×

Warning

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 806

JUser: :_load: Unable to load user with ID: 802

บริษัทชื่อใหม่อย่างบริษัทเอฟดับบลิวดีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ที่เดิมคือ บริษัทไอเอ็นจีประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จากการเข้าซื้อธุรกิจประกันชีวิตของกลุ่มแปซิฟิค เซ็นจูรี่ กรุ๊ปผู้ดำเนินธุรกิจด้านการเงิน โทรคมนาคมสื่อและเทคโนโลยีและอสังหาริมทรัพย์ คือหนึ่งในผู้ร่วมแข่งขันของวงการประกันชีวิตที่น่าจับตามอง แม้ชื่อจะเป็นน้องใหม่แต่ก็ได้ผู้บริหารรุ่นเก๋าอย่าง ไมค์ แพล็กซ์ตัน ผู้ทำงานในแวดวงประกันมายาวนานแทบทั้งชีวิต รวมถึงเคยบริหารบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยจนประสบความสำเร็จให้เห็นมาแล้วมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตามเป้าหมายพา เอฟดับบลิวดีขึ้นสู่ 1 ใน 5 ของธุรกิจประกันชีวิตไทยใน 5 ปี ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาของบริษัทเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นถึงความก้าวหน้าของบริษัท แพล็กซ์ตันให้ข้อมูลว่า ปี 2556 บริษัทมีผลประกอบการเติบโตขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า โดยมีเบี้ยประกันภัยรับรวมมากกว่า 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันภัยรับจากการขายผ่านช่องทางตัวแทน 41 เปอร์เซ็นต์ ช่องทางการขายผ่านธนาคาร 52 เปอร์เซ็นต์ และช่องทางการขายอื่นๆ 7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กำไรตามกฎหมายที่ปรับแล้ว เพิ่มขึ้นประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า

บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับปีแรกรวม 2,700 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนหลักมาจากช่องทางขายผ่านธนาคาร 74 เปอร์เซ็นต์ช่องทางตัวแทนประกัน 21 เปอร์เซ็นต์ และช่องทางการขายทางเลือกอื่นๆ 5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สินทรัพย์เพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์เป็น 45,000 ล้านบาท และมีอัตราส่วนการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงอยู่ที่ 291 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าแข็งแกร่งมาก

ด้าน อามาน คาปัวร์ ประธานเจ้าหน้าที่ สายงานการตลาด มองว่าแนวโน้มธุรกิจประกันชีวิตปีนี้ยังเติบโตต่อเนื่อง และจะเป็นไปในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคมีความต้องการที่แตกต่างกันเพิ่มขึ้น อาทิ คนรุ่นใหม่จะมองหากรมธรรม์ที่เน้นการลงทุนเพิ่มขึ้น บริษัทจึงเตรียมออกผลิตภัณฑ์เอฟดับบลิวดี ยูนิตลิงค์ ซึ่งครอบคลุมทั้งการคุ้มครองชีวิต และผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมที่ลูกค้าเลือก ออกแบบให้มีความยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

เดียวรองรับสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศไทยกำลังจะเป็น รวมถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะออกกรมธรรม์เพื่อการศึกษาตอบสนองลูกค้าที่มองหาความคุ้มครองเพื่ออนาคตทางการศึกษาของบุตรหลานต่อความไม่แน่นอนในชีวิต

แพร็กซ์ตันกล่าวถึงเป้าหมายการขึ้นเป็น 1 ใน 5 บริษัทประกันชีวิตของไทยเอฟดับบลิวดีวางกลยุทธ์ 3 ประการเพื่อจะเข้าไปสู่เป้าหมายดังกล่าวประกอบด้วย

หนึ่ง การมีช่องทางการขายที่หลากหลาย ด้วยการปรับโครงสร้างการบริหารงานตัวแทนและโครงสร้างผลตอบแทนใหม่ๆ มอบโอกาสที่ดีที่สุดให้กับผู้ที่มีความสามารถสร้างผลงานได้ดี เน้นการสร้างความเติบโตให้กับตัวแทน อาทิการตั้งตำแหน่งใหม่ AFL เพิ่มขึ้นเพื่อให้มีช่องทางในการเติบโตของฝ่ายขาย 

การพัฒนาศักยภาพตัวแทนขาย มีศูนย์ฝึกอบรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะวิชาการ ทัศนคติ และพฤติกรรม ผ่านหลักสูตร บู๊ทแคมป์ ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับโลกที่นำมาใช้ในประเทศไทย จัดฝึกอบรมโดยวิทยากรคนไทยที่มีประสบการณ์ โดยศูนย์ฝึกอบรมนี้จะสนับสนุนและพัฒนาทักษะให้กับพันธมิตรทางธุรกิจในส่วนช่องทางการขายแบบทางเลือกอื่นด้วย

การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการให้บริการ อาทิ บริการผ่านอินเทอร์เน็ต ที่จะช่วยตัวแทนทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและนำเสนอเอกสารในการขายได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง 

ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ จะมีการเปิดตัว FWD Smart App ใช้กับกรมธรรม์ที่เลือกสรรแล้ว เป็นระบบไร้กระดาษ สำหรับการออกเอกสารประกันชีวิตให้ลูกค้า 

ทางด้านช่องทางการขายผ่านธนาคาร ซึ่งมีธนาคารทีเอ็มบีเป็นพันธมิตรหลักซึ่งจะมีการพัฒนาขั้นตอนและระบบงาน ที่สอดคล้องกับช่องทางการขายและรูปแบบการให้บริการลูกค้าของทีเอ็มบี รวมถึงสร้างกลยุทธ์แบบองค์รวมเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า ขณะที่ช่องทางการขายทางเลือกอื่นๆ จะให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างพันธมิตรเดิมและใหม่เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น

สอง การเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร จะมีการสร้างแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายเป็นผู้นำด้านสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ตอบสนองการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงตามความต้องการมากที่สุด ตามแนวคิดการให้ความสำคัญกับลูกค้า (customer centric)

ภารกิจของธุรกิจประกันชีวิตคือการช่วยเหลือให้ลูกค้าสามารถเอาชนะความกังวลในสิ่งที่ไม่คาดฝันต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต ขณะเดียวกันบริษัทก็มีภารกิจที่ต้องช่วยดูแลสังคม นอกเหนือจากการจ้างงานผู้พิการเข้ามาทำงานในองค์กรแล้ว ยังได้จัดทำโครงการ “FWD helps PWD” คือการจัดรถตู้อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้พิการในกรุงเทพฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

 และยังมีโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคมอื่นๆ อาทิ บริจาครถเข็นให้กับโรงเรียนอาชีวะพระมหาไถ่ จ.ชลบุรี ซ่อมแซมอาคารเรียนในโรงเรียนทั่วประเทศ โดยกิจกรรมทั้งหมดพนักงานของบริษัทมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ในปีนี้กิจกรรมตอกย้ำแบรนด์เอฟดับบลิวดีจะเริ่มที่ แคมเปญ Real People, Real Passion ที่มีแนวคิดว่า “พวกเราทุกคนมีความใฝ่ฝัน” บริษัทจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนตามความฝันให้เป็นจริง โดยผู้สนใจสามารถเข้าชมรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.fwd.co.th/passion

สาม การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล บุคลากรคือหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ ทางเอฟดับบลิวดีจึงมุ่งเน้นลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มพูนศักยภาพในการเข้าถึงลูกค้าและให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดี การอบรมที่มีคุณภาพจะช่วยพัฒนาศักยภาพทีมงานขายมืออาชีพ การมีระบบให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีความห่วงใยในกันและกันเป็นครอบครัว เพราะการลงทุนในบุคคลจะช่วยเพิ่มคุณภาพขององค์กรให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน 

ธนาคารออมสิน และ บมจ.ทิพยประกันภัย จัดโครงการ “ผนึกกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อย่างเร่งด่วน โดยส่งทีมลงพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยน้ำท่วมในหลายจังหวัดพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร 

นายชาติชาย  พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า วันนี้ (2 สิงหาคม 2560) ตนนำผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง ลงพื้นที่ประสบภัยจังหวัดสกลนคร พบความเสียหายค่อนข้างมาก จึงเร่งให้พนักงานสำรวจความเสียหายในส่วนที่สามารถบรรเทาในระยะเร่งด่วนก่อน แล้วค่อยลำดับไปตามมาตรการที่ธนาคารออมสินได้ประกาศไว้ ทั้งนี้ ธนาคารฯ ได้ออกมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนอีก 1 เรื่อง ด้วยการเปิดช่องทางการรับบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาเหตุอุทกภัย ชื่อบัญชี “ออมสินปันน้ำใจ ช่วยผู้ประสบภัย” เลขที่บัญชี 0-222-3333-4444 ธนาคารออมสินสำนักพหลโยธิน จึงขอเรียนเชิญร่วมกันช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน

“ความเสียหายที่วันนี้ผมได้ลงพื้นที่ ปรากฎว่า เฉพาะในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เบื้องต้นมีลูกค้าธนาคารออมสินได้รับความเสียหาย 4,800 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 1,700 ล้านบาท ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อห้องแถว สินเชื่อเคหะ สินเชื่อไทรทอง และสินเชื่อธนาคารประชาชน ส่วนพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ได้เร่งดำเนินการต่อไปแล้ว” นายชาติชาย กล่าว

สำหรับแนวทางบรรเทาความเดือดร้อน ธนาคารฯ ได้ประกาศก่อนหน้านี้คือ มาตรการบรรเทาภาระลูกค้าสินเชื่อของธนาคารออมสินเป็นกรณีเร่งด่วน ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท โดยสามารถยื่นความจำนงได้ที่ธนาคารออมสินสาขาที่ลูกค้ามีบัญชีเงินกู้หรือสาขาในพื้นที่ประสบภัย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2560

สำหรับรายะเอียดของมาตรการประกอบด้วย

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับลูกค้าสินเชื่อปัจจุบันของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ โดยผ่อนปรนการชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1.พักชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปี หรือ 2.พักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ยอีก 50% ไม่เกิน 3 ปี หรือ 3.พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน (สำหรับผู้ไม่มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือน) โดยหลังครบกำหนดแล้วยังไม่สามารถชำระหนี้ตามปกติได้ สามารถใช้ทางเลือกตามข้อ 1 หรือ ข้อ 2 เพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนและความเสียหายที่ได้รับแล้วแต่กรณี

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย ธนาคารฯ ให้สินเชื่อเพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยรายละไม่เกิน 500,000 บาท เป็นวงเงินเพื่อใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคาร ผ่อนชำระภายในเวลา 30 ปี โดย ธนาคารฯ ไม่คิดดอกเบี้ยในปีแรก หรือ 0% ต่อปี หลังจากนั้น ปีที่ 2-3 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.00 ต่อปี ปีที่ 4 เป็นต้นไป ร้อยละ MRR-0.75 ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MRR ปัจจุบัน = 7.00%) ในส่วนของลูกค้าที่ประกันความเสียหายของหลักประกัน ธนาคารออมสินร่วมกับบริษัททิพยประกันภัยจะเร่งดำเนินการจ่ายเงินสินไหมให้ทันทีตามเกณฑ์ผ่อนผันสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ธนาคารให้สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยพิบัติกับลูกค้าสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมของธนาคาร ในวงเงินกู้สูงสุด ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 10 ของวงเงินกู้สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจเดิมทุกประเภท สูงสุดไม่เกินรายละ 5,000,000 บาท ผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) ผ่อนผันให้ปลอดชำระเงินต้นได้ไม่เกิน 1 ปี โดยชำระดอกเบี้ยทุกเดือน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปีที่ 1 ร้อยละ 3.50 ต่อปี ในปีต่อไปคิดอัตรา MLR ต่อปี (อัตราดอกเบี้ย MLR ปัจจุบัน = 6.50%) โดยใช้หลักประกันเดิมตามสัญญากู้เงิน และสามารถใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเพิ่มเติมได้

มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับประชาชนรายย่อย โดยให้กู้ตามความจำเป็น รายละไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลาชำระคืนภายใน 5 ปี ปลอดการชำระคืนเป็นเวลา 3 เดือน โดยปีที่ 1 คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อเดือน ปีที่ 2-5 ร้อยละ 0.85 ต่อเดือน (Flat Rate)

ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทิพยประกันภัย กล่าวว่า ได้ส่งทีมหนุมานทิพยจิตอาสาและทีมงานจากสำนักงานสาขาในจังหวัดใกล้เคียงร่วมโดยกับธนาคารออมสิน ลงพื้นที่ช่วยเหลือเร่งด่วน จัดรถยก ช่วยเหลือประชาชนขนย้ายรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือประชาชนทั่วไป ก็สามารถขอความช่วยเหลือได้ฟรี รวมถึงการจัดถุงยังชีพ บรรจุเครื่องอุปโภค-บริโภค นำไปมอบให้กลับประชาชน เบื้องต้นได้นำไปมอบผ่านคลังจังหวัดสกลนคร และทางด้านสำนักงานใหญ่ได้จัดทีมคาราวาน เดินทางนำสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายเพิ่ม 

ในส่วนของลูกค้าที่ทำประกันเราผ่านธนาคารออมสิน เราได้จัดทีมสินไหมลงพื้นที่ ไปสำรวจยังบ้านของลูกค้าที่ได้รับผลประทบทันทีพร้อมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นทันทีโดยไม่ต้องรอให้ลูกค้าแจ้งเข้ามา สำหรับลูกค้าที่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 และได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมถึงเรือนไมล์ สามารถ   เคลมได้เต็มทุนประกัน ไม่ต้องรอน้ำลด เพียงแค่ถ่ายรูปแล้วส่งมาที่บริษัทฯ พร้อมจ่ายทันที ส่วนลูกค้าที่ทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยและขยายภัยน้ำท่วม เพียงแค่น้ำเข้าบ้านชดใช้เบื้องต้นก่อนทันที 5,000 บาท ท่วมเกิน 1 ฟุตจ่าย 10,000 บาท  ไม่ต้องรอน้ำลดเช่นกัน ซึ่งเมื่อน้ำลดแล้วบริษัทฯจะส่งทีมงานเข้าไปเพื่อสำรวจค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกครั้ง

ด้านมาตรการความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมต่อไปนั้น ทางธนาคารออมสินและทิพยประกันภัย มีความเป็นห่วง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการต่างๆ ที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงลูกค้ารายย่อยที่ทำประกันภัยไว้ทุกประเภท

ดังนั้นหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมลดลงเข้าสู่ภาวะปกติ บริษัทฯมีนโยบายให้ดำเนินการสำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วน เพื่อให้การจ่ายค่าสินไหมทดแทนสามารถดำเนินการได้ทันทีรวดเร็วและเป็นธรรม  เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เอาประกันภัยสามารถนำเงินไปฟื้นฟู กิจการและดำเนินธุรกิจต่อได้ในเวลาที่รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม ภาคแรงงาน และเศรษฐกิจโดยรวม  รวมถึงผู้เอาประกันประเภทอื่นทั้งที่อยู่อาศัย หรือรถยนต์ ที่จะนำไปปรับปรุงซ่อมแซม ให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขเช่นเดิม

สำหรับประชาชนผู้ประสบภัยและต้องการความช่วยเหลือ สามารถแจ้ง ผ่านสายด่วน  1736 กด 1 , Application TIP Flash Claim , Web App  E-Claim , สำนักงานสาขาในพื้นที่  และ ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ โทรศัพท์สอบถามศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115 หรือสามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Facebook : GSB Society, Official Line : GSB ธนาคารออมสิน

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนากรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พลเอกวิชิต ยาทิพย์ นายกสมาคมมิตรภาพไทย-กัมพูชา และนายสมานพงษ์ เกลี้ยงลำยอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ “ความร่วมมือในการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทย” 

วรวรรณ ธาราภูมิ CEO บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ผู้บริหารอารมณ์ดีผู้มีบทบาทในตลาดทุนมายาวนานคนนี้ให้ภาพพัฒนาการของตลาดทุนไทยว่ามีการพัฒนาไปมาก จุดเปลี่ยนที่เห็นชัดคือเมื่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดทำโครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม ซึ่งทำให้คนทั่วไปเข้าใจในเรื่องการลงทุนมากขึ้น สร้างกระแสความสนใจการออมและการลงทุนได้เป็นอย่างดี 

ผลประกอบการธนาคารกรุงไทยงวดครึ่งปีแรก ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรก่อนสำรอง  36,620 ล้านบาท ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีกำไรสุทธิ 12,528 ล้านบาท โดยธุรกิจหลักมีแนวโน้มดีขึ้น ธนาคารได้ปรับกลยุทธ์และกระบวนการบริหารจัดการสินเชื่อใหม่ มุ่งเน้นคุณภาพสินเชื่อ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตาม ดูแลและการแก้ไขสินเชื่อด้อยคุณภาพ

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงาน ก่อนการกันสำรองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญฯ จำนวน 36,620 ล้านบาท ใกล้เคียงกับงวดเดียวกันในปีก่อน โดยลดลงเพียง 359 ล้านบาท (ร้อยละ 0.97) การบริหารจัดการในธุรกิจหลักมีแนวโน้มดีขึ้น โดยรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 936 ล้านบาท (ร้อยละ 8.88) จากธุรกิจบัตรและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและต้นทุนทางการเงินได้ดีขึ้น

ธนาคารมีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานลดลง 204 ล้านบาท (ร้อยละ 0.83) จากนโยบายการควบคุมค่าใช้จ่าย อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (Cost-to-Income Ratio) เท่ากับร้อยละ 39.85  ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 39.81 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อยเพียง 94 ล้านบาท (ร้อยละ 0.22)  จากการเติบโตของสินเชื่อที่ต่ำในช่วงครึ่งปีแรก ด้วยการเน้นสินเชื่อที่มีคุณภาพ ประกอบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลูกค้ารายย่อยชั้นดีลงร้อยละ 0.50 เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม จากนโยบายการบริหารต้นทุนทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ ทำให้อัตราผลตอบแทนสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ (NIM) เท่ากับร้อยละ 3.40 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.16 จากช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 3.24

นายผยง ศรีวณิช เปิดเผยต่อไปว่า กำไรสุทธิของธนาคารและบริษัทย่อย สำหรับงวด 6 เดือนเท่ากับ 12,528 ล้านบาท ลดลง 4,317 ล้านบาท (ร้อยละ 25.63) กำไรสุทธิส่วนของธนาคารจำนวน 11,760 ล้านบาท  ลดลง 4,471 ล้านบาท (ร้อยละ 27.55) สาเหตุหลักจากการตั้งสำรองหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญฯ ที่เพิ่มขึ้น จำนวน 4,974 ล้านบาท (ร้อยละ 30.40) จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงและหลักเกณฑ์ความระมัดระวังของธนาคาร โดยได้กันสำรองหนี้สูญเต็มจำนวน สำหรับลูกค้ารายใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ดำเนินธุรกิจหลักในอุตสาหกรรมเกษตรและเหมืองแร่ ซึ่งมีแนวโน้มการดำเนินงานที่อ่อนแอลง ทำให้สามารถคงอัตราส่วนเงินสำรองสำหรับลูกหนี้ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ของธนาคารและบริษัทย่อยร้อยละ 112.50

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2560 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพ 99,078 ล้านบาท และมีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อรวม (NPL Ratio-Gross) ร้อยละ 4.33 ธนาคารได้ปรับกลยุทธ์และกระบวนการบริหารจัดการสินเชื่อที่มุ่งเน้นคุณภาพสินเชื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามดูแลและการแก้ไขมากยิ่งขึ้น ตลอดจนรักษาระดับของอัตราส่วนเงินสำรองสำหรับลูกหนี้ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ให้มีความเหมาะสม คงอัตราเงินสำรองฯ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 110 ของสินเชื่อด้อยคุณภาพ

ธนาคารและบริษัทย่อยมีเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ เท่ากับ 1,918,010 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13,921 ล้านบาท (ร้อยละ 0.73) จากสิ้นปี 2559 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าภาครัฐ ด้านเงินรับฝาก ลดลง 9,982 ล้านบาท (ร้อยละ 0.51) ธนาคารยังคงมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ด้วยระดับเงินกองทุนที่เพียงพอ และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในการรองรับความผันผวนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศระยะยาว เท่ากับ AA+(Tha) โดย Fitch Ratings และอันดับความน่าเชื่อต่างประเทศ เท่ากับ Baa1 (Moody’s), BBB (Standard and Poor’s) และ BBB (Fitch Ratings)

X

Right Click

No right click