December 22, 2024

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ดำเนินการมาครบ 20 ปี ในปีนี้ แนวคิดการจัดการอยู่บนพื้นฐานบริบทของสังคม ศาสนา วัฒนธรรม และกระบวนการมีส่วนร่วม ควบคู่ไปกับการสอดแทรกแนวคิด ทฤษฎีใหม่ๆ ทางด้านการบริหารธุรกิจ ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนของหลักสูตร และพร้อมสำหรับกระแสการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกธุรกิจทั้งในประเทศและการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก

ผู้ศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร ทั้งหมดเป็นบุคลากรจากภาคธุรกิจ มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภาคธุรกิจและราชการ ในระดับผู้บริหารระดับสูง เจ้าของกิจการ ผู้มากด้วยประสบการณ์ ที่ต้องการความรู้เพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างความยั่งยืนแก่อาชีพและธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเจ้าของธุรกิจ Start up (คนรุ่นใหม่) เปิดบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับธุรกิจด้านไอที และรวมถึงต้องการทำธุรกิจให้เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด สามารถสร้างรายได้จำนวนมาก คนทั้งสองกลุ่มนี้ต้องการการเรียนรู้ ต้องการพัฒนาทักษะใหม่ๆ สำหรับการประกอบอาชีพ นับได้ว่าโครงการเราได้เปรียบในการมีผู้ศึกษาที่ประกอบด้วยคนที่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่มนี้ สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดระหว่างกันได้

วัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร เพื่อสร้างความยั่งยืน คือการออกแบบหลักสูตรที่มีความยืดหยุ่น ที่จะสามารถนำความพร้อมที่แตกต่างกันของผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ให้สามารถนำประสบการณ์ที่ผ่านมาเข้ามาแบ่งปันแนวคิดของคนต่างรุ่น ตลอดจนสอดแทรกแนวคิดทางการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ มาบูรณาการกับการเรียนรู้ในหลักสูตรของเรา โดยมุ่งเน้นการสร้างความผูกพันและสังคมแห่งการแบ่งปัน ทั้งระหว่างผู้เรียนในชั้นปีและศิษย์เก่าชั้นปีต่างๆ เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจที่เกิดจากความผูกพัน ความจริงใจ ในการช่วยเหลือแบ่งปันในลักษณะครอบครัว Ex-MBA อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา เราไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาหลักสูตร วิชา และวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสมในการดึงเอาศักยภาพของผู้ศึกษาเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและพัฒนาศักยภาพของแต่ละคนที่มีอยู่ ในภาพรวมของฟังก์ชั่นการบริหารธุรกิจ ทั้งการบริหารจัดการ การเงิน บัญชี การตลาด การวิจัย เป็นต้น แต่ในการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนนั้น ทางโครงการยังได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม การปรับเปลี่ยนหลักสูตร ไม่ใช่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงอย่างเดียวที่เกิดขึ้น แต่เป็นการนำประสบการณ์ของมหาวิทยาลัยไปตอบสนองความต้องการของสังคม ที่สำคัญ เราต้องสร้างจิตวิญญาณที่ทำให้คนแต่ละคนสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ไกลมากขึ้น

 

ในการเรียนการสอน เราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพแวดล้อมจริง เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่นในปีที่ผ่านมาทางหลักสูตรได้ บูรณาการ การเรียนกับโจทย์จากธุรกิจจริงในท้องถิ่น โดยทำในรูปแบบของการจัดทำแผนธุรกิจให้กับธุรกิจท้องถิ่นที่ยินดีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่าง ๆ ให้ทีมนักศึกษาเข้าร่วมในการศึกษาวิเคราะห์ธุรกิจและนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาศักยภาพของธุรกิจนั้นๆ ในรูปแผนธุรกิจ จำนวน 6 กลุ่มธุรกิจ นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะได้เรียนรู้โดยเอาแนวคิดที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ ประสบการณ์การบริหารจัดการส่วนตัว ความถนัดในแต่ละสาขาวิชาที่มีอยู่ การทำวิจัย มาแบ่งปันเรียนรู้ร่วมกันและบูรณาการร่วมกัน โดยมีคณาจารย์เป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดทุกกลุ่ม

ผลการจัดทำ Action Learning จะทำให้ผู้เรียนต้องใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น ใช้เวลาในการศึกษาภาคทฤษฎีจากคณาจารย์ไปพร้อมๆ กับการประชุมกลุ่ม การเข้าพบผู้ประกอบการนอกเหนือจากเวลาเรียนมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนต้องใช้ความพยายามและเวลามากขึ้น แต่ผลการทำ Focus Group กับกลุ่มผู้เรียน พบว่าส่วนมากเกิดความรู้เข้าใจในธุรกิจใหม่ๆ ที่ต่างไปจากธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ ได้มุมมองภาพรวมของการบริหารจัดการมากขึ้นว่าทุกฟังก์ชั่น ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งหมด เช่น การบริหารด้านการเงิน จะส่งผลต่อระบบธุรกิจด้วย เป็นต้น ในด้านเจ้าของธุรกิจที่กรุณามาเป็น Case ให้เรา จากการทำแบบประเมินพบว่า การเรียนการสอนรูปแบบนี้ช่วยสะท้อนแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจในมุมมองของคนภายนอกธุรกิจของตน ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ดี และมีความพึงพอใจในระดับมาก ในปีนี้เราจึงทำการสอนในรูปแบบ Action Learning ต่อเป็นปีที่สอง แต่ทางคณาจารย์ของโครงการ มีการปรับวิธีการเรียนการสอนเพื่อให้เหมาะสมและช่วยลดเวลาต่างๆ ของนักศึกษาลง โดยนำเอาจุดอ่อนของปีที่ผ่านมาเป็นตัวตั้งในการปรับปรุง เพื่อให้สามารถดึงพรสวรรค์ที่มีอยู่ในตัวคนทุกคนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์จากการเรียนรู้อีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ และวิธีการเรียนการสอนแบบ Action Learning ของทางหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร เป็นที่สนใจของศิษย์เก่ารุ่นพี่ๆ ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว ทางเรากำลังคิดว่า อาจมีการจัดหลักสูตรอบรมระยะสั้นๆ สำหรับอัปเดตความรู้ให้กับศิษย์เก่ารุ่นพี่ๆ ในอนาคต อาจเป็นการสมัครเข้ามาเรียนรู้ในบางหัวข้อร่วมกับรุ่นน้องและคณาจารย์ผ่านการเรียนการสอนแบบ Action Learning เพื่อตอบสนองต่อผู้เรียนในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องจากการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ทางหลักสูตรยังได้มุ่งเน้นไปที่การเปิดวิสัยทัศน์ ด้าน International Business Management ให้กับกลุ่มผู้เรียน โดยในช่วงแรกๆ จะเป็นรูปแบบการไปเยี่ยมเยือนต่างประเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และดูงานในกลุ่มประเทศต่างๆ ในระยะสั้นๆ เพื่อการเปิดวิสัยทัศน์และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน แต่เมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมาทางหลักสูตรเริ่มให้มีการเข้าไปศึกษาโดยฟังการบรรยายในหัวข้อสำคัญๆ ด้าน International Business Management ในปี ค.. 2015-2017 เข้าฟังการบรรยายด้านการตลาดจากมหาวิทยาลัยในประเทศฝรั่งเศส และ ในปี ค.. 2018 และ 2019 ทางหลักสูตรได้ติดต่อพาผู้เรียนไปศึกษากระบวนวิชา International Business Management ระยะเวลา 5 วัน กับมหาวิทยาลัยที่มี MOU กับทางคณะ ในประเทศเยอรมัน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดวิสัยทัศน์ ฝึกใช้ภาษาต่างประเทศ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน

ตลอด 20 ปีที่ผ่านมามีศิษย์เก่าของทางหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร (Ex-MBA) ที่สำเร็จการศึกษาและประสบความสำเร็จมากมาย ทั้งในส่วนของภาคราชการ ภาคธุรกิจ ตลอดจนเป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากมาย ซึ่งคงขอยกเป็น Case ธุรกิจโดยไม่เอ่ยชื่อผู้เรียนเพราะอาจจะทำให้ผู้ไม่ถูกเอ่ยนามน้อยใจ เช่น ในภาคราชการเราจะมีทั้งในส่วนของอาจารย์ ตำรวจ ทหาร พยาบาลในหน่วยงานของภาครัฐบาล ที่หลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้วได้นำความรู้ที่เรียนมาไปช่วยในการทำงานจนประสบความสำเร็จได้เลื่อนตำแหน่ง เช่น เป็นคณบดี เป็นหัวหน้าแผนก หัวหน้าฝ่าย ได้รับรางวัลยกย่องเป็นบุคลากรดีเด่นของหน่วยงาน เป็นต้น ในส่วนของผู้บริหารมืออาชีพได้รับความสำเร็จในอาชีพบริหาร ได้เลื่อนเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้าหน่วยงาน ผู้จัดการเขต ผู้จัดการภาค ก็มากมาย หรือในส่วนของผู้ประกอบการก็มีผู้สำเร็จการศึกษาที่สามารถกลับไปสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจ ขยายธุรกิจให้มีหลายสาขามากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ มีการเข้าไปทำธุรกิจเป็นธุรกิจระดับ International และมีกลุ่มที่ได้รับรางวัลดีเด่นระดับนานาชาติ หรือบางท่านนอกจากจะไปเป็นผู้บริหารมืออาชีพระดับประเทศแล้ว ยังใช้ความรู้ที่ได้จากระดับปริญญาโทไปต่อยอดในการศึกษาระดับปริญญาเอกอีกด้วย ทำให้เราได้ข้อสรุปว่าการเรียนที่ได้สามารถตอบสนองผู้เรียนได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้จริงๆ

ที่สำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของหลักสูตร คือ ศิษย์เก่าของหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร (Ex-MBA) ของเรา ไม่เคยลืมที่จะกลับมาช่วยเหลือทางคณะ เพื่อนๆ ร่วมหลักสูตร และเป็นคนคิดดีทำดี


เรื่อง : รศ.อรชร มณีสงฆ์ | ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร
ภาพ : ชัชชา ฐิติปรีชากุล

แม้ว่าปัจจุบันหลายๆ คนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นภายใต้พัฒนาการของเทคโนโลยีที่เข้ามาทั้งช่วยต่อยอด ช่วยต่อเติม กระทั่งถึงการแทรกแซงการศึกษาในระบบ

หากมองว่าเทคโนโลยีที่มีพัฒนาการในยุคนี้ อาทิเช่น AI หรือ ArtificialIntelligent จะเข้ามาแทนที่ หรือ Disrupt แรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมกระทั่งถึงงานด้านการบัญชีแล้ว แล้วเรามองว่านั่นคืออุปสรรคและเรากำลังจะถูกแทนที่ คงไม่จำเป็นต้องเปิดสอนหลักสูตรการบัญชีกันอีกต่อไป แต่ในข้อเท็จจริงคือปรากฏการณ์กำลังจะส่งผลต่อทุกๆ อาชีพและหากพลิกมุมมองจะพบว่าความเปลี่ยนแปลงนี้นอกจากความท้าทายยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘โอกาส’ รวมอยู่ด้วย หากว่าเราสามารถดึงเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยยกระดับประสิทธิภาพงานด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีที่มีทั้งความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว แล้วตัวเราเองก็หันมาพัฒนาทักษะและปรับบทบาท ตลอดจนการเรียนรู้เพื่อเป็นนักบัญชียุคใหม่ คือความเห็นของ รศ.ดร.นฤนาถ ศราภัยวานิช หัวหน้าภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ AccBA CMU

ด้วยการเล็งเห็นแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง ภาควิชาการบัญชีของ AccBA จึงเริ่มกระบวนการปรับพัฒนาหลักสูตรซึ่งจะ Implement ในปี พ.ศ. 2563 โดยหลักสูตรระดับปริญญาตรีจะมีวิชา Minor เกี่ยวกับไอทีเพิ่มเข้ามาและกำหนดเป็นวิชาบังคับ ซึ่งหลักสูตรบัญชีปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้นักศึกษาต้องเรียน Minor แต่หากนักศึกษาสนใจจะเรียน Minor ก็จะเปิดกว้างให้สามารถเลือกเรียน Minor สาขาอะไรก็ได้ เช่น Major บัญชี แต่ Minor อาจจะเป็นภาษาอังกฤษ เยอรมัน วิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นๆ เป็นต้น แต่หลักสูตรใหม่จะเป็นภาคบังคับเลยว่า Major บัญชี ต้อง Minor ไอที ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 5 วิชา โดยทางภาควิชาได้เข้าไปสร้างความร่วมมือกับคณะวิศวฯ เพื่อร่วมศึกษาและกำหนดแนววิชาด้านไอทีที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องและจำเป็นกับวิชาชีพบัญชี หรือ AI มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานในวิชาชีพตรงไหน อย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ รศ.ดร.นฤนาถ ยังกล่าวถึงกระบวนการปรับพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาบัญชีว่า “อันดับแรกทางสาขาการบัญชีเราเริ่มจากการทำความเข้าใจ AI ด้วยวิชา Minor ที่จะสอนให้นักศึกษาได้รู้ว่า AI ทำงานอย่างไรและสามารถนำมาสนับสนุนและต่อยอดในวิชาชีพได้อย่างไร โดยเทรนด์ปัจจุบันจะเห็นว่ามีเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นมาช่วยการจัดการด้านบัญชีได้มาก ถึงขั้นที่สามารถสแกนเอกสารแล้วเข้าสู่ระบบงานบัญชีเพื่อทำการบันทึกและรวบรวมข้อมูลได้เลย ซึ่งช่วยลดงานด้านการบันทึกรายการหรือ Record Transaction เบื้องต้นได้มาก เท่ากับว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ เข้ามาช่วยลดทอนงานในลักษณะที่เป็น Routine ออกไปได้มาก นั่นคือความหมายของการถูกแทนที่หรือถูกดิสรัป แต่อย่างไรก็ตามงานที่เป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์ งานวางแผน การตัดสินใจหรือหน้าที่ในการ Approve ข้อมูล วิเคราะห์ Transaction เชิงลึกนั้นยังคงต้องเป็นหน้าที่ของมนุษย์อยู่นั่นเอง ดังนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจึงต้องมีทักษะและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ยุคสมัย นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังมีการส่งเสริม Soft Skill เพื่อเป็นทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีจิตสำนึกต่อสังคมอีกด้วย”

บ่มเพาะจิตสำนึกเพื่อสังคม

ทั้งนี้ รศ.ดร.นฤนาถ ยังขยายความถึง Vision ด้านการเรียนการสอนของคณะที่นอกจากเรื่องทักษะทางวิชาชีพแล้ว ทางคณะฯ ยังมีเป้าหมายสำคัญที่ต้องการผลิตบัณฑิตที่มีจิตสำนึกต่อสังคมหรือ Social Conscious ว่า

“ความรู้ที่เราจัดในหลักสูตร 4 ปีนี้น่าจะก่อประโยชน์อะไรให้สังคมได้บ้าง มีการปรับหลักสูตรให้นักศึกษาปี 4 เข้าไปศึกษาหาข้อมูลว่ามีชุมชนใดที่ต้องการความช่วยเหลือและนักศึกษาเห็นว่าตนเองสามารถนำองค์ความรู้ในสาขาบัญชีที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืนบ้าง แล้วพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการที่ระบุวัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีการในการแก้ปัญหา ตัวชี้วัด หลังจากที่โครงการได้รับแนะนำและอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ นักศึกษาจะเข้าไปทำการช่วยเหลือชุมชนตามแนวทางและวิธีการที่ได้ออกแบบไว้ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง 2 ภาคการศึกษา ทำให้นักศึกษามีเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง เป็นการผสมผสานความรู้และทักษะทางวิชาชีพบัญชีกับศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไอที Soft Skill ในด้านความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยมีเหล่าคณาจารย์ช่วยกันทำหน้าที่เป็น Advisor คอยให้คำปรึกษา แนะนำและกลั่นกรองไอเดียต่างๆ ให้แก่นักศึกษา”

นอกจากบทบาทการเป็นพี่เลี้ยงโครงการเพื่อสังคมของนักศึกษาแล้ว คณาจารย์ของภาควิชาฯ ยังมีบทบาทหน้าที่ในการดูแลประสานการนิเทศและการฝึกงานของนักศึกษา กับผู้ประกอบการตลอดจนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันที่อยู่ในตลาดงาน โดยทางคณะฯ จะเน้นการเป็น Partner กับสำนักงานบัญชีบริษัทต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์เพื่อส่งนักศึกษาไปฝึกงาน

รศ.ดร.นฤนาถ กล่าวถึงจุดเด่นของหลักสูตรบัญชีของ AccBA ว่าคือ เรื่องของการนำเอาไอทีมาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการฝึกงานและ Social Conscious ที่จะทำให้เด็กเรียนรู้การเป็นผู้ให้ ฝึกฝนการทำงานเป็นทีมและทักษะการสื่อสาร นำองค์ความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้จริง เรามีการกำหนดให้นักศึกษาเรียนซอฟต์แวร์ก่อนที่เด็กจะออกไปฝึกงาน ทั้งตัวเล็ก อย่าง Express หรือ BC Account แล้วแต่ว่าช่วงนั้นอะไรที่กำลังมาแรง ตัวกลางก็จะเป็น SAP B1 และตัวใหญ่ ที่ Listed Company ใช้เช่น SAP ซอฟต์แวร์ทั้ง 3 ระดับนี้จะถูกบรรจุในหลักสูตรให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับใช้ได้กับซอฟต์แวร์อื่นๆ ทำให้เราได้รับ Feedback จากบริษัทต่างๆ ว่าเด็กเราต่างจากที่อื่นเพราะรู้จักโปรแกรมเหล่านี้ สร้างความพึงพอใจและบัณฑิตก็มีโอกาสที่จะได้รับ Offer งานค่อนข้างสูง

ปัจจุบันหลายสิ่งหลายอย่างปรับเปลี่ยนไปอย่างมากทั้งเรื่องของการลดลงของจำนวนประชากรทั้งของเราเองและในหลายๆ ประเทศ โอกาสการศึกษามีมากขึ้น รูปแบบการศึกษา และคุณสมบัติของพนักงานที่นายจ้างต้องการในอนาคตอาจไม่ได้ยึดติดอยู่เพียงปริญญา แต่อยู่ที่ทักษะที่จะทำงานได้ จุดนี้จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับเรา ทำให้ระยะเวลาของการปรับหลักสูตรจากเดิมทุกๆ 4 ปี ต้องเร่งเร็วขึ้นเพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่างไรก็ตามสาขาการบัญชียังคงได้รับความสนใจเป็นจำนวนมากจากผู้เรียนและผู้ปกครอง เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและมีตำแหน่งงานรองรับจำนวนมากทั้งในภาครัฐและเอกชน

สำหรับเทรนด์ทางด้านการบัญชีจะยังคงก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ทางภาควิชาบัญชี AccBA พยายามที่จะทำงานให้รองรับและตอบสนองในสิ่งที่เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าน่าจะส่งผลกระทบและเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนให้มากที่สุด โดยเฉพาะหลักสูตรปี พ.ศ 2563 จะเห็นการปรับเปลี่ยนของหลักสูตรมากพอสมควร แต่ในระหว่างนั้นหากมีอะไรที่เปลี่ยนใหม่ ทางภาควิชาบัญชีและคณะฯ ก็มีความพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และสำหรับศิษย์เก่าของคณะฯ หรือนักบัญชีทั่วไปที่จำเป็นต้องปรับความรู้เพื่อให้ก้าวทันมาตรฐานรายงานทางการเงินและสภาพงานที่เปลี่ยนไป ทางภาควิชาก็ยังมีโครงการ Refresh ให้กับศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปเพื่อช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาวิชาชีพด้านการบัญชี


เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา

“ภาพรวมโดยกว้างของปรากฏการณ์ Disruptive Technologies ที่เรากำลังเผชิญหน้าร่วมกันในช่วงเวลานี้มีหลายมุมมอง หากมองบวกก็คือการลัดกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ที่เคยมีมา เพื่อมุ่งเป้าเข้าสู่จุดหมายให้ได้โดยเร็ว

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ (กลาง) อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมผู้ประกอบการไทยภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รุ่นที่ 5 (Young Entrepreneur Network Development Plus Program: YEN-D Season V) ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ โดย EXIM BANK ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศมาเลเซียและบริการทางการเงินของธนาคารให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่สนใจค้าขายหรือลงทุนกับมาเลเซีย เมื่อเร็วๆ นี้

“แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจนี้คือคุณปู่กับคุณย่าค่ะ ซึ่งหนูไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณพวกท่านแล้วจึงอยากส่งมอบความปราถนาดีนี้ผ่านการเพิ่มคุณค่าให้แก่สังคมผู้สูงวัยค่ะ” น.ส.กัลยรัตน์ พิกุลน้อย (พลอย) นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) หลักสูตรบัญชี  มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  หนึ่งในสมาชิกทีม JElder  เผยถึง แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม ( SE: social enterprise ) ซึ่งเป็น Market Place ที่ใช้งานง่ายสำหรับผู้สูงอายุโดยมีวิธีการขายเป็น Group buy ซึ่งผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินกับการขายสินค้าอุปโภค บริโภค รวมถึงการจัด Event ต่างๆได้ใน Platform นี้ โดยไอเดียธุรกิจนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขัน Startup Thailand League 2019 ที่สนามแข่งขันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีโคราช จังหวัดนครราชสีมา และเตรียมความพร้อมลงสนามรอบ Final Pitching Demo Day

น้องพลอยเล่าว่า ไอเดียธุรกิจนี้ ได้ร่วมระดมความคิดสร้างสรรค์กับเพื่อนๆอีก 3 คนในทีม JElder  มีด้วยประกอบด้วย  น.ส.กัญญารัตน์ ชาญประโคน คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตรการท่องเที่ยว  น.ส.อนุตตรีย์ เชิดครบุรี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม หลักสูตร การโรงแรม และ น.ส. อานิต้า แสงโรจน์

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาการโรงแรม โดยเริ่มเริ่มแรกได้นำเสนอไอเดียธุรกิจนี้ผ่านโครงการนพรัตน์ทองคำซึ่งเป็นโครงการสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ผู้ที่มีคุณสมบัติแก้ว 9 ประการ ขณะนั้นได้รับรางวัลนวัตกรรมชมเชยจากผลงาน จุดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจที่ทำให้พัฒนาตนเองและสร้าง Platform ธุรกิจให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

การเรียนที่ CIBA มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนให้กับนักศึกษา ทำให้สร้าง J E I d e r ให้ประสบความสำเร็จได้ โดย DPU X จะสอนการ Pitching เสนอไอเดียอย่างไรให้เข้าเป้าหรือประสบความสำเร็จได้ มีทีมงานให้คำปรึกษาแนะแนวทางในการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจเสมอ น้องพลอยกล่าว

  

ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (College of Innovative Business and Accountancy: CIBA) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวย้ำว่า มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เราปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการให้นักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนชั้นปี 1 ในทุกสาขาวิชา ผ่านวิชาในกลุ่ม DPU CORE  (ดียู คอร์) เมื่อขึ้นชั้นปีที่ 3 ในรายวิชาที่เรียกว่า Capstone Projects นักศึกษาจะทำงานเป็นทีม สมาชิกในทีมมาจากต่างสาขาและต่างคณะ เพื่อให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์  ออกไอเดียและสร้างสรรค์ชิ้นงาน หัวข้อโครงการอาจเกิดจากนักศึกษาเอง หรือจากสถานประกอบการและพันธมิตรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย และยังได้จัดตั้งสถาบัน DPU X (ดีพียู เอ็กซ์) เพื่อทำหน้าที่บ่มเพาะทีมนักศึกษาเหล่านี้ต่อในโครงการ DPU Startup Bootcamp เพื่อปั้นไอเดียให้เป็นจริงได้

นักศึกษาเราต้องผ่านเวทีประกวดแนวคิดธุกิจ CIBA MINI CAPSTONE ซึ่งเป็นการจัดแสดงแนวคิดธุรกิจยุค Thailand 4.0 ให้จับกลุ่มทำงานเป็นทีมหลากหลายคณะนำเสนอแผนธุรกิจผ่านโครงการ MINI CAPSTONE โดยมีการประกวด Final Pitching  และ Showcase ซึ่งจะจัดทุกปีเพื่อให้นักศึกษาได้มีเวทีนำเสนอผลงาน ดร.ศิริเดช กล่าวในตอนท้าย

ปฐม  อินทโรดม  กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม ไอซีโอ จำกัด  นำทีมร่วมกับ สมใจ ถวิลถิขกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด นิตยสาร MBA  เข้าเยี่ยมแสดงความยินดี รศ.ดร.ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในโอกาสขึ้นรับตำแหน่งคณบดีคนล่าสุด คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อกลางเดือนพฤกษาคมที่ผ่าน 

นัยว่านอกจากวาระของการร่วมยินดีกับตำแหน่งใหม่ สามปาร์ตี้มีเป้าหมายความร่วมมือเตรียมจัดหลักสูตรอบรมพิเศษ ทั้งบรรยายและ workshop  หัวข้อ Blockchain for Enterprise Transformation สำหรับเครือข่ายและผู้ที่สนใจหลักสูตรดังกล่าว เตรียมตัว Back to School ได้เร็วๆนี้

Disruption ในโลกยุคดิจิทัลขยายตัวไปตามอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างรวดเร็ว ด้วยรูปแบบหรือกระบวนการทางธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ กัน ผู้ประกอบการแต่ละรายจึงต้องคิดวางแผนและมองหาหนทางเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้ทันท่วงที 

ความร่วมมือระหว่างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TBS) กับธนาคารออมสิน และสมาคมเพื่อนชุมชน จังหวัดระยอง ตามแนวทาง “ธรรมศาสตร์โมเดล”

บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าโครงการ “ทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 17 ประจำปี 2562 โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) สานต่อการพัฒนานักวิจัยสตรีไทยสู่ระดับนานาชาติ ประกาศเปิดรับสมัครนักวิจัยสตรีเพื่อชิงทุนวิจัยประจำปี 2562 ทุนละ 250,000 บาท พร้อมโล่เกียรติคุณ (รวมไม่เกิน 5 ทุน) โดยผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 40 ปี เป็นเจ้าของงานวิจัยอิสระใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ และหัวข้องานวิจัยมีความเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยเปิดรับสมัครผ่านทางออนไลน์แทนการส่งเอกสารทางไปรษณีย์เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสังคมดิจิทัลตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม 2562  สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการและการสมัครได้ที่: www.fwisthailand.com และสอบถามเพิ่มเติมโทร 02-684-3000, 02-684-3192 และ 02-684-3195 หรืออีเมลที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

X

Right Click

No right click