December 22, 2024

ลาซาด้า เปิดตัวแบรนด์แคมเปญใหม่ Go Where Your Heart Beats - มีทุกสิ่งที่ใจค้นหา” ด้วยแนวคิดของแบรนด์ที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก และสื่อถึงความเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคใหม่ โดยแบรนด์แคมเปญใหม่นี้ เปิดตัวโดยใช้ภาพยนตร์โฆษณาสามเรื่องที่บอกเล่าถึงการเดินทางตามเส้นทางชีวิตของคนสามคน ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการทำตามความต้องการของหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่นั้น สามารถจุดประกายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้เสมอ

ทั้งนี้ แบรนด์แคมเปญใหม่ของลาซาด้า Go Where Your Heart Beats บ่งบอกถึงตัวตนของแบรนด์ตามวิสัยทัศน์ที่ลาซาด้าที่ได้ประกาศไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยลาซาด้ามุ่งมั่นที่จะเร่งขับเคลื่อนความก้าวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการค้าและเทคโนโลยี และนับเป็นการรีเฟรชแบรนด์ครั้งแรกของลาซาด้าในรอบห้าปี นับตั้งแต่ที่ลาซาด้าได้มีการอัพเดทแท็กไลน์ (Tagline) เมื่อปี 2557

ปิแอร์ ปัวยอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า “ลาซาด้าเปิดตัวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ โดยได้นำเสนอการช้อปปิ้งออนไลน์ที่ทำได้โดยง่ายดายและสะดวกสบาย และในเวลาเพียงเจ็ดปี เราได้กลายเป็นผู้นำด้านอีคอมเมิร์ซในภูมิภาค ที่ตั้งเป้าให้บริการลูกค้ากว่า 300 ล้านคนภายในปี 2573 ทั้งนี้ บทบาทของลาซาด้านั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่แพลตฟอร์มสำหรับการทำธุรกรรมช้อปปิ้ง แต่เราได้ยกระดับบทบาทของลาซาด้าสู่การเป็นจุดหมายปลายทางด้านไลฟ์สไตล์ ที่สามารถจะสร้างสรรค์และผลักดัน ความหวัง ความฝัน และความปรารถนาของทั้งของผู้ค้าและผู้ซื้อ”

สำหรับการปรับตำแหน่งทางการตลาดใหม่ของแบรนด์ลาซาด้าในครั้งนี้ มีกลยุทธ์หลักคือ “ช้อปเปอร์เทนเม้นท์” (Shoppertainment) ที่มีการยกระดับประสบการณ์ของนักช้อปอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความพยายามของลาซาด้าในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ค้า เพื่อผลักดันบรรดาแบรนด์และร้านค้าสู่การเป็นสุดยอด eBusinesses และการเดินหน้าทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มคุณแม่นักธุรกิจ หรือ Mumpreneurs และกลุ่มผู้ค้าในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นต้น

นอกจากการเปิดตัวแบรนด์แคมเปญแบรนด์ใหม่ในครั้งนี้  ลาซาด้ายังได้เผยโฉมอัตลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ที่สะท้อนถึงความเป็นหนุ่มสาว มีพลัง และมีชีวิตชีวา โดยองค์ประกอบสำคัญในอัตลักษณใหม่นี้ คือโลโก้รูปหัวใจ ที่นำเสนอด้วยตัวอักษร “แอล” (L) ซึ่งหมายถึงลาซาด้าในรูปแบบของกล่องสามมิติ กล่องดังกล่าวยังเป็นตัวแทนหัวใจของธุรกิจลาซาด้า และยังสามารถสื่อถึงความหมายอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย นอกจากนี้ เรายังมีโลโก้ใหม่ที่สื่อถึงความเป็นหนุ่มสาวในยุคดิจิทัล โดยสีสันใหม่ของ  แบรนด์ยังสะท้อนถึงความมีชีวิตชีวาของการช้อปปิ้งอีกด้วย

แมรี่ โจว ประธานเจ้าหน้าที่การตลาดของ ลาซาด้า กรุ๊ป กล่าวว่า “ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านของขนาดธุรกิจและการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ลาซาด้าได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในภูมิภาค รวมถึงการมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อแพลตฟอร์ม ขณะเดียวกันลาซาด้าก็มีส่วนกระตุ้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซของภูมิภาค จากการที่เป็นผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซที่มอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ซื้อและผู้ขายออนไลน์ ด้วยนวัตกรรมของฟีเจอร์และเครื่องมือใช้งานอันล้ำหน้าอย่างต่อเนื่อง”

แบรนด์แคมเปญใหม่ของลาซาด้าเปิดตัวพร้อมกันในหกประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายนนี้ ซึ่งรวมถึงคลิปภาพยนตร์โฆษณา 60 วินาทีหนึ่งเรื่อง, คลิปภาพยนตร์โฆษณา 30 วินาทีอีกจำนวนสามเรื่อง และชุดโฆษณาภาพนิ่ง บอกเล่าเรื่องราวการแสวงหาตัวตนและความสำเร็จที่เป็นไปได้ด้วยลาซาด้า โดยเรื่องแรกเป็นเรื่องราวของพนักงานออฟฟิศที่ไล่ล่าความฝันในเส้นทางนักดนตรีเพลงร็อค เรื่องที่สองเป็นเรื่องของหญิงสาวที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Livestreaming บนแพลตฟอร์มของลาซาด้าและได้นำแรงบันดาลใจนี้ไปสร้างสรรค์งานศิลปะบนเรียวเล็บ และเรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องราวของผู้หญิงที่นำความชื่นชอบคุกกี้ในสมัยวัยเยาว์ของเธอมาเปลี่ยนเป็นแรงผลักดัน ให้เธอได้กลายมาเป็นเชฟขนมอบในที่สุด

สำหรับแบรนด์แคมเปญใหม่ของลาซาด้า เกิดจากแนวคิดและการสร้างสรรค์โดยเอเจนซี่ระดับแนวหน้า Wunderman Thompson Singapore ส่วนอัตลักษณ์ใหม่ของแบรนด์ลาซาด้านั้นได้รับการพัฒนาโดย Superunion Singapore

แบรนด์กระเป๋า Borboleta (บอร์โบเล็ตต้า)  ปลื้มเข้ารับรางวัลนักออกแบบอิสระ Handbag Designer Award ประจำปี 2562 ณ รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา อวดศักยภาพดีไซน์ไทยบนเวทีการแข่งขันของนักออกแบบระดับนานาชาติ  คว้าประเภทรางวัล แบรนด์ที่มีความรับผิดชอบสังคมสูงต่อสังคม มุ่งเน้นนวัตกรรมหนังวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น เจาะผู้หญิงยุคใหม่ #สวยได้โดยไม่ทำร้ายสัตว์ เพื่อรักษ์โลกและดูแลสิ่งแวดล้อมโลกอย่างจริงจัง

นางสาววโรณิกา จูน เรซ (หนูหวาน) กรรมการผู้จัดการ ผู้ก่อตั้งและดีไซเนอร์ แบรนด์กระเป๋า Borboleta (บอร์โบเล็ตต้า ) ภายใต้ชื่อ บริษัท เธโซรา จำกัด  เปิดเผยว่า “แบรนด์กระเป๋าถือของผู้หญิง มาจากคำว่า “Borboleta” แปลว่า ผีเสื้อ ซึ่งเป็นภาษาโปรตุเกส  โดยสโลแกนแบรนด์ “One bag, many adventures” หรือ “กระเป๋าใบเดียวเที่ยวได้ทั่วโลก” แบรนด์นี้ เกิดจากแรงบันดาลใจมาจากการเดินทาง ประกอบกับมีใจรักด้านการออกแบบ จนเกิดความเชี่ยวชาญ แนวคิดการออกแบบกระเป๋า ตั้งใจออกแบบกระเป๋าที่ทำให้ชีวิตของผู้หญิงดีขึ้น  ตอบโจทย์การใช้งานของผู้หญิง เช่น  มีช่องใส่ของปริมาณเยอะ เพื่อง่ายต่อการหยิบของสะดวก น้ำหนักเบา สะพายได้ทั้งวันไม่เมื่อยบ่า ดีไซน์เก๋สวย และสามารถใช้ได้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น มุ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นคนยุคใหม่ ชอบเดินทางท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ 

สิ่งที่แบรนด์บอร์โบเล็ตต้า ภูมิใจในฐานะดีไซน์เนอร์ไทยคนหนึ่ง คือการออกแบบผลงาน จนแบรนด์กระเป๋าบอร์โบเล็ตต้าได้ถูกรับเลือกเข้าชิงเพื่อรับรางวัลอันทรงเกียรติ ภายใต้รางวัล “แบรนด์ที่มีความรับผิดชอบสูงต่อสังคม” จากการส่งผลงานกว่า 2,000 ผลงานมาจาก 5 ทวีปรวมกว่า 28 ประเทศ โดย Handbag Designer Award ได้คัดเลือกแบรนด์บอร์โบเล็ตต้า เป็น Finalist ในกลุ่มประเภทรางวัลกระเป๋าถือที่รับผิดชอบต่อสังคมมากที่สุด ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลตรงตามแนวคิดมาตรฐานทางจริยธรรมและศีลธรรมที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการผลิตการจ้างงานและการนำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบริจาคช่วยเหลือสังคม ซึ่งผู้ได้รับรางวัลจะต้องทำงานร่วมกับ Global Goods Partners และเป็นส่วนหนึ่งในช่างฝีมือของ GGP  ทำงานเพื่อผลิตกระเป๋าถือสุดพิเศษที่ออกแบบโดยในปี 2562 นี้สำหรับผู้ได้รับรางวัลนี้จะมีการเผยแพร่ออกไปยังเว็บไซต์ของ GGP ออกไปสู่สายตาสาธารณะชนอย่างกว้างขวาง อาทิ ในสื่อมวลชนและร้านค้าพันธมิตรต่างๆ เป็นต้น โดยจัดงาน ณ เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะนำภาพมาเผยแพร่ในประเทศไทยอีกครั้ง

คุณวโรณิกา  กล่าวต่อไปว่า “สำหรับการวางแผนของแบรนด์บอร์โบเล็ตต้า  มีความชัดเจนเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลพนักงาน และจริงใจกับลูกค้า ด้วยการวางกลยุทธ์ 5 ด้าน ดังนี้  อาทิ 1 ) มุ่งการออกแบบฟังก์ชั่นของกระเป๋าทุกใบเพื่อใช้งานง่าย 2) มุ่งเลือกเฟ้นวัสดุที่ผลิตกระเป๋าต้องสวยโดยไม่ฆ่าสัตว์ กระเป๋าของแบรนด์ Borboleta ทั้งหมดทำจากหนังวิทยาศาสตร์ เป็นวัสดุที่มีคุณภาพสูงที่ทำจากไมโครไฟเบอร์ 100% เป็นนวัตกรรมจากญี่ปุ่น โดยนวัตกรรมนี้ให้รูปลักษณ์ความรู้สึกและความทนทานของหนังแท้และได้มาตรฐานเครื่องหมายการันตีการไม่ทำร้ายสัตว์  PETA-APPROVED VEGAN จากประเทศสหรัฐอเมริกา จุดเด่น น้ำหนักเบา หนังกันน้ำ เป็นวัสดุรักษ์โลก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  3) ราคาจำหน่ายต้องยุติธรรมสำหรับลูกค้าทางแบรนด์สามารถควบคุม ตั้งแต่การออกแบบ ผลิต ไปจนถึงจัดจำหน่ายตรงถึงมือลูกค้าโดยไม่ผ่านคนกลาง  4) มุ่งการผลิตเชิงจริยธรรม และเน้นคุณภาพการผลิตที่ได้มาตรฐานส่งออก ช่างฝีมือทุกคนมีประสบการณ์ในการตัดเย็บกระเป๋าอย่างน้อย 15 ปี และพนักงานทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี และได้รับสวัสดิการที่ดี และ 5) การบริจาคกลับคืนสู่สังคม รายได้ส่วนนึ่งจากการขายกระเป๋าทุกใบจำหน่ายจะเข้า สมทบทุนเข้าโครงการของมูลนิธิมหาสมุทรแห่งปัญญา (www.owfo.org) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพชีวิต เด็กด้อยโอกาสในประเทศไทยต่อไป”

อย่างไรก็ตาม คาดว่าตลาดภาพรวมของแบรนด์กระเป๋าจะมีแนวโน้มใช้วัสดุรักษ์โลกกันมากยิ่งขึ้น ในอีก 3-5 ปี จะมีการแข่งขันสูงขึ้น  นับว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อสภาวะแวดล้อมโลก ต่างชาติก็ยอมรับใน จุดเด่นสินค้าคนไทยออกแบบดีไซน์ สวยงาม มีความประณีต ลูกค้าต่างชาติจึงชื่นชอบสินค้าไทยอย่างมาก หากแต่เราต้องจริงใจและซื่อสัตย์แก่ลูกค้า  ทั้งนี้แบรนด์บอร์โบเล็ตต้าก็พยายามครีเอทดีไซน์พร้อมใส่ใจรายละเอียดฟังก์ชั่นการใช้งานให้สอดคล้องกับผู้หญิงในยุคใหม่จริงๆ   ทำให้การซื้อสินค้าเกิดความคุ้มค่าและลูกค้าจะมั่นใจเกิดความพึงพอใจสูงมีแต่แง่เชิงบวกทั้งสิ้น 

เคทีซีเผยธุรกิจสินเชื่อบุคคลแข่งขันเข้มข้น ครึ่งปีหลังเตรียมรุกสร้างธุรกิจเติบโตยั่งยืน จากพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า มุ่งปล่อยสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ประเดิมด้วยสินเชื่อเพื่อการศึกษากับ 4 สถาบันสอนภาษา เจาะกลุ่มบุคคลที่ต้องการพัฒนาการศึกษาตนเองเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลูกค้าที่จะมีรายได้เติบโตกว่าเกณฑ์และมีวินัยในการชำระคืน รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล ควบคู่กับการจัดกิจกรรมการตลาดยิงยาว เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกตั้งแต่เริ่มสมัครจนถึงฐานลูกค้าเดิมเกือบ 1 ล้านบัญชี โดยคาดว่าสิ้นปีนี้ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลจะโตตามคาด 10% จากปีที่ผ่านมา

นางสาวพิชามน  จิตรเป็นธรรม  ผู้อำนวยการ - ธุรกิจสินเชื่อบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การทำธุรกิจสินเชื่อบุคคลนับวันยิ่งมีความท้าทายมากขึ้น จากหลายผู้ประกอบการที่เข้ามาแข่งขัน รวมทั้งพฤติกรรมของลูกค้าในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลง ความสะดวกและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคแสวงหา โจทย์หลักที่ท้าทายของคนทำธุรกิจในวันนี้ จึงต้องคิดหาวิธีจะทำอย่างไรให้เข้าถึงลูกค้า “ถูกกลุ่ม” “ถูกเวลา” และ “ถูกใจ”

“แผนการตลาดธุรกิจสินเชื่อบุคคลของเคทีซีในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เราจึงรุกธุรกิจเข้มข้นขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นคุณภาพลูกหนี้และการเติบโตอย่างยั่งยืนบน 4 แกนหลักคือ 1) มุ่งปล่อยสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ 2) รักษาและผูกสัมพันธ์ระยะยาวกับฐานสมาชิก 3) พัฒนาคุณสมบัติและบริการสินเชื่อ “เคทีซี พราว” ตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่ชอบความสะดวก รวดเร็วในยุคดิจิทัล 4) สร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า (Customer Engagement) เพื่อเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย”

“สำหรับแนวทางการให้สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์นั้น เคทีซีจะมุ่งขยายความร่วมมือกับธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงและมีความต้องการในตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยได้นำร่องเปิดตัวสินเชื่อเพื่อการศึกษา (Education Loan) ร่วมกับสถาบันสอนภาษา 4 สถาบัน รวม 44 สาขา ได้แก่ วอลล์สตรีท อิงลิช (Wall Street English) แชมป์ อิงริช (Champ EngRish) แลงเกวจ เอ็กซ์เพรส (Language Express) และอินสไปร์ อิงลิช (Inspire English) เพื่อให้สินเชื่อกับสมาชิกที่ต้องการเงินทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพความรู้กับสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ ผู้สนใจสามารถสมัครและยื่นเอกสารที่สถาบันนั้นๆ ได้โดยตรง และสามารถทราบผลการอนุมัติภายใน 1 ชั่วโมง โดยสมาชิกจะได้รับอัตราดอกเบี้ยฯ พิเศษ 0% นานสูงสุด 24 เดือน ทั้งนี้ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในฐานข้อมูลเคทีซีพบว่า กลุ่มลูกค้าที่ต้องการพัฒนาตนเองเพื่อสร้างความก้าวหน้าในอาชีพมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และกลุ่มคนเหล่านี้ยังมีเกณฑ์ที่รายได้จะสูงขึ้นในอนาคต

การเพิ่มปริมาณลูกค้าในกลุ่มนี้จึงนอกจากจะส่งผลดีกับค่าเฉลี่ยการใช้วงเงินสินเชื่อโดยรวมของเคทีซีแล้ว การกู้ยืมแบบมีวัตถุประสงค์ยังเป็นที่มั่นใจได้ว่า พฤติกรรมการชำระคืนของผู้บริโภคกลุ่มนี้จะมีวินัยมากกว่าการกู้ยืมแบบทั่วไป ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับเคทีซีในระยะยาว นอกจากนี้บริษัทมีแผนจะขยายจำนวนพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจการศึกษาให้มากขึ้น รวมทั้งจะมีการออกสินเชื่อเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ออกมาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง”

“การรักษาและผูกสัมพันธ์กับฐานสมาชิกในระยะยาวในครึ่งปีหลังนี้ จะยังคงใช้กลยุทธ์การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายซึ่งได้ผลและมีการตอบรับที่ดีมาก ตั้งแต่เริ่มแรกที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกสินเชื่อใหม่ไปจนถึงสมาชิกเดิมในพอร์ต โดยเน้น “จัดเต็ม” “ให้ก่อน” “ให้มากกว่า” และ “ให้ต่อเนื่อง” ผ่าน 2 แคมเปญฮิต

1) “เคทีซี พราว โปรฯ เหมาๆ 199” สำหรับสมาชิกสมัครใหม่ รับสิทธิเหมาจ่ายดอกเบี้ยฯ 2 รอบบัญชีแรก เพียงรอบบัญชีละ 199 บาท เมื่อสมัครตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2562 – 31 สิงหาคม 2562 และ 2) “แคมเปญเคลียร์หนี้เกลี้ยง 10” สำหรับสมาชิก “เคทีซี พราว” เกือบ 1 ล้านบัญชี รับสิทธิลุ้นเคลียร์หนี้รางวัลใหญ่ 100% โดยปีนี้เพิ่มความพิเศษที่มากกว่าคือ ลุ้นได้ถึง 10 รอบ จับรางวัลทุกเดือนตลอดทั้งปี 2562”

“ในยุคดิจิทัลที่เราต้องยอมรับว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด เคทีซีจึงได้พัฒนาคุณสมบัติและบริการบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ให้รองรับความต้องการลูกค้าที่ชอบความสะดวก รวดเร็ว โดยได้พัฒนา 2 บริการ ได้แก่ 1) บริการเบิกถอนเงินสดออนไลน์ รับเงินโอนเข้าบัญชีแบบเรียลไทม์ เลือกชำระได้เองแบบชำระขั้นต่ำ 3% หรือผ่อนชำระเป็นงวด  (Cash Installment) ผ่านแอปพลิเคชัน “KTC Mobile” และเว็บไซต์ “KTC Online” ตลอด 24 ชั่วโมง ตามวงเงินที่มีอยู่  2) บริการแบ่งชำระสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ โดยได้เริ่มให้บริการผ่อนทองคำกับร้านทอง “ออโรร่า” ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 1.29% ต่อเดือน ผ่านเว็บไซต์ออโรร่า และแอปพลิเคชันปาปาเปย์ (Papapay Mobile Application) นอกจากนี้ สิ่งที่เคทีซีให้ความสำคัญกับลูกค้า “เคทีซี พราว” มาโดยตลอด คือการสร้างสัมพันธภาพระยะยาวกับสมาชิก ผ่านกิจกรรมเวิร์คช้อปสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นประโยชน์และเป็นความต้องการของสมาชิกทุก 2 เดือน ภายใต้แนวคิด Quality of Life ที่มุ่งเสริมสร้างความรู้ในการพัฒนาไปสู่การสร้างอาชีพเพื่อรายได้เสริม รวมทั้งความรู้ในการวางแผนการเงินและการออมให้กับกลุ่มสมาชิก”

“ทั้งนี้ ภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมสินเชื่อบุคคลช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ยังถือว่าเป็นบวก โดยในส่วนของเคทีซีเองมีการเติบโตที่ดีเช่นกัน โดยมียอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเท่ากับ 26,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ฐานสมาชิกสินเชื่อบุคคลเท่ากับ 967,059 บัญชี ขยายตัว 12.8% อัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสินเชื่อบุคคล 0.78% ลดลงจาก 0.82% (อุตสาหกรรม 3.49%) ส่วนแบ่งการตลาดยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ประมาณ 5.4% ของอุตสาหกรรม และคาดว่าสิ้นปีนี้ธุรกิจสินเชื่อบุคคลเคทีซีน่าจะบรรลุเป้าหมายตามคาด ด้วยอัตราการเติบโตของยอดลูกหนี้รวมที่ 10%

เอไอเอส เดินหน้าผลักดันการสร้างสังคม Digital อย่างยั่งยืน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือเครือข่าย” ประกาศภารกิจยิ่งใหญ่ “อุ่นใจไซเบอร์” สำหรับเยาวชน

  • การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)
  • การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม ด้วยระบบ AIS Secure Net (Beta Phase)” และ Google Family Link” ที่เกิดจากความร่วมมือกับ Google

โครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” มีเป้าหมายในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก และสร้างเครื่องมือคัดกรอง Content ที่ไม่เหมาะสมจากโลก Digital โดยเน้นใน 2 ด้าน คือ มุ่งส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างทักษะทาง Digital (Educator) เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน  และ ป้องกัน (Protector) ความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Digital Solutions

  1. การยกระดับมาตรฐานความรู้เท่าทัน Digital ด้วย DQ (Digital Quotient)

เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล (Digital Educator) เป็นรายแรกและรายเดียวในไทยที่ได้นำเข้า DQ ชุดการเรียนรู้ 360 องศา เพื่อพัฒนาทักษะและความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotient) ครบทั้ง 8 ทักษะ ให้กับเด็กๆ สร้างภูมิคุ้มกันในการก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์อย่างมีไหวพริบ รู้จักวางตัวอย่างเหมาะสมกับคนแปลกหน้า และใช้มือถือ
แท็บเล็ต อย่างฉลาด ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชุดการเรียนรู้นี้ได้รับการยอมรับและมีการนำไปฝึกทักษะให้กับเด็กๆ มากกว่า 110 ประเทศทั่วโลก แปลถึง 21 ภาษา จาก 100 พาร์ทเนอร์ ขณะนี้
ได้เริ่มขยายผลการสร้างทักษะความฉลาดทางดิจิทัล DQ (Digital Quotation)  ไปสู่ภาคการศึกษาทั่วประเทศ รวมถึงเปิด Portal ศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับคนไทยทุกคน ที่โรงเรียน หรือ สถาบันที่ทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่างๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้แล้ววันนี้ที่ www.ais.co.th/dq

  1. การพัฒนาระบบคัดกรอง Online Content ที่ไม่เหมาะสม

เอไอเอส โดยบทบาทการเป็นผู้ให้บริการและพัฒนาเครือข่ายที่ป้องกันความเสี่ยง (network protector) จาก Content ที่ไม่เหมาะสม

  • เปิดตัว AIS Secure Net (Beta) ที่จะช่วยป้องกันและคัดกรองเนื้อหาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเว็บ, ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่ไม่เหมาะสม จากบุตรหลาน ในช่วงแรกนี้ เอไอเอสจะเปิดให้ลูกค้าได้ทดลองใช้บริการเป็น Beta Phase เชิญชวนลูกค้าเอไอเอสที่สนใจอยกใช้บริการ เข้ามาลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ เพื่อร่วมเป็น Pioneer ในการทดลองใช้บริการก่อนใคร จำนวน 10,000 คนแรก  สามารถเข้ามาลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2562  และลูกค้ากลุ่มนี้ ก็จะได้ทดลองใช้บริการ AIS Secure Net ได้ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป
  • ร่วมมือกับ Google ในการนำบริการ Parental Control ผ่านแอปพลิเคชัน Google Family Link มาขยายผลสู่กลุ่มผู้ปกครองคนไทย (ใช้ได้ทุกเครือข่าย) ที่จะสามารถให้คำแนะนำ
    ดูแลการใช้งานโทรศัพท์ รวมถึงดูแลความปลอดภัยจากพิกัดปัจจุบันของบุตรหลานได้ง่ายๆ โดยเอไอเอส มอบอินเทอร์เน็ต on-top สำหรับการใช้งานให้ลูกค้าเอไอเอสสามารถดูแลบุตรหลานของท่านได้อย่างสบายใจ

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นพัฒนา Digital Infrastructure เพื่อประเทศ นอกเหนือจากการทำหน้าที่พัฒนาบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าอย่างดีที่สุดแล้ว เรายังให้ความสำคัญกับการร่วมสร้างการเติบโตและพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อทำให้ทุกภาคส่วน (Stakeholder) เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

การมาถึงของเทคโนโลยี Digital ก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบการทำธุรกิจ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ซึ่งแน่นอนว่าย่อมนำมาทั้งประโยชน์มหาศาล ในขณะเดียวกันหากนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็สามารถส่งผลในทางลบกับสังคมได้เช่นกัน ทั้งนี้รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) ที่หากไม่ได้รับการปลูกฝัง หรือให้ข้อมูลการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ย่อมส่งผลร้ายแรงมาสู่ชีวิตทุกคนในโลก

โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นเด่นชัดผ่านงานวิจัยหลากหลายสำนักที่ระบุว่า ในปี 2561เยาวชนไทยอายุระหว่าง 8 – 12 ปี มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังค้นพบว่าเด็กไทยขาดทักษะในการใช้งานดิจิทัลอย่างชาญฉลาดทำให้เสี่ยงได้รับภัยอันตรายที่แฝงมากับอินเทอร์เน็ตใน 4 รูปแบบ คือ การถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying) การเข้าถึงสื่อลามก การติดเกม และการถูกหลอกให้พบกับคนแปลกหน้า

นายสมชัยกล่าวเสริมว่า “อีกปัญหาที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากการมาของเทคโนโลยีคือ ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2561 มีรายงานว่า คนไทยทิ้งขยะอันตรายทั้งสิ้น 638,000 ตัน ซึ่งขยะส่วนใหญ่เป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สูงถึง 65% อีกทั้งของเสียอันตรายจากชุมชนเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 83,000 ตันเท่านั้น”

ในฐานะผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม Digital โดยตรง เราจึงมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นแกนกลางเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาความรู้แก่เยาวชน อันจะนำมาซึ่งการเติบโตของสังคม Digital อย่างยั่งยืน รวมถึงยังมีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้า ที่จะอุทิศตนเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมให้มีความสุข จากสภาพแวดล้อมที่ดี อันจะนำมาซึ่งความแข็งแกร่ง และเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศชาติ ผ่าน Digital Platform  ที่จะเป็น Digital Platform ของคนไทยทุกคน ผ่านแนวคิด “ถ้าเราทุกคน คือ เครือข่าย” นั่นเอง

 

ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เหมืองสิน ผู้อำนวยการหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม  บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CUTIP พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์ในหลักสูตรฯ นำนิสิตระดับปริญญามหาบัณฑิต เข้าเยี่ยมชมกิจการ และอบรมเชิงปฏิบัติการ "การจัดทำแผนธุรกิจ" ณ สำนักงานใหญ่ อาลีบาบา เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน

เฟ้นหาคนรุ่นใหม่ที่พร้อมก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำที่ผลักดันองค์กรในอนาคตพร้อมโอกาสในการทำงานใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงในทุกๆสายงานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ผู้ได้รับคัดเลือกจะเข้าร่วมโครงการเป็นระยะเวลา 2 ปีโดยจะได้ทำงานที่ประเทศไทยเป็นระยะเวลา 18 เดือน และต่างประเทศอีก 6 เดือน โดยจะได้ทำงานแบบ Dynamic ในธุรกิจสตาร์ทอัพอีคอมเมิร์ซที่มาแรงที่สุด ณ ขณะนี้ ตั้งแต่การวางกลยุทธ์ พัฒนาแผนการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนฝึกทักษะการบริหารงานจากผู้บริหารผู้มากความสามารถอย่างใกล้ชิด

โอกาสดีๆอย่างนี้ อย่าปล่อยให้หลุดมือ!
สมัครเลย : https://grnh.se/a8336b2a2
#lifeatshopee
#ShopeeGLP
#ShopeeTH

ข่าวการมาถึงของการระดมทุนรูปแบบใหม่อย่าง STO (Security Token Offering) ได้สร้างความตื่นตัวไปทั่วทั้งโลกรวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างหนีไม่พ้น อีกทั้งยังได้รับการคาดการณ์จากหลายสำนักว่าน่าจะเติบโตในหลักล้านล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่ปีนับจากนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทรัพยากรบุคคลในไทย ควรจะต้องเริ่มศึกษา สั่งสมความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้พร้อมตั้งรับต่อ STO หรือแม้แต่เข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้เล่นคนสำคัญในระดับภูมิภาค

กาย นันต์ธนะ Developer และ Co-Founder บริษัท Mainnetus Blockchain Academy & Solution ได้ผ่านสนามการระดมทุนมาอย่างโชกโชน รวมถึงเคยออก ICO จริงๆ มาแล้ว ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมองค์ความรู้เรื่อง Blockchain และ STO ในประเทศไทย โดยตั้งใจให้เป็นภารกิจหลักของ Mainnetus เพื่อกระจายองค์ความรู้ทั้งในสถาบันการศึกษา การจัดสัมมนาหรือเวิร์คชอปที่ผู้เข้าร่วมได้ทดลองระบบ Wallet จริงๆ

จึงถือเป็นโอกาสดีที่เราได้เผยแพร่ บทสนทนากับเขา ถึงความกระตือรือร้นต่อโครงการมากมายที่กำลังจะเกิดขึ้น รวมถึงกรณีศึกษาส่วนตัว ที่มีต่อ Blockchain และ STO

บทบาทของ Mainnetus

การเกิดขึ้นของ Mainnetus Blockchain Academy & Solution เป็นความตั้งใจในการสร้าง สถาบัน Pop-Up ขนาดย่อมที่มีทั้งความเป็น Blockchain Lab และศูนย์กระจายความรู้เรื่องเทคโนโลยี Blockchain ในประเทศไทย โดยได้เริ่มโครงการไปแล้วที่มหาวิทยาลัยบูรพา โดยถือเป็นการเริ่มถ่ายทอดความรู้สู่นักศึกษา ก่อนที่จะขยายสู่บุคคลทั่วไป รวมถึงบริษัทต่างๆ ในอนาคตอันใกล้

กาย ได้เล่าถึงเป้าหมายของ Mainnetus ไว้ว่า “เราตั้งบริษัทขึ้นมาก็เพราะอยากจะให้ความรู้ ซึ่งไม่ได้ต้องการกำไรจากการจัดเลยครับ แต่มีเป้าหมายคือต้องการปูพื้นฐานให้เมืองไทยมี Blockchain Developer ที่เทียบเท่ากับเวียดนามเป็นอย่างน้อย ฉะนั้น เราเลยต้องมาเริ่มจากมหาวิทยาลัย แล้วก็จะต่อยอดไปเรื่อยๆ ซึ่งผมมองว่าบริษัทอาจจะได้ประโยชน์ เมื่อวันนึงที่เขาจบไปก็อาจจะอยากมาสมัครงานหรือนึกถึง Mainnetus ก่อนก็ได้”

“แต่ที่สำคัญคือการจัดครั้งต่อไป ที่เราตั้งใจจะจัดในเชิงธุรกิจมากขึ้น โดยที่ผม มีกลุ่มผู้เข้าร่วมที่ตั้งใจเชิญมาอย่างชัดเจน ไม่สะเปะสะปะ เช่นกลุ่มบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ คือผมอยากได้คนที่เข้ามาแล้วได้ประโยชน์จริงๆ ไม่อยากเห็นคนที่มาร่วมเฉยๆ แล้วนั่งหาว ฉะนั้น ความรู้ที่เราจะให้ ก็คิดไว้ว่าจะมีช่วงของการบรรยายสั้นๆ แล้วจากนั้นจะใช้การเรียนรู้ผ่านเวิร์คชอป ให้เขาได้ลองทำกันจริงๆ ให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกฝนตั้งแต่การเปิด Wallet เลย เพราะบรรดากลุ่มผู้บริหาร บางทีเขารู้ว่ามีเรื่องพวกนี้อยู่ แต่ไม่มีใครมี Wallet บางคนไม่กล้าเปิด บางคนงง แต่เราจะบอกว่าการเปิด Wallet นั้นเป็นสิ่งจำเป็น แล้วเราสอนให้ ผ่านการทดลองทำจริง แล้วตัวผมก็มีเหรียญอยู่แล้ว ก็ตั้งใจจะให้ใช้ลองโอนกันไปมา”

อีกโครงการที่สำคัญของ Mainnetus คือการผลิต Platform สำเร็จรูป ที่ทำให้การเข้าถึง Blockchain เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ทั้งยังตั้งรับกับการมาถึงของ STO โดยเฉพาะ “ตัว Platform ที่กำลังจะเสร็จ มันจะทำให้เห็นเลยว่า ตอนจะออก STO มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ซึ่งวันนึงข้างหน้าคุณสามารถมาใช้ได้ ไม่ว่าจะลองไปใช้ภายในโรงงาน ในบริษัทก่อนก็ได้ครับ แล้วเราก็ตั้งใจจะสอนอยู่แล้วว่า หากเห็น platform หน้าตาแบบนี้ คุณจะซื้อเหรียญยังไง ตรงนี้ก็เตรียมให้ลองทำ และเราคิดว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมากครับ”

ความสำคัญของ STO และข้อแตกต่างต่อ ICO

จากประสบการณ์ของคุณกายที่ประกอบธุรกิจหลากหลายประเภททั้งบริษัทประมูล บริษัทประกัน แอปพลิเคชั่นจองสปา บริษัทโฮลดิ้งในสิงคโปร์ รวมถึงมีประสบการณ์ในการใช้ Blockchain และทำ ICO ออก utility coin เพื่อจับจ่ายภายในเครือธุรกิจมาแล้ว ได้เล่ามุมมองต่อการระดมทุนในอนาคตว่า แม้ผลกระทบของระดมทุนแบบ ICO ต่อ IPO จะไม่ได้ชัดเจนขนาดพลิกวงการ แต่หาก กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ประกาศรับรอง STO ขึ้นมา เมื่อนั้น เราอาจจะได้เห็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการระดมทุนอย่างชัดเจน, STO จะเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ และจะกลายเป็นภาคบังคับที่จะผู้ประกอบการและนักลงทุนเพิกเฉยไม่ใช่

“ตอนผมทำ ICO ซึ่งทำเป็น Utility Coin ไว้ใช้ซื้อสินค้าและบริการในเครือบริษัทของผมเอง จริงๆ ไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะรวยจากการขายเหรียญด้วยซ้ำครับ ผมแค่รู้สึกว่าปัจจุบันหากใครจะออกเหรียญคุณควรจะต้องมีธุรกิจจริงๆ ก่อน แต่ถ้าหากต้องการระดมทุนล้วนๆ สำหรับ ICO ผมว่ามันหมดเวลาไปแล้วครับ เพราะข้างในนั้นมันมีโปรเจกต์รอระดมทุนที่ค้างไว้เต็มไปหมด เป็นหมื่นโปรเจกต์ บางคนถือเหรียญไว้ โดยไม่รู้ว่าเขาระดมให้อะไรด้วยซ้ำ ปัญหาสำคัญของการระดมทุน ICO คือมันเป็นเรื่องของความฝันล้วนๆ เรื่องของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก ไม่รู้ด้วยว่ามันจะเป็นจริงหรือไม่จริง บางโปรเจกต์ที่ออกกันมา ผมว่าชั่วชีวิตก็อาจจะไม่ได้เห็นมันด้วยซ้ำ การที่ผมมีธุรกิจอยู่แล้ว มันทำให้เราได้ trust จากคนซื้อ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ”

“แต่ถ้าหากเป็นการระดมทุนแบบ STO ผมเห็นด้วยครับ เพราะมันคือการลงทุนจริงๆ มีพันธสัญญา มีการให้หุ้น มีเงินปันผล มีส่วนร่วมในธุรกิจ แค่มันอยู่บนระบบ ไม่ได้อยู่บนกระดาษเป็นใบๆ และมีเรื่องของ Cryptocurrency และ Blockchain เข้ามาเกี่ยวข้อง คือว่ากันจริงๆ มันก็คือการซื้อขายหุ้นดีๆ นี่เอง แน่นอนว่ามันจะไม่ใช่การวาดฝันอีกต่อไป แต่จะกลับมาสู่พื้นฐานทางธุรกิจ ที่พึ่งพาเทคโนโลยี ซึ่งมันจะมีหนทางไปได้มากกว่า ด้วยความชัดเจนของมันแบบ IPO ผนวกกับความไร้ข้อจำกัดของเทคโนโลยีแบบ ICO แต่อย่างไรก็ตาม คุณก็ต้องมีบริษัทก่อนอยู่ดีนะ”

จงใช้ประโยชน์จาก Blockchain อย่าให้ Blockchain ใช้ประโยชน์จากเรา

“อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องคิดก่อนคือ Blockchain ช่วยคุณได้ยังไง” กาย กล่าวเสริมถึงข้อสังเกตที่ว่า แท้จริงแล้ว แม้ในระดับสากล ก็เกิดการเข้าใจผิดต่อประโยชน์ของ Blockchain, ICO หรือ ไอเดียของการระดมทุน

จากกรณีศึกษาจากประสบการณ์ส่วนตัว คุณกายเล่าให้ฟังถึงการทำงานกับ Blockchain ไว้ว่า “ผมเห็นด้วยว่าเราต้องเริ่มตื่นตัวเรื่อง Blockchain กันแล้วครับในเวลานี้ เพราะบางบริษัทยังไม่รู้จักเลย แต่สถาบันทางการเงินเขาใช้กันหมดแล้ว ที่สำคัญมากๆ เลยคือหลายคนยังคิดว่าประโยชน์จริงๆ ของมันเป็นเรื่องการระดมทุน หรือหนทางรวยเร็วอยู่ ซึ่งผมอยากบอกว่า ต้องตัดทิ้งเรื่องระดมทุนไปเลยครับ!”

“ที่ผ่านมา ICO ทำให้คนสนุกกับการระดมทุนที่ไม่มีจริง ทั้งคนออกเหรียญ คนซื้อเหรียญมันเหมือนสนุกกันอยู่ในฝันมากๆ แล้วคนก็ตื่นตัวมาก แต่ขาดความรู้ ผมว่าก็มีหมดตัวกันเยอะครับ ฉะนั้น ใครที่อยากรวยเร็ว หรือคิดเรื่อง speculate ผมว่าต้องคิดใหม่ก่อน ต้องคิดว่า Blockchain มันช่วยคุณได้ยังไงก่อน แล้วเดินทางนั้น อย่างตัวผม ก็รู้แค่ว่าถ้าวันนึงราคาในโลกมันล่มสลาย วันนั้น Blockchain จะยังอยู่ มันจะมาช่วยผมตรงนี้ ผมอยากให้มองตรงนี้เป็นพื้นฐาน ส่วนเรื่องราคาเหรียญ ถ้าหากว่ามันได้ก็ถือซะว่าเป็นโบนัส แต่ก็ไม่ได้บอกว่าสิ่งที่ผมทำมันง่ายกว่านะครับ มันก็มีความยากของมัน เช่น ลูกค้าซื้อ Coin เพื่อมาจับจ่ายสินค้าบริการของผม แต่ผมก็ไม่สามารถสร้างทุกอย่างที่เขาอยากซื้อได้ แล้วพอลูกค้าใช้ Coin ตัวผมเองก็ต้องมีเงินสดสำรองเอาไว้ เพื่อจ่าย Supplier ซึ่งก็ไม่ง่ายครับ ...ผมมองว่า ก่อนหน้านี้ที่สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ หรือเยอรมัน ที่คนออก ICO กันไม่หยุดหย่อน เขาไม่ได้เอา Blockchain มาช่วยตัวเขาเองเลย แต่เขาช่วยให้ Blockchain มันเติบโตอย่างรวดเร็วต่างหาก… อะไรพวกนี้ เป็นเรื่องที่ผมว่าในประเทศเรายังขาดประสบการณ์และความรู้กันอยู่มากครับ”


เรื่อง : คุณากร วิสาลสกล

ภาพ : ภัทรวรรธน์ พงษ์บริพันธ์

ยุคดิจิทัล คือ สภาพแวดล้อมของโลกยุคใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ผู้คนสามารถเชื่อมโยงผ่านโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวางขึ้น ทำให้เกิดการแชร์เรื่องราวความรู้ระหว่างกัน

นับแต่ระลอกแรกของ Technology Disruption ที่กระทบกระแทกเข้ามาพลิก เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปสู่วิถีแห่งดิจิทัล ตัดตอนวงจรธุรกิจที่เคยดำเนิน สืบเนื่องติดต่อกันมายาวนาน ปิดเกม เปลี่ยนโฉมโมเดลการค้าน้อยใหญ่ในโลก  ไม่พ้นแม้อุตสาหกรรมการเงิน วันนี้เริ่มมีคำกล่าวขานว่าระลอกคลื่นแห่ง Disruption เริ่มหันทิศทางมาที่ภาคการศึกษา ประเด็น Education Disruption เริ่มจุดกระแส ความท้าทายครั้งใหญ่ให้กับมหาวิทยาลัยทั่วโลก ไม่พ้นแม้แต่หลักสูตรบริหารธุรกิจ ใน Business School อันเป็นที่สุดของ ความนิยมทั่วโลกก็ยังเริ่มสั่นคลอน

รศ.ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร คณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ (AccBA CMU) ได้เผย วิสัยทัศน์ต่อประเด็น Education Disruption บนมุมมองของนักการศึกษาประกอบกับ สายตาผู้เชี่ยวชาญสายกลยุทธ์ หรือ  Management Strategist โดยยกแนวคิด ของ ศ. อิกอร์ แอนซอฟ (Prof. Igor Ansoff) เจ้าแห่งทฤษฎี Strategic Success Paradigm ในการพยากรณ์แนวโน้มตลาดผู้เรียน MBA และแนวทางพัฒนาหลักสูตร เพื่อตอบโจทย์อนาคตที่กำลังเปลี่ยนไป

Technology Disruption คือ การพลิกเกม โดยเทคโนโลยี ซึ่งจะมา Disrupt อุตสาหกรรม การศึกษา ขนาดเกิด Education Disruption นั้น กระทบทุก Business School จน นักวิจารณ์บางรายบอกว่ามหาวิทยาลัย จะถูกตัดตอนออกไปนั้น อันที่จริงแล้ว Business School ก็ พลิกเกม” โดย พัฒนาตัวเองมาหลายยุคหลายสมัย  มีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวตาม สภาพการณ์และสภาพแวดล้อมท่ี เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอมา ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร รายวิชาซึ่งเป็นเสมือนผลิตภัณฑ์ ก็มีการปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ตลาดและ ความต้องการอยู่เสมอๆ ครั้งนี้เช่นกัน เมื่อสภาพแวดล้อมวันนี้และอนาคตที่ คาดการณ์ว่าจะต่างไปจากในอดีต และ คาดว่าจะเปลี่ยนมากและยากต่อการ พยากรณ์ นั่นหมายความว่า อนาคตของ Business School ก็ย่อมต้องเปลี่ยนไป ส่วนทิศทางของ Business School จะเป็น ไปอย่างไรนั้นในมุมของผมคิดว่า น่าจะ พัฒนาไปสู่ Business School for Life คือ “เรียนรู้ตลอดชีวิต” คือบทเปิด ความคิดเห็นของ รศ.ดร.สิริวุฒิ อันนำมาสู่ บทสัมภาษณ์ เพื่อขยายความในประเด็น เรื่อง Future Education และ Business School for Life และแนวทางวันนี้ของ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Q: ความเห็นของอาจารย์ในเรื่อง Technology Disruption?

A: ทุกวันนี้การคาดการณ์อนาคตทำยากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่า Disruptive Technology ไม่ว่าจะเป็น AI (Artificial Intelligence: ปัญญาประดิษฐ์) Machine Learning (การเรียนรู้ ของสมองกล) หรือ Big Data ทั้งหลายนั้นในที่สุดแล้วมันจะพัฒนาไปถึงไหน มี Limitation หรือขีดจำกัดอยู่ที่ใด เพราะสิ่งที่พูดกันทุกวันนี้คือ ทุกสิ่งทได้ ขอเพียงจินตนาการไปถึง ซึ่งถ้ำศักยภาพในการทได้มีมากขนาดนั้นจริง เราจะรู้ได้อย่างไรว่า AI  หรือ Machine Learning จะดึงเราไปไกลแค่ไหน หรือเส้นขอบฟ้าของเราจะกว้างขึ้น เพียงใด เมื่อเป็นเช่นนี้ การคาดการณ์อนาคตจึงยากมาก

พูดถึงเทคโนโลยีแค่สองตัว อย่าง Machine Learning กับ AI ผมมองว่า คือ ตัวที่จะ มาเสริมบทบาทหน้าที่ของมนุษย์ และแทนที่งานในบางลักษณะ โดยเฉพาะที่ทำซ้ำๆ และ งานที่มนุษย์มีโอกาสทำผิดพลาดบ่อยๆ ตอนนี้เราเห็นแล้วว่างานที่มีแบบแผนตายตัว เทคโนโลยีทำแทนได้ทันที ไม่ใช่เพียงแค่งานใช้แรงกายอย่างเดียว เพราะงาน Labor นั้น หุ่นยนต์หรือ Robot ทำได้และทำแทนมานานแล้ว ตอนนี้งานที่ใช้สมองก็แทนได้เขาถึง เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ เช่น การลงรายการบัญชี การทำบัญชี จนถึงรายงานการเงิน  ทุกวันนี้สามารถสแกนใบเสร็จแล้วเรียลไทม์ลงงบการเงินได้ทันที ซึ่งก็มีเว็บไซต์ที่เปิดให้ บริการทั่วไปหมดแล้ว หรืออย่างบทความจำนวนมากของ Bloomberg ก็ถูกเขียนโดย AI ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทำหลายอย่างแทนมนุษย์จะทำให้เรามีเวลาเหลือมากขึ้น และต้องผันตัวไปทำอะไรที่สร้างสรรค์ (Imaginative Work) มากขึ้น คำถามคือ เราต้อง สอนคนต่างไปอย่างไร

Q: แรงขับของภาคการศึกษา โดยเฉพาะในสาย Business School ตลอดจนแนวทางการปรับตัวอันสืบเนื่องมาจากผลกระทบจาก เทคโนโลยี ในความคิดเห็นของอาจารย์จะเป็นอย่างไร? 

A: ผมคิดว่า Driving Force ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น อย่างที่บอกว่าทุกสิ่งต้องมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว แต่คิดว่าอนาคตต่อไปจะอยู่ยากขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงมันซับซ้อน รวดเร็ว แหวกแนว และเห็นได้ไม่ชัด ลองมาไล่เลียงกันดูก็ได้

ภาคการศึกษาในยุคแรก คือ Education for Knowledge การศึกษาเพื่อมุ่งสร้างความรู้ Driving Force หรือแรงขับเคลื่อน ยุคนั้นคือรัฐบาล ที่กำหนดนโยบายและจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริม และสร้างให้ประชาชนมีความรู้ สถาบันฯ ก็มุ่งเป้าหมายชัดเจนไปที่การสอนความรู้ และการ Apply ความรู้ ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัย ในยุคนั้น มักจะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็น Research University เน้นงานวิจัย และเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่เน้นไป ทางด้านวิทยาการ มุมมองของคนทั่วไป ก็จะมองว่า มหาวิทยาลัยเป็นสมบัติของ แผ่นดิน เป็น National Asset ในส่วน  Business School ก็วางหลักสูตรเพื่อปั้น คนให้เป็นคน “รู้จริงและคิดเป็น” ซึ่งต่อมาพอสภาพแวดล้อมเปลี่ยน แนวคิดนี้ก็ปรับไป

หลังจากนั้น Driving Force เริ่มไม่ได้ มาจากแรงขับเพียงภาครัฐ แต่เกิดจากภาค ผู้เรียน ที่อยากจะมี Job Mobility  ที่สามารถไปสมัครงานที่ไหนก็ได้ เปลี่ยนงาน ได้คล่อง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ก็เกิดภาวะการแข่งขันสูง (Competition Demand) ต้องการบุคลากรที่มีทั้งความรู้ และทักษะที่จะมาช่วยทำให้องค์กรชนะ การแข่งขันได้ จึงก้าวมาสู่ยุคการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะหรือ Business School for Skills ยุคนี้ผู้เรียนเรียกร้อง อยากได้ สิ่งที่จะทำให้ตนเองทำงานได้ หลักสูตร ใน Business Schools ทั้งหลายเปลี่ยน กำหนดเป้าหมายและจุดขายมาที่เพิ่ม ทักษะเชิงปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิตเป็น ผู้ที่ทั้ง คิดเป็น และทเป็น

ณ จุดนี้จะพบว่าภาคการศึกษาที่ จากเดิมเคยเน้นการเรียนการสอนและ การวิจัย เอาสิ่งที่วิจัยได้มาสอน ก็เริ่มปรับ มาสอนสิ่งที่เป็นความรู้ทั่วไป หรือ  General Knowledge เป็นความรู้พื้นฐาน กว้างๆ แล้วเติมทักษะเฉพาะ หรือ  Specialized Skills ซึ่งส่วนใหญ่ตัวหลักสูตร จะถูกออกแบบมาในลักษณะที่ต้องมีวิชาพื้นฐาน (Core Courses) แล้วมีวิชา ที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะให้เลือก (Electives) โดยการเรียนการสอนใน  Business Schools ก็มีการ Balance กัน ระหว่างการศึกษาแบบสามัญกับแบบอาชีวะ และลักษณะการเรียนการสอนก็จะเริ่ม ปรับจากเดิมที่เน้นการบรรยาย หรือ Teacher Teaching มาเป็น Case Studies บ้าง Problem-Based หรือ Project-Based หรือ Experiential Learning บ้าง วิชาใน กลุ่มบริหารงานบุคคลก็ใช้การแสดง บทบาททำ Role Play อะไรต่างๆ เข้ามา ลักษณะนี้ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทักษะ ผู้เรียนอีกขั้นหนึ่ง

ถัดจากนั้นก็มาถึงยุคที่เริ่มมีเสียง วิพากษ์วิจารณ์จากภาคผู้ประกอบการ หรือผู้ใช้บัณฑิตว่า การศึกษาที่ทำอยู่ ไม่ตรงจุด หรือ Irrelevant ผลิตบัณฑิต ที่ไม่พร้อมใช้ เมื่อเสียงขององค์กรเริ่ม สะท้อนดังขึ้น จนเป็นแรงขับดันที่นำมา สู่ยุคของการศึกษาเพื่อองค์กร Education for Organization

แนวคิด Education for Organization เป้าหมายคือการผลิตบัณฑิตที่ คิดเป็น ทเป็นและแก้ปัญหาได้ เป็นมนุษย์ พร้อมใช้ โดยหลักสูตรจะบูรณาการ  (Integrate) ทฤษฎีกับการท?างานจริง ในสถานประกอบการเน้นการเรียนไป พร้อมกับทำงาน เป็นความร่วมมือกันของ สถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม แต่หลักสูตรต่างๆ ก็ยังถูกพัฒนาจากมุมมอง ฝั่ง Supply Side หรือสถาบันการศึกษาอยู่ดี

ทั้งนี้ Business School for Organization มีธรรมชาติที่ต่างไปจากสองยุคแรก  ในแง่ของความจำเพาะเจาะจง สังเกตได้ จากหลักสูตรจะวางวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ว่าต้องการบัณฑิตเพื่องานในองค์กร ประเภทไหน จะลดความเป็น Generalized ลงแต่จะมุ่งตอบโจทย์เฉพาะอุตสาหกรรม ที่เป็นเครือข่ายกับสถานศึกษาเพราะ เป็นการเรียนควบคู่ไปกับการทำงาน  การเรียนผ่านการปฏิบัติจริง (Action Learning) การจัดการเรียนผ่าน Online อย่าง MOOC ผสมกับการเรียนฝึกปฏิบัติ เรียนนอกเวลางาน  ถ้าเป็นในรั้วมหาวิทยาลัย ก็เรียนวิชาข้ามคณะมากขึ้น เป็นปรากฏการณ์ ในยุคนี้  ข้อดีคือผลลัพธ์พร้อมใช้จริงๆ  แต่จุดอ่อนของการจัดการศึกษาลักษณะนี้ คือ จะต้องมีหลักสูตรออกมาจำนวนมาก จึงจะสามารถครอบคลุมความต้องการ ของอุตสาหกรรมที่ประเทศต้องการ และ ความเสี่ยงคือ หากมีการเปลี่ยนแปลง อย่างฉับพลันของเทคโนโลยี กลุ่มคน เหล่านี้ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการ Reskill อย่างเร่งด่วน คำถามคือทำได้ทันไหม และ ในกรณีที่มีดีมาน หรือ

ความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้น Capacity ในการรองรับก็จะเป็น ปัญหาเพราะมีความจำกัดในเรื่อง Scale Up ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วในปัจจุบันโครงการ นำร่องทั้งหลายก็ยังรับคนได้จำกัดและ ไม่สามารถขยายผลรองรับความต้องการ ขนาดใหญ่ได้

อีกแรงขับสำคัญคือ ภาครัฐที่ขานรับ เสียงสะท้อนของภาคเอกชนว่า บัณฑิตที่ เป็นผลผลิตจากหลักสูตรต่างๆ ไม่ตรงกับ ความต้องการของชาติ จนต้องมีการ ปรับเปลี่ยนกติกา หรือ Deregulation ใหม่  เช่นให้ต่างชาติมาตั้งมหาวิทยาลัยใน ประเทศไทยได้ ผ่อนข้อบังคับมาตรฐาน สกอ. เพื่อให้เกิดหลักสูตรพันธุ์ใหม่ จนเป็นที่มาของหลักสูตรผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่   ซึ่งก็เป็นโครงการที่เริ่มนำร่องล่าสุด  เพื่อเป้าหมายที่จะรองรับแผนพัฒนา ประเทศ Thailand 4.0 ที่โดยส่วนตัวแล้ว อยากจะใช้คำว่า World 4.0 มากกว่า เพราะถ้ามองรอบๆ ตัวเราประเทศไหนๆ ก็ 4.0 แทบทั้งนั้น บ้างก็ไปถึง 5.0 แล้ว  แต่เหตุผลก็เพราะสภาพแวดล้อมเริ่มเปลี่ยน ทำให้การศึกษาก็ต้องเปลี่ยนเพื่อตอบโจทย์ ความต้องการที่ไม่เหมือนเดิม และนั่นคือ แรงขับในยุคต่อไป ซึ่งผมคิดว่าจะเป็นยุคที่เรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต หรือ  Education for Life รวมทั้งหลักสูตรบริหารธุรกิจก็จะต้องปรับเป็น Business School for Life

Q: ปัจจัยผลักดันไปสู่ Business School for Life จะประกอบไปด้วย?

A: ชัดเจนประการแรกเลยคือ เทคโนโลยี ที่เราเริ่มเอามาช่วยเสริมการเรียนการสอน ให้มีความยืดหยุ่น เป็น Flexible Learning ด้วยความสามารถของเทคโนโลยี เรา สามารถออกแบบจัดทำหลักสูตรที่ปรับให้ มีความสอดคล้องกับผู้เรียนซึ่งสามารถ ปลดล็อกได้หลายเรื่อง ทั้งเรื่องเวลา สถานที่ หรือจะเป็นการเอื้ออำนวยต่อผู้เรียนที่ทำงานไปพร้อมกัน ที่สำคัญต่อไปเราจะเห็นการเรียนสามารถทำเป็นโมดูลสั้นๆ แทนที่จะต้องเรียนคอร์สยาวๆ มากขึ้นหรือออกแบบเป็นหลักสูตรพ่วงประกาศนียบัตร เสริมเป็น Bundle Specialized Program โดยดึงเอาความเชี่ยวชาญจากหลายๆ ศาสตร์มารวมกันแล้วนำเสนอเป็นแพ็กเกจ เป็นต้น เมื่อเทคโนโลยีเป็นไปได้ การออกแบบจัดทำหลักสูตรจึงมีความยืดหยุ่นได้อย่างไม่เคยมีมา

อีกประเด็นที่ตื่นเต้นกันแต่ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีใครก้าวไปถึง คือที่พยากรณ์กันว่า ต่อไปคนจะไม่คาดหวังปริญญา แต่จะหันมาเรียนรู้เป็นเรื่องๆ เฉพาะที่สนใจในขณะนั้นแล้วเอาไปใช้งาน และเมื่อเจอปัญหาใหม่ก็เดินกลับมาสถาบันการศึกษาเพื่อเพิ่ม สมรรถนะอีกวนเวียนกลับไปมาอย่างนี้เป็น Life Time Relationship ซึ่งคิดว่าก็มี ความเป็นไปได้ ในแง่ที่ต่อไปคนจะหันมา เน้นที่การสะสมสมรรถนะ Competency ว่าจะต้องรู้อะไรจึงจะแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ได้ และเมื่อรู้แล้วต้องการจะใช้ได้จริง คือ แทนที่จะสะสมหน่วยกิตเพื่อปริญญาหรือวุฒิ แล้วเอาไปประกาศว่ามีคุณสมบัติเหมือนอย่างในอดีต ก็เปลี่ยนมาแสดงว่าฉันมีสมรรถนะที่จะทำงานแบบนี้ได้นะ แล้วใช้เป็นจุดขายของตัวเองไปเลย ซึ่งเป็นแค่การคาดการณ์ แต่ผมไม่คิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืนหรือแม้แต่ภายในปีสองปี แต่ก็เป็น Driving Force ที่เรามอง ข้ามไม่ได้จำเป็นจะต้องเตรียมวางรากฐานการศึกษาแบบตลอดชีวิตหรือ For Life  แม้คำพยากรณ์นี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ การปรับหลักสูตรมาสู่ Competency-Based ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ควรทำ

Q: คีย์สคัญในเรื่อง Business School for Life คืออะไร?

A: เมื่อพยากรณ์กันว่าการศึกษา ในอนาคตจะไม่ใช่เพื่อใบประกาศหรือ ปริญญา แต่เป็นการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม และพัฒนาสมรรถนะหรือ Competency นั่นก็หมายความว่า ผู้เรียนจะต้องรู้ว่าตนเองต้องกาเรียนรู้ในเรื่องอะไรซึ่งไม่ง่ายเลย ดังนั้น Need Assessment จึงเป็นสิ่งที่สคัญมาก

ที่ผ่านมาเกณฑ์ที่เราใช้ประเมินและคัดกรองผู้เรียน จะพิจารณาที่สติปัญญาว่าเพียงพอและมีศักยภาพในการเรียนจนจบ ได้หรือไม่ ทั้ง 3 ยุคแรก เราล้วนใช้เกณฑ์ ชี้วัดคัดเลือกเดียวกัน เช่น เกรด คะแนนสอบ ประสบการณ์ทำงาน ฯลฯ แต่ในโลกยุคใหม่ เชื่อว่า เราต้องเริ่มจากการช่วยผู้เรียน ประเมินตนเอง (Need Assessment)  ว่าเขาผู้นี้ขาดอะไร จำเป็นต้องรู้อะไร แล้วจึง จัด Package ของการเรียนรู้เพื่อเติมเต็ม สิ่งที่ขาดหรือจำเป็นต้องมี ซึ่งประเด็นสำคัญคือ ความต้องการจะเรียนรู้ของคนเราในแต่ละช่วงของวัฏจักรชีวิตจะไม่ เหมือนกัน เช่นเริ่มจะขึ้นเป็นผู้บริหารกับช่วงก่อนเกษียณ ช่วงมีแรงทำงานหลายอาชีพไปพร้อมๆ กันกับช่วงทำงานแก้เหงายามอายุมากขึ้น กลายเป็นการศึกษาตลอด Life Cycle แทน และในท้ายที่สุดเราจะต้องเตรียม Business School ให้ รองรับ Education for Life นั่นเอง

สรุปคีย์สำคัญก็คือ เราจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและตระหนักรู้ถึงความไม่รู้ของตนเอง และรู้ว่าตนเองจเป็นจะต้องรู้อะไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่ค่อย มีใครกล่าวถึง เพราะก่อนจะไปถึงจุดที่ คนไม่ต้องการปริญญา กระดาษไม่มี ความหมายแต่จะเป็นอย่างนั้นได้ต้องอยู่ บนสมมุติฐานว่าคนทุกคนบอกได้ว่า ตนเองต้องการอะไร ถ้าเขายังบอกไม่ได้เลย ว่าต้องการอะไร ความรู้อะไร ทักษะไหน หรือขาดอะไร เขาก็ย่อมไม่รู้ว่าจะไปเลือกเรียน อะไรเพิ่ม มันจึงเป็นอีกความท้าทายของ สถาบันการศึกษาที่จะต้องช่วยชี้ให้รู้ให้ได้ ว่า “ความต้องการ” นั้นอยู่ที่ไหน คืออะไร?

Q: หากต้องจัดหลักสูตรเพื่อรองรับ Need ที่แตกต่างและหลากหลาย รูปแบบของโปรแกรมการเรียนการสอนควรจะดเนินอย่างไร?

A: คิดว่าตัวการศึกษาจะต้องเป็น หน่วยเล็กๆ ที่เลือกเรียนต่อๆ กัน Micro Module และสามารถจัดการผสมผสาน สาขาในศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็น  Mix & Match โดยอิงกับความต้องการและสิ่งที่ขาดของผู้เรียนเป็นสำคัญ หากเทียบ กับ 3 ยุคแรกที่หลักสูตรจะกำหนดโดย Supply Side แต่ในอนาคตจะกลับกัน  ซึ่งคิดว่า Module การเรียนจะตอบโจทย์ Demand Side มากขึ้นปัจจัยที่สร้างความยืดหยุ่นแบบนี้ให้เป็นไปได้คือ  Disruptive Technology ทั้งหลาย เมื่อก่อนผมเรียก เทคโนโลยีอุบัติใหม่ แต่พอมาประยุกต์ในลักษณะนี้แล้วทำให้เรียกใหม่ ว่า เทคโนโลยีพลิกเกม” จะตรงกว่า

Q: แล้วผลกระทบของ Ed Tech. ในแง่มุมที่เกี่ยวกับ ชุมชนและสังคม?

A: เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่งานหลายๆ อย่าง จะเป็นได้ทั้งตัวช่วยที่ปิดช่องว่างและสร้างโอกาสในหลายๆ เรื่อง แต่สิ่งที่เป็น ความท้าทายสำคัญที่สถาบันการศึกษาต้องตอบให้มากขึ้นคือ จะทำอย่างไรกับเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางปัญญา หรือที่เรียกว่า Intelligence Inequality ที่ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องปากท้องและเศรษฐกิจ  แต่การเข้าถึงซึ่งการศึกษาที่มีคุณภาพสูงได้ด้วยราคาที่ไม่แพงและทันการณ์ โดยนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ จุดนี้สำคัญมาก

Q: Success Factors ของการศึกษาในอนาคต จะขึ้นกับ ปัจจัยอะไรเป็นสคัญ?

A: ขั้นแรกเลยนั้น Learning Goals จะต้องเปลี่ยนก่อนเลย เพราะ หากมองไปที่ไทม์ไลน์พัฒนาการของ Business School ในแต่ละยุค โดยเจาะลงไปที่เป้าหมายของการเรียนหรือ Learning Goals จะเห็นว่า ยุค For Knowledge เล็งเป้าหมายเพื่อทำให้คนมีความรู้ พอเป็นยุค For Skills ก็มุ่งไปที่การสร้างทักษะเพื่อใช้ในการทำงาน ถึงยุค For Organization เป้าหมายก็ชัดที่การรองรับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

แต่สำหรับในยุค For Life นั้น ผมคิดว่าเป้าหมายนั้นต้องเพื่อทำให้คนสามารถ Co-Learning at Time of Need คือเรียนรู้ร่วมกัน ณ เวลาที่ต้องการ โดยมี ผู้เรียนกับผู้สอนเป็น Learning Partners และไม่จำเป็นว่าผู้สอนต้องรู้มากกว่า แต่ต้องสามารถจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการพัฒนาและความจำเป็นของผู้เรียนได้

โมเดล คือ ผู้เรียนมาเรียนรู้ร่วมกับผู้สอน ผู้เรียนมาเรียนเป็น  On Demand จริงๆ แล้วลักษณะของสถาบันการศึกษาที่จะรองรับแบบนี้ ประการแรกต้องเป็น Lifelong Learning และอีกประการคือ เป็น Multiple Career คือต้องเป็น Program ที่ยืดหยุ่นมากพอที่จะรองรับ ให้คนสามารถทำหลายๆ อาชีพได้ในเวลาเดียวกัน เพราะคำพยากรณ์ในอนาคตคือคาดว่า เทรนด์ต่อไปคนจะมีอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ และ ถือเป็นเรื่องปกติ โดยคนจะทำงานทั้งอาชีพอิสระ เป็นทั้งฟรีแลนซ์พร้อมๆ กับมีอาชีพประจำ ดังนั้นความต้องการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะเพื่อทำงานที่แตกต่างและหลากหลายจะกลายเป็นความต้องการและจะเป็นอีกเป้าหมายของการเรียนรู้

Q: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในอนาคต

A: หลักสูตรของอนาคตจะต้องมี Micro Module หรือทำเป็น โมดูลเล็กๆ ในการเรียนการสอนที่สามารถเชื่อมโยงได้กับทั้งชุมชน และองค์กรและที่สำคัญคือ Business School สำหรับยุคไทยแลนด์  4.0 ที่เป็น For Organization สามารถผลึกเข้าด้วยกันโดยดึงเอา ความเชี่ยวชาญจากหลายๆ สายมารวมกัน

ซึ่งเชื่อว่าต่อไป Education for Life หรือการศึกษาจะต้อง ไม่รวมกันมาเป็น Package สำเร็จรูปเหมือนในอดีต แต่จะมีความเป็นโมดูลเล็กๆ เป็นทางเลือกเพื่อตอบโจทย์ความต้องการการเรียนรู้ และทักษะในเรื่องต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น

ส่วนโมดูลเหล่านั้นจะผ่านรูปแบบที่เป็น MOOC หรือ Human Interaction หรือ E-Learning หรือเป็นการฟังบรรยาย ก็สุดแล้วแต่ แต่การเรียนในอนาคตจะมีรูปแบบที่หลากหลาย ออกมาให้เลือก ซึ่งจะมีการดีไซน์ออกมาบนพื้นฐานธรรมชาติ ของเนื้อหา และที่น่าสนใจคือต่อไปการเรียนรู้จะสามารถ เป็น Just in Time Learning เหมือนเป็นคลังความรู้ หรือ  Inventory คือ อยากรู้อะไร อยากได้อะไร แค่เดินเข้ามาก สามารถจะรู้ได้ทันที แบบนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อย่างแท้จริง แต่ต้องเรียกว่า Learner-Centric ในรูปแบบ  Individual-Centric โดยเอาความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน เป็นที่ตั้ง และไม่ใช่ Student-Centered แบบในอดีต

Q: ในแง่บทบาทของความเป็นสถาบันการศึกษา หากว่าการเรียนรู้ทเป็นโมดูลและอาจไม่อิงกับความเป็นสถาบัน

A: อยากให้ลองจินตนาการเปรียบเทียบสถาบันการศึกษา กับบริษัทสองบริษัท ที่รายหนึ่งเน้นขายสินค้าที่ตัวเองผลิตได้ ให้กับลูกค้า แต่อีกรายหนึ่งเน้นขาย Solution ช่วยลูกค้าแก้ปัญหา แม้ในการแก้ปัญหานั้นอาจมีบางอย่างที่ไม่ใช่สินค้าของตนเองแต่ก็เอื้อมมือไปหาเครือข่ายที่ตอบโจทย์ให้กับลูกค้า เช่น เจ้าหนึ่งมุ่งแต่จะขายคอมพิวเตอร์ อีกเจ้าหนึ่ง มุ่งสร้างประสิทธิภาพในสำนักงานให้ลูกค้า ใครจะผู้ชนะก็เห็น คำตอบอยู่ชัดๆ ดังนั้น บทบาทและหน้าที่ของสถาบันการศึกษาจะเป็นเสมือน Solution ของโจทย์ความต้องการเรียนรู้ แม้ว่าศาสตร์นั้นจะไม่มีอยู่ในคณะตัวเองก็ต้องทำหน้าที่ไปแสวงหาและ Customize เข้ามา แล้วเพิ่มโมดูลเข้าไป ดังนั้น การแบ่งหลักสูตรตลอดจนโครงสร้างการเรียนที่เคยแบ่งเป็นคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่แยกกันในอดีต ภายใต้ความเชี่ยวชาญของแต่ละแขนงวิชา พอถึงยุคนี้กลายเป็นข้อจำกัด เพราะอนาคตจะต้องเป็นสหวิทยาการหรือ Multidisciplinary ซึ่งหากว่าเรายังแยกกันไปมันก็จะยากต่อผู้เรียน การนำเสนอแบบ Supply Side ต้องปรับ และสิ่งเหล่าน คือปฐมบทของการศึกษาที่จะพัฒนาไปจน เป็น Education for Life

Q: แล้ว Implication ในเชิงของ ผู้เรียน จะเปลี่ยนไปในแนวทางใด?

A: ต่อไปจะไม่เรียก “นักเรียนหรือ Student แต่จะเป็นผู้เรียนหรือ Learner” ซึ่งอนาคตจะหมายถึงคนที่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเรียน แล้วออกไปทำงานและกลับเข้ามาเรียน เป็นลักษณะ Lifelong Walk-In and Walk-Out Learner คือ แวะเวียน เดินเข้า-เดินออกในสถานศึกษาตลอดชีวิต

ตอนนี้ทุกสถาบันเวลาพูด Lifelong Learning จะยังคงวนใน Loop ของฝั่ง Supplyไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสะสม Credit การเรียนและการสอบ เพื่อนำไปสู่การได้ปริญญา แม้แต่การเรียนออนไลน์ หรือ MOOC ก็ยังเป็นการคิดและพูดกันในรูปแบบเดิมๆ ว่าเรียนอันนี้แล้วจะได้หน่วยกิตเท่านั้นเท่านี้ ซึ่งถ้าเป็น Education for Life จริงๆ เราต้องบอกว่า เรียนโมดูลนี้แล้วจะได้ Competency อะไร แทนที่จะบันทึกเป็นหน่วยกิต แต่จะต้องบันทึกหรือสะสมสมรรถนะ Competency ว่าบุคคลผู้ที่มี Set of Competency หรือสมรรถนะชุดนี้จะทำอะไรได้บ้าง ในอนาคต Certificate หรือปริญญา จึงพึงควรที่จะต้องออกตาม Competency ซึ่งผู้เรียนสามารถค่อยๆ สะสมไปแบบ Life Long ตลอดชีวิต การทำงาน ซึ่งเป็นได้ว่าผู้เรียนอาจไม่ได้ปริญญาเลยสักใบในชีวิต แต่ความสำคัญคือเขาสามารถติดตามพัฒนาการหรือ Tracking ตัวเองได้ นี่คือความหมายที่แท้จริงของคำว่า Track Record เพราะสิ่งที่เขามี หรือ Competency ที่สะสมไว้สามารถ ตอบโจทย์เรื่องอาชีพและการงานของเขาได้

แน่นอนว่าเรื่องนี้ยังมีความท้าทายที่สำคัญมากคือ ต้องก้าวข้ามคำว่า ธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ไปสู่คลังสมรรถนะ (Competency Bank) เช่นว่า ต่อไปแทนที่จะออกใบปริญญาหรือสัมฤทธิบัตรด้านการบริหารการเงิน แต่ใน Transcripts คงต้องระบุเป็นสมรรถนะว่าบุคคลผู้นี้มีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างด้วย เช่น วิเคราะห์งบการเงิน สามารถตัดสินใจ ลงทุนได้ เป็นต้น

ซึ่งการเรียนลักษณะนี้จะมีความ ยืดหยุ่นมาก เพราะลงในระดับ Issue Base แต่ด้วยโครงสร้างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคง ยังยากที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าใช้วิธีการจัด การศึกษาแบบเดิม แต่หากว่าการ Disrupt เกิดขึ้นและรุกล้ำมากขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง สถาบันการศึกษาคงจะต้องเตรียมการ เตรียมตัว เตรียมระบบ ทั้งบุคลากรและ ชั้นเรียน ทั้งหมดให้สามารถรองรับกับ อนาคตที่กำลังจะมาถึง

ผมมักบอกกับนักศึกษาเรื่องการเรียนรู้ โดยยกคำพูดของ ท่านมหาตมะ คานธี  ที่เคยพูดไว้ว่า “Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.” คือ ให้ใช้ชีวิตประหนึ่งว่าคุณจะ ตายวันพรุ่งนี้ เพื่อจะได้ไม่ประมาท และ ให้เรียนรู้ประหนึ่งว่าคุณจะมีชีวิตเป็น อมตะ ซึ่งผมว่าเป็นคำพูดที่สมยุคสมัยเป็น อย่างมากในเวลานี้

Q: แล้วคณะบริหารธุรกิจที่ มช. หรือ AccBA CMU เตรียมตัว กับการรับมือในเรื่อง Disruption กันแล้วหรือไม่อย่างไร?

A: เราเริ่มแล้ว ซึ่งเชื่อมโยงกับ AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) ที่คณะฯ กำลังทำอยู่ทั้งเรื่อง Re-Skill อาจารย์ รวมทั้ง กระบวนการท?า Assurance of Learning หรือกระบวนการสร้างหลักประกันว่า ผลสัมฤทธิ์จะเกิดขึ้นจริงในตัวผู้เรียน  ที่กำหนดให้เราต้องระบุว่า การเรียนการสอนนั้นได้สร้าง Competency อะไรให้ผู้เรียน ตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา AccBA CMU หมายรวมถึงอาจารย์ของเราเริ่มปรับ เปลี่ยนทั้งการกำหนดเป้าหมายในเรื่อง Competency การเรียนการสอน การปรับ วิธีการสอนที่มุ่งสร้างสมรรถนะ ไปจนถึง กลไกการวัดผล ซึ่งเราเป็นที่เดียวใน ประเทศไทยที่มีการวัดสมรรถนะผู้เรียนเป็น รายคนและทุกกระบวนวิชาในรูป Student Dashboard สิ่งที่ทางคณะฯ ทำนั้นเกินกว่ามาตรฐานการประกันคุณภาพที่ทาง สกอ. กำหนด เพราะเราต้องการใช้กระบวนการ บันทึกการสะสมสมรรถนะของผู้เรียนที่เรา สร้างขึ้นมานี้เป็นต้นแบบของการวัด ความสำเร็จทางการศึกษาของโลกยุคใหม่ จากบันทึกรายงานความก้าวหน้าฉบับล่าสุด ของเรา AACSB ก็ชมเชยว่าระบบของเรา เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาของโลก  

Q: พูดถึงเกณฑ์ชี้วัด ความสเร็จ เรื่องมาตรฐานกับความคาดหวังของอาจารย์และทางคณะฯ แนวทางเป็นอย่างไร?

A: เพราะเป้าหมายของการศึกษา ในแต่ละยุค มีความต่างกันไปตามวาระ และเวลา Business School ในยุค For Knowledge จึงตั้งเกณฑ์วัดความสำเร็จที่จำนวนผู้จบการศึกษา โดยตั้งเกณฑ์ตัวชี้วัดจากคะแนนและหน่วยกิต เป็นต้น และเมื่อยุคสมัยได้ปรับเปลี่ยนเป็นการพัฒนาทักษะ หรือ For Skills เกณฑ์วัดความสำเร็จก็ถูกขยับไปจับว่า จบออกไปแล้วทำงานตรงกับสายที่เรียนมาใช่หรือไม่ และเมื่อถึงยุค For Organization ตัวชี้วัดก็เล็งผลที่ความพร้อมของบัณฑิตในการทำงาน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายเรื่องคนของอุตสาหกรรม หลักสูตรนำร่อง บัณฑิตพันธุ์ใหม่ไปไกลขนาดให้ผู้ประกอบการเป็นคนวัดว่าบัณฑิตพร้อมใช้จริงไหม แต่สำหรับ Business School for Life ตัวชี้วัดความสำเร็จ คิดว่าสิ่งแรกเลยคือ Responsiveness หรือการวัดความสามารถในการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ของผู้เรียน อันนี้เป็น Life Skill ที่จะสะท้อน ว่าผู้เรียนมีความยืดหยุ่นที่จะรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา สามารถที่จะปรับตัวได้อย่างเท่าทัน และ ใช้ประโยชน์จากความไม่รู้ของตนเองได้  มีความสามารถที่จะประเมินความต้องการ ตนเอง และตอบตัวเองได้ว่าต้องการเติม ความรู้ที่ขาดในด้านใด แล้วเดินกลับมา Re-Skill หรือสะสมโมดูลความรู้ และ Competency ที่ต้องการได้ตลอดเวลา

อีกตัวชี้วัดที่มองว่าสำคัญคือ Speed of Learning คนเรียนรู้ได้ไวหรือไม่ ต่อไป คาดการณ์ว่าคนหนึ่งคนจะมีได้หลายอาชีพ ในเวลาเดียวกัน ดังนั้น โมดูลในการเติมความรู้และทักษะ ต้องสร้างความรู้ให้กว้างและลงลึก เพื่อสร้างทั้งความเชี่ยวชาญและความรอบรู้ และประการสุดท้ายที่สำคัญ คือ การมีความสมดุลระหว่างชีวิตและการทงานที่เรียกว่า Work Life Balance เพราะต่อไปเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่งานในหลายๆ หน้าที่ มนุษย์เราก็จะมีเวลาคืนกลับมา หมายความว่าเราต้องหันไปพัฒนาและทำงานที่สร้างสรรค์มากขึ้น งานที่เทคโนโลยีทำแทนไม่ได้ เมื่องานประเภทซ้ำๆ ลดน้อยลง การใช้ชีวิตจะต้องจัดสมดุลให้ได้ บทบาทของสถานศึกษาในอนาคตจะต้องเริ่มเติมเต็มสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเป็นเทรนด์สำคัญ ถือเป็น Leadership ประเภทหนึ่ง และ AACSB ถือว่าเป็นหน้าที่ของ Business School ที่จะต้องเป็น Leader of Leadership เป็นผู้นำด้านการพัฒนาภาวะผู้นำให้สังคม หน้าที่นี้จะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต

Q: ความเชื่อมโยงกับภายนอก อย่างตลาดงานหรือองค์กร ภาคผู้ใช้บัณฑิต

A: เรื่องนี้ต่อไปความคาดหวังจะอยู่ที่ Competency ที่ต้องมี เช่น อาชีพ นักวิเคราะห์ การตลาด ต้องมีความสามารถ หรือ  Competency อะไรบ้าง ก็เป็น Demand จากภาคผู้ประกอบการ ส่วนสถาบันการศึกษา ก็มีหน้าที่จัดทำโมดูล ซึ่งจะประกอบไปด้วย โมดูลต่างๆ และอาจไม่จำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องเรียนหรือรู้ทั้งหมดก่อนจึงจะทำงานได้ แต่อาจรู้เพียงบางโมดูลก็สามารถทำงานได้เลย เมื่อมีความจำเป็นหรือต้องการ ทักษะความรู้เพิ่มเติมค่อยมาเรียนเพิ่มในภายหลัง ความสำคัญของจุดนี้อยู่ที่ “การปลดล็อก” เรื่องระยะเวลาของหลักสูตรที่กำหนดว่าต้องจบภายในเมื่อนั้นเมื่อนี้โดยต้องขจัดเรื่องเงื่อนไขของเวลาออกไป เพื่อให้การเรียนรู้เป็นเรื่องของการตอบสนอง จริงๆ ซึ่งสถานที่ทำงานและเงื่อนไขสายอาชีพของแต่ละบุคคลมักไม่เท่ากัน แบบนี้จะสามารถคงประโยชน์ให้กับทุกฝ่ายอย่างดีที่สุด ทั้งผู้เรียน มหาวิทยาลัยและองค์กรเองที่จะได้รับประโยชน์อย่างตรงจุดและตรงโจทย์เป็นที่สุด ในมุมของมหาวิทยาลัยเองก็จะได้ทบทวนตัวเองด้วยว่าความรู้หรืองานวิจัยค้นคว้าที่เคยมีมายังสามารถนำมาใช้ประโยชน์แท้จริงอะไรได้บ้าง

Q: คณะบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่มีการจัดทหลักสูตร ออนไลน์ E-Learning หรือใช้ เทคโนโลยีในหลักสูตรบ้างหรือไม่ อย่างไร?

A: ทางคณะฯ เรามีการพัฒนา E-learning และ MOOC แต่ต่างไปจากที่อื่น ที่ว่าเราไม่ได้เปิดเป็นหลักสูตรเพื่อเพิ่ม อีกวิชา แต่เรามองว่าจะใช้ได้ดีในแง่ของ การเป็น Augment คือเป็นส่วนเสริมของ การเรียนปกติในส่วนของ Content ที่ตายตัว

ปฏิสัมพันธ์ตัวต่อตัวยังไม่มีเทคโนโลยี ใดเทียบได้เลย จึงเชื่อว่ายังไม่สามารถมา แทนที่ในเรื่องนี้ได้หรือแม้กระทั่ง Coursera ที่ว่ากันว่าได้รับความนิยมแพร่หลายอัตรา ของคนที่อดทนเรียนเองผ่านออนไลน์จน จบจะพบว่าน้อยมาก Success Rate ไม่ถึง 10% โดยเฉลี่ยซึ่งถ้าเป็นระบบปกติ 10% นี่ถือว่าล้มเหลว ผมมองว่ามนุษย์เป็น สัตว์สังคมที่ไม่สามารถตอบสนองตัวเองได้ โดยลำพัง ยังต้องการการอยู่รวมกันเป็น กลุ่มมีการพึ่งพา และทักษะหลายอย่าง เช่น ทักษะชีวิต Life Skills ที่จะทำให้ เกิดความก้าวหน้าในอาชีพยังเรียนผ่าน คอมพิวเตอร์ไม่ได้

ในส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ คณะฯ เราเริ่มมีการทำบทเรียนเป็น Virtual Reality เพื่อใช้ฝึกนักศึกษาในรูปแบบจำลองสถานการณ์จริง เช่น แทนที่ต้องพา นักศึกษาเดินทางไปโรงงานก็ให้สวมหน้ากากที่รองรับโทรศัพท์มือถือซึ่งมี Application ดูบทเรียนโลกเสมือนที่เตรียมไว้ ก็เสมือนเข้าไปยืนอยู่ในโรงงาน นักศึกษาสามารถเข้าไปดูแม้ในยามที่โรงงานจริงปิดทำการ เหล่านี้เป็นเรื่องของการเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น

Q: ดูเหมือน Business School for Life จะออกแนว Formless เมื่อเทียบ กับระบบการศึกษาที่ผ่านมา

A: ผมเองมองว่าเรื่องนี้เหมือนลูกตุ้มนาฬิกา ตอนนี้กำลังเหวี่ยงไปสุดโต่งด้านนี้ ในที่สุดเดี๋ยวก็กลับมา อย่างสำนักตักศิลาในสมัยก่อน ใครอยากเรียนอะไรก็มาที่สำนัก เลือกเรียนโน่นนี่นั่น ต่อมาก็พัฒนามาเป็นการเรียนใน Classroom แล้วก็พัฒนาไล่เรียงมา และตอนนี้ก็ดูจะกลับไปเป็นเหมือนสมัยก่อน เพียงแต่มีเทคโนโลยีเพิ่มเข้ามา และองค์ความรู้มีมากกว่าในอดีต ผมเองคิดว่าต่อไปถ้าหากการเรียนรู้มันเริ่มไร้ รูปแบบมากขึ้น เดี๋ยวคนก็เรียกร้องหา Formality เพราะสิ่งที่จะทำให้คนเรียนรู้ แล้วสำเร็จได้ คือผู้เรียนจะต้องบอกได้ว่าตัวเองขาดอะไร ต้องการอะไร ไม่รู้อะไร ซึ่งไม่ง่าย

Q: การจัดการเรียนการสอน นักศึกษาในปัจจุบันซึ่งกลังอยู่ ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน จากยุคปัจจุบัน เพื่อก้าวข้ามไปสู่อนาคตยุคใหม่ ทางคณะฯ ได้วาง แนวทางอย่างไร?

A: นอกเหนือไปจากการวางหลักสูตร และรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้น  Project Based และ Action Learning  ที่ได้ผลดีในการส่งเสริมความรู้และทักษะ ให้กับนักศึกษาต่อเนื่องมาหลายปี เรายังพยายามทำเรื่อง Career มากขึ้นและถือว่าประสบความสำเร็จมาก เราจัด Module Workshop ให้นักศึกษาปริญญาตรีตลอดเวลา

โดยแบ่งเป็น Step เริ่มจากเรื่อง “ค้นพบอาชีพในฝัน” เราเชิญ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยามาเป็นโค้ชให้นักศึกษาปีละกว่า 500 คน ได้ผลสะท้อนออกมาดีมาก ค้นพบอะไรหลายๆ อย่าง เด็กหลายคน ค้นพบเป้าหมาย บ้างค้นพบความสนใจและความต้องการของ ตัวเองอย่างที่ไม่เคยเป็นมา บางคนตอนแรกก็เรียนตามแม่สั่ง  ต่อมาก็พบเจอเป้าหมาย Module ต่อมาเป็น Workshop ปรับทัศนคติ “ฉันทำได้” (Can-Do Attitude) เพื่อสร้างทัศนคติและความเชื่อว่า “ฝันได้ก็ทได้” เพราะเด็กหลายคนค้นพบความอยาก และเป้าหมาย แต่คิดว่าตัวเองทำไม่ได้ ซึ่งเราต้องส่งเสริมความเชื่อมั่น ซึ่งผมมักบอกเด็กเสมอว่า “คนเราขอแค่ได้คิด ก็คิดได้”  เราประสบความสำเร็จมากในเรื่องเหล่านี้ อย่างที่บอกว่าเราวัด Impact หรือผลกระทบในสิ่งที่เราทำมากกว่าจำนวนของคนจบปริญญา

หลังจากผ่าน 2 Workshop ทางคณะฯ ก็จะจัด Module  ช่วยในเรื่องการปูเส้นทางเพื่อสร้างความสำเร็จในชีวิตและการงาน ด้วย Workshop โดยเนื้อหาจะเป็นการให้นักศึกษามีบุคคลต้นแบบในใจ (Role Model) เพื่อตอกย้ำ Passion ของตนเองผ่านชุดบรรยาย Inspirational Talk จากรุ่นพี่ศิษย์เก่า และบุคคลตัวอย่างของสังคม  แล้วตามมาด้วย Module ที่เน้นการเรียนรู้สายอาชีพของนักบริหารธุรกิจ ทั้งตำแหน่งงานที่มีอยู่ในองค์กรปัจจุบัน และอาชีพมาแรงแห่งอนาคต นี่เป็นตัวอย่างย่อๆ นอกเหนือจาก Module วิชาการที่เราทำ

Q: ตามวิสัยทัศน์และความคิดเห็นที่กล่าวมา แนวทาง การเตรียมบุคลากร เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ต้องเริ่มยังไง?

A: อาจารย์ต้องได้รับการ Re-Skill เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เราจะ อยู่ได้ภายใต้ Disruptive World โดยยังคงทำเหมือนที่เราเคยทำ เมื่อเข้ามาสอนหนังสือใหม่ๆ เมื่อหลายสิบปีก่อน แต่นั่นก็เป็นเพียง ส่วนหนึ่ง ยังมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่เราประชุมร่วมกันขบคิด และหารือ อย่างเรื่องวิชาการ การเรียนการสอนคงต้องลดความเป็น Discipline-Based ที่เคยเน้นสาขาวิชา อาทิ สาขาการเงิน การตลาด คงต้องลดและเป็น Issue-Based, Competency-Based มากขึ้น ตอบสนองฝั่ง Demand ให้มากขึ้น ต้องกำหนดชัดไปเลยว่า เรียนสิ่งนี้ไปแล้วได้ Competency อะไร เอาไปทำอะไร เอาประโยชน์ของมันมาตั้งเป็นหลัก แทนที่จะเอาชื่อวิชามาเป็นหลักว่าคนจะจบ ปริญญานี้จะต้องเรียนวิชาอะไร จุดนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ

Q: เมื่อไหร่ถึงเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง

A: คิดว่าในเร็วๆ นี้ ถ้า 5G เข้ามาจริงๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก เพราะหลายสิ่งจะมาทำงานแทนเรา ในอีกด้านหนึ่งมันช่วย Free Up เวลาให้เราด้วย เมื่อเราได้เวลาคืนกลับมา ความสำคัญคือ แล้วเราจะใช้เวลาเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์และสร้างสมดุลในชีวิตได้อย่างไร ผมคิดว่า ยังไงสถาบันการศึกษาก็ยังคงต้องดำรงบทบาทในการรับผิดชอบเรื่องทำนองนี้อยู่ดี เพราะจะปล่อยให้คนลองผิด ลองถูกกันเองทั้งหมดคงยากที่จะสำเร็จโดยรวมได้

Q: นิยามถึง Spirit ของบัณฑิต AccBA CMU เรา จะกล่าวถึงอะไร?

A: นอกเหนือไปจากเรื่องวิชาการความรู้และทักษะที่ทางคณะฯ เพาะบ่มเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรอบรู้ ความสามารถและสติปัญญาเพื่อจะใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต ทักษะสำคัญประการหนึ่งที่คนเรียนบริหารธุรกิจต้องมีคือ รู้จักการกำหนดเป้าหมาย รู้จักการวางแผนเพื่อให้ไปถึงฝั่งฝัน พร้อมด้วย แรงบันดาลใจ ภายใต้การรู้จักใช้ทรัพยากรและเวลาที่มีอย่างจำกัด เพื่อฝ่าไปให้พบความสำเร็จ เช่น ตอนนี้เราเป็นคณะเดียว ในประเทศไทยที่กำหนดให้นักศึกษาปริญญาตรีจะต้องทำโครงการระยะยาวเพื่อรับใช้สังคม เป็นโครงการที่ต้องทำยาว 3 ปี ก่อนจะสำเร็จไปเป็นบัณฑิต ศิษย์ AccBA CMU ที่ถูกเพาะบ่มผ่าน โครงการที่ต้องเชื่องโยงกับชุมชนและสังคม ได้เรียนรู้ที่จะวางแผนระยะยาว ฝ่าฟันทุกอุปสรรค ทุ่มเทสรรพกำลังในการบรรลุเป้าหมายของตน และทิ้งตำนานที่ตนเองสามารถเล่าขานได้อย่างภาคภูมิใจ ไปตลอดชีวิต

บัณฑิตที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในแต่ละปีมีจนวนเยอะมาก แต่ผู้ที่สเร็จการศึกษาพร้อมกับ Project ที่ทงานร่วมกับชุมชนและสังคมมาถึง 3 ปี หายาก วิชาบริหารธุรกิจมิใช่เพียงการเรียนรู้เพื่อแสวงหา ผลตอบแทนเชิงกไร แต่ในโลกวันนี้และอนาคต วิชาบริหารธุรกิจต้องคนึงถึง Impact และการส่งมอบคุณค่าและความยั่งยืนให้กับชุมชน สังคมและประเทศชาติ จึงเป็นนิยามและความหมายของโรงเรียนบริหารธุรกิจเพื่ออนาคต


เรื่อง : กองบรรณาธิการ       

ภาพ : ชัชชา ฐิติปรีชากุล

X

Right Click

No right click