FAM to FAMOUS คือ Theme ที่คณะการบริหารและจัดการ (Faculty Administration and Management) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง ต้องการขับเคลื่อน ให้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2562 นี้ โดย นอกจากตัวหลักสูตรด้านวิชาการ ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ สอดคล้องกับความต้องการใน ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงแล้ว การบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ภายในคณะก็ต้องมีการปรับและ พัฒนาเพื่อให้ก้าวทันต่อสิ่งใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเช่นกัน ดร.ทัศไนย ปราณี รองคณบดี ฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการ ได้กล่าวถึง ความสำคัญในส่วนนี้ว่า
“ขอบข่ายการทำงานของฝ่ายบริหาร ทรัพยากรและบริการคือ การอำนวย ความสะดวกให้กับคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ถ้าเปรียบเทียบในระบบ การบริหารมหาวิทยาลัย เราก็เหมือนเป็น ส่วนหลังบ้าน มองภาพตั้งแต่เรื่องอาคาร สถานที่ แผนการดำเนินงาน บุคลากร และการเงิน เพื่อสนับสนุนให้ส่วนของงาน วิชาการสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยมีหลักการคือ 4 M ได้แก่
สำหรับแนวทางการบริหารงาน ในปีนี้ ดร.ทัศไนย ชี้ว่าจะยังยึดนโยบาย ของสถาบันเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญ กับการนำพาสถาบันสู่ความเป็นสากล มากขึ้น ทางคณะจึงมีแผนที่จะทำ ความร่วมมือกับสถาบันในต่างประเทศ ระหว่างนี้ก็มีการส่งอาจารย์หลายๆ ท่าน ไปศึกษาดูงาน โดยฝ่ายบริหารจะมี การพิจารณาคุณสมบัติให้เป็นไปตามจุด ประสงค์ ดูแลเรื่องงบประมาณและ รายงานที่ได้จากการเดินทาง มุ่งเน้นการ เตรียมพร้อมคน บริหารจัดการการเงิน อาคารสถานที่และอุปกรณ์อำนวย ความสะดวกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับทางสถาบัน เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ การติดอันดับ 1 ใน 10 สถาบันอุดมศึกษา ที่ดีที่สุดในอาเซียน รวมไปถึงการดึงเอา เทคโนโลยียุคใหม่มาปรับใช้ในกระบวนการ ติดต่อสื่อสารภายใน อย่างการยื่นเอกสาร ต่างๆ เพื่ออนุมัติก็มีการนำระบบ E-Document มาใช้ตั้งแต่ช่วงเดือน ธันวาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งบุคลากรทุกคน ในคณะจำเป็นต้องศึกษาและใช้งานให้เป็น ส่วนการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์ยังคงอยู่ในกระบวนการพัฒนา และทบทวนเพื่อไม่ให้ขัดต่อข้อบังคับ สถาบันที่ระบุว่า การจัดการเรียนการสอน ต้องเป็นแบบทวิภาคคือ มีสองภาคเรียน ยกเว้นการเรียนซัมเมอร์ การดำเนินการ ใดๆ จะขัดกับข้อบังคับสถาบันมิได้ หากต้องการจะจัดเปิดหลักสูตรออนไลน์ ก็อาจจะต้องมีการเพิ่มเติมในข้อบังคับ ให้สามารถนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา เกี่ยวข้องได้ เพื่อให้เกิดการปรับตัวให้ เหมาะกับปัจจุบันมากขึ้น
อีกหนึ่งสถานการณ์ในยุคนี้ที่ สถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องเผชิญ คือ เรื่องของจำนวนเด็กที่จะเข้ามาศึกษา ลดลง แต่สำหรับคณะการบริหารและ จัดการ สจล. กลับยังคงมีผู้สนใจสมัคร เข้าเรียนในระดับปริญญาตรีเป็นจำนวนมาก
“จุดแข็งของ FAM คือเรารับเด็กทั้ง สายวิทย์ – คณิต และศิลป์ – คำนวณ อย่าง TCAS รอบแรกที่เราเปิดรับนักศึกษา ประมาณ 80 – 90 คน มีเด็กสมัครเข้ามา พันกว่าคนและมาสัมภาษณ์ห้าร้อยกว่าคน เราจึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องจำนวนนักศึกษา ที่สมัครเข้ามา อีกทั้งทางสถาบันก็ยังมี แผนให้คณะเรารับเด็กเพิ่มขึ้นจากเดิม 350 คน เป็น 600 คน ด้วยซ้ำ สาเหตุก็ เพราะเรามีหลักสูตรที่เข้มแข็ง อาจารย์ ของเราค่อนข้างผูกพันกับเด็ก โดยดูจาก อัตราการได้งานของบัณฑิต เด็กส่วนมาก ที่จบจากเรานอกจากคนที่เข้าไปทำงาน ในบริษัทต่างๆ แล้ว ส่วนใหญ่จะจบออกไป เป็นผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนและสร้าง การเปลี่ยนแปลงให้สังคม ซึ่งย้ำให้เห็นว่า ระบบการเรียนการสอนของเรามีคุณภาพ ทำให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ
แต่ปัญหาในตอนนี้คือเรื่องของ สถานที่ จำนวนอาจารย์ที่จะมารองรับ จำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต และงบประมาณ อันดับแรกเราจึงต้องเน้น การบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์ต่อ นักศึกษามากที่สุด ต่อมาคือคณาจารย์ และภาคคณะ ส่วนฝ่ายสนับสนุนเราก็มี การส่งเสริมโดยให้ทุนลาศึกษาต่อระดับปริญญาโทในคณะของเรา ให้อบรมประจำ ปีกี่ครั้งก็ได้แต่ต้องเกี่ยวข้องกับเนื้องาน หน้าที่ภายในงบประมาณที่กำหนดให้ รวมไปถึงการดูแลความเหมาะสมของ เนื้องานกับตัวบุคคล พยายามมอบหมาย งานที่เขาถนัด ทำให้เขาได้ใช้ศักยภาพ ของตัวเองอย่างเต็มที่ และมีสวัสดิการ สำหรับพนักงานเงินงบประมาณที่มี ความมั่นคงพอๆ กับข้าราชการ
ดังนั้น การทำงานร่วมกันในหน่วยงาน เราจึงยึดประสิทธิภาพงานเป็นหลัก บรรยากาศเป็นแบบ FAM หรือ Family ทุกคนสามารถเข้ามาพูดคุย นำเสนอ ความคิดเห็นเพื่อให้เราบริการและ ช่วยแก้ไขปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาภายใต้ กฎระเบียบ”
ทั้งนี้ การจะก้าวไปเป็นมหาวิทยาลัย ระดับสากลในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามี ส่วนสำคัญอย่างมาก ดร.ทัศไนย มอง ความท้าทายและจุดสาคัญของงานบริหาร เอาไว้อย่างชัดเจน
แนวทางที่เราจะทำให้เกิด FAM to FAMOUS ได้นั้น เราต้องมีการบริการทั้ง ส่วนของคณาจารย์และนักศึกษา โดยทุก อย่างจะยึดกฎระเบียบเป็นหลักแต่ก็ต้อง ไม่ทำให้เราล้าหลัง เราเป็นส่วนสนับสนุน หลังบ้านที่ทำให้เกิดการผลักดันให้มีการ เรียนการสอนที่ดี คัดกรองอาจารย์ ที่จะเข้ามาสอนว่าสามารถมอบสิ่งที่ ให้ประโยชน์ทั้งแง่วิชาการและเชิงปฏิบัติ แก่นักศึกษาได้มากน้อยแค่ไหน อำนวย ความสะดวกให้บุคลากรและอาจารย์ใน การทำภารกิจทุกด้านให้บรรลุผลสำเร็จ
ไม่ว่าจะเป็นการสอน ต้องสนับสนุนการจัด เตรียมแผนการสอนให้เต็มที่ เพื่อให้ หลักสูตรดำเนินไปได้ ทำให้เด็กมีคุณภาพ เน้นการทำวิจัยที่ต้องตอบโจทย์แก้ปัญหา สังคม มีคุณภาพ เป็นไปตามกลยุทธ์ของ สถาบัน นำมาใช้ได้จริง งาน Conference ต่างๆ ที่อาจารย์ไปเข้าร่วมก็ต้องอยู่ภายใต้ ฐาน Scopus หรือ TCI เรื่องการให้บริการ ทางวิชาการกับชุมชนก็ต้องเป็นโครงการที่ ช่วยให้คนในสังคมได้ความรู้และทำให้เกิด Word of Mouth และส่วนที่สำคัญไม่แพ้ กันคือ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ต้องสอนให้นักศึกษามีศีลธรรมจริยธรรม มีอัตลักษณ์ของสถาบันคือ ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน ติดตัวเมื่อเรียนจบออกไปจะได้เป็น ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
นอกจากนี้ การดูแลนักศึกษาก็ต้องมี การพาไปศึกษาดูงานตามโรงงาน อุตสาหกรรมหรือบริษัทจริงๆ เพื่อให้เขา สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เลคเชอร์มา กับโลกการทำงานอย่างเห็นภาพ ผู้สอน ต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา ตัวผม เองจะใช้หลักของการเป็นครู หมายความ ว่าเราดูแลนักศึกษาในทุกๆ ด้านไม่ใช่แค่ การเรียนการสอน พื้นฐานของการอยู่ภายใต้ ความเป็นครอบครัวนี้จะทำให้เมื่อเด็กจบ ไปทำงานก็จะหันกลับมามองครอบครัว เสมอ มีอะไรก็อยากกลับมาช่วยเหลือ พัฒนาคณะให้รุ่นน้องได้รับสิ่งที่ดี เพราะ เรามีความผูกพันระหว่างกัน”
ท้ายที่สุดแล้ว ดร.ทัศไนย ได้เปิดเผย ข้อมูลโครงการใหญ่ที่จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม ในกลางปีนี้คือ โครงการออกแบบปรับปรุง ตึกแอล หรืออาคารบุนนาค (ฝั่งทิศเหนือ) เพื่อใช้เป็นคณะการบริหารและจัดการ “เราใช้งบประมาณในการสร้างกว่า 124 ล้านบาท ซึ่งมาจากการบริหารจัดการราย ได้ของคณะเรา มีการลงสำรวจพื้นที่ ประชุม Workshop กับหลายภาคส่วน เพื่อระดมแนวคิดในการออกแบบปรับปรุง เปลี่ยนโฉมโครงสร้างอาคาร 5 ชั้นนี้ให้สอดคล้องการพัฒนาของคณะและ คำนึงถึงผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา กลุ่มผู้บริหารคณาจารย์ บุคคลภายนอก ทั้งใน และต่างประเทศที่จะเข้ามาติดต่อ รับบริการต่างๆ จากคณะของเรา โดยรูปทรง อาคารภายนอกมีลักษณะโดดเด่นทันสมัย สไตล์อาคารโรมัน ซึ่งนำเอาแนวคิด Raise Your Future ที่มองถึงการยกระดับคุณภาพ ในทุกมิติของคณะการบริหารและจัดการ สู่ระดับสากลมาปรับใช้ สร้างบรรยากาศ แก่นักศึกษาซึ่งอยู่ในสายธุรกิจให้เกิด แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์และรองรับ การพัฒนาขยายหลักสูตรหรือกิจกรรม โครงการในอนาคตให้มากขึ้น ภายในครบ ครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก มีจุดเด่น เป็นห้อง Hall of Fame สำหรับจัดแสดง ผลงานและกิจกรรม ห้องทำสื่อการเรียน การสอนที่เป็น Multimedia ห้องเรียน ขนาดใหญ่และห้องประชุมที่สามารถรองรับ ได้ถึง 200 ที่นั่ง เพื่อรองรับ International Conference ต่างๆ โดยจะเริ่มดำเนินการ ประมาณช่วงปิดเทอมหรือกลางเดือน พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ระยะเวลาใน การสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในหนึ่งถึง หนึ่งปีครึ่ง ภายในปีหน้าก็จะได้เห็น FAM ในลักษณะที่พร้อมก้าวสู่ระดับสากล อย่างแท้จริง”
เรื่อง : ณัฐพัชธ์ สุมา
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล
การขับเคลื่อนด้านวิชาการและงานวิจัย ถือเป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในสังคม นำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนก้าวเท่าทันกับโลกที่มีการ เปลี่ยนผ่านแทบทุกวินาที ผศ.ดร. สิงหะ ฉวีสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะการบริหารและจัดการ หรือ FAM สถาบัน เทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เกิด การค้นคว้าและประยุกต์สิ่งใหม่ๆ เข้ากับการเรียน ในทุกระดับของหลักสูตรบริหารธุรกิจใน ทศวรรษหน้า
ในส่วนงานวิชาการ หน้าที่หลักคือดูแล การเรียนการสอนของทุกหลักสูตร ทุกระดับ ของคณะ ตั้งแต่ปริญญาตรี โทและเอก รวมถึง หลักสูตรภาษาไทยและนานาชาติ เพื่อให้ได้ บัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสามารถทาง ปัญญาและพฤติกรรม นำไปสู่การพัฒนา วิชาชีพและสร้างความสำเร็จในอนาคตได้
นอกจากภาระหน้าที่หลักในการดูแลทุกกระบวนการจัดการเรียน การสอนของทุกหลักสูตรที่สังกัดในคณะการบริหารและจัดการแล้ว ยังทำงานร่วมกับส่วนงานวิเทศสัมพันธ์ เพื่อทำความร่วมมือทาง วิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ตาม ยุทธศาสตร์ด้านวิชาการของคณะฯ ซึ่งส่วนงานวิชาการจะนำ ข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำจุดแข็งของความ ร่วมมือเหล่านั้นประยุกต์เข้ากับหลักสูตรต่างๆ ของคณะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับของข้อตกลงความร่วมมือว่าเป็นลักษณะใด เช่น ต้องการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหรือระหว่างหลักสูตร เราก็จะหาจุดแข็งและจุดอ่อนของทั้งสองฝ่าย เพื่อนำมาเสริมสร้าง และพัฒนาให้เกิดการปรับปรุงหลักสูตรและงานวิจัยควบคู่กันไป เป็นต้น ซึ่งคุณประโยชน์หลักที่ได้จากการทำความร่วมมือกับ สถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ คือนักศึกษา จะได้เรียนรู้ศาสตร์ที่แตกต่างกันมากขึ้น ได้มีโอกาสเรียนรู้และ มองเห็นศาสตร์ใหม่ๆ ในระดับโลก ก่อให้เกิดการเรียนการสอน และการวิจัยร่วมกัน ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการด้านการ บูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ากับศาสตร์การบริหารและจัดการ เชิงธุรกิจ เพื่อนำไปสู่ความอยู่รอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่เข้ามากระทบการดำเนินงานของ ภาคธุรกิจ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีความ พร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วยข้อมูลที่ ครอบคลุมและทันสมัย ผนวกเข้าศาสตร์การบริหารธุรกิจในแขนง ต่างๆ ซึ่งการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ของคณะ จะเข้ามา ช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันให้แก่ทุกกระบวนการของธุรกิจ ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาล เช่น Thailand 4.0 ++ การยกระดับ ความสามารถให้แก่ทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้หากการ พัฒนาหลักสูตรยังไม่สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะตาม การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน คณะจึงสร้างหลักสูตรสายพันธุ์ใหม่ ขึ้นมา ได้แก่
ส่วนการส่งเสริมด้านงานวิจัย ผศ.ดร.สิงหะ อธิบายว่าการ วิจัย เป็นภาระหน้าที่ที่สำคัญของอาจารย์ไม่น้อยกว่าการสอน เนื่องจากองค์ความรู้ต่างๆ มักจะเกิดขึ้นจากกระบวนการทำวิจัย หากไม่มีงานวิจัย ทฤษฎี แบบจำลอง องค์ความรู้ต่างๆ ก็จะ ไม่ทันสมัย เพราะฉะนั้นการค้นคว้าและนำองค์ความรู้ใหม่เหล่า นี้มาใช้ จึงเป็นการสร้างความทันสมัยให้แก่การถ่ายทอดความรู้ จากอาจารย์ไปสู่ผู้เรียน ดังนั้นการนำการวิจัยที่ทันสมัยมา ประกอบและเสริมการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ที่ แข็งแรง เห็นภาพว่าสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร จึงเป็น สาเหตุเพราะเหตุใดอาจารย์จึงต้องมีการทำวิจัยควบคู่กับการ จัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
“การทำวิจัยจะทำให้เราได้เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหา ที่ถูกต้อง สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ของการวิจัยที่ชัดเจนมากขึ้น เพราะถ้าแก้ปัญหาผิดวิธี ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ผิดพลาดไปด้วย” การศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจะมีหลักสูตรที่พูดถึงการทำ วิทยานิพนธ์ ซึ่งคือการทำวิจัยอย่างหนึ่งที่ต้องมีหัวข้อชัดเจน ผลลัพธ์ที่ได้มาจะนำไปใช้เป็นองค์ความรู้ใหม่หรือการประยุกต์ ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น การส่งเสริมงานวิจัยของคณะจึงมี 2 มิติ คือ 1. เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรบัณฑิตศึกษาโดยให้สามารถเผยแพร่งานวิจัยในระดับนานาชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับมากขึ้น 2. เพื่อสนับสนุน คณาจารย์ของคณะ ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยในเวที ระดับนานาชาติ ทั้งนี้ประโยชน์เสริมคืออาจารย์จะได้นำเอา ทักษะการทำวิจัยและนำผลลัพธ์จากการวิจัยไปเป็นเครื่องมือ สนับสนุนการสอนนักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาระดับปริญญาเอก ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ หมายความว่า ผู้เรียนจะต้องทำการศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการ แก้ปัญหาอย่างถูกต้อง เช่น หากกล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีใน ธุรกิจ เป้าหมายโดยทั่วไปคือการทุ่นแรงและสร้างความแม่นยำ ในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่โจทย์ใหม่ คือพฤติกรรมของผู้บริโภค ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้หากประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีต่างๆ ได้ตรงกับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันได้ อย่างเชี่ยวชาญ ธุรกิจก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูงยิ่งขึ้น
ซึ่งการนำเอางานวิจัยมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงนั้น จำเป็นต้องมีการพิจารณาอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่าง หาก ประเทศไทยเป็นหน่วยที่ใช้ศึกษา การดำเนินการวิจัยจำเป็นต้อง มีขั้นตอนและกระบวนการที่ชัดเจน เพื่อค้นคว้าและพิสูจน์ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยมีปัญหาใดบ้าง จากนั้นจึงศึกษาผลงานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา ว่าสามารถนำไปสู่การ แก้ปัญหาในรูปแบบใดได้บ้าง ยังคงเหลือปัญหาหรือจุดอ่อนใด ที่ยังไม่ถูกนำมาแก้ไข ซึ่งปัญหาของประเทศไทยเปรียบเสมือน เป็นกล่องใบหนึ่งที่มีหลายด้าน อาจมีเพียงด้านเดียวเท่านั้น ที่ได้รับการแก้ไขไปแล้ว ยังคงเหลืออีกหลายด้านที่รอการแก้ไข ดังนั้นกระบวนการค้นคว้าวิจัยจะทำให้ภาพรวมของกล่องใบดังกล่าว มีภาพลักษณ์และคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิม
อีกแง่หนึ่งในการกลั่นกรองปัญหาเพื่อทำงานวิจัย อาจพิจารณา จากนโยบายระดับโลก ระดับชาติ หรือระดับหน่วยงานเพิ่มเติมได ้ อาทิ หากมองประเด็นของ Thailand 4.0 จะทำให้เห็นภาพว่า ต้องมีการขับเคลื่อนในส่วนใดบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายนั้น และเมื่อมาผนวกกับความเชี่ยวชาญของคณะในฐานะหน่วยงาน การศึกษา จึงตั้งเป้าเป็น Education 4.0 ที่เน้นการพัฒนาบุคลากร ในประเทศชาติให้มีศักยภาพและอยู่รอดในโลกปัจจุบันให้ได้ มากยิ่งขึ้น จึงส่งผ่านมาที่ Curriculum 4.0 เพื่อสร้างหลักสูตรที่ เสริมสร้างความสามารถของบุคลากรในชาติได้ หากขณะนี้เรา อยู่ที่ 3.0 แล้ว จึงพิจารณาต่อว่ามีประเด็นใดบ้างที่จะนำเราไปถึง 4.0 ได้ นี่คือความสำคัญของงานวิจัยที่จะเกิดขึ้นเพื่อสร้างและ นำไปใช้แก้ไขให้ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้อง อาศัยความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรมและส่วนงานต่างๆ พร้อมกับการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันต่อไปได้ ยิ่งไปกว่านั้นคณะยังมีเป้าหมาย บูรณาการการวิจัยและการเรียนการสอน เพื่อเตรียมความพร้อม ในการเข้าสู่ยุค Society 5.0 อีกด้วย
คุณลักษณะหลักของการวิจัยด้านการบริหารและจัดการ ซึ่งถือเป็นการวิจัยในมิติของสังคมศาสตร์ คือการนำเอาศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อให้ได้ ผลลัพธ์ที่นำไปสู่การพัฒนาและตอบสนองความต้องการของ สังคมได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเหตุให้คณะมีนโยบายส่งเสริม การทำวิจัยอย่างเข้มข้น เช่น การสนับสนุนคณาจารย์ให้มีโอกาส พัฒนาตนเอง การสนับสนุนทุนวิจัย ซึ่งจัดแบ่งเงื่อนไขเป็นกรณีไป กล่าวคือหากเป็นอาจารย์ที่มีประสบการณ์ทำวิจัย คณะมีการสนับสนุนทุนวิจัยที่ค่อนข้างสูง ซึ่งแน่นอนว่าคณะก็คาดหวัง ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงเช่นกัน ส่วนคณาจารย์ใหม่ คณะมีนโยบาย สนับสนุนการวิจัยแบบเป็นขั้นบันไดอย่างเหมาะสม รวมถึงมี อาจารย์พี่เลี้ยงเพื่อช่วยให้คำแนะนำและเพิ่มมุมมองอย่างรอบด้าน นำไปสู่การดำเนินงานวิจัยที่รวดเร็วและราบรื่นได้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยัง ผลักดันให้คณาจารย์ของคณะ ขอรับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก โดยการสนับสนุนของคณะจะเกิดขึ้นในทุกกระบวนการภายใต้ ชื่อ สจล. อย่างเต็มภาคภูมิ รวมถึงมีการบูรณาการร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร และ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้แก่ผลงานวิจัย รวมทั้งเพิ่มความหลากหลายให้ครอบคลุม บริบทของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเหล่าน้ี เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งสถาบัน นอกจากนี้ ผศ.ดร.สิงหะ ยังมี แนวทางในการผลักดันเพื่อนำเอางานวิจัยที่เกิดขึ้นเหล่านี้ไปสู่ ระดับสากล (World Ranking) ตามนโยบายของสถาบันและ คณะอีกด้วย
ขณะนี้สถาบันมีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก หมายความว่าคนทั่วโลกต้องมองเห็นผลงานของเรามากยิ่งขึ้น แนวทางในการสนับสนุนของคณะ คือการจัดหาเวทีที่เหมาะสม เพื่อใช้เผยแพร่ผลงานวิชาการของทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเผยแพร่จะเกิดขึ้นในสองมิติ คือ การได้มี โอกาสนำเสนอและเผยแพร่ผลงานเหล่านั้นให้แก่บุคคลภายนอก ได้รับทราบ นำมาซึ่งการได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากมุมมองของ ผู้อื่น เพื่อให้นักวิจัยได้นำคำแนะนำเหล่านั้นไปปรับปรุงพัฒนา แก้ไขให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น แน่นอน ว่าการดำเนินการเช่นนี้ จะเสมือนเป็นการสร้างผลงานวิจัยขึ้นมา อีกหนึ่งชิ้น ซึ่งสามารถนำไปเผยแพร่ได้ต่อไปอีกด้วย นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดกระบวนการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งส่วนการพัฒนางานวิจัย และการจัดการเรียนการสอนตามมาได้อีกด้วย
“อีกแนวทางหนึ่ง คือการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารซึ่ง อยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เมื่อผู้อ่าน ได้พบเห็นผลงานวิจัย จะทราบว่าเราเป็นใคร พัฒนาผลงานวิจัย ในรูปแบบใดบ้าง รวมถึงหากเป็นลักษณะงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกัน ผู้อ่านสามารถนำไปอ้างอิงหรือพัฒนาต่อยอดได้ การดำเนินงาน เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน เปิดโอกาส ให้คนทั่วโลกพูดถึงคณะ (FAM) และสถาบัน (KMITL) ของเรา มากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกได้ การดำเนินงานลักษณะนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนตาม นโยบายของท่านคณบดี คือ FAM to FAMOUS ที่ต้องการนำผลงานวิจัยไปใช้สร้างประโยชน์หรือสร้างชิ้นงานใหม่ให้แก่ธุรกิจได (Innovation and Licensing) ไม่เป็นเพียง Invention Ideas ยิ่งกว่านั้น หากนำกระบวนการวิจัยและผลงานวิจัยประยุกต์เข้ากับการ ดำเนินงานในภาคธุรกิจแล้ว จะยิ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ รวมถึงสามารถยกระดับและพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืนต่อไป”
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล
ในฐานะ รองคณบดี ฝ่ายบริหารวิชาการและต่างประเทศ ผศ.ดร.สุทธิ สูอำพัน คือ ผู้ที่มาให้คำอธิบายเรื่องการใช้เครือข่าย ต่างประเทศที่คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มีอยู่เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ให้กับคณะนี้
ผศ.ดร.สุทธิ เล่าถึงกิจการวิเทศสัมพันธ์ ของคณะว่าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ ขาเข้า (Inbound) และขาออก (Outbound) โดยวิวัฒนาการของกิจกรรมด้านนี้ในยุคแรก จะเริ่มจากขาออก คือการเตรียมนักศึกษา ให้พร้อมสำหรับการไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ด้วยการเสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับ นักศึกษา และเริ่มส่งนักศึกษาไปแลกเปลี่ยน เยี่ยมเยียนสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ที่คณะมีสายสัมพันธ์อยู่ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ก็ยังคงมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
แต่ความท้าทายของ FAM คือการทำให้ขาเข้าเพิ่มปริมาณขึ้น จะทำอย่างไรให้นักศึกษาจากต่างประเทศเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น จะทำอย่างไรให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันมากขึ้น เหล่านี้ คือโจทย์สำคัญสำหรับงานนี้ เพราะการมีนักศึกษาและ อาจารย์จากต่างประเทศเข้ามาจะช่วยให้นักศึกษาไทยได้มี โอกาสฝึกฝนความเป็นเจ้าบ้านที่ดี นอกเหนือจากเรื่องความรู้ และทักษะทางด้านวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น ของคนที่มาจากต่างวัฒนธรรมกัน
ผศ.ดร.สุทธิ มองว่าเป้าหมายของงานนี้ไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่ยังต้องการความหลากหลายของเชื้อชาติที่จะเข้ามา จากเดิม ที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนของคณะจะมาจากยุโรปและญี่ปุ่นที่ ส่วนใหญ่เข้ามาเรียนครั้งละ 1 เทอม ก็อยากจะเพิ่มสัดส่วน ของนักศึกษาจากประเทศในอาเซียนที่อาจจะเลือกมาเรียนที่ FAM ตลอดทั้งหลักสูตร 4 ปีให้มีจำนวนมากขึ้น
ที่ผ่านมาเริ่มมีคณะจากต่างประเทศที่เข้ามาเยี่ยม FAM อยู่เป็นระยะ เป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน รองคณบดีฝ่ายบริหารวิชาการและต่างประเทศเล่าตัวอย่างว่า มหาวิทยาลัยเทมาเสกโพลิเทคนิคของสิงคโปร์ มาเยี่ยมคณะเมื่อ เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยเป็นคณะนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 30 คน พร้อมอาจารย์ 3 คน ที่ขอมาเรียนบทเรียน ในประเทศไทย เพื่อเปิดโลกทัศน์และมองหาโอกาสใหม่ๆ
“ผมจัดเป็นเลคเชอร์ชื่อว่า “Technological Development and Thailand 4.0” บอกว่า เทคโนโลยีคือส่วนของคุณ คุณเก่งอยู่แล้ว แต่ไทยแลนด์ 4.0 คือ เทคโนโลยีของคุณแต่โอกาสของเรา สรุปงานเลคเชอร์ครั้งนั้นเราชี้ให้เห็นว่า เราเป็นประเทศที่มิกซ์ทุกอย่าง 1.0 2.0 เราก็มีเรามีหมดเลย แต่ส่วนที่เราอยากเติมและเป็นโอกาสให้เขาคือ ส่วนของ 4.0 สุดท้ายผมก็บอกเขาว่าให้กลับไปทำการบ้านว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นในไทยแลนด์ 4.0 จะมีอะไรบ้าง และโอกาสที่เขาสามารถเข้ามามีบทบาทคืออะไรบ้าง ให้ไปสรุปกับอาจารย์ของเขา”
ตามตารางที่เตรียมไว้ยังมีมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ อีกหลายแห่งที่ขอเข้ามาเยี่ยมชมคณะการบริหารและจัดการ ทั้งเพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีบางส่วนก็กำลังมองหาสถานที่ สำหรับเรียนต่อ อาทิ จากประเทศจีน เมียนมา ซึ่งจะมีส่วนช่วย ให้ขาเข้าด้านความรู้ของ FAM มีความคึกคักมากขึ้น
อีกทางหนึ่ง ในระดับผู้สอนอาจารย์จากต่างประเทศก็มี เข้ามาที่คณะทั้งเพื่อทำงานวิจัยและมาร่วมบรรยาย อีกทั้ง สจล. ยังมีกองทุน Academic Melting Pot ซึ่งเป็นทุนที่ให้กับอาจารย์ จากภายนอกให้เข้ามาหลอมรวมกับอาจารย์ภายในสถาบันก็จะ มีส่วนช่วยทำให้งานด้านนี้พัฒนาได้เร็วขึ้น
งานสำคัญอีกงานหนึ่งที่จะช่วยให้งานด้านต่างประเทศ เดินหน้า คือการนำคณะเข้าสู่การจัดอันดับ โดย ผศ.ดร.สุทธิ มองว่าหากได้รับการจัดอันดับที่น่าเชื่อถือก็จะช่วยเพิ่มการรับรู้ ในระดับนานาชาติให้กับ FAM โดยได้เลือกจะเข้าร่วมการ จัดอันดับของ Eduniversal ที่รวบรวมโรงเรียนธุรกิจที่มีมาตรฐาน ทั่วโลกกว่า 154 ประเทศ มาจัดอันดับ 1-1,000
ในนั้นยังมีการแบ่งใครคือ Top 200 Top 400 Top 600 Top 800 จนถึง Top1,000 ก็เป็นความตั้งใจให้เรามีชื่อในนั้น ถ้าเราทำได้ ผมคิดว่าจะเป็นการสร้างที่ยืนให้เรา จากผลงานในอดีตหรือศักยภาพนอนาคต เพียงพอที่จะบอกว่าเราคือใคร
อีกภารกิจด้านต่างประเทศที่สำคัญ คือการจัดการประชุม วิชาการนานาชาติ เพื่อสร้างความคึกคักให้กับงานวิชาการ ของคณะ จากเดิมที่สถานที่คับแคบไม่เหมาะกับการจัดงานใหญ่ เช่นนี้ เมื่อคณะกำลังจะมีตึกใหม่ ที่มีห้องประชุมและสถานที่ และบรรยากาศที่เหมาะกับการจัดการประชุมสัมมนาก็จะทำให้ การจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการทำได้สะดวกมากขึ้น
ผศ.ดร.สุทธิ บอกว่าจะทำให้ FAM เป็นแหล่งรวมทาง ปัญญาในระดับนานาชาติ ที่ไม่ใช่แค่มีนักศึกษามาเรียน แต่เป็น Knowledge Think Tank เป็นการ Inbound Knowledge และ จะต่อยอดไปถึงการที่สจล. มีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับ EEC ก็จะทำให้กลายเป็น Thailand 4.0 Business School ที่ผู้ที่มา ร่วมกิจกรรมสามารถใช้เวลาไม่นานก็เดินทางไปดูงานที่ EEC ต่อได้
เป้าหมายของงานด้านต่างประเทศที่วางแผนไว้ทั้งหมด ก็เพื่อยกระดับ FAM ให้ก้าวสู่ความเป็นสถาบันระดับนานาชาติ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านบริหารจัดการและมีความ เข้าใจในเทคโนโลยี ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้ ให้เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศไทยและโลกได้
สอนให้รู้ว่าโลกเปลี่ยน
ทางด้านวิชาการในยุค Disruptive สิ่งที่เราเห็นกันอยู่คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในรูปแบบการใช้ชีวิต สินค้า และบริการต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยผลพวงจากเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ FAM เตรียมไว้รองรับ โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือการสอนให้ผู้เรียนรู้ว่าโลก กำลังเปลี่ยน เป็นหลักในการออกแบบหลักสูตรที่ ผศ.ดร.สุทธิ อธิบาย
เขายกตัวอย่างวิชา Fundamental of Managing Technology ซึ่งเป็นวิชาในหลักสูตรนานาชาติว่า หากดูตาม ตำราเรียนก็จะพบว่าเป็นวิชาสำหรับนักศึกษาปริญญาโทแต่ก็มี การนำมาย่อยเพื่อใช้เรียนและสอนในระดับปริญญาตรี “เราใส่ วิชานี้ลงในปี 1 เทอม 1 วิชานี้ทำให้เขาได้คุ้นเคยและ ได้เห็นภาพ เท่าทัน และพร้อมจะเห็นว่า Disruptive World จะไปในทิศทางไหน ถ้าเราไม่มีกลุ่มวิชาตรงนี้ คำนี้ก็จะเป็นเหมือนคำเท่ๆ ที่พูดไปอย่างนั้นแต่ไม่รู้ว่า คืออะไร แต่การเรียนที่นี่ ทำให้เขาเห็น วิชาอย่างนี้ เป็นเสมือนการสร้างความรู้สึกร่วม ว่าโลกเปลี่ยน ทำให้มุมมองผู้เรียนเปลี่ยน”
โดยภายในวิชาจะให้นักศึกษาได้ค้นคว้าเรียนรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นหุ่นยนต์ ยานยนต์ไร้คนขับ ปัญญาประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นแล้ว และมองเห็นว่าจะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ ได้อย่างไร
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและต่างประเทศอธิบายต่อว่า ในฐานะนักบริหารเราเรียนเพื่อให้กล้าใช้ จะใช้งานได้อย่างไร เห็น AI เป็นเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า ก็พัฒนาสิ่งเหล่านั้นมาใช้บรรยากาศการเรียนเรื่อง AI ในคลาสจะไม่ได้ตื่นเต้นว่าผมจะไม่มีงานทำ จะเป็นแบบว่า ผมจะเป็นนาย AI มากกว่า และเราก็ไม่ได้กลัว หุ่นยนต์หรืออะไร มองเหมือนเป็นลูกจ้างคนหนึ่ง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นนี้ถูกสอดแทรกเข้าไป ในแก่นแกนของหลักสูตรของคณะ รวมถึงวิชาเลือกที่เกี่ยวข้อง กับทางอุตสาหกรรม เช่น วิชา Industrial Design วิชา Industrial Production System เป็นต้น ประกอบกับการที่คณะอยู่ใน สจล. ซึ่งมีความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอยู่แล้ว ทำให้ผู้เรียนของ FAM มีเพื่อนฝูงต่างคณะที่สามารถร่วมทำ กิจกรรมด้วยกัน ผสมผสานระหว่างความเป็นนักบริหารกับ นักวิทยาศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง
ซึ่งคำว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ได้หมายถึงแค่อะไรที่เป็นดิจิทัล เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยีที่เกิดจากการวิจัยและพัฒนา เช่น ในการเรียนการสอนอาจจะมีการตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไร ให้เครื่องสำอางไทยมีจุดเด่นในระดับโลกได้ ซึ่งที่สุดผู้เรียนก็ต้อง ย้อนกลับไปที่การวิจัย เพื่อหาจุดเด่นที่จะมาทำผลิตภัณฑ์นั้น
ผศ.ดร.สุทธิ ปิดท้ายว่า ด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทำให้ จากนี้ไปเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องในห้องแล็ปหรือโรงงานอีกแล้ว โรงเรียนธุรกิจในสถาบันเทคโนโลยีก็ควรจะเติบโตไปใน ทิศทางนั้น โดยเห็นตัวอย่างได้จากโรงเรียนธุรกิจชั้นนำ เช่น MIT SLOAN ที่อยู่ในสถาบัน MIT ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การที่ FAM อยู่ใน สจล.ที่มี ความโดดเด่นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นกัน จึงมี สภาพแวดล้อมที่จะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ (ที่ 4 จากขวา) ประธานกรรมการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) พร้อมด้วยกรรมการธนาคารและผู้บริหาร EXIM BANK มอบทุนการศึกษา 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่เยาวชนกัมพูชาที่มีฐานะยากจนและสนใจประกอบอาชีพในธุรกิจโรงแรมผ่านมูลนิธิจินตมณี ซึ่งดำเนินการโดยโรงแรมจินตมณี ลูกค้าของ EXIM BANK โดยมีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ (ที่ 4 จากซ้าย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยานกิตติมศักดิ์ และมีนายสุคนธ์ ชาญปรีดา (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการ บริษัท จินตมณี จำกัด และนายแบรด เอกิ้นส์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้อำนวยการมูลนิธิจินตมณี เป็นผู้รับมอบ ณ โรงแรมจินตมณี แช็ค อังกอร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ EXIM BANK ริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนสำคัญร่วมกับพันธมิตรในประเทศเพื่อนบ้าน โดยสอดคล้องกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ EXIM BANK
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือกับ SkillLane บริษัท Online Learning Platform และ Digital Training Platform อันดับหนึ่งของประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในความร่วมมือกันจัดทำหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้และทักษะของยุคดิจิทัล โดยจะเปิดเผยรายชื่ือหลักสูตรและรายละเอียดเพิ่มเติมในเดือนพฤษภาคม
การร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าถึงองค์ความรู้ของโลกยุคใหม่โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาภาคปกติของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น ซึ่งจะเป็นการเรียนออนไลน์ 100% เรียนได้จากทุกที่ และตามเวลาที่สะดวก ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้เพียงอย่างเดียว หรือจะเรียนเพื่อเก็บหน่วยกิตไปจนถึงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้เช่นเดียวกัน โดยผู้เรียนจะสามารถเก็บหน่วยกิตไว้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 8 หรือ 10 ปี
รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในโลกปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธรรมศาสตร์ต้องกล้าที่จะสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการศึกษาไทยไปข้างหน้าท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆ เราเห็นความสำคัญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเผยแพร่ความรู้ของคณาจารย์ธรรมศาสตร์และความเชี่ยวชาญของอาจารย์รับเชิญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่างๆ ไปสู่คนไทยในวงกว้าง
ทางธรรมศาสตร์มองว่าการร่วมมือกับ SkillLane เป็นโอกาสในการส่งเสริมความเท่าเทียมของการเข้าถึงการศึกษาเพราะการเรียนออนไลน์ช่วยลดอุปสรรคต่างๆ ในการเข้าถึงองค์ความรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ สุขภาพ เวลา สถานะ หรือที่อยู่อาศัย”
รองศาสตราจารย์ ดร. ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในการคิดหลักสูตร เราใช้วิธีการคิดแบบ Learner First เริ่มจากการทำความเข้าใจว่ากลุ่มผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้อะไรในการทำงานในยุคปัจจุบัน จากนั้นเราจึงสร้างเนื้อหา และสรรหาอาจารย์ที่เหมาะสมมาร่วมสร้างหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียน วิชาส่วนใหญ่ในหลักสูตรจะเน้นเรื่องที่เป็น Practical Skills กล่าวคือสามารถนำไปประยุกต์ในการทำงาน เน้นความเข้าใจ สามารถนำไปคิดวิเคราะห์ ต่อยอด แทนที่จะเน้นการท่องจำ”
นายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ SkillLane กล่าวว่า “ทีมงาน SkillLane ทุกคนรู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างมาก ที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สร้างแนวทางใหม่ๆ ให้กับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เราเชื่อมั่นว่าหลักสูตรปริญญาโทออนไลน์จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย
จากการสำรวจของ SkillLane เราพบว่า มีคนไทยจำนวนมากที่คิดว่าองค์ความรู้ของการทำงานในยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยที่พวกเขาเรียนในสถาบันการศึกษาเมื่อหลายปีที่แล้ว เขามีความประสงค์ที่จะเรียนต่อเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของตัวเอง แต่ยังเข้าใจว่าการเรียนต่อต้องเรียนเต็มเวลาในเวลาปกติ ซึ่งต้องตัดสินใจว่าจะเรียนหรือทำงาน ทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้ ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ SkillLane เขาเหล่านั้นจะสามารถเรียนทักษะของยุคดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์ตามเวลาที่เขาสะดวก โดยที่สามารถทำงานควบคู่ไปได้”
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย มอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนไทย ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 และมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ด้วยการเปิดรับสมัครนักเรียน เพื่อเข้าศึกษาในระดับ ปวช. และปริญญาตรี สาขาต่างๆ ในสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) และวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (พีเอที) จำนวนกว่า 24,000 ทุน โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครเรียนได้ในงาน “วันแห่งโอกาสดี @ CP ALL” บริเวณชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2562 นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมการจัดสัมมนาเติมความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cpall.co.th/cp-all-opportunity-day/
เอปสัน ประเทศไทย เปิดเกมรุกธุรกิจกระดานใหม่ ชู 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์หลัก อิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ และหุ่นยนต์แขนกล มุ่งสร้าง รายได้เติบโตต่อเนื่องอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี
นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2561 ของบริษัทฯ ว่า “ถึงแม้ตลาดไอทีโดยรวมของประเทศในปีที่ผ่านมาจะมีอัตราการเติบโตถดถอยลงอยู่ที่ -3% แต่ เอปสันยังคงสามารถรักษาระดับการเติบโตทางธุรกิจไว้ได้อยู่ที่ 5% โดยที่กลุ่มผลิตภัณฑ์หลักส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ยังคงทำผลงานได้ดี สามารถสร้างการเติบโตได้ทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณของบริษัทฯ
(31 มีนาคม 2562) ผลิตภัณฑ์โปรเจคเตอร์จะเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 10% ซึ่งมีโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงเป็นกลุ่มที่เติบโตมากที่สุด ขณะที่พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะเติบโตขึ้น 6% โดยที่ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ และอุตสาหกรรมสิ่งทอต่างยังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ส่วนกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์จะขยายตัวขึ้น 5% โดยมาจากพรินเตอร์แท็งค์แท้ หรือ EcoTank เป็นหลัก”
“ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของเอปสันในตลาดประเทศไทยมาจากการที่บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำเสนอความคุ้มค่าในการลงทุนที่ดียิ่งขึ้นต่อลูกค้า รวมถึงมีความต่อเนื่องในการออก ผลิตภัณฑ์ใหม่และทำตลาดเพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ๆ มากขึ้น เช่น การเปิดตัวพรินเตอร์ความเร็วสูงเพื่อรองรับงาน พิมพ์สิ่งทอระดับโรงงานอุตสาหกรรม อย่าง SureColor F9330 หรือเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง ในระดับ 6,000-15,000 ลูเมน ที่เน้นเจาะกลุ่มธุรกิจบันเทิงและการจัดงานอีเวนท์เอาท์ดอร์ รวมทั้งกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูงรุ่น WF-C869R สำหรับเอสเอ็มอีที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์รุ่นล่าสุดของเอปสัน PrecisionCore และระบบ หมึก RIPs (Replaceable Ink Pack) ชุดหมึกที่ถอดเปลี่ยนได้สามารถรองรับการพิมพ์ปริมาณสูงถึง 86,000 แผ่น”
“ส่วนตลาดต่างประเทศที่บริษัทฯ ดูแลอยู่ ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และปากีสถาน มีอัตราการเติบโตโดยรวม 6% โดยมีปัจจัยจากการที่บริษัทฯ ได้ป้อนผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง อาทิ ในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ EcoTank ทั้ง L-Series และ M-Series เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจโซโหและเอสเอ็มอี รวมถึงทำการ ตลาดเชิงรุกมากยิ่งขึ้น เพื่อแย่งมาร์เก็ตแชร์จากเลเซอร์พรินเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้นำโปรเจคเตอร์ความสว่างสูง เข้าไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าในธุรกิจบันเทิงและสถาบันศึกษาที่กำลังขยายตัวอย่างมาก โดยชูจุดเด่นด้านความ ทนทานและคุณภาพที่ดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งทำให้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”
นายยรรยง กล่าวต่อว่า “หลังจากที่สร้างความสำเร็จขึ้นมาจากดอทเมทริกซ์พรินเตอร์เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว จนกลาย เป็นแบรนด์เดียวที่มีมาร์เก็ตแชร์มากกว่า 90% ต่อมาบริษัทฯ ได้นำผลิตภัณฑ์อิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์ 3LCD เข้ามาทำตลาดจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และเมื่อ 9 ปีก่อน บริษัทฯ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้ กับวงการพรินเตอร์ด้วยการเปิดตัวพรินเตอร์แท็งค์แท้รุ่นแรกของโลก ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากจนสามารถ เข้าไปแทนที่อิงค์เจ็ทพรินเตอร์แบบใช้ตลับหมึกและเลเซอร์พรินเตอร์ได้ในหลายตลาด จนทำให้เอปสันได้กลาย เป็นเจ้าตลาดมาจนถึงทุกวันนี้ ในช่วงเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้เปิดตัวโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงหลายรุ่น โดยเน้น จุดขายที่คุณภาพของภาพฉาย ความทนทาน ความประหยัด และฟังก์ชั่นที่ครบครัน พร้อมตอกย้ำความมั่นใจของ ลูกค้าด้วยตำแหน่งโปรเจคเตอร์ที่มียอดขายสูงสุดในโลกติดต่อกันถึง 17 ปีซ้อน ในวันนี้ เอปสัน ประเทศไทยกำลัง ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ของวงจรธุรกิจ หรือ S-Curve ใหม่ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี โดย จะเน้นที่การสร้างตลาดและขยายฐานลูกค้าให้กับ 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์สำคัญของบริษัทฯ ได้แก่ อิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ซึ่งล้วน แต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง มีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว และเป็นที่ต้องการอย่างมากในกลุ่มลูกค้า องค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม”
“ในช่วงแรกของการสร้าง S-Curve ใหม่ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ 5% สำหรับประเทศไทย และ 10% สำหรับ ตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปี 2562 นี้ ยังมีปัจจัยอีกมากที่ต้องจับตา ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ทางการเมืองหลังการ เลือกตั้งในประเทศ หรือปัจจัยภายนอก อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐจีนและเศรษฐกิจโลก สงครามการค้าระหว่าง จีนและสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินเกิดความผันผวน ขณะเดียวกันก็มีปัจจัยที่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจอยู่ ไม่ว่า จะเป็นการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ของรัฐบาล กระแส การเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีด้านการผลิตและการปฏิบัติงานสู่ระบบดิจิทัล รวมไปถึงเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ยังอยู่ในช่วงขาขึ้น นอกจากนี้ ในหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ยังเกิดกระแสความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัทฯ จึงมั่นใจว่าจะสามารถสร้างการเติบโตใน S-Curve ใหม่นี้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อผลักดัน S-Curve ใหม่นี้ไว้ 4 ด้าน ครอบคลุมด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ ช่องทางจัดจำหน่าย และการสื่อสารการตลาด”
สำหรับกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ เอปสัน ประเทศไทยมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์เข้ามาทำ ตลาดมากขึ้น โดยในกลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูง บริษัทฯ จะทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่ครบทั้งไลน์อัพ เพื่อตอบ โจทย์ความต้องการขององค์กรธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่เอสเอ็มอี โซโห ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายที่จะ เข้าไปแทนที่การใช้งานเลเซอร์พรินเตอร์ ซึ่งอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ความเร็วสูงของเอปสันในปัจจุบันถูกพัฒนาให้ก้าว ข้ามเลเซอร์พรินเตอร์ไปแล้ว ทั้งด้านคุณภาพงานพิมพ์ที่ดีเยี่ยม การใช้พลังงานที่น้อยกว่า การดูแลรักษาที่ง่ายและ ประหยัดกว่า ทั้งยังเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับกลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ที่จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่อีกหลายรุ่น ทั้งในกลุ่มโฟโต้ มินิแล็บ อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรืองานพิมพ์ป้ายโฆษณาทั้ง ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำและเติมเต็มความต้องการของตลาดที่ยังมีโอกาสอยู่อีกมาก เช่น เครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมความเร็วสูง ที่สามารถพิมพ์ตรงลงบนผ้าม้วนได้ (Direct to Fabric หรือ DTF) ซึ่งเป็น เครื่องพิมพ์สิ่งทอระบบดิจิทัลที่รองรับการพิมพ์แบบออนดีมานด์ ทั้งยังใช้หมึกพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ผ้าได้หลายชนิด และยังช่วยลดการใช้สารเคมีและของเสียในการผลิตลายผ้าได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับการผลิตลายผ้าแบบเดิม
ในขณะที่กลุ่มเลเซอร์โปรเจคเตอร์ เอปสันยังคงให้ความสำคัญ เพราะต้องการรักษาตลาด และตำแหน่งอันดับหนึ่ง ของตลาดนี้ โดยล่าสุดได้มีการเปิดตัวเลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง 20,000 ลูเมน และเลเซอร์โปรเจคเตอร์ ความละเอียดระดับ 4K สำหรับหุ่นยนต์แขนกล ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำเข้ามาจะมีราคาถูกลงถึง 35% เพื่อรองรับ ตลาดการศึกษาและเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายเล็กสามารถนำหุ่นยนต์แขนกลเข้าไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิต รวมทั้งจะมีการเปิดตัวหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถยกวัตถุหรือชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากขึ้นได้
ด้านกลยุทธ์ในการบริการ นายยรรยง ให้ข้อมูลว่า “การบริการหลังการขายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่แยกจากการ ขายสินค้าไม่ได้ บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนา Service Excellence หรือความเป็นเลิศในการ บริการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความพึงพอใจในระดับสูงและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน พิเศษขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและพัฒนาการให้บริการ พร้อมติดตามผลการทำงานอย่างใกล้ชิด ทั้งยังเพิ่มความรวด เร็วในการให้บริการซ่อมสินค้า โดยตั้งเป้า 90% จะซ่อมเสร็จภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้ ยังมีแผนจะลงทุนขยาย ศูนย์บริการเพิ่มขึ้นจาก 154 แห่ง เป็น 170 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการมากยิ่งขึ้น ทั้งยัง จะเพิ่มจำนวนจุดรับสินค้าหรือดรอปพอยท์ในบางจังหวัดโดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงพัฒนาระบบการ บริหารจัดการและจัดส่งชิ้นส่วนอะไหล่ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น”
“นอกจากนี้ยังมีแผนสำหรับการให้บริการลูกค้าองค์กรที่ซื้อผลิตภัณฑ์ใน 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นอิงค์เจ็ท พรินเตอร์ความเร็วสูง พรินเตอร์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เลเซอร์โปรเจคเตอร์ความสว่างสูง และหุ่นยนต์แขนกล ให้มีบริการดูแลเครื่องถึงสำนักงานของลูกค้าทุกแห่งทั่วประเทศ รวมถึงยังมีทีมงานพิเศษ เพื่อมอนิเตอร์ การทำงานของเครื่องหรือมีเครื่องสำรองให้ใช้งานแทนในกรณีที่เครื่องลูกค้าที่ใช้งานอยู่เกิดปัญหาขึ้น”
“เอปสันยังลงทุนเพิ่มเติมในส่วนระบบการวิเคราะห์ประมวลผล สำหรับงานด้าน CRM ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลและ ความรู้ด้านต่างๆ จากลูกค้ามาช่วยพัฒนาระบบการให้บริการ ตั้งแต่ Call Center การจัดการฐานข้อมูลสินค้าและ การใช้งาน การบริหารศูนย์บริการและทีมงานบริการนอกสถานที่ รวมถึงฐานข้อมูลการรับประกันสินค้า เพื่อสร้าง ประสบการณ์การใช้งานสินค้าและการบริการหลังการขายที่ดีให้กับลูกค้า” นายยรรยง กล่าว
ด้านกลยุทธ์สำหรับช่องทางจำหน่ายสินค้า ในปีนี้เอปสันจะทำการเพิ่มจำนวน Epson Authorized Partner (EAP) สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์และโปรเจคเตอร์เป็น 170 รายทั่วประเทศ กลุ่มพรินเตอร์เชิงพาณิชย์และ อุตสาหกรรมเป็น 13 ราย และกลุ่มหุ่นยนต์แขนกลเป็น 10 ราย ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น และเจาะเข้าตลาดใหม่ๆ ได้
สำหรับกลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาด จะมุ่งเน้นด้านการผสมผสานเครื่องมือการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเดินหน้าทำ Technology Showcase เพื่อแสดงศักยภาพของเทคโนโลยีในกลุ่มต่างๆ ผ่านอีเวนท์ที่สามารถสร้างประสบการณ์พิเศษให้กับ ลูกค้า โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ในภาคธุรกิจและภาครัฐ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เอปสันได้ร่วมกับจังหวัดสุโขทัย ในการจัดแสดงแสงเสียงงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ โดยนำเลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่น EB-L25000U ที่มีความสว่างสูงถึง 25,000 ลูเมน ไปจัดแสดงเทคนิค Projection Mapping
“การสร้าง S-Curve ใหม่ทางธุรกิจในปีนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีของบริษัทฯ เพราะเอปสันมีผลิตภัณฑ์ครบทุกไลน์ และมี จำนวนรุ่นมากเพียงพอที่จะทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเอปสันยังเป็นบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีเอง จึงสามารถ พัฒนาเทคโนโลยีในแต่ละด้านให้ทันสมัย นำหน้าความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ และมีสินค้าใหม่ๆ ป้อนเข้าสู่ ตลาดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 กลุ่มใน S-Curve ใหม่นี้ล้วนแต่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยและได้รับ ความมั่นใจจากลูกค้าในหลากหลายวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอยู่แล้ว เอปสัน ประเทศไทยจึง เชื่อมั่นว่า S-Curve ใหม่นี้จะไม่เพียงแต่จะสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 5 ปีได้ แต่ยังจะทำให้มิติทาง ธุรกิจของเอปสันในประเทศไทยกว้างออกไป และแบรนด์ของเอปสันจะเติบโตมากยิ่งขึ้นด้วย” นายยรรยง ทิ้งท้าย
“We develop people, people develop country.” ดร.สุดาพร สาวม่วง คณบดี คณะการบริหารและจัดการ (FAM) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) กล่าวภายหลังได้รับ รางวัล Thailand Leadership Award 2019 ซึ่งจัดขึ้นโดย World Federal Education
ประโยคนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการ บริหารจัดการการศึกษาเพื่อสร้างคน เพื่อเป็นพลังในการพัฒนาชาติต่อไปของ คณบดีคนใหม่ของ FAM ที่มีผลงานเป็น ที่ประจักษ์ด้านการศึกษาจนได้รับรางวัล ดังกล่าวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ดร.สุดาพรเปิดเผยแนวนโยบายในการบริหารสถาบันในช่วงที่รับตำแหน่งว่า มีนโยบายที่ทำให้จำกันง่ายๆ คือ ‘FAM to FAMOUS’ จากชื่อคณะในภาษาอังกฤษ Faculty of Administration and Management (FAM) ก็จะต่อยอดให้ไปสู่คำว่า Famous ที่แปลว่ามีชื่อเสียง โดยเป็นตัวย่อของนโยบายที่ตั้งเป้าไว้คือ
Family คณะจะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมนำพา สจล. สู่มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการจัดอันดับในระดับอาเซียนและภูมิภาค
Ability การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะฝีมือ ประกอบด้วยนวัตกรรม
Management โดยคณะจะจัดการเรียนการสอนแบบมืออาชีพ เน้นการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและตรงกับ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการการเรียนการสอน การบริหารงาน การตัดสินใจดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
Outstanding คือจะเป็นคณะการบริหารที่ได้รับการจัดอันดับ เป็นลำดับต้นๆ ของประเทศ ของอาเซียน และของโลก
Universal คือการก้าวสู่ความเป็นสากล มีความเป็นนานาชาติ (International Outlook) ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่ หลักสูตร อาจารย์ บุคลากร สิ่งแวดล้อมต่างๆ
หลักสูตรสายพันธุ์ใหม่
การจะทำให้แนวนโยบายให้บรรลุผลสำเร็จได้ ดร.สุดาพร เตรียมใช้ประสบการณ์ ที่เคยทำงานในภาคเอกชนมาก่อนเข้ามาทำงานด้านการศึกษาเพื่อผสมผสานจุดเด่น ของ FAM เพื่อสร้างผลลัพธ์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
คณบดี FAM มองว่า การบริหารงานในยุคปัจจุบันต้องเน้นเรื่อง Disruption เพราะการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เช่นเดียวกันกับ ทางสถาบันก็ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสอดรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยคำนึงถึงคุณภาพของนักศึกษาเป็นหลัก
หากมองการบริหารการศึกษาในแง่ มุมของการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของ สถาบันการศึกษานั่นก็คือหลักสูตร งานวิจัย สิทธิบัตรต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมา ใน ส่วนของหลักสูตรซึ่งเรียกว่า ‘หลักสูตร สายพันธุ์ใหม่’ แบ่งเป็น 5 สายพันธุ์ ประกอบด้วย
Entrepreneurial & Science-based Degree เป็นการผสมผสาน ความโดดเด่นของ สจล. ในด้าน วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับการบริหาร ด้วยหลักสูตรที่เปิดช่องให้นักศึกษา สามารถเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ แล้วมาเรียนต่อ ในคณะบริหารธุรกิจ หรือหลักสูตร 4+1 เพื่อช่วยให้บัณฑิตที่จบไปมีความรู้ทั้ง ด้านการบริหารจัดการและวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยจะเป็นหลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็น อันดับแรก และมีโครงการขยายไปยัง คณะอื่นๆ ต่อไป
Corporate-based Degree เป็นหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับภาค อุตสาหกรรม เช่น การจัดหลักสูตรร่วมกับ ผู้ประกอบการเครือเบทาโกร และไทยเบฟ เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถทำงานได้ทันที มีความรู้ความสามารถ ตรงตามความต้องการของภาค อุตสาหกรรม
Area-based Degree จะเป็นการจัดการศึกษาโดย คำนึงถึงพื้นที่ของผู้เรียน ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและพื้นที่ที่คณะจะ ขยายตัวไป เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน จีน รวมถึงการมีห้องเรียน ที่เชื่อมโยงกับศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ผ่านโครงการห้องเรียน 108 โลกจริง 108 อรหันต์ ที่จะให้ศิษย์เก่า มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดเรื่องราวการทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ให้กับนักศึกษารุ่นน้อง
Global-based Sandwich Degree จะเป็นการ ทำหลักสูตรร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ เช่น MIT, Oxford, King College และ LSE ผ่านรูปแบบการเรียนที่ ประเทศไทยส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ในต่างประเทศ
Training Online Degree ที่มีการวางเป้าหมายไว้ 3 กลุ่ม คือผู้เรียนในหลักสูตรปกติ ที่จะมีการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ออนไลน์ผสมผสานกับการเรียนในห้องเรียน กลุ่มที่สองคือ ผู้ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคธุรกิจที่ต้องการเรียน วิชาต่างๆ และหากต้องการวุฒิก็สามารถนำเครดิตที่ได้มา ลงเทียบกับคณะได้ในอนาคต และกลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ต้องการ มา Upskill และ Reskill (เพิ่มและปรับเปลี่ยนทักษะ) ที่จะเปิดเป็น คอร์สให้กับผู้สนใจทั้งศิษย์เก่าและผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ มาเรียนคอร์สตามที่สนใจ ซึ่งเมื่อเรียนแล้วก็สามารถเทียบโอน รายวิชาได้หากต้องการจะได้วุฒิเพิ่มเติมเช่นกัน
FAM Impact
ดร.สุดาพรระบุว่าภายใต้แผนบริหารงานที่วางไว ต้องการให้ส่งผลกระทบใน 4 ด้านประกอบด้วย
พัฒนาสู่ความเป็นนานาชาติ
แผนงานบริหารจัดการของ ดร.สุดาพร ที่ใช้แนวทาง การตลาดมาปรับใช้กับการบริหารจัดการสถาบันการศึกษา ยังมี ปัจจัยอื่นๆ ที่จะมาช่วยกันเสริมสร้างให้ FAM to FAMOUS โดย ปัจจัยต่อมาคือสถานที่ Place ที่ไม่ได้จำกัดแค่ตัวอาคารแต่ยัง รวมถึงโลกออนไลน์ที่ต้องมีแพลตฟอร์มที่ทันสมัยสามารถนำส่ง ความรู้ให้กับนักศึกษาได้ ขณะเดียวกันก็ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาทปรับปรุงอาคาร 5 ชั้น เพื่อจัดทำห้องเรียนที่ ทันสมัย มีพื้นที่ Co Working Space และสิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ รองรับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
เรื่องต่อมา คือการทำโปรโมชันเพื่อรองรับการแข่งขันใน ระดับโลกของสถาบันการศึกษา ดังนั้นจะเน้นการประชาสัมพันธ์ ในส่วนของนานาชาติเพิ่มขึ้น เพื่อสื่อสารไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งที่อยู่ในและต่างประเทศ ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ การทำ โรดโชว์ จัดทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษที่ทันสมัย รวมถึงการมี ช่องทางในต่างประเทศเพื่อสื่อสารข้อมูลของคณะ
ทางด้านบุคลากร คณาจารย์คือผู้ที่มีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เรียน ดังนั้น FAM จะเน้นการเฟ้นหาอาจารย์ที่มีศักยภาพ มีแนวคิดเข้าใจในเรื่อง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีรูปแบบการสอนที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันจะขยาย จำนวนอาจารย์ต่างชาติ เพื่อมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาในหลักสูตรนานาชาติโดย ตั้งเป้าจะให้อาจารย์ต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักสอนในหลักสูตร 90-100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2562 นี้
ในส่วนของบุคลากรที่ให้การสนับสนุนก็มีการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ โดย จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้ทุกสัปดาห์และหากบุคลากรคนใดสามารถสอบผ่าน IELTS หรือ TOEFL ได้ก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น เป็นการเตรียมบุคลากรรองรับคณาจารย์และ นักศึกษาจากต่างประเทศที่จะมีจำนวนมากขึ้นตามแผนงานที่วางไว้
และปัจจัยที่สำคัญอีกด้าน คือการสร้างเครือข่าย ทั้งภายในสถาบันที่มีทั้งหมด 16 คณะ ซึ่งจะต้องผสมผสานศาสตร์ด้านต่างๆ ผ่านการทำหลักสูตรร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ต้อง มีความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและภาคสังคม ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย โดยจะเชื่อมโยงกับทั้งชุมชน อุตสาหกรรมทุกขนาด ผ่านการบริการทางวิชาการ และ การช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและอุตสาหกรรม
FAM กับการช่วยเหลือชุมชน
ตัวอย่างหนึ่งของการสร้าง เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชุมชน ของ FAM ที่ทำโดย ดร.สุดาพร คือ ชุมชนชาวนาที่ จ.สระบุรี ซึ่งมี ความต้องการจะกลับมาปลูกข้าวพันธุ์ “เจ๊กเชย” ซึ่งเป็นข้าวของ จังหวัดสระบุรีที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือมีไฟเบอร์สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เหมาะกับผู้ที่ไม่ต้องการบริโภคแป้ง จำนวนมาก
“ก็ไปรณรงค์ให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์เจ๊กเชยเกิดขึ้น แล้วก็ให้ความรู้ ในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ข้าว เรื่อง การปลูกข้าว เมื่อได้ผลผลิตออกมา ชาวนาก็บอกว่าจะทำอย่างไรที่จะ แบ่งข้าวไว้ที่บ้านบางส่วนแล้วสีข้าว กินเอง หรือสีขายเชิงพาณิชย์ได้ อาจารย์ช่วยทำเครื่องสีให้หน่อย ได้ไหม ก็จัดงบประมาณโครงการ บริการวิชาการเพื่อสังคมออกมา ส่วนหนึ่งและพัฒนาออกแบบ สรรหาวิศวกรมาประจำโครงการ ทำตามการออกแบบของอาจารย์ และชาวนาที่ต้องการใช้ คือ ต้องการเครื่องสีขนาดเล็ก เคลื่อนที่ที่สามารถทำงานได้คนเดียว เคลื่อนย้ายได้สะดวก เครื่องสีนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ช่อง มีแกลบ ข้าว รำ และมีข้าวท่อน เราพัฒนา จนได้ตามความต้องการของ ชาวนา เป็นต้นแบบและใช้งานได้จริง และเราก็ยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรก็เป็น งานวิจัยที่สามารถต่อยอดจด อนุสิทธิบัตรได้ ผลิตขึ้นมาใช้งาน ได้จริงและสามารถต่อยอดขาย เชิงพาณิชย์ได้”
เมื่อได้ผลผลิตออกมา ทางด้านการตลาด เนื่องจากเป็นข้าว ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจึงมีตลาดที่รองรับอย่างเช่นโรงพยาบาล ในจังหวัดสระบุรี และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่ที่มาหาซื้อ ข้าวชนิดนี้ไปบริโภค
โครงการนี้เป็นตัวอย่างการจัดการทั้งห่วงโซ่อุปทานที่ FAM เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนพัฒนาในเรื่องที่ชุมชนสนใจ และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นทั้งแก่ชุมชนและสถาบันต่อมา
FAM for the next generation to ASEAN and to the world
‘คณะการบริหารและจัดการเพื่อคนรุ่นใหม่ก้าวไกล สู่อาเซียนและโลก’ คือวิสัยทัศน์ของ ดร.สุดาพร โดยมีเป้าหมาย ในการผลิตบัณฑิตผู้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นคือ การมีมุมมอง ความเข้าใจในเรื่องธุรกิจที่ผสมผสานกับเรื่องวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
เพราะใครก็รู้ว่าพระจอมเกล้าลาดกระบังเป็นผู้นำ ด้านเทคโนโลยี ท่านอธิการก็ให้นำมาผสมผสานกับบริหาร จึงต้องผลักดันให้มีหลักสูตร 4+1 กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิศวะต้องมี Mindset เรื่องบริหารธุรกิจเทคโนโลยี
ตัวอย่างที่ ดร.สุดาพร ยกขึ้นมา คือเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่เป็นข่าวทางสื่อต่างๆ ว่าจะมาแย่งงานของมนุษย์ แต่ สำหรับนักศึกษาของ FAM แล้ว “เราสร้างคนให้ประดิษฐ์ AI เราสร้างคนให้ทำงานร่วมกับ AI นี่คืออัตลักษณ์ของ สจล. เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ คือสิ่งที่ สจล. ทำอยู่แล้ว วิธีการประเมินผล และวัดผลในรายวิชาออนไลน์ อาจารย์ก็บอกว่าใช้ระบบ Computer Base AI Base สิ่งเหล่?นี้ก็ต้องคิดมาจากคน คนของเราจะมีความรู้ในการจัดการ AI และยิ่งถ้าเขา จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้มาเรียนต่อยอดบริหารปริญญาโท ปริญญาเอก ก็จะได้อัตลักษณ์นี้ออกไป เพราะรอยวิชาต่างๆ ในหลักสูตรจะสะท้อนให้เราเกิดสติปัญญาที่จะสั่งสม เรื่องเหล่านี้ไปควบคู่กับการบริหาร”
การสร้างคนรุ่นใหม่ให้กับโลกของ FAM จึงต้องเตรียมความ พร้อมในด้านต่างๆ ตามที่คณบดีได้อธิบายมาข้างต้น ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มเติมด้วยการสร้างสมความเป็นนานาชาติให้กับสถาบัน เพิ่มขึ้นด้วยการเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติปี และ 2-3 ครั้ง โดยตั้งใจจะเชิญนักวิชาการจากทั่วโลกมาเพื่อ ยกระดับมาตรฐานความเป็นนานาชาติของคณะ พร้อมกันก็มี แผนจะพัฒนาวารสารวิชาการภาษาอังกฤษขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ
เพื่อยกระดับมาตรฐานงานวิชาการของ คณะ ให้สามารถถูกบรรจุเข้าไปอยู่ใน ฐานข้อมูลทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับ ในระดับโลกได้ ซึ่งจะเป็นเครื่องยืนยัน คุณภาพมาตรฐานของบัณฑิต มหาบัณฑิต และคณาจารย์ของคณะ
แผนงานทั้งหมดจะผลักดันโดย โครงสร้างการบริหารจัดการที่ใช้รูปแบบ เดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ แบ่งการบริหารจัดการเป็น 2 สาย สายหนึ่งคือ สายวิชาการ และอีกทางคือ สายบริหารจัดการ ที่ดูแลเรื่องแผนงาน อาคารสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ
“จะต้องเริ่มจากตรงนี้ก่อน แล้ว ข้อมูลก็จะไปในทิศทางเดียวกัน” ดร.สุดาพรกล่าวและอธิบายต่อว่า “เราต้องจัดกองทัพเราให้ดี อาจารย์ก็ จะคุยแค่สองคนให้นโยบายไป ต่างประเทศเขาทำแบบนี้ถึงไม่มีภาพงาน ช้า ไม่มีความขัดแย้ง และข้อมูลอยู่ เป็นกลุ่มเป็นก้อนกระชับ ก่อนจะทำ แบบนี้ได้ ความคิดอาจารย์ต้องเปลี่ยน แต่ก่อนผู้บริหารอยู่ลอยๆ ทำตามที่ คณบดีบอก แต่ตอนนี้ ท่านต้องทำตัว เหมือนเป็นคณบดีอีกคน เหมือนเรามี คณบดี 3 คน อาจารย์ก็ทำงานในเชิง พัฒนาได้มากขึ้น ไม่ต้องมานั่งคิดเรื่อง ยิบย่อยเป็นลักษณะงานที่มหาวิทยาลัย ชั้นนำเขาทำ คนทำงานมากขึ้นและ ทำงานเป็นทีม ทีมเวิร์กสำคัญมาก ทุกคนคือทีม ไม่ได้เก่งคนเดียว” ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เพื่อเป้าหมายดังที่ ดร.สุดาพร กล่าวในงานรับรางวัล Thailand Leadership Award 2019 ว่า
We develop people, people develop country
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
ภาพ : ฐิติชญาน์ แปลงกูล
ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย คุณสมบูรณ์ พัฒนรัตน์เจริญ ประธานกรรมการ และคุณจิตรา วุฒิศิริศาสตร์ กรรมการผู้จัดการ บ.อะมิตี้ อินชัวร์รันซ์ โบรคเกอร์ มอบรางวัลรถยนต์ Toyota Yaris ATIV มูลค่า 479,000 บาท ให้แก่ คุณเมษยา หมื่นแก้ว ผู้โชคดีที่ซื้อกรมธรรม์รถยนต์ TIP Lady จาก แคมเปญ "TIP Lady แจกโชคลุ้นรถ" จัดโดย บ.อะมิตี้ อินชัวรันส์โบรกเกอร์ นอกจากนี้ ทิพยประกันภัยยังได้เพิ่มบริการเสริมพิเศษสำหรับลูกค้า TIP Lady โดยจัดทีมให้คำปรึกษาด้านกฏหมายในทุกเรื่องแก่ลูกค้าที่ทำประกันภัยรถยนต์ TIP Lady ให้คุณสุภาพสตรีได้อุ่นใจเมื่อต้องการที่ปรึกษาทางกฎหมาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบริการเสริมพิเศษ โดยสามารถติดต่อขอคำปรึกษา ได้ที่สายด่วน 1736 กด 8 สำหรับลูกค้าเดิมก็สามารถใช้บริการเสริมนี้ได้เช่นกัน
ดีแทคเผย 6 ทักษะสำคัญทางดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พร้อมชูนโยบายสนับสนุนความหลากหลายทางเพศในองค์กร สร้างวัฒนธรรมเคารพซึ่งกันและกัน-ออฟฟิศปลอดภัย หนุนความเท่าเทียมทางเพศ เนื่องในวันสตรีสากล 8 มีนาคม