November 01, 2024

เมื่อเร็วๆ นี้ ณ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดโครงการอบรมหลักสูตร “Blockchain for Enterprise Transformation” เป็นวันแรก

จากข้อมูลการสำรวจ 2018 Global Sustainable Investment Review ของ Global Sustainable Investment Alliance (GSIA) ภาคีระดับโลก ที่ประกอบด้วย หน่วยงานสกุล SIF (Sustainable Investment Forum) และสมาคมของบรรดาผู้ลงทุนสถาบัน องค์กรธุรกิจ และนักวิชาชีพ ที่เน้นการลงทุนที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบ และมุ่งผลกระทบ ในประเทศต่างๆ ได้แก่ Eurosif (ยุโรป), JSIF (ญี่ปุ่น), RIAA (ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์), RIA Canada (แคนาดา), UKSIF (สหราชอาณาจักร), USSIF (สหรัฐอเมริกา) และ VBDO (เนเธอร์แลนด์) ระบุว่า ตัวเลขการลงทุนที่ยั่งยืนทั่วโลก มีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นจาก 22.89 ล้านล้านเหรียญ ในปี พ.ศ. 2559 มาอยู่ที่ 30.68 ล้านล้านเหรียญ ในปี พ.ศ. 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 ในช่วงเวลา 2 ปี

โดยการลงทุนในหมวดนี้ คิดเป็นร้อยละ 33 ของขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ทั้งหมด หรือเทียบอย่างง่าย คือ ในจำนวนเงินลงทุน 3 เหรียญ จะมีอยู่ราว 1 เหรียญ ที่เป็นการลงทุนที่ยั่งยืน แสดงให้เห็นถึงสัญญาณของเรื่องการลงทุนที่ยั่งยืนว่าได้เข้าสู่โหมดการลงทุนกระแสหลัก (Mainstream) โดยกลุ่มผู้ลงทุนรายใหญ่ประเภทสถาบัน อย่างมีนัยสำคัญ

เฉพาะตัวเลขการเติบโตของกลยุทธ์การลงทุนที่ใช้ข้อมูล ESG (Environmental, Social and Governance) ผนวกในการวิเคราะห์ ในปี พ.ศ. 2561 มีเม็ดเงินสูงถึง 17.54 ล้านล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2559

แลร์รี่ ฟิงก์ ซีอีโอ แบล็กร็อก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนใหญ่อันดับหนึ่งของโลก กล่าวไว้ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้ลงทุนทุกราย จะประเมินมูลค่าบริษัท ด้วยการวัดผลกระทบของกิจการในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

การใช้ปัจจัย ESG ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจลงทุน ร่วมกับการพิจารณา Risk-Return Profile ในแบบทั่วไป นอกจากจะทำให้ผู้ลงทุนสามารถคาดการณ์ผลประกอบการในอนาคตของบริษัทได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเอง ในแง่ที่จะช่วยสร้างผลตอบแทน (Alpha) ที่เพิ่มขึ้น และช่วยลดความผันผวนของราคา (Beta) ของหลักทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนแล้ว ยังทำให้การลงทุนนั้น ช่วยเสริมสร้างผลกระทบเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก (Real World Impact) ในทางที่ดีขึ้นด้วย

เพื่อเป็นการตอบโจทย์การลงทุนที่ยั่งยืน พร้อมกับการสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่มิได้ด้อยไปกว่าการลงทุนในแบบทั่วไป สถาบันไทยพัฒน์ โดยหน่วยงาน ESG Rating ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาข้อมูลด้านความยั่งยืนของธุรกิจในประเทศไทย ได้จัดทำและประกาศรายชื่อ 100 หลักทรัพย์จดทะเบียนที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล เรียกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2015 และได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนและดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ห้าในปีนี้

ภาพรวมกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 ปี ค.ศ. 2015-2019

การพิจารณาเพื่อคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนเข้าในยูนิเวิร์ส ESG100 ได้ใช้ข้อมูล ESG ที่บริษัทเผยแพร่ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ในหัวข้อความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นสำคัญ รวมถึงข้อมูล ESG ที่มีการเปิดเผยหรือปรากฏต่อสาธารณะ ในรายงานประจำปี (แบบ 56-2) หรือในรายงานแห่งความยั่งยืน (Sustainability Report) หรือในรายงานอื่น ตามแต่กรณี โดยไม่ใช้แบบสำรวจข้อมูลหรือแบบสอบถามใดๆ เพิ่มเติม

โดยการประเมินมุ่งไปที่การวิเคราะห์ข้อมูล ESG แบบบูรณาการ ผนวกเข้ากับข้อมูลทางการเงิน ที่เรียกว่า Integrated ESG เพื่อให้สะท้อนผลตอบแทนการลงทุนหรือตัวเลขผลประกอบการที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานด้าน ESG ของบริษัท ด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ การวิเคราะห์อุตสาหกรรม กลยุทธ์องค์กร และรายงานทางการเงิน

การประเมิน ESG แบบบูรณาการ เป็นการยกระดับจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน ESG แบบเอกเทศ มาสู่การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินงานด้าน ESG ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับผลประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ผู้ลงทุนในมิติของการลงทุนที่ยั่งยืนว่า บริษัทที่มี ESG ดี จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีด้วย

และเพื่อให้เห็นถึงความสามารถในการให้ผลตอบแทนของการลงทุนที่ยั่งยืนจากหลักทรัพย์จดทะเบียนในประเทศไทย โดยใช้กลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 เป็นยูนิเวอร์สการลงทุนที่ยั่งยืน สถาบันไทยพัฒน์ ได้จัดทำ Thaipat ESG Index หรือ ดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ สำหรับใช้เป็นดัชนีเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน (Benchmark Index) และสามารถใช้เป็นดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุน (Investable Index) ในผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ที่ให้ความสำคัญกับหลักทรัพย์ ESG100 ที่ผ่านเกณฑ์สภาพคล่องหลักทรัพย์ เพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการซื้อขาย เหมาะสมต่อการนำมาคำนวณในดัชนี เพื่อใช้อ้างอิงสำหรับการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชุดดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ ที่จัดทำขึ้น ประกอบด้วย ดัชนีผลตอบแทนราคา (Price Return) อีเอสจี ไทยพัฒน์ ดัชนีผลตอบแทนรวม (Total Return) อีเอสจี ไทยพัฒน์ และดัชนีผลตอบแทนรวมสุทธิ (Net Total Return) อีเอสจี ไทยพัฒน์ โดยมี S&P Dow Jones เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ข้อมูลดัชนี ผ่านหน้าจอ Bloomberg และ Reuters ให้แก่ผู้ลงทุนทั่วโลก

ดัชนีผลตอบแทนรวม อีเอสจี ไทยพัฒน์ เป็นดัชนีที่คำนวณผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ที่ลงทุน และเงินปันผล โดยมีสมมติฐานว่า เงินปันผลที่ได้รับนี้จะถูกนำกลับไปลงทุน (Reinvest) ในหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี (มิใช่เฉพาะหลักทรัพย์ที่จ่ายปันผล)

เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง Thaipat ESG Index (TR) กับ SET TRI, SET100 TRI และ SET50 TRI

จากการคำนวณผลตอบแทนรวมโดยใช้ข้อมูลตั้งแต่วันฐานของดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ (30 มิ.ย. 58) จนถึงวันที่ 11 มิ.ย. 62 เทียบกับดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวม SET100 (SET100 TRI) และดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 (SET50 TRI) พบว่า ดัชนีผลตอบแทนรวม อีเอสจี ไทยพัฒน์ ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 32.69% ขณะที่ SET TRI ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 26.09% ส่วน SET100 TRI ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 26.48% และ SET50 TRI ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 27.18%

การเปิดเผยกลุ่มหลักทรัพย์ ESG100 และการจัดทำชุดดัชนี อีเอสจี ไทยพัฒน์ ถือเป็นพัฒนาการของการเผยแพร่ข้อมูลด้าน ESG ของหลักทรัพย์จดทะเบียน และข้อมูลดัชนีอ้างอิงสำหรับการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนในบริษัทที่มีการดำเนินงานโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ควบคู่กับข้อมูลผลประกอบการทางการเงิน อันจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน การส่งเสริมธรรมาภิบาลของบริษัท และการดูแลรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน


เรื่อง  ดร. พิพัฒน์ ยอดพฤติการ | ประธาน สถาบันไทยพัฒน์

นับตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลากว่า 60 ปีที่ผ่านมา นอกจากอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหรือสิ่งของต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นแล้ว “ขยะ” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ในกระบวนการสร้างความเปลี่ยนผ่านของธุรกิจหรือองค์กรไปสู่ดิจิทัล ที่เรียกกันว่า Digital Transformation นั้น นอกจากองค์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นกลไกหรือตัวส่งเสริมสำคัญในกระบวนการแล้ว ยังต้องการการออกแบบระบบนิเวศน์ทางธุรกิจเป็นอีกประเด็นสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจและการดำรงชีวิต หนึ่งในนั้นจะต้องมีเทคโนโลยี Blockchain อยู่อย่างแน่นอน ผมมั่นใจว่า Blockchain จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงในหลากหลายธุรกิจ

อุตสาหกรรมบริการทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย จากประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรปัจจุบันรายได้จากภาคอุตสาหกรรมและบริการของประเทศมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดร.วิลาสินี ยนต์วิกัย คณบดี บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุสิตธานี กล่าวถึงหลักสูตรปริญญาโทของวิทยาลัยดุสิตธานีว่า เปิดขึ้นมาปีนี้เป็นปีที่ 15 แล้ว โดยผู้ที่เข้ามาเรียนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ผู้บริหารในอุตสาหกรรมทั้งทางด้านโรงแรม ร้านอาหาร และอีกกลุ่มคือทายาทธุรกิจ

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณนพพร บุญลาโภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมสนับสนุน และร่วมพิธีบวงสรวงละครเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เรื่อง “รักแลกภพ” ซึ่งธนาคารออมสิน บริษัท เจ เอส แอล มีเดีย จำกัด และ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงก่อตั้งคลังออมสิน โดยมีนักแสดงนำ อาทิ ฟิล์ม - ธนภัทร กาวิละ, วิว - วรรณรท สนธิไชย, ใบเฟิร์น - อัญชสา มงคลสมัย ร่วมในพิธีบวงสรวง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ณ บริเวณลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

สมิติเวชจับมือไทยประกันชีวิต  เปิดมิติใหม่ “Healthy Life Plus” สร้าง EcoHealth System เชื่อมโยงการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันอย่างครบวงจร ผสานบริการ Samitivej Virtual Hospital เอื้อลูกค้าเข้าถึงบริการทางการแพทย์ทุกที่ ทุกเวลา #คลิกเดียวถึง พร้อมมอบหลากหลายสิทธิพิเศษที่มากกว่า

นายแพทย์ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ความท้าทายของธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) คือ การก้าวข้ามผ่าน  Digital Disruptive  หรือการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต่อจากนี้ โดยผู้ให้บริการจะต้องคิดค้น พัฒนารูปแบบการให้บริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ทุกช่องทางอย่างต่อเนื่อง

ความร่วมมือกับไทยประกันชีวิตในครั้งนี้ เนื่องจากทั้งสององค์กรมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน คือ #เราไม่อยากให้ใครป่วย อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย  ภายใต้เป้าหมายการสร้าง EcoHealth System เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาสุขภาพในเชิงป้องกัน หรือ Preventive Medicine จึงเกิดการสร้าง  Brand Collaboration  ขึ้น และขยายฐานการดูแลสุขภาพสู่วงกว้างมากขึ้น โดยสมิติเวชจะอำนวยความสะดวก ให้ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่าน Samitivej Virtual Hospital และแอปพลิเคชัน Samitivej Plus  รวมถึงจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การบริการข้อมูลทางด้านสุขภาพ การจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ด้านสุขภาพ  เป็นต้น

Samitivej Virtual Hospital เป็นการนำเทคโนโลยี Telehealth เชื่อมโยงกับบริการทางการแพทย์ที่มีอยู่เดิม ก่อให้เกิดบริการทางการแพทย์แบบรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด #คลิกเดียวถึง  ถือเป็นการเปลี่ยนมิติของการดูแลสุขภาพด้าน  Healthcare ของสมิติเวช โดยให้บริการด้านต่างๆ ประกอบด้วย Teleconsultation บริการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ผ่าน Video Call ด้วยทีมแพทย์และพยาบาลของสมิติเวชโดยเฉพาะตลอด 24 ชั่วโมง บริการเจาะเลือดถึงบ้าน Test @Home แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการทันที บริการจัดส่งยา Medicine Delivery บริการ Vaccine @Home การฉีดวัคซีนถึงบ้านโดยพยาบาลวิชาชีพ และ Virtual Weight Management Program ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการลดน้ำหนักเฉพาะบุคคล

“ผู้ใช้บริการสามารถวางใจในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เพราะสมิติเวชใช้ระบบรักษาข้อมูลตามมาตรฐานสากล HIPAA (Health Insurance Portability and Accountability Act) ส่วนแอปพลิเคชัน Samitivej Plus  โดยแอปฯ ดังกล่าวจะเป็นเสมือนผู้ช่วยด้านสุขภาพที่ให้ข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่ก่อนเดินทางเข้าใช้บริการ (Pre Hospital) ระหว่างใช้บริการที่โรงพยาบาล (Hospital) จนถึงหลังจากกลับบ้านเพื่อพักฟื้นหรือดูแลตัวเอง (Post Hospital) เรียกว่า ให้บริการนัดหมายแพทย์ พบแพทย์ ชำระค่ารักษา ดูประวัติการรักษา ทั้งหมดจบในแอปฯ เดียว”  นายแพทย์ชัยรัตน์กล่าว

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัทฯ ประกาศปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ หรือ Reinvent Business Model เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงในยุค Digital Disruptive ซึ่งผู้บริโภคในปัจจุบันมีความต้องการคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าและบริการ

ไทยประกันชีวิตจึงมุ่งสู่การเป็น Life Solutions หรือทุกคำตอบของการประกันชีวิต ผ่านการสร้าง Life Innovation เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดี มีชีวิตที่ยืนยาว และมีความสุขกับเงินออมในยามเกษียณ โดยมุ่งปรับ Mindset ของคนในองค์กร เพื่อให้ทุกคนก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การเป็น Life Solutions เป็นเพื่อนคู่คิดที่เคียงข้าง วางแผนดูแลลูกค้าในทุกช่วงชีวิต

แนวทางการส่งเสริมให้ลูกค้ามีสุขภาพที่ดี ส่วนหนึ่งต้องมาจากการใส่ใจ ดูแลสุขภาพในเชิงป้องกัน หรือ Preventive Healthcare ไทยประกันชีวิตจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่ดี  ซึ่งมี Business Goal เดียวกันในด้าน Wellness Strategy คือ สมิติเวช เพื่อสร้าง EcoHealth System คือ การเชื่อมโยงระบบการดูแลสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับลูกค้าอย่างครบวงจร ผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการร่วมกับพันธมิตรด้านสุขภาพมอบสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าให้กับลูกค้า

ความร่วมมือโครงการ Healthy Life Plus กับสมิติเวชในครั้งนี้ จะเอื้อให้ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ ทุกที่ทุกเวลา ผ่านแอปพลิเคชัน “Samitivej Plus” ซึ่งป็นแอปพลิเคชันที่ดูแลลูกค้าตั้งแต่ก่อนมาโรงพยาบาล ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล และกลับจากโรงพยาบาล โดยเฉพาะการให้บริการที่ปรึกษาทางการแพทย์ Samitivej Virtual Hospital หรือโรงพยาบาลเสมือนจริง ซึ่งลูกค้าสามารถปรึกษาแพทย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ ง่าย สะดวกสบาย ด้วยค่าบริการที่เหมาะสม เหมือนกับการมารับบริการที่โรงพยาบาลด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Samitivej Plus ได้ฟรี ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android รวมถึงใช้บริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันได้ฟรี อาทิ การนัดหมายแพทย์ การแจ้งเตือนการนัดหมาย ยกเว้นการใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ซึ่งจะมีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย ในการใช้บริการ Samitivej Virtual Hospital ลูกค้าไทยประกันชีวิตสามารถใช้บริการ ผ่าน 3 ช่องทางหลัก คือ แอปพลิเคชัน “Samitivej Plus”, แอปพลิเคลชัน “Thailife Card” และเว็บไซต์ www.thailife.com ผ่านบริการ iService

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถนำความต้องการของลูกค้ามาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการในลักษณะ Personalized เฉพาะรายบุคคลได้ในอนาคต รวมถึงการร่วมกับสมิติเวชจัดกิจกรรมพิเศษด้านสุขภาพสำหรับลูกค้า หรือการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านสุขภาพ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันให้กับลูกค้า

“ในเบื้องต้นไทยประกันชีวิตร่วมกับสมิติเวช มอบสิทธิพิเศษให้กับลูกค้า สำหรับลูกค้าที่รับบริการตรวจสุขภาพ 5 โปรแกรม ได้แก่ การตรวจยีน 50 ยีน เพื่อดูความเสี่ยงโรคมะเร็ง การตรวจยีน 139 ยีน เพื่อดูภาวะสุขภาพ การตรวจดูความยาวของปลายสาย DNA คือตรวจดูอายุชีวภาพ (Telomere Program) การตรวจยีนเพื่อดูความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ Precision Alzheimer's disease1 และการตรวจยีนเพื่อดูความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ Precision Alzheimer's disease2 จะได้รับสิทธิ์ตรวจ Fibroscan หรือการตรวจไขมันพอกตับฟรี เฉพาะการเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท” นายไชยกล่าว

ในฐานะผู้ก่อตั้งและซีอีโอบริษัท Finema ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และโฟกัสความสนใจไปที่เรื่อง Digital Identity หรือการยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัล ผ่านเทคโนโลยียอดฮิตนั่นคือ Blockchain และยังมีอีกบทบาทของการเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคม DIF (Decentralize Identity Foundation) ที่เป็นเหมือนหัวหอกในการเคลื่อนไหวเรื่อง Digital Identity ในโลก ซึ่งเขาเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็น Gateway สำคัญในการเชื่อมสู่โลกดิจิทัลเต็มอย่างรูปแบบ ปกรณ์ ลี้สกุล เปิดโอกาสให้ MBA ได้พูดคุยและสัมภาษณ์ ในแนวคิด และเป้าหมายของ Finema ในเรื่อง Digital identity รวมถึงการอัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีในอนาคตอันใกล้ หลังงานแถลงข่าวเปิดหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation ที่จัดขึ้นที่คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา

MBA: ความเป็นมาถึงความสนใจเรื่อง Digital Identity

ปกรณ์: จริงๆ มันเริ่มมาจากที่ผมได้เข้าไปทำเหรียญ Hardware Token ให้กับธนาคาร แล้วธนาคารเขาอยากจะให้มันไปอยู่บนมือถือหรือที่เรียกว่า Software Token ซึ่งเราก็สงสัยว่าไอเดียของมันคืออะไรกันแน่ จนกระทั่งได้เข้าใจว่า มันเกี่ยวกับการ Authenticator หรือการยืนยันตัวตนของเจ้าของบัญชีว่าเป็นเจ้าของมันจริงๆ ซึ่งก็คือเรื่องเดียวกันกับการใช้ Username, Password หรือ Google Two Factor Authentication ที่ใช้กันเยอะๆ พูดง่ายๆ คือ ส่วนหนึ่งของการพิสูจน์ตัวตน (Identification) ว่าคนที่จะเข้าถึงข้อมูลเป็นคนๆ นี้ จริงๆ นะ แล้วเราก็ค้นคว้าเพิ่มอีกประมาณสองปี ก่อนจะเริ่มทำโปรดักต์ครับ

MBA: ความสำคัญและปัญหาของ Digital Identity

ปกรณ์: ตอนที่เราค้นคว้า เราพยายามมองหาว่าปัญหาในเรื่อง Identity ในโลกนี้มันเป็นยังไง ก็พบว่าทุกวันนี้เรามีอินเทอร์เน็ตอยู่ทุกที่ แต่การ Identify ตัวตนหรือระบบ Identity มันกลับเป็น Physical หรือ Hard Copy หมดเลย ทั้งบัตรประชาชน ใบขับขี่ หนังสือรับรอง วุฒิปริญญาบัตร ทะเบียนบ้าน มันไม่มีอะไรที่เหมาะกับการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตเลยครับ

ต่อมาก็พบว่าในโลกอินเทอร์เน็ตก็มีการยืนยันตัวตนที่ทุกคนใช้กัน ก็คือ อีเมล แต่หลายๆ คนอย่างผมเอง ก็มีอีเมลเป็นสิบอีเมลไว้เลือกใช้ในจุดประสงค์ที่ต่างกัน อีเมลนี่แหละที่กลายเป็น Identifier หรือเครื่องยืนยันตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบพาสเวิร์ด แต่ปัญหาก็คือว่าถ้าเกิดมันถูกแฮกขึ้นมา เราจะเอาอีเมลไปทำธุรกรรมอื่นใดไม่ได้อีก เพราะว่ากันตามจริง เราใช้มันเป็นพื้นฐานของทุกระบบ ทั้งเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ กูเกิล ทุกอย่างที่ผูกกับอีเมลที่ใช้ฟรีนี้ ก็จะโดนไปด้วย

เท่ากับว่าอีเมลก็ยังไม่เหมาะกับโลกอินเทอร์เน็ต เราเลยคิดว่าการแก้ปัญหาคือการทำ Identity ที่เหมาะสมกับโลกอินเทอร์เน็ต หรือ Digital Identity ซึ่งไม่ใช่แค่เอา Identity ไปวิ่งบนระบบดิจิทัลนะครับ ไม่ใช่พยายามเปลี่ยนบัตรประชาชนไปใช้ในอินเทอร์เน็ต แต่คือการสร้าง Identity ที่เหมาะกับอินเทอร์เน็ต ที่สามารถ Verify ได้ทันที ร้อยเปอร์เซ็นต์

MBA: Finema ตอบโจทย์ตรงนี้อย่างไร

ปกรณ์: โจทย์ของ Finema คือพอเราพบว่า Identity มันจะมีปัญหามากเมื่อมันถูกรวมศูนย์หรือ Centralize ลองนึกภาพง่ายๆ ว่า เฟสบุ๊คมีผู้ใช้ประมาณสองพันล้านคน เขาต้องเก็บ Identity ทุกคนด้วยพาสเวิร์ดแล้วก็ Encrypt ไว้ไม่ให้ใครรู้ แต่ก็ดันมีข่าวไม่นานมานี้ว่า เฟสบุ๊คไม่ได้ Encrypt พาสเวิร์ดของผู้ใช้ประมาณห้าร้อยล้านคน ซึ่งเป็นความผิดพลาดของวิศวกรเฟสบุ๊ค พนักงานเฟสบุ๊คก็รับรู้พาสเวิร์ดของคนเหล่านั้นที่อาจจะเป็นคุณหรือผมก็ได้ โชคดีที่มันไม่ได้หลุดไปไหน

ความยากอีกระดับคือคนมักจะใช้พาสเวิร์ดเดียวกับทุกๆ แพลตฟอร์ม ฉะนั้น ถ้าโดนอันนึงก็คือโดนหมด เราก็เลยคิดว่าการกระจายศูนย์หรือ Decentralize น่าจะเป็นทางออก ยิ่งถ้าประกอบกับเทคโนโลยี Distributed Ledger หรือ Blockchain ก็จะสามารถช่วยให้การเก็บ Digital Identity ของเราดีขึ้นได้

ผมกับทีมที่ศึกษาเรื่อง Blockchain ที่รับรู้ว่าประโยชน์ของมันคือ Transparency ที่ปลอดภัย ฉะนั้นเราน่าจะเอามาทำระบบพิสูจน์ยืนยันตัวตนได้ ซึ่งก็คือสิ่งที่เราทำอยู่ครับ มันมีหลายชื่อเรียกมาก ทั้ง Digital Identity หรือ Internet Identity หรือ Decentralize Identity หรือชื่อที่สามารถอธิบายความหมายของมันได้ชัดมากที่สุดคือ "Self-Sovereign Identity" (คนไทยอาจจะไม่คุ้นหูคำนี้ซักเท่าไร) ก็คือการที่เราเอาสิทธิในการใช้ Identity คืนให้กับผู้ใช้ กล่าวคือ เราบอกว่าจะทำทุกอย่างผ่านมือถือ ถ้าคุณเป็นผู้ครอบครองมือถือเครื่องนี้ ก็จะมีเพียงคุณเท่านั้นที่สามารถเข้าไปในระบบของมันได้ คุณจะทำธุรกรรมอะไร ก็จะมีลายเซ็นอยู่บนมือถือเครื่องนั้นเลย สามารถพิสูจน์ ยืนยันตัวตนได้เลย โดยผ่าน Identifier ที่เหมาะกับโลกอินเทอร์เน็ต ที่ใช้ชื่อย่อว่า DID (Decentralized Identifier)

จริงๆ เราพบปัญหาเยอะมาก ในการพิสูจน์ตัวตนของคน เช่นว่า จะทำธุรกรรมอะไร แบงก์ชาติก็จะมากำกับ ประกันก็ต้องคอยประสาน ขอบัตรเครดิต ขอสินเชื่อ ทุกอย่างมันคือปัญหาของการยืนยันตัวตนหมดเลย ถ้าเราแก้ปัญหานี้ได้ เราจะไม่ต้องมีสำเนาบัตรต่างๆ ไม่ต้องมีแมสเซนเจอร์วิ่งมอเตอร์ไซต์เต็มถนน ถ้าแก้ได้ มันจะสร้าง Transactions บนดิจิทัลอีกมหาศาล ลดกระดาษลงเป็นจำนวนมาก ลดพื้นที่ในการเก็บเอกสาร ลดค่าน้ำมันในการขนส่งเอกสารสำคัญ ลดไปได้หลายเรื่อง และที่สำคัญคือจะทำให้ Transactions เกิดขึ้นได้เร็วได้จริง ไม่ต้องรอ Approve กันอีก

MBA: ปลายทางของเป้าหมายหรือ Dream Goal ของ Finema คืออะไร

ปกรณ์ปัจจุบัน Finema คือผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เป็นของเราเองชื่อว่า IDIN (https://idin.network) ซึ่ง Provide ให้กับลูกค้าองค์กรทั้งรูปแบบ Private Solution หรือ Private Blockchain แล้วก็ Public Permission Blockchain ก็คือใครจะเข้ามาก็ต้องขออนุญาตก่อนแล้วก็จ่าย Subscription ให้เรา ตอนนี้โจทย์ของเราก็คือทำให้ซอฟต์แวร์เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย ลูกค้าจะใช้ Private ก็ได้ หรือ Public Solution เรา Support ได้ทั้งหมด เราต้องการ Subscriber เพิ่ม นี่คือ Business ที่ทำอยู่

ในส่วนของ Finema ตอนนี้เราอยู่ใน Consortium ที่มีชื่อว่า Decentralize Identity Foundation (DIF) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ Microsoft ตั้งขึ้น แล้วมียักษ์ใหญ่อย่าง IBM, Hyperledger, RSA, Accenture มาเข้าร่วม รวมแล้วมีสมาชิกประมาณหกถึงเจ็ดสิบรายที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งาน แต่ไม่มี South East Asia (SEA) เลย Finema เป็น SEA เพียงรายเดียว ซึ่งเราก็พยายามจะ Sync กับยุโรปและอเมริกา เพราะเขากำลังขยับเรื่องนี้ เราก็ดูว่าเขาขยับยังไง ซึ่งจริงๆ ก็มี WeBank ของจีนมาจอยด้วยแม้ว่าประเทศเขาจะปิดและ Centralize สุดๆ แต่ก็แสดงว่าเขามีความสนใจอยู่ไม่น้อย

ในส่วนของเป้าหมาย ผมอยากจะให้เรามีซอฟต์แวร์ที่ ‘ผู้ก่อตั้ง’ เป็นคนไทย เพราะสุดท้ายก็คงทำให้แบรนด์เป็น Global Brand ที่เป็นเทคโนโลยีที่ส่งออกและแข่งขันได้ในเรื่องนี้ ก็เลยกระโดดมาทำ อยากให้ซอฟต์แวร์ที่เราผลิตกระจายไปอย่างน้อยก็ทั่ว APAC (Asia Pacific)

อีกจุดแข็งสำคัญของซอฟต์แวร์เราก็คือ เราเป็น Blockchain Layer 2 เพราะใน Consortium นี้ Blockchain ของทุกคนจะ Interoperable กันได้ อันนี้คือการก้าวข้ามอุปสรรคสำคัญของ Blockchain ฺBlockchain Layer 1 ที่มันเป็น Walled-Garden ซึ่งหมายถึงทุกคนต้องเข้ามาอยู่ใน Network ของเราเท่านั้น ถึงจะใช้งานกับเราได้ เช่น อยากใช้ Blockchain จอยกับบริษัทนี้ แต่เขาใช้ Ethereum เราก็ไม่สามารถเลือกซอฟต์แวร์อีกยี่ห้อแล้ว Interoperable กับเขาได้ แต่ Blockchain ของ Finema เป็น Blockchain Layer 2 คือ Interoperable กับคนที่ในสแตนดาร์ดเดียวกันได้เลย

MBA: คุณปกรณ์จะเป็นหนึ่งในผู้บรรยาย ของหลักสูตร ‘Blockchain for Enterprise Transformation’ ที่ทางนิด้า ร่วมจัดกับ SIAM ICO อยากทราบถึงเรื่องที่จะบรรยาย และจุดเด่นของหลักสูตร รวมทั้งสิ่งที่ผู้อบรมจะได้รับ

ปกรณ์: ตอนนี้คำว่า Blockchain ในตลาดคือโคตร Hype เลย ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าใจแค่เรื่องราคา ซึ่งมันก็เป็นส่วนหนึ่งแหละ แต่คุณค่าของ Blockchain จริงๆ สำหรับผมคือมันสามารถตอบโจทย์บางอย่างของระบบเศรษฐกิจในอนาคตได้ ทุกวันนี้โลกมันรวมศูนย์มากขึ้นทุกวัน ก็คือมีหน่วยงานที่มีอำนาจคอยกำกับดูแลหน่วยงานย่อยๆ ตัวอย่างเช่นธนาคาร ซึ่งผมเชื่อว่าอะไรที่มันใหญ่เกินไป มันจะถูกทำให้เล็กลง ประวัติศาสตร์เป็นแบบนั้นเสมอครับ อาณาจักรใหญ่ๆ ทั้งเปอร์เซีย หรือจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์ สุดท้ายมันจะถูกตีให้เล็กลง มันเป็นวัฏจักรของโลกที่ถ้า Centralization มากเกินไป มันจะถูก Decentralize โดยธรรมชาติ

สำหรับหลักสูตร Blockchain for Enterprise Transformation ผมเชื่อว่าผู้บรรยายทุกท่านได้กลั่นกรองเอาประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้จริงมาคุยกัน โอเค เรื่อง Pricing หรือ Valuation ของมันเราเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว แม้ Bitcoin จะยังเป็นเพียงตลาดเฉพาะ แต่ Libra ก็กำลังมา เราคงไปขวางโลกไม่ได้ เพียงแต่เราจะเจาะลงไป เช่น ทำไมมันถึงต้องมี Libra ที่มาที่ไปของมัน ทำไมต้องมีแนวร่วม 27 องค์กร ซึ่งพูดถึง Libra แล้ว ถ้ากลับไปดูงบการเงินเฟสบุ๊คจะรู้ทันทีว่า ทำไมเขาถึงทำ Libra ก็เพราะว่า ปกติเงินมันไหลผ่านเฟสบุ๊คตลอดเวลาด้วยค่าโฆษณา ซึ่งนับเป็นรายได้ 98% ของรายได้ทั้งหมด อีก 1.5% มาจากค่าธรรมเนียมจาก VISA, Master Card ที่นี่ถ้าเขามีสกุลเงินของตัวเอง เขาก็จะสามารถขยายท่อ 1.5% นี้ให้ใหญ่ขึ้นได้ เพราะเขาจะเป็นคนควบคุมค่าธรรมเนียมทั้งหมด

แต่ถ้าพูดถึง Libra ในเชิงคุณค่าทางเทคนิค ผมว่ามันไม่ได้ยิ่งใหญ่มาก มันไม่ใช่สิ่งใหม่ มันเป็นภาษาที่คนเขาใช้อยู่แล้ว มาตกแต่งใหม่ แล้วก็สร้าง Governance Model ดีๆ คือหลักการของ Blockchain Decentralize System จริงๆ คือเรื่องของ Governance Model ที่จัดแจงว่า ใครจะมีสิทธิทำนั่นนู่นนี่ได้ แล้วทำไมเขาถึงจะไม่โกง พูดง่ายๆ คือ เทคโนโลยีมันจะดีจริงๆ มันอยู่ที่ Consensus (มติร่วม) อย่างเฟสบุ๊คเขาจะใช้ระบบ BFT ก็จะเป็น Libra BFT ซึ่ง BFT ย่อมาจาก Byzantine Fault Tolerance หมายถึงอาณาจักรไบเซนไทน์ในอดีต ที่เวลาหน่วยข่าวกรองหาข่าวกลับมา มันจะต้องมีวิธีหรืออัลกอริทึมในการบอกว่าข้อความไหนจริงไม่จริง หรือคนสมัยก่อนแค่จะเดินเข้าประตูเมือง เขาก็จะต้องมีรหัสผ่าน มันคือเรื่อง Information เหมือนกัน ฉะนั้น จริงๆ BFT ก็คือวิธีการโหวต Consensus หรือวิธีการลงมติแบบออริจินัลของมนุษย์ เฟสบุ๊คก็เอามาปรับแต่งนิดหน่อย ให้กลายเป็น Libra BFT

อีกสิ่งหนึ่งที่ทรงพลังก็คือการที่เขามี 27 องค์กรอยู่ในมือ แต่ข้อเสียก็คือมันเป็นเอกชนทั้งหมด แล้วทำไมถึงเป็นข้อเสีย เหล่านี้คือเรื่องที่อยากจะมาเล่าให้ทุกคนฟัง เอาจริงๆ แล้ว ตัวเทคโนโลยีเอง เทคโนโลยี Blockchain แต่ละตัว มันก็แทบจะเท่าๆ กันหมดแล้วครับ เพราะมันมาจบที่ Computing Power ที่มันตันไปแล้ว มันก็จะไม่มีอะไรเร็วไปกว่านี้ได้ ฉะนั้น ถ้าจะเกิดได้ก็ต้องสร้าง Governance Model ดีๆ แล้วประโยชน์ของมันจะเกิดจริงๆ

MBA: ถ้าบอกว่าเทคโนโลยีมาถึงทางตันที่ถูกจำกัดโดยประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ อย่างนี้แล้วเทรนด์ของเทคโนโลยีมันจะมีทิศทางยังไงต่อ

ปกรณ์: ผมมองว่าเทคโนโลยีมันมีหลายแกน Computing Power คือแกนหนึ่ง ซึ่งตันไปแล้ว ไม่งั้นก็ต้องรอ Quantum Computer ไปเลย หรือ 5G ก็อีกแกน ที่ทำให้เน็ตเวิร์คเร็วขึ้น แต่สุดท้ายแล้วพอทุกอย่างมันเร็วเท่ากันก็จะตันอีก ฉะนั้น เทคโนโลยีใหม่ๆ จะเกิดขึ้น ก็ต้องเกิดจากการเอามา Combine กัน ให้เป็นท่าใหม่ เป็น Business model ใหม่ ที่มันจะต้องมายุ่งเกี่ยวกับเรื่องของ Framework หรือ Governance Model เปลี่ยนถ่ายช่องทางการเงิน มันจะเป็น Business Model Innovation มากกว่าครับ

เอาจริงๆ เลยในปัจจุบัน การโอนเงินข้ามประเทศมันไม่ได้มีปัญหาที่ความเร็วเลย แต่ปัญหามันอยู่ที่การคุยกันระหว่างองค์กร ที่ผมจะบอกก็คือ เทคโนโลยีไม่ได้ช้าเลยครับ แต่ช้าตรงต้องมานั่ง Approve นู่นนี่นั่น แล้วก็มีคนพยายามเอา Blockchain มาแก้ปัญหา ยกตัวอย่างเฟสบุ๊คอีกทีครับ เขาบอกเขาอยากแก้สองปัญหา หนึ่งคือการโอนเงินข้ามประเทศ แต่ตอนนี้เราก็มีบัตร KTB Travel Card หรือ TMB ที่มีหกสกุลเงินในหนึ่งบัญชี ถ้าเป็นแบบนี้ทั้งหมด สมมุติยี่สิบสามสิบประเทศคุยกันได้ ปัญหาก็แก้แล้วครับ เราจะขี่ช้างจับตั๊กแตนทำไม Blockchain จะมีประโยชน์อะไร

อีกเรื่องคือ เฟสบุ๊คพยายามบอกว่าจะแก้ปัญหาคนที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินหรือสถาบันการเงิน ซึ่ง ณ ปัจจุบันไม่ใช่ว่าเขาเข้าไม่ถึงครับ ปัญหาคือเขาไม่มีเงินด้วยซ้ำ และไม่สามารถทำให้ตัวเองมีเงินได้ พูดง่ายๆ ว่า Libra มันจะไม่ได้ทำให้คนรวยขึ้น ซึ่งก็เป็นความย้อนแย้งในตัวเองอยู่เหมือนกันครับ

เรื่อง คุณากร วิสาลสกล || ภาพ ณัฐพงศ์ เปรุนาวิน


สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมและเข้าร่วมหลักสูตร
คลิ๊ก >>> http://bit.ly/nidablockchain

 

X

Right Click

No right click