและการเติบโต ที่เป็นไปตามนโยบายหลักของ ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดีคณะการบริหารและจัดการ ที่ต้องการไปให้ถึงเป้าหมายใหม่ ๆ เช่น การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนาความร่วมมือกันเพื่อก้าวไปสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น
ดังนั้นสิ่งที่ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เชิงประยุกต์ จะปฏิบัติเพื่อตอบสนองนโยบาย ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นหลักการที่ทำอยู่ เช่น การปรับหลักสูตร การทำหลักสูตรเป็น Module การทำสหกิจศึกษาร่วมกับเครือข่ายภายนอกในกลุ่มต่าง ๆ โดยนำโจทย์จากภาคธุรกิจมาช่วยแก้ปัญหา ร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ และพี่เลี้ยง นอกจากนี้การสนับสนุนความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ถือเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่าย และมีการพึ่งพากันที่แข็งแรงต่อไป
แรงบันดาลใจในการทำงานด้านวิชาการ
ผศ. ดร. โอปอล์ บอกว่า ในชีวิตของอาจารย์ ไม่ได้มีแต่เฉพาะงานวิชาการเท่านั้น เราต้องเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาและลูกศิษย์อีกหลายคนที่จะเติบโต เราจึงต้องมีทางเลือกให้เขามาก ๆ ภาควิชาเองก็ควรมีทางเลือกให้มากกว่าการเรียนแต่ในห้องเรียน คนที่อยากท้าทายตัวเอง ไปรับโจทย์จากภาคอุตสาหกรรมมา หรือจะไปหาประสบการณ์ในต่างประเทศ นี่เป็นตัวอย่างในการเพิ่มช่องทาง ทางเลือกที่จะสนับสนุนให้นักศึกษาเพิ่มพูนความรู้ ในขณะเดียวกันก็สร้างให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และมีความพร้อมในการอยู่กับสังคมที่เป็นดิจิทัลในทุกวันนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีทั้ง 2 Skills คือ วิชาชีพ และวิชาชีวิตที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย
ดังนั้นการเป็นอาจารย์ จึงไม่ใช่แค่งานวิชาการ การเรียนการสอน งานวิจัยของอาจารย์เท่านั้น แต่เราเป็นสัญลักษณ์ของการเรียนรู้ของเด็กทั้งหมด สิ่งที่อยากฝากก็คือ น้อง ๆ นักศึกษาไม่ได้มาแค่เรื่องของวิชาการ แต่น้อง ๆ ต้องเข้ามาฝึกทักษะการมีชีวิตของตนเอง และทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นด้วย ซึ่งเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นคณะหรือภาควิชาใดของสถาบัน เรามีจุดร่วมกัน คือปั้น “คนดี คนเก่ง” สู่สังคม นอกจากนั้นอยากให้สนใจเศรษฐศาสตร์ประยุกต์มากขึ้น เพราะเป็นศาสตร์ที่มีอยู่รอบตัวเรา แล้วจะเห็นความสนุกของเศรษฐศาสตร์ที่มี รวมทั้งยังมีโอกาสในการทำงานและการเรียนต่อที่กว้างขวางขึ้นด้วย
เรื่อง : ชนิตา งามเหมือน
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล
แม้โลกปัจจุบันหลายภาคส่วนจะมีการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆเพื่อตอบสนองการใช้งานและมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคแต่ศาสตร์ในด้านการบริหารจัดการยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
ด้วยรากฐานกว่า 80 ปี รวมกับความไว้วางใจของลูกค้าในประเทศไทย ทำให้เอไอเอ ประเทศไทย เป็นผู้นำตลาดประกันชีวิตในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตทั้งตลาดในปี 2561 จะเห็นว่า เบี้ยประกันชีวิตรับปีแรกหดตัวลง 7.2 เปอร์เซ็นต์ แต่เบี้ยประกันแบบจ่ายครั้งเดียวเพิ่มขึ้น 31.0 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ เอไอเอ ประเทศไทย สามารถทำผลงานได้โดดเด่นกว่าตลาดโดยรวม โดยมีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันชีวิตรับปีแรกถึง 8.6 เปอร์เซ็นต์ และเบี้ยประกันแบบจ่ายครั้งเดียวที่เติบโตถึง 32.2 เปอร์เซ็นต์
เอกรัตน์ ฐิติมั่น ประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการตลาด เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า เหตุที่เอไอเอสามารถทำผลงานได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง มาจากการปรับตัวอย่างสม่ำเสมอของเอไอเอเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาตัวแทนที่เป็นที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงิน หรือ AIA Financial Advisor รวมถึงการผลักดันนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและพัฒนาการบริการในด้านต่างๆ
แนวโน้มประกันชีวิต ปี 2562 สมาคมประกันชีวิตไทยประเมินว่าตลาดประกันชีวิต ในภาพรวมปี พ.ศ. 2562 จะเพิ่มขึ้น 3.5 เปอร์เซ็นต์ ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้น เอกรัตน์มอง 4 แนวโน้มที่น่าจับตามองของธุรกิจประกันชีวิตในปีนี้ซึ่งประกอบด้วย
ดิจิทัลจะเพิ่มความสำคัญ
แม้ธุรกิจประกันชีวิตจะยังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกระแสดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในหลายอุตสาหกรรม แต่จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในบางอุตสาหกรรมทำให้เกิดความคาดหวังว่าจะได้รับบริการในรูปแบบใกล้เคียงกัน จึงเป็นโจทย์ที่บริษัทประกันชีวิตต้องเตรียมรับมือเอไอเอ ตั้งเป้าหมายจะเป็น Leading Digital Insurer ของประเทศไทยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้ชีวิตสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น “การนำเทคโนโลยีมาช่วยให้กระบวนการภายในมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็จะกลับไปเป็นบริการที่ดีขึ้น คืนให้กับลูกค้าทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น”
การตลาดแบบการแบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation Marketing)
จากแนวโน้มที่การสื่อสารการตลาดแบบมุ่งกระจายในวงกว้างไม่จำเพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายมีประสิทธิภาพลดลงในยุคปัจจุบัน เพราะผู้บริโภครุ่นใหม่มีช่องทางรับข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาบริการและผลิตภัณฑ์รวมถึงวิธีการทำการตลาดจากข้อมูลที่มีอยู่จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เอกรัตน์ยกตัวอย่าง เอไอเอ ไวทัลลิตี้ (AIA Vitality) และ เอไอเอ เพรสทีจ (AIA Prestige) ว่า เป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เอไอเอสามารถทำผลงานได้อย่างชัดเจน โดย เอไอเอ ไวทัลลิตี้ เป็นโปรแกรมที่มีลูกค้าที่สนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพและใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองเข้าร่วมแล้วถึง 250,000 ราย ทำให้บริษัทสามารถลงทุนเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิกได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ เอไอเอ เพรสทีจ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เอไอเอมุ่งเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าสินทรัพย์สูง (High Net Worth) ซึ่งได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไปเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ถือว่าได้รับผลตอบรับที่ดีมาก โดย เอไอเอ เป็นบริษัทประกันชีวิตเจ้าแรกของประเทศไทยที่ทำการตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าสินทรัพย์สูงอย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทได้เปิดตัวโครงการ เอไอเอ เพรสทีจ คลับ เพื่อมอบเอกสิทธิ์เหนือระดับให้แก่ลูกค้าคนสำคัญ เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าสินทรัพย์สูง ด้วยการมอบสิทธิประโยชน์ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ ซึ่งได้รับสนใจจากลูกค้ากลุ่มนี้อย่างมาก ทำให้ปัจจุบัน มีลูกค้าที่อยู่ในโครงการมากกว่า 70,000 ราย ซึ่งนี่เป็นหนึ่งในการเตรียมพร้อมรับมือกับตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันของเอไอเอ
การดูแลข้อมูลส่วนบุคคล
พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะประกาศใช้เป็นกฎหมายในประเทศไทยซึ่งอาจส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ รวมถึงธุรกิจประกันชีวิตต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจโดยเอไอเอจะมีการพัฒนาการจัดการข้อมูลของลูกค้า ให้รองรับกฎหมายที่กำลังจะออกมาเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละคนจะถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง และมีการป้องกันข้อมูลสำคัญต่างๆ เป็นอย่างดี
บทบาทของ ‘ที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการการเงิน’ จะเพิ่มขึ้น
จากการที่ธุรกิจประกันชีวิตมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ซึ่งในหลายผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ และนี่คือบทบาทของที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงิน (AIA Financial Advisor) ที่จะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทที่ทำเรื่องนี้ได้ดีก็จะสามารถสร้างความแตกต่างในตลาดได้ เอกรัตน์มองว่า ที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงิน จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเอไอเอ เพราะตัวแทนกลุ่มนี้มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและการวางแผนการเงินอย่างลึกซึ้ง สามารถช่วยเหลือให้คำปรึกษากับลูกค้าในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยบริษัทมีการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ AIA Financial Advisor สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การเสนอแบบประกันชีวิต การชำระเงิน การตรวจสอบสถานะการเคลม ซึ่งตัวแทนทำได้เองบนแท็บเล็ทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เอกรัตน์สรุปว่า ในปี 2562 เอไอเอจะมีการพัฒนาทางด้านกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค้าได้รับการดูแลที่ดีขึ้น และจะมีการพัฒนาตัวแทนให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนการนำเสนอประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า รวมทั้งจะมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพการให้บริการลูกค้าให้ตรงกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนแต่ละ กลุ่มมากขึ้น ซึ่งจะเริ่มเห็นภาพชัดเจนในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ทั้งหมดนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่า เอไอเอจะยังเป็นแบรนด์ในใจของผู้บริโภคต่อไป
ขณะเดียวกัน เอไอเอ ยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท ผ่านโครงการเพื่อตอบแทนสังคมในรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นให้ประชากรในประเทศไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ ในปีนี้นอกจากการไปร่วมเป็นสปอนเซอร์ให้กับงานวิ่งต่างๆ เอไอเอ ประเทศไทย จะมีการจัดงานวิ่งต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยจะมีการประกาศรายละเอียดในช่วงกลางๆ ปีนี้ พร้อมกันนี้ในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี เอไอเอ ประเทศไทย ก็ยังมีการเปิดโรงเรียนศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เอไอเอ ประเทศไทย ที่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งคำขอบคุณที่ เอไอเอ ประเทศไทย มอบให้แก่สังคมเพื่อร่วมพัฒนาบุคลากรและสังคมที่มีคุณภาพให้กับประเทศไทยต่อไป
“เคทีซี” ผู้นำธุรกิจบริการสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคของไทย เผยทิศทางการทำ CSR ปี 2562 มุ่งเน้นการให้โอกาสทางการศึกษากับเยาวชนทุกกลุ่มแบบไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกาย ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาและเรียนรู้ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการนำไปปรับใช้และพัฒนาไปเป็นอาชีพในการเลี้ยงดูตนเอง และยังสามารถถ่ายทอดต่อให้ผู้อื่น เพื่อสร้างความยั่งยืนในสังคมในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด SD
นางสาวอภิวันท์ บากบั่น ผู้อำนวยการ - ทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่า เคทีซีเป็นสถาบันการเงินที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้โอกาสทางการศึกษา และสนับสนุนการให้ความรู้กับคนในสังคม โดยเฉพาะการร่วมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยให้มีคุณภาพอย่างไม่มีขีดจำกัด ผ่านการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ ด้วยเป้าหมายของการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ต่อยอดในด้านต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Sustainable Development Goals–SDGs) รวม 3 เป้าหมาย ได้แก่
1. การให้การศึกษาที่เท่าเทียม(Quality Education)
2. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)
3. การบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
“เคทีซีจึงได้ริเริ่มโครงการ CSR ประจำปี 2562 “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เพื่อร่วมเตรียมพร้อมให้นักเรียนรู้จักการพึ่งพาตนเอง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องความบกพร่องทางกายเป็นอุปสรรค โดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ บรรจุโครงการนี้ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ซึ่งน้องๆ จะได้เรียนรู้ทฤษฎีและฝึกปฏิบัติการเกษตรเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาและต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และบริหารการใช้จ่ายเพื่อการใช้ชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน อีกทั้งรู้จักถ่ายทอดแบ่งปันให้กับสังคม โดยเราได้เลือกกระบวนการเพาะเห็ดออร์กานิคครบวงจร เพื่อทำกินและสร้างอาชีพเป็นโครงการนำร่อง โดยเริ่มตั้งแต่การเรียนรู้ชนิดของเห็ด กระบวนการเพาะเห็ด การแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ทำให้โรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อ ต่อยอดสร้างอาชีพสร้างรายได้ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบริหารการใช้จ่าย และเรียนรู้การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อใช้ในชีวิตจริงให้เกิดประโยชน์กับตนเองและครอบครัว สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอน รวม 12 สัปดาห์ จะมีวิทยากรให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญจากฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง อาจารย์โรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ และเคทีซี โดยจะมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังเรียนรวมทั้งเปิดเวทีให้น้องๆ นำเสนอผลงานในสัปดาห์สุดท้าย”
อาจารย์สายใจ สังขพันธ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเศรษฐเสถียรในพระราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ ขอขอบคุณเคทีซีและทีมงานทุกฝ่าย ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาชีพให้กับคนพิการ โครงการ CSR ครั้งนี้ เน้นการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ฝึกทักษะสร้างอาชีพและสร้างรายได้ ในรูปแบบ “เรียนรู้ ต่อยอด ยั่งยืน” เชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบโครงงานเพาะเห็ดในโรงเรียน นักเรียนจะได้ฝึกปฏิบัติจริงลงพื้นที่จริงกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ และอาจารย์จะร่วมถ่ายทอดด้วยภาษามือ เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งจะเรียนรู้ได้ดีจากการมองเห็นและสัมผัสจริง นอกจากนั้นเห็ดที่เกิดขึ้นจากการเพาะในโครงการ ยังสามารถนำไปเป็นอาหารหรือจำหน่ายเป็นรายได้ ก็จะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในการทำอาชีพมากขึ้น สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดในเชิงบวกต่ออาชีพ จะได้คิดเป็นทำเป็น และเป็นความยั่งยืนในการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบอาชีพจริงด้วยความภาคภูมิใจในตนเองและของผู้ปกครอง”
นางสาวฐิติรัตน์ พ่วงโพธิ์ทอง เจ้าของ “ฟาร์มเห็ดโพธิ์ทอง” เกษตรกรผู้เชี่ยวชาญด้านการเขี่ยเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด กล่าวถึงกระบวนการเพาะสายพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจ การต่อยอดทางอาชีพตามวิถีเกษตรพอเพียงว่า “จากประสบการณ์การทำงานและอยู่ในกระบวนการเพาะเห็ดอย่างครบวงจรมามากกว่า 30 ปี ตลอดจนทำการแปรรูปเป็นอาหารคาว-หวานและเครื่องดื่ม ซึ่งนำมาสู่การต่อยอดเป็นอาชีพตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ครั้งนี้จึงมีความรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้ร่วมเป็น ส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพาะเห็ดต่อยอดอย่างยั่งยืน โดยน้องๆ โรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้เรียนรู้การ เพาะเห็ดแบบไม่ใช้สารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และเมื่อเรียนแล้วสามารถนำไปทำเองที่โรงเรียนได้ สิ่งที่ได้รับจากการเพาะเห็ดจะเป็นประโยชน์ในภายภาคหน้า เพราะเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จริงและสามารถทำได้จริง ดีใจที่จะได้ร่วมกับเคทีซีและโรงเรียนในการสร้างแนวทางให้กับนักเรียน รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้รับนั้นจะเป็นแนวทางให้นักเรียนสร้างรายได้ สร้างความสุขและสร้างความยั่งยืนในอนาคต”
นางสาวอภิวันท์ กล่าวปิดท้าย “การที่เคทีซีเลือกการเพาะเห็ดเป็นหลักสูตรให้กับโรงเรียน เศรษฐเสถียรฯ เพราะเห็ดเป็นผักที่ได้รับความนิยม มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง สภาพดินฟ้าอากาศของไทยเหมาะต่อการเจริญเติบโต และยังได้ผลผลิตสูง ขายง่าย ได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของตลาด วิธีการเพาะเห็ดก็ทำได้ง่ายและลงทุนไม่มาก จึงน่าจะเรียนรู้และนำไปพัฒนาต่อได้ไม่ยาก โดยเคทีซียังได้สร้างโรงเรือนเพาะเห็ดในโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ เพื่อประกอบการเรียนการสอน และหวังอย่างยิ่งว่านักเรียน และบุคลากรโรงเรียนเศรษฐเสถียรฯ จะได้รับประโยชน์จากองค์ความรู้ที่เคทีซีตั้งใจมอบให้ เพื่อเป็นแหล่งความรู้ และส่งต่อการเรียนรู้จากรุ่นสู่ร่นต่อไป”
สถาบันไทยพัฒน์ ประกาศรายชื่อบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance) ติดอันดับ ESG 100 ปี 62 พร้อมคัดกองทุนโครงสร้าง พื้นฐาน / รีทส์ / อสังหาริมทรัพย์ ด้วยเกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก สร้างทางเลือกสำหรับการลงทุนที่ยั่งยืน และได้รับผลตอบแทนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป
สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้พัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย ได้ริเริ่มจัดทำและประกาศรายชื่อ 100 หลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ในปี พ.ศ.2558 เป็นปีแรก
การจัดอันดับหลักทรัพย์กลุ่ม ESG100 รอบนี้ถือเป็นปี ที่ห้าของการประเมินโดยทีม ESG Rating ในสังกัด สถาบันไทยพัฒน์ ด้วยการคัดเลือกจาก 771 บริษัทจดทะเบียน (ไม่รวมหลักทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟู) รวมทั้งกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IF) ทาการประเมินโดยใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ESG จาก 6 แหล่ง1 จำนวนกว่า 14,278 จุดข้อมูล
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธาน สถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า “การประเมินในปีนี้สถาบันไทยพัฒน์ ได้พิจารณา ข้อมูลทั้งการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และผลประกอบการของบริษัทควบคู่ไปพร้อมกัน โดยในปีนี้ เรายังได้ทำการประเมินกองอสังหาฯ - REITs – โครงสร้างพื้นฐาน โดยใช้เกณฑ์ ESG เป็นครั้งแรก เพื่อเพิ่มทางเลือกของการลงทุนที่มีความผันผวนต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่ไม่ด้อยกว่าการลงทุนในหุ้นทั่วไป”
ผลการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เข้าอยู่ใน Universe ของ ESG100 ประจำปี 2562 จำแนกตามรายกลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 8 กลุ่ม ประกอบด้วย
ในจำนวนนี้ มีหลักทรัพย์ที่ได้รับการคัดเลือกให้อยู่ในกลุ่ม ESG100 ที่มาจากตลาด mai อยู่ 9 หลักทรัพย์ ได้แก่ FPI, MBAX, MOONG, PPS, TMILL, TPCH, SPA, WINNER, XO และเป็นกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 กอง ได้แก่
มีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (PF) และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ที่ได้รับคัดเลือก จำนวน 7 กอง ได้แก่
ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) รวมกันของหลักทรัพย์ ESG100 มีมูลค่าราว 10.4 ล้านล้าน บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 62.6 เมื่อเทียบกับมาร์เกตแคปรวมของตลาด (SET) ที่ 16.6 ล้านล้านบาท
รายชื่อหลักทรัพย์ ESG100 ชุดใหม่นี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากปี ที่แล้ว ในสัดส่วนร้อยละ 27 และจะถูกนำไปใช้ ทบทวนรายการหลักทรัพย์ที่ใช้ในการคำนวณดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ หรือ Thaipat ESG Index ในเดือนกรกฎาคมนี้
ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลหลักทรัพย์จดทะเบียนในกลุ่ม ESG100 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.esgrating.com
1 ประกอบด้วย ข้อมูลในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคมในแบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี (แบบ 56-1) สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อมูลการประเมินการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน (ESG Rating) บริษัท อีเอสจี เรตติ้ง จำกัด ข้อมูลโครงการประกาศรางวัลรายงานความยั่งยืน สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย ข้อมูลผลสำรวจการกำกับ ดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน (CG Scoring) สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ข้อมูลโครงการประเมินระดับการพัฒนาความยั่งยืนของกิจการ (CSR Progress Indicator และ Anti-corruption Indicator) สถาบันไทยพัฒน์ และข้อมูลการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียและสื่อ (Media and Stakeholder Analysis: MSA) บริษัท อิมเมจ พลัส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
นายป้อมเพชร รสานนท์ (กลาง) รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) แถลงข่าวเปิดตัวทีมสินเชื่อรถยนต์ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้ธนาคารธนชาตครองความเป็นที่ 1 ในธุรกิจมาได้อย่างยาวนาน พร้อมประกาศแนวคิด Drive Your Progress มุ่งมั่นขับเคลื่อน ความก้าวหน้า ให้ลูกค้าตลอดเส้นทางชีวิต และเดินหน้ารักษาตำแหน่งผู้นำตลาด เผยกลยุทธ์รุกดิจิทัลแพลตฟอร์ม ควบคู่กับการขยายฐานพันธมิตรออนไลน์ งานแถลงข่าวมีขึ้น ณ ห้องจามจุรี 1 โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส กรุงเทพฯ
สมิติเวชฉลองครบรอบ 40 ปี เปิด โรงพยาบาลญี่ปุ่น สมิติเวช โรงพยาบาลญี่ปุ่นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน (First Japanese hospital in AEC) ด้วยมาตรฐานทางการแพทย์ระดับสากล จับมือโรงพยาบาลทากัตสึกิ และโรงพยาบาลซาโน่ โรงพยาบาลชั้นนำจากประเทศญีปุ่น เพื่อมอบสุขภาพที่ดีให้แก่ชาวญี่ปุ่น โรงพยาบาลญี่ปุ่น สมิติเวช เป็นหนึ่งในเครือโรงพยาบาลสมิติเวช ภายใต้การบริหารของ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ตั้งอยู่ซอยสุขุมวิท 49 เป็นย่านที่อยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่น พร้อมดูแลด้วยทีมแพทย์ พยาบาลชาวญี่ปุ่น และเครื่องมือที่ทันสมัยพร้อม Tele-Translator แปลภาษาญี่ปุ่นด้วยล่ามผ่านระบบวีดีโอคอล ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และการบริการจากใจในแบบฉบับวัฒนธรรมญี่ปุน ตลอดจนออกแบบสถานที่ อุปกรณ์ในสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อให้รู้สึกคุ้นเคย เกิดความไว้วางใจในการเข้ารักษาเสมือนโรงพยาบาลในบ้านเกิดของตนเอง
นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช และโรงพยาบาลบีเอ็นเอช กล่าวว่า หลายปีนี้ มี Expat ชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานใน South East Asia มากขึ้น เช่นเดียวกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนและก่อตั้งบริษัทใน EEC การที่ชาวต่างชาติต้องมาใช้ชีวิตในประเทศที่ไม่คุ้นเคย นอกจากความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตแล้ว การดูแลสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ชาวญี่ปุ่นคำนึงถึง โดยตลอด 40 ปีของสมิติเวช โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง เพื่อเป้าหมายหนึ่งเดียว คือ สร้างระบบการสาธารณสุขที่ดี เพื่อรองรับชาวญี่ปุ่นในระดับประเทศ ในปีที่ผ่านมามีผู้รับบริการชาวญี่ปุ่นประมาณ 400 คนต่อวัน มีทารกญี่ปุ่นคลอดที่สมิติเวช ประมาณ 200 คนต่อปี นอกจากนี้สมิติเวชเป็นโรงพยาบาลแรกนอกประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการเยี่ยมสำรวจ จาก Japan Council for Quality Health Care (JCQHC) ประเทศญี่ปุ่น ด้านคุณภาพความปลอดภัยทางการแพทย์
รวมถึงการลงนามกับโรงพยาบาลทากัตสึกิ ที่เชี่ยวชาญด้านกุมารเวช การดูแลทารกแรกเกิดวิกฤต และการผ่าตัดข้อเข่า และโรงพยาบาลซาโน่ ที่เชียวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ช่วยคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งสำไส้ใหญ่ด้วยเทคนิคการส่องกล้อง NBI (Narrow Band Image) สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งเร็วขี้น 2 เท่าและเทคนิคการผ่าตัดก้อนเนื้อขนาดใหญ่ผ่านกล้อง ESD (Endoscopic Submucosal Dissection) เพื่อให้ทุกท่านมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพ และมีความสุขตลอดไป