December 22, 2024

บมจ. เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC Asset ผู้นำอสังหาริมทรัพย์คุณภาพชั้นนำ และ มีนวัตกรรม   แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ระดับแถวหน้าของไทย ที่ทำตลาดอสังหาริมทรัพย์มายาวนานเกือบ 20 ปี และมี Brand Identity จุดยืนที่ชัดเจนในการพัฒนาที่อยู่อาศัยคุณภาพมาตรฐานสูง จนทำให้ภาพลักษณ์ความเป็นแบรนด์อสังหาฯ ระดับไฮเอนด์ที่ติดตลาดและอยู่ในใจผู้บริโภคมาถึงทุกวันนี้  โดยล่าสุดเปิดตัวแคมเปญใหม่ล่าสุด #SCisQuality ผ่าน 10 ภาพถ่ายที่บอกเล่าเรื่องราวความใส่ใจและไม่เคยหยุดพัฒนาสินค้า บริการ และนวัตกรรม ตอกย้ำความเป็นองค์กร SC the Evolution ในทศวรรษที่ 3 ภายใต้วิสัยทัศน์ the Evolution  สร้างคุณค่าสู่คนและโลก เพื่อให้ลูกค้ามีคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดี

นางสาวโฉมชฎา กุลดิลก Head of Corporate Brand & Communications หัวหน้าสายงานกลยุทธ์แบรนด์และสื่อสารองค์กร เล่าถึงที่มาของแคมเปญสิ้นปีนี้ ว่า “ปีนี้เป็นปีที่ไม่ง่ายสำหรับทุกคน ทุกธุรกิจ ในช่วงเวลานี้ เราอยากนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดที่เรามี และ ถ้ากำลังคิดจะมอบของขวัญให้ใครสักคนโดยเฉพาะตัวคุณเองและครอบครัว “คุณภาพ” คือ สิ่งหนึ่งที่เป็นของขวัญที่ดีที่สุดที่จะมอบให้กันได้ เพราะ #SCisQuality ไม่ใช่เพียงแค่คำพูด แต่อยู่ใน DNA ของ พนักงาน SC ทุกคน จึงเป็นที่มาของแคมเปญ  #SCisQuality SC Asset ที่บอกเล่าเรื่องราว ผ่าน 10 ภาพถ่ายความใส่ใจในทุกรายละเอียด การพัฒนาสินค้า และ บริการ เพื่อส่งต่อความสุขด้วยคุณภาพที่เป็นดั่งของขวัญให้ลูกค้าทุกคน เพื่อประสบการณ์การอยู่อาศัยที่สบายใจ ปลอดภัย ไร้กังวล”

ทางด้าน นายกิตติพจน์ ศรีจันทรา Group Head of Property Development-Low Rise D ดูแลกลุ่มสายงานพัฒนาทรัพย์สินแนวราบ D กล่าวเสริมว่า  “เราใส่ใจเรื่องคุณภาพตั้งแต่ต้นทาง และ คุณภาพเหล่านี้ต้องสามารถตรวจสอบได้ด้วย ในแอป SC QC มีภาพตั้งแต่เริ่มต้นถมที่ดิน ลงเสาเข็ม มีภาพและคลิปวีดีโอให้ลูกบ้านดูและตรวจเช็กได้ในทุกจุด เพื่อให้เขาได้เห็น ได้รู้ ว่ากว่าจะมาเป็นบ้านที่สมบูรณ์ของเขาเคยผ่านอะไรมาบ้าง และถ้ามีปัญหาอะไรเราก็จริงใจ พร้อมเปิดให้ดูได้ทั้งหมด และ เมื่อเกิดข้อร้องเรียน สิ่งแรก คือเราต้องเข้าไปจัดการให้เร็วภายใน 3-4 ชั่วโมง อันนี้เป็นกฎของเรา

นอกจากนี้ เรายังนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในบ้าน มาจากวิสัยทัศน์ของคุณพงศ์- ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ CEO ของเรา  ที่ต้องการให้คนอยู่บ้านด้วยความสบายใจไม่ต้องมีเรื่องกังวลเรื่องบ้าน โดยมีผู้ช่วยในการดูแลบ้านของพวกเขาให้ แล้วเทคโนโลยีในวันนี้ ก็คือมือที่มองไม่เห็นที่ช่วยดูแลบ้านให้พวกเรา คือ Solution ที่ทำให้คุณภาพชีวิตของลูกบ้านดีขึ้น เราเลยมั่นใจว่า SC นอกจากจะเป็นผู้นำด้านคุณภาพแล้ว เรายังเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่อยู่อาศัยด้วย”

โดยมาตรฐานที่ SC Asset ยึดมั่น มาตลอดการพัฒนาสินค้า และ บริการ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่

ด้านที่ 1 มาตรฐานบริการหลังการขาย ที่ช่วยลูกค้าเรื่อง Worry-Free ทั้งด้านซ่อมแซมบ้าน และดูแลชีวิตการอยู่อาศัยที่ดี ภายใต้ ‘Sunflower Mindset’ ที่พร้อมมอบความจริงใจ เต็มใจในการช่วยเหลือลูกค้า

ที่มาพร้อม RueJai App ที่ลูกค้าสามารถแจ้งซ่อมได้สะดวกรวดเร็ว สามารถติดตามผลได้ และได้รับแก้ไขได้อย่างไร้กังวล รวมถึงลูกบ้านยังได้รับบริการมาตรฐานสูงขึ้นในทุกครั้ง ด้วยการจัดเก็บข้อมูลในระบบ และ VOC ที่มุ่งพัฒนาการบริการ และคุณภาพการซ่อมอยู่เสมอ พร้อมอยู่ข้างๆ ไม่ทิ้งกันในทุกเรื่องบ้าน

ด้านที่ 2 มาตรฐานการก่อสร้าง  ให้ความสำคัญกับคุณภาพงานก่อสร้าง ชูจุดแข็งมาตรฐานงานก่อสร้าง 1st Pass Quality ปลูกฝังให้พนักงานเข้มข้นในการทำงานและตรวจสอบงาน เพื่อเป้าหมายในการตรวจบ้านที่ผ่านได้ตั้งแต่ครั้งแรก พร้อมเก็บข้อมูลงานก่อสร้างแบบละเอียดผ่าน SC QC App

พร้อมยกระดับคุณภาพงานก่อสร้างด้วยหลัก 4M ที่ดำเนินงานบ้านทุกโครงการ ให้ลูกบ้านทุกหลังบนมาตรฐานเดียวกัน ได้แก่  Man การอบรม จัดทำคู่มือให้ความรู้ด้านการก่อสร้างแก่ผู้รับเหมา, ช่างที่ลงมือทำงานจริง ให้มีความรู้และเข้าใจการก่อสร้างที่ตรงตามมาตรฐานของ SC Asset, Method กระบวนการทำงานให้ผ่าน QC การพัฒนาความรู้ การอบรม เรียนรู้จากประสบการณ์งานซ่อม จากฟีดแบคลูกค้า เพื่อปรับปรุงคุณภาพงานก่อสร้างให้ดียิ่งขึ้น, Material เลือกใช้วัสดุก่อสร้างคุณภาพจากผู้ผลิตชั้นนำ ได้รับมาตรฐานมอก. โดยเป็นมาตรฐานให้กับบ้านทุกโครงการ และ Measurement รักษามาตรฐานการก่อสร้าง และการจัดการที่มีประสิทธิภาพบนแอปพลิเคชั่น SC QC App เพื่อเก็บข้อมูล และนำไปพัฒนาคุณภาพต่อไป

ด้านที่ 3 คุณภาพการอยู่อาศัยที่ดีด้วยนวัตกรรม เพื่อให้การอยู่บ้านเป็นช่วงเวลาที่ได้พักผ่อน ผ่อนคลาย และได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในการอยู่อาศัย  ซึ่งนวัตกรรมที่ SC ให้ความสำคัญมีตั้งแต่ในเรื่องที่เป็น Top 3 ในความกังวลของลูกบ้านในปัจจุบัน ก็คือเรื่องของอากาศบริสุทธ์ ด้วย Active Air Solution บ้านฟอกอากาศ ที่ดีไซน์ติดกับตัวบ้าน เปลี่ยนอากาศไม่ดีเป็นอากาศดี เข้าสู่ตัวบ้าน, Solar Loop ที่ให้บ้านทุกหลัง, Home OS ที่พัฒนาด้วยทีม SC เองเพื่อให้ลูกค้าสะดวกในการควบคุมทุกอย่างได้ในแอพเดียว และ Security ที่ยกระดับความปลอดภัยให้ลูกค้า ด้วย smart Gate/ CCTV หรือล่าสุดด้วยการใช้ AI มาดูกล้อง เพื่อเพิ่มความแม่นยำ

ด้วยมาตรฐานและคุณภาพทั้ง 3 ด้านนี้จึงตอกย้ำ #SCisQuality ที่ยืนหนึ่งเป็นผู้นำด้านคุณภาพของสินค้าและบริการอย่างแท้จริง

“คริสตัล” ผู้นำตลาดน้ำดื่มด้วยยอดขายอันดับ 1 ของไทย เดินหน้าขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดการทรัพยากรในกระบวนการผลิต ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคตระหนักใส่ใจในการบริโภค ด้วยการนำเสนอบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดขยะบรรจุภัณฑ์หลุดลงสู่ธรรมชาติ ล่าสุด พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยฝาติดขวด ภายใต้คอนเซปต์ “ฝารักขวดของคนรักษ์โลก” หรือ Tethered Caps ด้วยการออกแบบฝาขวดให้ติดกับปากขวด เพื่อลดโอกาสในการที่ฝาจะหลุดลงสู่ท้องทะเล ช่วยให้ท้องทะเลยังคงสวยงามและอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในท้องทะเล

      

นางสาวสุภรณ์ เด่นไพศาล ผู้อำนวยการสำนักการตลาด สายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ประเทศไทย บริษัท ไทยดริ้งค์ จำกัด กล่าวว่า “แคมเปญฝารักขวดของคนรักษ์โลก (Tethered Cap) เป็นแคมเปญต่อเนื่องจาก คริสตัล...เชื่อมคุณสู่ความผ่อนคลายบนพื้นที่สีฟ้า ชวนให้คนไทยมาร่วม  “เซฟพื้นที่สีฟ้า Crystal Save Blue Space” ซึ่งภายในพื้นที่สีฟ้านี้ ยังมีสิ่งมีชีวิตมากมายนานาชีวิตที่อาศัยอยู่ แต่เรากลับพบว่าขยะพลาสติกในท้องทะเลเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของสัตว์ทะเล โดยฝาเครื่องดื่มเป็นหนึ่งในรายการขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่พบมากบนชายหาด และปัจจุบันมีปริมาณการใช้ฝาขวดพลาสติกจากทั่วโลกจำนวนกว่า 1.3 แสนล้านฝาต่อปี จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาพื้นที่สีฟ้าร่วมกัน ผ่านการดื่มน้ำดื่มคริสตัล ที่ได้มีการปรับดีไซน์ฝาขวดใหม่ให้ติดกับปากขวด เพื่อช่วยลดโอกาสการหลุดลงสู่ท้องทะเลและลดปริมาณขยะฝาขวดที่มักถูกทิ้งกระจัดกระจายตามที่ต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยลดการทิ้งขยะแยกชิ้น เมื่อเปิดขวด ฝากับขวดยังอยู่ด้วยกัน ง่ายต่อการเก็บรวบรวมขวดหลังดื่มเสร็จ และนำกลับมารีไซเคิล นอกจากนี้ ฝาติดกับขวดยังสะดวกต่อผู้บริโภคเนื่องจากฝาขวดสามารถเปิดและปิดซ้ำได้หลายครั้ง และไม่ต้องแยกถือฝาขวด ไม่หล่นหาย สะดวกต่อการพกพาและดื่ม โดยนวัตกรรมนี้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งขวดน้ำพลาสติกและฝาขวดที่กระจายอยู่ในธรรมชาติ และยังเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายและมาตรฐานสากลที่กำหนดให้ขวดน้ำพลาสติกต้องมีฝาขวดที่ยึดติดกับขวดอีกด้วย”

 

คริสตัล ยังคงมุ่งมั่นใส่ใจในผู้บริโภค มุ่งพัฒนาทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความยั่งยืน

สามารถติดตามกิจกรรมและรายละเอียดเพิ่มได้ที่ Facebook : Crystal Drinking Water

KBank Private Banking และ Lombard Odier ร่วมฉลองความสำเร็จครบรอบ 10 ปีการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่ได้ลงนามร่วมกันตั้งแต่ปี 2557 โดยความร่วมมืออันแข็งแกร่งนี้ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญในการยกระดับบริการบริหารความมั่งคั่งที่ครบวงจรในระดับสากลให้แก่ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงในประเทศไทย  ภายใต้พันธกิจ “ส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบ และอนาคตที่สมบูรณ์แบบ” (Perfect Wealth, Perfect Future) ที่ยึดมั่นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer-Centricity) เพื่อมุ่งสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนผ่าน กลยุทธ์โซลูชัน 4 เสาหลัก ประกอบด้วย การจัดสรรพอร์ตการลงทุนด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง (Risk-based Asset Allocation), การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investments), การลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Investment) และการบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Service) ด้วยการผสมผสานความเชี่ยวชาญระดับโลกของ Lombard Odier กับความรู้เชิงลึกภายในประเทศของ KBank Private Banking การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจนี้ได้สร้างการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญให้กับบริการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทย ซึ่งจะยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาบริการและนำเสนอนวัตกรรมเพื่อที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคตให้ครอบคลุมทุกมิติอย่างยั่งยืนต่อไป

10 ปีแห่งความร่วมมือของ KBank Private Banking และ Lombard Odier ได้ยกระดับการบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทยอย่างครบวงจร ผ่านกลยุทธ์โซลูชัน 4 เสาหลัก ได้แก่

  • การจัดสรรพอร์ตการลงทุนด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง (Risk-Based Asset Allocation): KBank Private Banking สร้างรากฐานที่แข็งแกร่งด้านโซลูชันการลงทุนผ่านการเปิดตัวกองทุนแบบ Risk-Based Asset Allocation ครบวงจรรายแรกของประเทศไทยในปี 2558 ซึ่งพัฒนาร่วมกับ Lombard Odier และ KAsset กองทุนนี้ให้ความสำคัญกับการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภททั่วโลก และให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง ความสำเร็จของกองทุนนี้สะท้อนยอดขายที่ทะลุ 30,000 ล้านบาทในปี 2561 ควบคู่กับผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ KBank Private Banking ยังพัฒนากลยุทธ์ Risk-Based Asset Allocation อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปิดตัวกองทุน K-ALLROAD Series ในปี 2564 ซึ่งออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับนักลงทุนไทย ท่ามกลางความผันผวนของตลาดโลก ปัจจุบันกองทุน K-ALLROAD Series ซึ่งประกอบด้วย 3 กองทุน สามารถสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี ให้กับนักลงทุนได้ ตั้งแต่ 7-13%*
  • การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment): KBank Private Banking ได้ต่อยอดความสำเร็จที่ผ่านมาด้วยการเปิดตัวกองทุนหุ้นนอกตลาดกองทุนแรกของประเทศไทยในปี 2562 ถือเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนไทยสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกระดับโลก เสริมความหลากหลายในการลงทุน และเพิ่มความยืดหยุ่นของพอร์ตการลงทุนได้มากขึ้น ปัจจุบันมีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการที่ลงทุนในกองทุนสินทรัพย์ทางเลือกรวม 1 หมื่นล้านบาท
  • การลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Investment): KBank Private Banking เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดการลงทุน กฎระเบียบ และพฤติกรรมของนักลงทุนที่มุ่งเน้นการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตในระยะยาว KBank Private Banking จึงได้เปิดตัวกองทุน K-CLIMATE ในปี 2563 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น K-PLANET) ซึ่งเป็นกองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ควบคู่กับการสร้างโอกาสการลงทุนอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยพัฒนาร่วมกับ Lombard Odier และ KAsset นอกจากนี้ ความสำเร็จจากการร่วมมือเชิงกลยุทธ์ในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ได้นำไปสู่การจัดตั้งพันธมิตรด้านความยั่งยืน (Sustainability Alliance) ระหว่าง Lombard Odier และ KAsset เพื่อพัฒนากลยุทธ์และบริการด้านการลงทุนที่ยั่งยืนสำหรับตลาดการลงทุนในประเทศไทย ในปี 2566 นอกจากนี้ KBank Private Banking ยังได้จัดงาน “Rethink Sustainability: A Call to Action for Thailand” เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญและความเป็นผู้นำของการลงทุนอย่างยั่งยืน ปัจจุบันกองทุน K-PLANET มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการรวม 43 พันล้านบาท โดยเป็นเงินลงทุนของลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงกว่า 1.18 พันล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 80% ของเงินลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการลงทุนที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและสร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้อย่างแท้จริง
  • การบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว (Family Wealth Planning Services): KBank Private Banking ดำเนินความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Lombard Odier เปิดตัวบริการวางแผนความมั่งคั่งครอบครัวในปี 2559 ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกในประเทศไทยที่ให้การบริการนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางบริหารความมั่งคั่งแบบองค์รวม ซึ่งผสมผสานความเข้าใจเชิงลึกของ KBank Private Banking ต่อความต้องการของลูกค้าชาวไทย กับความเชี่ยวชาญระดับโลกของ Lombard Odier เพื่อมุ่งส่งต่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบันให้บริการบริหารทรัพย์สินครอบครัวครอบคลุมกว่า 1,600 ครอบครัว

นาย อดิศร เสริมชัยวงศ์, Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “ความร่วมมืออันแน่นแฟ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่าง KBank Private Banking และ Lombard Odier สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอบริการบริหารทรัพย์สินที่ครบวงจรระดับสากลในประเทศไทย ภายใต้แนวทางที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และการนำเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สามารถส่งมอบบริการและโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ารายบุคคลได้อย่างแท้จริง เรามุ่งหวังที่จะส่งมอบความมั่งคั่งที่สมบูรณ์แบบ ทั้งการสร้างการเติบโต การเก็บรักษา และส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น ให้เป็นไปดังที่ลูกค้ามอบความไว้วางใจให้กับเรา และเราจะยังคงร่วมมือกับ Lombard Odier อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างอนาคตกับผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับลูกค้าให้ดีที่สุดต่อไป”

มร.วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner, Asia Regional Head and Global Head of Strategic Alliances, Lombard Odier กล่าวว่า “Lombard Odier มุ่งเน้นการช่วยลูกค้ารักษาและบริหารความมั่งคั่งให้เติบโตในระยะยาว ในภูมิภาคเอเชีย เราเล็งเห็นถึงอนาคตการเติบโตของธุรกิจไพรเวทแบงก์กิ้ง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเราเชื่อมั่นว่าการผสานความแข็งแกร่งของ Lombard Odier และ KBank Private Banking จะช่วยส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้าของเราเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงโซลูชันการลงทุนระดับโลกผ่านแนวทางความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจนี้”

10 ปีแห่งความสำเร็จ สู่การเดินหน้าร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ความมั่งคั่งในภูมิภาคเอเชีย Lombard Odier และ KBank Private Banking ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาโซลูชันการเงินแก่ลูกค้า ผ่านการผสานมุมมองระดับโลกเข้ากับความเชี่ยวชาญในประเทศไทยของ KBank Private Banking เพื่อส่งมอบบริการบริหารความมั่งคั่งที่ล้ำสมัยและสร้างคุณค่าแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) ประกาศความสำเร็จการพัฒนาช่องทางฝ่ายขาย ภายใต้กลยุทธ์ Agency RIGHT 2024 พาทีมพิชิตรางวัลคุณวุฒิ MDRT ได้ตามเป้าหมาย พร้อมสร้างสถิติปั้นตัวแทนจำหน่ายใหม่สูงสุดในรอบ 3 ปี เตรียมเดินหน้าตามแผน ขยายโครงสร้างองค์กรฝ่ายขายเพื่อพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ให้ก้าวสู่การเป็นนักวางแผนการเงินมืออาชีพ ตั้งเป้าภายในปี 2027 ต้องมีตัวแทนจำหน่ายเพิ่มขึ้น 70%

 

นายสมศักดิ์ อรรถเสรีพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านตัวแทน (Chief Agency Officer - CAO)  บริษัท เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ตามที่ได้มีการปรับใช้กลยุทธ์ Agency RIGHT 2024  เพื่อมุ่งส่งเสริมและผลักดันตัวแทนจำหน่ายสู่ความสำเร็จ ด้วยแนวคิดสำคัญคือ Right – Recruitment การสรรหาตัวแทนใหม่ที่ถูกต้อง Right – Infrastructure การวางระบบหลังบ้านที่แข็งแกร่ง Right Growing Together การเติบโตไปพร้อมกันในทิศทางที่ถูกต้อง Right – Habit การวางแผนกิจกรรมและการทำงานอย่างมีระบบ  และ Right Training Platform  การจัดระบบหลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อเสริมศักยภาพตัวแทนให้มีความแข็งแกร่ง

ส่งผลให้ในปี 2024 เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) ประสบความสำเร็จในด้านการพัฒนาและสร้างตัวแทนจำหน่าย  โดยมีผลงานที่โดดเด่น ได้แก่ การปรับโครงสร้างผลประโยชน์ฝ่ายขาย (Compensation) ที่สามารถสร้างทีมงานให้เติบโตได้อย่างมั่นคงและมั่งคั่ง การสนับสนุนการสร้างตัวแทนมืออาชีพ (Professional Agent) ด้วยคุณวุฒิสโมสรล้านเหรียญโต๊ะกลม หรือ Million Dollar Round Table (MDRT) ซึ่งเป็นมาตรฐานความสำเร็จของตัวแทนจำหน่ายมืออาชีพระดับโลก การเปิดตัวนวัตกรรมแบบประกันใหม่ (GEN First Protect) เพื่อส่งเสริมให้คนไทยเริ่มต้นสร้างหลักประกัน ความคุ้มครองสุขภาพ รวมถึงโรคมะเร็งได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างการทำงานอย่างเป็นระบบ (Systematic Activity Management) และ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดตลอดทั้งปี  เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับตัวแทนจำหน่าย เช่น กิจกรรม Mini-Convention ที่ประเทศฮ่องกงและญี่ปุ่น  กิจกรรม Annual Convention ประเทศออสเตรีย และสาธารณรัฐเชค พร้อมกันนี้ยังได้จัดงานแสดงความยินดีและเชิดชูเกียรติผลให้แก่ตัวแทนผู้ที่พิชิตคุณวุฒิ MDRT ได้สำเร็จ ที่เมืองซานย่า (ฮาวายแห่งเอเชีย) ประเทศจีน

นายสมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นการการันตีความสำเร็จจากใช้กลยุทธ์ Agency RIGHT 2024 คือ การสร้างสถิติจำนวนตัวแทนจำหน่ายใหม่ (New Recruitment) สูงสุดในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา โดยมีจำนวนตัวแทนจำหน่ายใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิม 25% ซึ่งตัวแทนกลุ่มใหม่นี้ล้วนมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับบริษัทฯ ในการผลักดันการเติบโตของช่องทางตัวแทนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยตั้งเป้าภายในปี 2027 ต้องมีตัวแทนจำหน่ายเพิ่มขึ้นกว่า 70%

 

พร้อมกันนี้ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ยังได้เปิดตัวโครงการ "LION Financial Planner" เพื่อรองรับการส่งเสริมและพัฒนาตัวแทนรุ่นใหม่ให้มีความเป็นมืออาชีพ เป็นตัวแทนประกันชีวิตแบบเต็มเวลา และก้าวสู่การเป็นนักวางแผนการเงิน (Financial Planner) สามารถเป็น "Lifetime Partner" ให้บริการดูแลลูกค้าอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยได้เตรียมพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม (Innovative Product) และเครื่องมือดิจิทัล (Digital Tool) ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและฝ่ายขาย พร้อมเดินหน้าร่วมกับตัวแทนที่มีเป้าหมายเดียวกัน ในการมอบบริการที่เปี่ยมคุณภาพและสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเป็นตัวแทนกับทาง เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://generali.co.th/agency-service/#register  

สสว. จับมือ สภาอุตฯ ผลักดันโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ SME ด้วย Soft Power เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ที่ต้องการเป็นเอสเอ็มอีรายใหม่กลุ่มอาหาร กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มออกแบบแฟชั่น กลุ่มภาพยนตร์ จากจำนวน 740 ราย คัดเหลือ 79 ราย คาดสร้างมูลค่าได้กว่า 180 ล้านบาท

นาวสาวณหทัย ทิวไผ่งาม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเป็นประธานเปิดงานพิธีปิดและแถลงความสำเร็จ โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ SME ด้วย Soft Power ว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน ซอฟต์ เพาเวอร์ (Soft Power) ของประเทศ เพื่อยกระดับและพัฒนาความสามารถด้านความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย ให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งได้เห็นถึงความสำเร็จในก้าวแรก โดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้วางแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ได้ดี ตรงกับภารกิจของหน่วยงานและสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล มีสินค้าและบริการหลายๆ อย่างที่สามารถต่อยอดและผลักดันไปสู่เวทีโลกได้ โดยเฉพาะเรื่องอาหารไทยและการท่องเที่ยวที่เป็นฟันเฟืองเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยรัฐบาลคาดหวังว่า ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน จะร่วมกันพัฒนา ส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเข้มแข็ง เติบโต และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สามารถเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ในช่วงการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นจนถึง 3 ปีแรก เป็นช่วงที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจและอยู่รอดได้ ดังนั้นการสร้างกลไกต่าง ๆ ในการต่อยอดธุรกิจ การหาช่องทางตลาด การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ฯลฯ ล้วนมีความสำคัญสำหรับผู้ประกอบการใหม่ และเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการเป็นลำดับแรก เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน สำหรับผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ ด้วยซอฟต์ พาวเวอร์ในวันนี้ จากผู้ประกอบการ 740 ราย และได้เลือกเฟ้นผู้ประกอบการที่มีความโดดเด่น ที่สามารถสื่อสารอัตลักษณ์ของท้องถิ่นผ่านสินค้าและบริการได้อย่างน่าสนใจ วันนี้ และต้องขอแสดงความยินดีกับทั้ง 79 ราย หลังจากนี้ สสว. ยังมีกิจกรรมและโครงการที่จะสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกราย รวมถึง สสว.ยังมีศูนย์ให้บริการเอสเอ็มอีครบวงจรหรือศูนย์ OSS ที่ประจำอยู่แต่ละจังหวัดซึ่งสามารถไปรับบริการและขอคำปรึกษาได้ตลอดเวลา

 

นายอภิชิต ประสพรัตน์  ประธานสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวสรุปข้อมูลการดำเนินงานว่า โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้วยซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ครั้งนี้ สามารถอบรมให้ความรู้ในการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการและผู้ประกอบการายใหม่ จำนวน 740 ราย สามารถต่อยอด/เชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการเงินได้ 148 ราย และที่สำคัญสามารถจดทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐได้จำนวน 126 ราย ภายใต้โครงการยังได้ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาธุรกิจ ซอฟต์ เพาเวอร์ (Soft Power) ในอุตสาหกรรมเป้าหมายจำนวน 1 ฉบับที่จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรม ซอฟต์ เพาเวอร์ (Soft Power) ในอนาคตต่อไปได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าโครงการ ได้ถูกต่อยอดเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยทางโครงการได้คัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่ เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณและใบประกาศนียบัตรจำนวน 79 ราย ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจภายใต้โครงการมากกว่า 180 ล้านบาทในระยะเวลา 1 ปี นับจากนี้

สสว. ประกาศความสำเร็จ กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2567 เพื่อช่วยยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจ พร้อมเพิ่มโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ มีเอสเอ็มอีรับการพัฒนายกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจผ่านกิจกรรมต่างๆ ระหว่าง เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม 2567 กว่า 150 ราย สร้างมูลค่าทางธุรกิจ 126 ล้านบาท

นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  เปิดเผยว่า สสว.ได้จัดให้มี กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) และพื้นที่ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2567 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อยกระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดการลงทุนหรือสามารถก่อตั้งธุรกิจได้ พร้อมช่วยเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ โดยมีการจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่เดือนกันยายน จนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2567 โดยมุ่งเน้นผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแล้วไม่เกิน 3 ปี มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ข้างต้น ที่มีการดำเนินกิจการ ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมที่ต่อยอดอัตลักษณ์เชิงพื้นที่สร้าง Value creation 2. อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยี/แปรรูปอาหาร และ 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

 

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ต่างได้รับประโยชน์หลายมิติ ทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้ประกอบการใหม่ เพื่อเปิดประตูสู่ธุรกิจและนวัตกรรม ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเชิงลึกเพิ่มคุณค่าผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดในประเทศ มีโอกาสนำสินค้าเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน จากสถาบันการเงินของภาครัฐ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกลุ่มธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ” รักษาการ ผอ.สสว. ระบุ

สำหรับกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการตลอดโครงการ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม 2567 ประกอบไปด้วย

กิจกรรมที่ 1 :  ฝึกอบรมหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ Entrepreneurship เปิดประตูสู่ความ เป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม (เดือนกันยายน 2567)

กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจเชิงลึกโดยรับการพัฒนารายละ 6 ครั้ง (เดือนกันยายน – ตุลาคม 2567)

กิจกรรมที่ 3  : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดในประเทศและต่างประเทศ

กิจกรรมที่ 3.1 : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดต่างประเทศ 24 ราย (เดือนพฤศจิกายน 2567)

กิจกรรมที่ 3.2 : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดในประเทศ 20 ราย (เดือนธันวาคม 2567)  

และกิจกรรมที่ 4 : เชื่อมโยงแหล่งเงินทุน SME D Bank และสถาบันการเงินอื่นๆ 31 ราย (เดือนพฤศจิกายน 2567)

รักษาการ ผอ.สสว. เผยอีกว่า สสว. ได้ดำเนินกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ซึ่งบรรลุตัวชี้วัดผลผลิต คือ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ รับสมัคร และคัดเลือกผู้ที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการ หรือเอสเอ็มอีรายใหม่ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รับการพัฒนายกระดับศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลิตภาพ หรือนวัตกรรมใหม่ หรืองานวิจัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 150 ราย ประกอบด้วยผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 27 ราย ชลบุรี 48 ราย ระยอง 42 ราย และจันทบุรี 33 ราย โดยภายหลังจากรับการพัฒนาคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้/การลดต้นทุน/การขยายการลงทุน/การจ้างงาน/มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ มากกว่า 28 ล้านบาท นอกจากจะได้รับการยกศักยภาพทางธุรกิจแล้ว โครงการฯ ยังได้ดำเนินการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและพร้อมต่อยอดการลงทุนในธุรกิจจำนวน 31 ราย ซึ่งมีแผนการลงทุนกว่า 64 ล้านบาท

“เรายังสนับสนุนและส่งเสริมด้านตลาดเชิงรุกในต่างประเทศให้ผู้ประกอบการ จำนวน 20 ราย เข้าร่วมการนำเสนอสินค้าในงาน Taiwan Int’l Food Industry ณ ประเทศไต้หวัน เมื่อวันที่ 15-18 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งสามารถสร้างยอดขายและการเจรจาธุรกิจ มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท และยังได้ส่งเสริมการเชื่อมโยงภาคการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการจำนวน 4 ราย ผ่านการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวของไต้หวัน โดยสามารถสร้างยอดขายจากการจับคู่ค้าทางธุรกิจได้ กว่า 3 ล้านบาท และกิจกรรมสุดท้ายภายใต้โครงการเป็นการดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมด้านตลาดเชิงรุกในประเทศ ในงาน “SME SOFT POWER Marketplace” ณ ลาน Avenue A ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 10-12 ธ.ค. 2567 โดยได้คัดเลือกผู้ประกอบการ จำนวน 20 ราย เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว โดยคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายรวมได้กว่า 1 ล้านบาท” นางสาวปณิตา กล่าว ทิ้งท้าย

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จับมือ มูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation: TAF) และ หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand: JFCCT) ร่วมกันจัดงานภายใต้ชื่อ “สัมมนาพัฒนาธุรกิจ SME สู่ความยั่งยืนในตลาดโลกด้วย ESG และการเปิดตัว ESG Toolkit สำหรับ SMEs” โดยงานสัมมนานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SMEs Go Global – Go Green ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย (Department of Foreign Affairs and Trade: DFAT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดตัวคู่มือปฏิบัติ ESG (Environmental, Social, and Governance) พร้อมให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและบริการของภาครัฐที่สนับสนุนการปฏิบัติตาม ESG รวมถึงการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการเติบโตของ SMEs ที่ยั่งยืน ตั้งเป้าเสริมแกร่งให้กับ SMEs ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกและสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว  โดยงานดังกล่าว มี ดร.ปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงาน รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยผู้แทนจาก สสว. DFAT และ TAF ร่วมในพิธีเปิด ณ ห้องบอลรูม โรงแรมอมารี ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

 

นางสาวปณิตา  ชินวัตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยผลสำรวจโอกาสและความท้าทายของธุรกิจเอสเอ็มอีสู่เทรนด์ธุรกิจ ESG (Environment, Social และ Governance) หรือแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน ซึ่ง สสว. ได้ทำการสำรวจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 2,675 ราย ใน 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 21 – 31 ตุลาคม 2567 พบว่า เอสเอ็มอีไทย ร้อยละ 65.3 มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ESG โดยพิจารณาสัดส่วนการรับรู้เอสเอ็มอี ร้อยละ 96.2 มีความรู้อยู่ในระดับพื้นฐาน เช่น รูปแบบการดำเนินธุรกิจแนว ESG จะช่วยลดการสร้างมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่มีความเข้าใจเชิงลึกและผลลัพธ์ที่สามารถจับต้องได้ ขณะที่ร้อยละ 3.8 มีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานและมีการเชื่อมโยงนำไปสู่ผลลัพธ์ได้

เมื่อพิจารณาสัดส่วนกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีการนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ พบว่า เอสเอ็มอีร้อยละ 74.9 รับทราบเกี่ยวกับแนวคิด ESG แต่ยังไม่มีการนำไปใช้ และมีเอสเอ็มอีเพียงร้อยละ 25.1 เริ่มมีความตระหนักรู้ เนื่องจากเอสเอ็มอีให้ความสำคัญกับการนำมาปรับใช้กับธุรกิจในขั้นพื้นฐาน และบางขั้นตอนสามารถเริ่มทำได้ง่าย เช่น การลดการใช้พลาสติกและการแยกขยะ

ในการสำรวจยังพบว่า เอสเอ็มอีมีการประเมินถึงผลที่จะเกิดขึ้นหากนำแนวคิด ESG มาปรับใช้ในธุรกิจ พบว่า เอสเอ็มอีร้อยละ 29.4 มองว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจโดยจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า/บริการเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ ขั้นตอนการทำงาน การจดรับรองมาตรฐาน ต้นทุนในการจ้างผู้ตรวจสอบตามมาตรฐานต่าง ๆ เป็นต้น

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ ที่ปรึกษามูลนิธิเอเชีย เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของไทยกำลังเผชิญแรงกดดันมากขึ้นในการปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี  (ESG) ในตลาดโลก และ ธุรกิจ SMEs ของไทยหลายแห่งประสบปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ เนื่องจากขาดความรู้และทรัพยากร ทำให้จำกัดโอกาสในการเข้าถึงตลาดโลก เหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “การเปิดตัวคู่มือปฏิบัติ ESG สำหรับ SMEs ไทย”

งานสัมมนาดังกล่าว มุ่งเน้นที่จะลดช่องว่างระหว่างมาตรฐาน ESG ระดับสากลและความเป็นจริงในการดำเนินธุรกิจของ SMEs ไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยนอกจากจะเปิดตัวคู่มือปฏิบัติ ESG พร้อมให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและบริการของภาครัฐที่สนับสนุนการปฏิบัติตาม ESG แล้ว ยังดำเนินการสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการเติบโตของ SMEs รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้กับ SMEs ไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว 

สำหรับงานสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วยกันทั้งหมด 3 ช่วง โดย ช่วงที่หนึ่ง เป็นการแนะนำคู่มือปฏิบัติ ESG ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ SMEs ไทย โดยเน้นการใช้งานที่เป็นรูปธรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง การนำเสนอจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีที่คู่มือปฏิบัติ ESG ช่วยแก้ไขความท้าทายเฉพาะที่ SMEs ต้องเผชิญในการปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG พร้อมแนะแนวทางทีละขั้นตอนสำหรับการผสานหลักการ ESG เข้ากับการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในห่วงโซ่การผลิตโลก ซึ่งช่วงที่หนึ่งนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าใจถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการนำ ESG มาประยุกต์ใช้ในองค์กร นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากภาคการผลิต ได้แก่ บริษัทเดอะ คลาสสิก แชร์ส จำกัด บริษัทจุลไหมไทย จำกัด และบริษัทเอชแอลเอ็ม คอร์ปอเรท จำกัด มาให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีที่คู่มือปฏิบัติ ESG จะช่วยแก้ไขปัญหาที่ SMEs ไทยต้องเผชิญในเรื่อง ESG พร้อมแนะแนวทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับการนำไปใช้จริง

ช่วงที่สอง  นำเสนอภาพรวมที่ครอบคลุมเกี่ยวกับบริการและโครงการปัจจุบันของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่สนับสนุนการปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG โดยวิทยากรจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กองส่งเสริมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมโรงงาน และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะอธิบายถึงวิธีการที่บริการและการรับรองจากภาครัฐเหล่านี้สอดคล้องกับคู่มือปฏิบัติ ESG และช่วยในการนำไปใช้ในธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม

ช่วงที่สาม  เน้นมุมมองและข้อมูลจากภาครัฐในฐานะผู้กำหนดนโยบายและวางกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับ ESG ทั้งยังช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับ ESG  โดยเป็นการอภิปรายร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางที่ SMEs ไทยสามารถนำ ESG มาใช้และประสบความสำเร็จได้ตามมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นให้ข้อมูลผู้ประกอบการเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนโครงการมาตรการสนับสนุนที่ภาครัฐให้แก่ผู้ประกอบการ มีการถอดบทเรียนให้ผู้ประกอบการจากมุมมองของเจ้าหน้าที่รัฐ และเน้นการสร้างความเข้าใจในประโยชน์จากการปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG เช่น เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและพัฒนาความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว

ดร.สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ได้รับการยกย่องในฐานะศิษย์เก่าที่มีผลงานดีเด่นจากการปฏิบัติหน้าที่การงานอย่างมีคุณภาพ และการสร้างชื่อเสียงให้แก่สังคมและประเทศชาติ โดยได้รับโล่ศิษย์เก่าเกียรติยศ เนื่องในโอกาสครบรอบ 90 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตร์ตราจารย์ ดร.สุรพล  นิติไกรพจน์  นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ เป็นผู้มอบ ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

นางแอนนา ฮัมมาร์เกรน (H.E. Mrs. Anna Hammargren) เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย เดินทางเข้าเยี่ยมชม 5G Innovation & Experience Studio (5GIX Studio) ของบริษัท อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) ประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในโครงการ Thailand Digital Valley จังหวัดชลบุรี โดยการเยือนครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสวีเดนและไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมตอกย้ำบทบาทของอีริคสันในการร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของประเทศไทย

การมาเยือนครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของสถานทูตสวีเดนเพื่อมุ่งเสริมสร้างและขยายความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยสวีเดนและไทยมีความสัมพันธ์ทวิภาคีร่วมกันมาอย่างยาวนานถึง 156 ปี เกิดขึ้นจากพื้นฐานของการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน รวมถึงการมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในด้านการพัฒนาและนวัตกรรม

นางแอนนา ฮัมมาร์เกรน เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย กล่าวว่า "นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับดิฉันและคณะที่ได้มาเยี่ยมชม 5GIX Studio ของอีริคสันในวันนี้ โดยสวีเดนและไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างเป็นทางการร่วมกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 และทั้งสองประเทศต่างมีความมุ่งมั่นร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตที่ยั่งยืนมาโดยตลอด สวีเดนเป็นประเทศต้นกำเนิดบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำมากมาย เช่นอีริคสัน ที่นวัตกรรมของบริษัทสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลให้กับทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจของไทย"

5GIX Studio ของอีริคสัน เปิดตัวครั้งแรกในเดือนกันยายนปีนี้ โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรม และยังเอื้อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนสำคัญในระบบนิเวศด้านเทคโนโลยี ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน โดยสตูดิโอแห่งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของอีริคสันในการสนับสนุนประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาค

ระหว่างการเยี่ยมชม มร.แอนเดอร์ส เรียน ประธานบริษัท อีริคสัน ประเทศไทย ยังได้กล่าวย้ำถึงความสัมพันธ์อันยาวนานของบริษัทฯ กับประเทศไทย รวมถึงบทบาทในการร่วมกำหนดอนาคตดิจิทัลของประเทศ

"พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับคณะผู้แทนจากสวีเดนที่เดินทางมายังสตูดิโอของอีริคสัน ที่ทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มคอยขับเคลื่อนนวัตกรรมและความร่วมมือภายในระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีในไทย เทคโนโลยี 5G จะมอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจยิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภคชาวไทยและร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคธุรกิจให้กับประเทศ อีริคสันเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีที่ได้รับความไว้วางใจของประเทศไทยมานานถึง 118 ปี และที่ผ่านมาเรายังมีส่วนร่วมพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารทุกยุคทุกสมัย"

การเยือนครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและยอมรับของสวีเดนต่อการมีส่วนร่วมของอีริคสันในภาคโทรคมนาคมของไทย รวมถึงศักยภาพในการเชื่อมโยงนวัตกรรมและสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ 5G, ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติ (Automation)

5GIX Studio ในโครงการ Thailand Digital Valley แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้จากศักยภาพของเทคโนโลยี 5G กับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ การผลิต การเกษตร และเมืองอัจฉริยะ เผยให้เห็นถึงผลกระทบเชิงการเปลี่ยนแปลงของการใช้งาน 5G ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

“เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) นำโดย นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานการตลาดบัตรเครดิต ร่วมกับ มร. ไมเคิล ฮาริท หัวหน้าคณะกลุ่มธุรกิจคอมเมอร์เชียล บริษัท  แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) และคุณหรีด - รพีพรรณ เหลืองอร่ามรัตน์ ประธานบริหาร บริษัท คริกเก็ต เทสต์ จำกัด เปิดตัวแคมเปญ "อร่อยฟิน บินได้ กับบัตรเครดิตเคทีซี” อย่างเป็นทางการ เพื่อมอบประสบการณ์ความอร่อยแบบไม่มีที่สิ้นสุดให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี และฟู้ดเลิฟเวอร์ภายใน “Food Lounge” ศูนย์รวมสุดยอดความอร่อยใจกลางประตูน้ำจากร้านอาหารชั้นนำระดับตำนาน รวมไปถึงมิชลินสตรีทฟู้ด โดยมีศิลปินดารา-ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง อาทิ หมวย  อริสรา กำธรเจริญ, โบ๊ท ธารา ทิพา,  ดีแลน ไบร์อันท์, นีญ่า มากีลา เหล่านักแสดงช่อง 3 รวมถึงแขกผู้มีเกียรติร่วมแสดงความยินดีในงาน และมี ได๋ - ไดอาน่า จงจินตนาการ รับหน้าที่พิธีกร ณ “Food Lounge” ชั้น 4 โครงการ “Phenix” เมื่อเร็วๆ นี้

กิจกรรม “อร่อยฟิน บินได้ กับบัตรเครดิตเคทีซี”  เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถลิ้มลองความอร่อยจากร้านดังทั่วไทย อาทิ ข้าวมันไก่ Mankee by Chefman ร้าน Take a Break (Sister by Khao) ร้านขาหมูโบราณกะทู้ (มิชลิน บิบ กูร์มองด์ 5 ปีซ้อน) ร้านจุฑารส (ลูกชิ้นเนื้อระดับตำนานกว่า 50 ปี) และร้านหลี เจ็ก ตง (ก๋วยจั๊บหมูกรอบอันดับ 1 ย่านประเวศ การันตีความอร่อยด้วยประวัติยาวนานกว่า 40 ปี) พร้อมรับสิทธิพิเศษ ฟรี บัตรเงินสด (Cash Card) มูลค่า 100 บาท เพียงโชว์บัตรเครดิตเคทีซี และรับฟรี คูปองเครื่องดื่ม มูลค่า 60 บาท เมื่อทานครบ 300 บาท/เซลส์สลิป หรือใช้ 1,999 คะแนน KTC FOREVER แลกรับบัตรเงินสด (Cash Card) มูลค่า 300 บาท (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 – 28 กุมภาพันธ์ 2568

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.ktc.co.th/promotion/dining/others/phenix หรือ KTC PHONE 02 123 5000 หรือ สมัครบัตรเครดิตเคทีซี คลิก https://ktc.today/apply-card หรือศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรเครดิตควรใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี                         

Page 6 of 781
X

Right Click

No right click