December 22, 2024

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า  การกลับมาอีกครั้งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ สร้างความไม่แน่นอนขึ้นมาต่อการลงทุนและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าที่ต้องรอความชัดเจนในต้นปีหน้า ก่อให้เกิดความกังวล ว่า เศรษฐกิจโลกจะซบเซาเหมือนช่วงทศวรรษ 1930 นอกจากนั้น นโยบายอเมริกาเฟิร์สท์ จะทำให้มีการเปลี่ยนระเบียบโลก (Global Order) สร้างความเสี่ยงต่อองค์กรระหว่างประเทศ อย่างเช่น WTO และ NATO ได้

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ขยายความว่าในปี 2568 เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโตที่ 2.4% ช้าลงกว่าปี 2567 เล็กน้อยที่คาดว่าจะขยายตัว 2.6% จากแรงส่งจากการท่องเที่ยวที่ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าใกล้ระดับก่อนโควิด เช่นกันกับส่งออกที่คาดว่าจะโตช้าลงจากผลกระทบสงครามการค้า ทั้งทางตรงผ่านตลาดส่งออกสหรัฐฯ และทางอ้อมผ่านตลาดอื่นๆ ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าจีน อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐขยายตัวดีกว่าปีที่ผ่านมาจากเม็ดเงินเบิกจ่ายงบประมาณที่ต่อเนื่อง ในขณะที่การลงทุนเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปี 2567 ที่หดตัว สอดคล้องไปกับ FDIs ที่เข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยยังสูง จากความแน่นอนของสงครามการค้า เศรษฐกิจหลักของโลกชะลอตัวลงโดยเฉพาะจีน และภาคการผลิตของไทยที่เจอภาวะการแข่งขันสูงจากสินค้าจีนท่ามกลางขีดความสามารถที่ลดลง

นางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ในปี 2568 สถานการณ์อุตสาหกรรมไทย คงจะไม่ดีขึ้นได้มากนัก ท่ามกลางหลายปัจจัยกดดัน ทั้งสงครามการค้าภายใต้ทรัมป์ 2.0 ซึ่งจะมีผลต่อการส่งออกและการผลิต มาตรการภาครัฐบางเรื่องที่อาจกระทบต้นทุน และประเด็นเชิงโครงสร้างที่ยังทำให้การใช้จ่ายเป็นไปด้วยความระมัดระวัง ขณะที่ กลุ่มที่ยังฟื้นได้ช้า จะเป็นธุรกิจขนาดกลางลงล่าง โดยมีความเสี่ยงที่จำนวนผู้ประกอบการภาคการผลิตในธุรกิจรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ โลหะ แฟชั่น อาจลดลงอีก ส่วนในภาคการค้าและบริการ แม้จำนวนผู้ประกอบการอาจเพิ่มแต่การยืนระยะทางธุรกิจก็คงไม่ง่ายเช่นกัน

ด้านนางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ปี 2568 คาดว่าจะยังเห็นสถานการณ์ที่แนวโน้มสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยเติบโตช้าและต่ำ โดยมีอัตราการขยายตัวราว 0.6% จากปี 2567 ที่คาดว่าจะหดตัว 1.8% ท่ามกลางปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงที่ยังจะกดดันให้สินเชื่อรายย่อยยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ด้อยคุณภาพยังเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ทั้งฝั่งสินเชื่อรายย่อย รวมถึงฝั่งสินเชื่อเอสเอ็มอี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ข้อมูลสินเชื่อธุรกิจ จากฐานข้อมูลบัญชีลูกหนี้นิติบุคคล ซึ่งเป็นข้อมูลสถิติที่ไม่ระบุตัวตนของเครดิตบูโร (NCB) พบ 5 ประเด็นสำคัญ คือ

  1. หนี้ธุรกิจไทยกลับมาถดถอยลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ถึงต้นปี 2567 หลังหมดแรงส่งมาตรการช่วยเหลือทางการเงินช่วงโควิด
  2. ธุรกิจยิ่งเล็ก ปัญหาหนี้เสียยิ่งรุนแรง
  3. สถาบันการเงินทุกประเภทที่ปล่อยสินเชื่อเผชิญผลกระทบด้านปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพชัดเจนขึ้น
  4. การเจาะกลุ่มปัญหาหนี้เรื้อรัง คือ ธุรกิจบัญชีเดิมที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจขนาดเล็กและกลางน่าห่วงมากขึ้น
  5. ประเภทธุรกิจหลักที่มีปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพเน้นไปที่อสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก ที่พักและอาหาร และภาคการผลิต ซึ่งสะท้อนปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ ปัญหาอำนาจซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง การแข่งขันรุนแรง และการฟื้นตัวของธุรกิจที่ไม่กระจายทั่วถึง รวมถึงสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างจากความสามารถในการแข่งขันที่ถดถอย ซึ่งจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2567 ชี้ว่าการสนับสนุนเศรษฐกิจภาพรวมให้เติบโตต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของธุรกิจ จะเป็นหนึ่งในทางออกที่ยั่งยืน

 

ผศ.ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการวิทยาเขตปัตตานี  รับมอบเงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จำนวน 6,199 บาท จากการเปิดประมูลภาพวาด ผลงาน อิ่ม – สุข ด้วยเทคนิคสีอะคริลิค โดย ด.ช.รัฏฐ์ชยากร เทพสุวรรณ (น้องปัณณ์) นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (ฝ่ายประถมศึกษา) จากแนวความคิด บ้าน คือ ศูนย์กลางของความสุข เป็นพลังแห่งชีวิตที่เชื่อมต่อทุกคนในสังคมให้เกิดความรัก ความเข้าใจ การให้อภัย และเอื้ออาทรต่อกัน ซึ่งเข้ากับสถานการณ์วิกฤตขณะนี้ ที่เจ้าของผลงานปรารถนาจะส่งพลังใจจากเด็กตัวเล็ก ๆ ที่มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ ผลงานชิ้นนี้ได้รับการประมูล โดย ผศ.ดร.ศมลพรรณ ธนะสุข สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ คณะวิทยาการสื่อสาร โดยเงินรายได้ทั้งหมด นำมาสมทบร่วมกับศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

 .

ผศ.ดร.มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า การให้ความช่วยเหลือสังคมไม่ได้จำกัดเพียงการบริจาคเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมถึงการใช้ความสามารถและทักษะที่มี ทั้งนักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร นำความสามารถความแตกต่างของแต่ละคนมาเติมเต็มเพื่อช่วยสังคม อย่างเช่นภารกิจวันนี้ที่เห็นได้ชัดเจนจาก การเปิดประมูลผลงานศิลปะ จากนักเรียนของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และการบริจาคเงินสนับสนุนผ่านผลงานภาพสีน้ำ  โดยอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ขอส่งมอบกำลังใจให้กับทุกท่าน ให้รอดพ้นฝ่าฟันวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไปด้วยกัน และขอแสดงความขอบคุณต่อผู้มีจิตศรัทธาและจิตอาสาที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ถือเป็นการทำเพื่อสังคมด้วยพลังน้ำใจ นำเอาความรู้ความสามารถและทักษะช่วยกันสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม ทั้งหมดนี้สะท้อนถึง “พระราชปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

 

ด.ช.รัฏฐ์ชยากร เทพสุวรรณ หรือ “น้องปัณณ์” นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายประถมศึกษา) เปิดเผยว่า ตนเองมีความรักในงานศิลปะและสร้างสรรค์ผลงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยเคยส่งภาพวาดเข้าประกวดในระดับโรงเรียนและระดับประเทศ  เมื่อเกิดวิกฤตน้ำท่วมในจังหวัดปัตตานี   ต้องการมีส่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัย แม้จะมีข้อจำกัดในฐานะเด็กที่ไม่สามารถลงพื้นที่ช่วยงานได้โดยตรง จึงเลือกนำความสามารถด้านศิลปะมาประมูลภาพวาด เพื่อระดมทุนช่วยเหลือพี่น้องผู้เดือดร้อน โดยมีแรงบันดาลใจว่า "ผมอยากทำสิ่งที่ช่วยสังคมได้ และเหตุผลเดียวที่ทำคือ ทำแล้วมีความสุข"

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเชิญชวนร่วมบริจาคเงินสนับสนุนผ่านผลงานภาพสีน้ำ โดย รศ.ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี ภาพวาดสีน้ำเกี่ยวกับวิธีชีวิต สถานที่สวยงามในปัตตานี ขนาด 27 X 38 เซนติเมตร ไม่มีกรอบ จำนวน 29 ภาพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม   เพิ่มเติม   กิจกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึงพลังของศิลปะที่สามารถสร้างสรรค์ความสุขและความช่วยเหลือให้แก่สังคมได้อย่างแท้จริง ทั้งจากความตั้งใจของเยาวชนและความร่วมมือจากผู้ใหญ่ในสังคม

 

รศ.ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ตนมีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม ด้วยการนำทักษะด้านศิลปะที่ถนัดมาใช้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยผลงานศิลปะภาพวาดสีน้ำที่สร้างขึ้นนั้นมีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของจังหวัดปัตตานี ผ่านกระบวนการ Storytelling และการสื่อสารในรูปแบบ Soft Power

"ผมหวังให้ทุกคนได้สัมผัสถึงคุณค่าและความสุนทรีย์ของงานศิลปะ พร้อมทั้งเห็นศักยภาพของศิลปะที่สามารถนำมาใช้ตอบแทนและช่วยเหลือสังคมได้ โดยขณะนี้มีผู้สนใจร่วมรับภาพและบริจาคเงินมาจากหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดปัตตานี จังหวัดสงขลา จังหวัดมหาสารคราม และจังหวัดขอนแก่น"

รศ.ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ การสร้างผลงานดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ที่สนใจในหลายพื้นที่ อาทิ จังหวัดปัตตานี จังหวัดสงขลา จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีผู้ร่วมสนับสนุนผ่านการรับผลงานศิลปะพร้อมทั้งบริจาคเงินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป

สำหรับผู้มีจิตช่วยเหลือ สามารถร่วมสมทบเงิน โดยการแสดงความคิดเห็นใต้ภาพที่ต้องการรับ พร้อมแนบสลิปการโอนเงิน และแจ้งที่อยู่ในการจัดส่ง ระหว่างวันที่ 2-10 ธันวาคม 2567 ผ่านช่องทาง FB : ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์ รายได้ทั้งหมดร่วมสมทบทุนช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ผ่านศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำนวัตกรรมเครื่องกรองน้ำเคลื่อนที่พลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในการกรองน้ำดื่มเพื่อปรุงอาหารในครัวเฉพาะกิจ และบรรจุน้ำดื่มเพื่อใช้ในสถานการณ์น้ำท่วม

เครื่องกรองน้ำเคลื่อนที่ฯ ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า สามารถใช้ระบบระบบโซล่าเซลล์ ซึ่งเหมาะสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินน้ำท่วมไฟฟ้าดับในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง สามารถผลิตน้ำดื่มที่สะอาดจจากน้ำประปาได้โดยตรง หรือหากไม่มีน้ำประปาจะใช้ระบบปั้มดูดน้ำคลองหรือน้ำท่วมเพื่อเป็นน้ำดิบผลิตน้ำดื่มได้

โดยเครื่องกรองน้ำเคลื่อนพลังงานแสงอาทิตย์ที่นี้ เป็นนวัตกรรมของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พัฒนาโดยนายพิสิฐ์พงษ์ หมื่นประเสริฐดี นายสมบัติ นพจนสุภาพ นางสาวปภัชญา กรธัชฐลิ้ม และนางฟารีดะห์ เจะอาลี ร่วมกันสร้างและพัฒนามาตั้งแต่ 2565  การันตีด้วย รางวัลชนะเลิศในงานมหกรรมการแสดงผลงานระดับชาติ ของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ที่จัด ณ จังหวัดภูเก็ตในปี 2565 และ รางวัลชนะเลิศ จากโครงการพัฒนาบุคลากรผ่านนวัตกรรม PSU Innovation Challenge 2023 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้นำเครื่องกรองน้ำนี้ มาใช้กรองน้ำช่วยเหลือชุมชนที่ขาดแคลนน้ำดื่มในปีที่แล้ว และบริการชุมชนในสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ ซึ่งน้ำกรองผ่านระบบ RO และฆ่าเชื้อด้วยระบบ UV ทำให้ผ่านมาตรฐานการวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่ม โดยสามารถกรองน้ำได้ 120 ลิตร/ต่อชั่วโมง สามารถให้บริการน้ำดื่มสะอาดได้ได้มากถึง 60 ครัวเรือนต่อวัน

ทั้งนี้ หากชุมชน หรือหน่วยงานใด ต้องการใช้บริการเพื่อนำไปกรองน้ำดื่มสะอาดให้แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามารถติดต่อรับความช่วยเหลือได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โทร. 073-331303

สร้างไทยเป็น ฮับ AI ดาต้าเซ็นเตอร์ของภูมิภาค หรือ TH-AI-LAND

เลย์ มันฝรั่งแท้ทอดกรอบ โดย บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ตอกย้ำตัวจริงเรื่องรสชาติถูกปากโดนใจชาวไทยที่ทำถึงทุกชิ้นแบบสุดๆ การันตีกระแสความฮอตจากการครีเอทความอร่อยกว่า 201 รสชาติตลอด 30 ปีของเลย์ ประเทศไทย โดยปีนี้ เลย์ เล่นใหญ่จัดเต็มกว่าเดิม ด้วยการเปิดโอกาสพิเศษให้แฟน ๆ ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการโหวตเลือกรสชาติสุดเครซี่ในตำนานที่คุณอยากให้ย้อนกลับมาสร้างรอยยิ้มและความสุขอีกครั้ง โดยนำรสชาติขวัญใจมหาชนที่ผ่านเข้ารอบจากการเสนอชื่อจำนวน 10 รสชาติที่คุณคิดถึงมาเปิดโหวตให้ลงคะแนนกันแบบฉ่ำ ได้แก่ รสกะเพรากรอบ, รสไข่เค็ม, รสน้ำพริกเผาชีส, รสหอยเชลล์อบเนยกระเทียม, รสชีสและหัวหอม, รสลาบทอด, รสมะเขือเทศ, รสฮันนี่บัตเตอร์, รสทรัฟเฟิล และรสเมล่อนบิงซู

เตรียมตัวให้พร้อม! แล้วไปร่วมตัดสินใจครั้งประวัติศาสตร์ว่ารสชาติไหนจะได้คัมแบ็กทวงบัลลังก์ความอร่อยระดับตำนาน และครองใจแฟน ๆ เลย์ได้อีกครั้งแบบสมมง ร่วมโหวตได้ตั้งแต่วันนี้ – 8 ธันวาคม 2567 ทาง Facebook: LaysThailand แล้วอย่าลืมลุ้นผลการลงคะแนนท็อป 5 รสชาติสุดท้ายที่เลย์จะเลือกนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้ง พร้อมกันในวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ว่ารสชาติไหนจะมาวิน! บอกเลยงานนี้ทุกคนจะได้ลิ้มรสชาติเลย์ที่คิดถึงแน่นอน

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จัดหาและมอบอุปกรณ์ เครื่องมือและครุภัณฑ์การแพทย์ ให้แก่ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และศูนย์สุขภาพชุมชนเก้าดาว จ.เพชรบูรณ์ รวมมูลค่ากว่า 12 ล้านบาท ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยและครอบครัวในถิ่นห่างไกล สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง และส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้รับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

โดยมี คุณกกชัย ฉายรัศมีกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ คุณเสรสรร นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ พญ. ดวงดาว ศรียากูล รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และ นพ. สุรเมศวร์ ศิริจารุวงศ์ ประธานองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ พร้อมทั้งคณะบุคลากร ให้เกียรติเป็นตัวแทนรับมอบ ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ คุณอรภรรณ บัวม่วง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการเงิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นตัวแทนส่งมอบ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศญี่ปุ่น (JAPAN MANAGEMENT ASSOCIATION) หรือ JMA ประกาศความสำเร็จของการจัดงานประชุมและมอบรางวัล "GENBA Management Conference & Award 2024 in THAILAND" (GMCA) เวทีแลกเปลี่ยนกลยุทธ์และกรณีศึกษาการบริหารจัดการของบริษัทระดับแนวหน้าในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพการผลิต เสริมสร้างศักยภาพในสถานที่ทำงาน มีส่วนช่วยในการถ่ายทอดเทคนิคและกระตุ้นความมีชีวิตชีวาของสถานที่ทำงาน โดยภายในงานมีตัวแทนจากบริษัทฯ ชั้นนำของเมืองไทยร่วมแบ่งปันแนวทาง ตลอดจนประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

งาน GMCA จัดอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยครั้งนี้ถือเป็นปีที่ 8 ของการจัดงาน ซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิต อาทิ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ผู้ควบคุมระดับปฏิบัติการ ผู้รับผิดชอบด้านการผลิต และฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตอบรับเข้าร่วมงานกว่า 750 คน โดยมีบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกร่วมดำเนินการบรรยายทั้งหมด 10 บริษัท ได้แก่ Daikin Compressor Industries, Honda Automobile (Thailand), Kao Industrial (Thailand), Mazda Powertrain Manufacturing (Thailand), Panasonic Automotive Systems Asia Pacific, Mitsubishi  Motors (Thailand) Engine, TDK (Thailand), Thai Yamaha Motor, Toyota Boshoku Gateway และ  Toyota Motor Thailand

โดยหนึ่งในจุดเด่นของงาน GMCA คือ การคัดเลือกและประกาศผล "กรณีตัวอย่างยอดเยี่ยม" ซึ่งผ่านการโหวตลงคะแนนจากผู้เข้าร่วมงาน โดยบริษัทที่ชนะเลิศจะได้รับโอกาสนำเสนอผลงานในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในปีนี้คุณโกวิทย์ อิสระวัฒนา บริษัท Toyota Motor Thailand ได้รับรางวัลกรณีศึกษายอดเยี่ยม และคุณเพ็ญพักตร์ มณีกันย์ บริษัท Mazda Powertrain Manufacturing (Thailand) ได้รับรางวัลพิเศษจากคณะกรรมการ

เนื่องจากมีบริษัทที่ต้องการเข้าร่วมการบรรยายเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นการจัดงาน GMCA 2025 จะเปิดรับสมัครผู้เข้าบรรยายรอบคัดเลือกในเดือนเมษายน 2568 และจัดการประชุมรอบคัดเลือกวันที่ 8 สิงหาคม 2568 โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ GMCA

บริษัท ธนบุรีพานิช จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ และศูนย์บริการเมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการแห่งแรก ขอเชิญชวนซื้อสลากกาชาดประจำปี 2567 รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้กับ สภากาชาดไทย เพื่อสนับสนุนกิจกรรมช่วยเหลือกิจการงานกาชาด ร่วมกันแบ่งปันและเป็นผู้ให้ด้วยการซื้อสลากกาชาดในราคาฉบับละ 100 บาท แล้วร่วมบุญ ลุ้นรางวัลใหญ่ รถยนต์ Mercedes-Benz C350e AMG Dynamic 1 คัน มูลค่า 3,200,000 บาท พร้อมลุ้นรางวัลอื่นๆอีกกว่า 100 รางวัล รวมมูลค่า 3,792,140 บาท

ท่านสามารถร่วมทำบุญผ่านการซื้อสลากกาชาดได้แล้ววันนี้ ไม่ต้องรอถึงวันงาน ได้ 2 ช่องทาง คือ ผ่านช่องทางออนไลน์ https://shorturl.at/IP7d7 และด้วยวิธีง่ายๆสะดวกสบายโดยการสแกน QR Code ในภาพ แล้วเตรียมลุ้นการจับรางวัล ในวันที่22 ธันวาคม 2567 ณ งานกาชาด สวนลุมพินี หรือสามารถตรวจสอบรางวัลได้ที่ https://www.iredcross.org/ และ Facebook Page : Benzthonburigroup โดยรางวัล สลากกาชาด ธนบุรี พานิช ในปีนี้ประกอบด้วย

  • รางวัลที่ 1: รถยนต์ Mercedes-Benz C350e AMG Dynamic 1 คัน มูลค่า 3,200,000 บาท
  • รางวัลที่ 2: รถจักรยานยนต์ New Honda Monkey 2024 1 คัน มูลค่า 99,700 บาท
  • รางวัลที่ 3: ทองคำแท่ง หนัก 1 บาท จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 41,000 บาท
  • รางวัลที่ 4: iPad Air 11” 256GB จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 27,900 บาท
  • รางวัลอื่นๆ: เช่น TV Samsung 65” QLED, เครื่องเป่าผม Dyson, ตู้เย็น Samsung, เสื้อยืด PUMA AMG และแก้วน้ำ Mercedes-Benz รวมรางวัลทั้งหมด 100 รางวัล

โดยงานกาชาดประจำปี 2567 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 ธันวาคม 2567 ณ สวนลุมพินี ท่านสามารถติดต่อรับรางวัลได้ที่ บริษัท ธนบุรีพานิช โทร. 02 405 8818

เงื่อนไขการรับรางวัล

*หมดเขตรับรางวัล วันที่ 22 มีนาคม 2568 หากพ้นจากวันที่กำหนด ให้ถือว่าสละสิทธิ์ในการรับรางวัล และมอบรางวัลให้กับสภากาชาดไทย

*เงื่อนไขรางวัล สลากมี 1,000 ชุด จำนวน 100,000 ฉบับ ตั้งแต่เลขที่ 800000 ถึงเลขที่ 899999 จะจ่ายรางวัลแก่ผู้ที่ถือสลากที่ถูกรางวัลเท่านั้น

*ของรางวัลไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด หากมีข้อพิพาทคำตัดสินของบริษัทฯ ถือเป็นที่สิ้นสุด

ระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2567  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์สุทธิ  พื้นแสน คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี  มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยผู้บริหารและคณะกรรมการการพัฒนาองค์กรเข้าสู่มาตรฐานสากล AACSB คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี เข้าร่วมอบรมหลักสูตร Business Accreditation และประชุมวิชาการ AACSB’s 2024 Asia Pacific Annual Conference ของสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีระดับนานาชาติ หรือ Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมจากผู้แทนสถาบันการศึกษากว่า 200 แห่ง จาก 21 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก

ในการอบรมครั้งนี้มีเนื้อหาสำคัญของเกณฑ์มาตรฐาน AACSB 2020  โดยมี Mr. Geoff Perry  Executive Vice President, Chief Membership Officer, and Managing Director, Asia Pacific และ Dean Ross James, University of Canterbury เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในการอบรม นอกจากนี้ในส่วนของการประชุมวิชาการ AACSB’s 2024 Asia Pacific Annual Conference ที่มุ่งเน้นเนื้อหาด้านการใช้ AI เพื่อประยุกต์ใช้การพัฒนาการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา ตลอดจนการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการทำวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งการประชุมดังกล่าวประกอบไปด้วยหัวข้อ “Revolutionizing Teaching and Learning with GenAI” วิทยากรโดย Seetharam Narasimha Prasad Director & Professor, Strategy & General Management Shri Dharmasthala Manjunatheshwara Institute for Management Development (SDMIMD) , หัวข้อ “Entrepreneurial Mindsets” วิทยากรโดย Aaron Sarma General Partner ScaleUp Malaysia และการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการวิจัยในหัวข้อ Balancing Research Rigor and Excellence: A Balanced Portfolio Approach to Faculty Sufficiency” วิทยากรโดย Michael Ewing Executive Dean, Faculty of Business, Law, and Arts Southern Cross University

สำหรับคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเข้าสู่การรับรอง Accreditation ของสถาบัน AACSB โดยมาตรฐาน AACSB นั้นเป็นมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีที่ทั่วโลกให้การยอมรับ ซึ่งทางคณะฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและมุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมในยุคดิจิทัล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและอุตสาหกรรมระดับโลกอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การเป็นส่วนหนึ่งของ AACSB ยังเป็นการยืนยันมาตรฐานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของคณะฯ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักศึกษาและผู้สนใจเข้าศึกษาต่อ อีกทั้งคณะฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะยกระดับการศึกษาด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีให้ก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานระดับสากลอย่างเต็มศักยภาพ ภายใต้วิสัยทัศน์ของคณะฯ ที่ว่า KKBS is the premier business school for industrial integration aiming to inspire innovators and global citizens”

ระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์สุทธิ พื้นแสน คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKBS) ร่วมนำเสนอแผนการดำเนินงานการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี หรือ The International and National Conference on Business Administration and Accountancy (INCBAA) ในที่ประชุมเครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ (Thailand Regional Business School Network: TRBS NET) ครั้งที่ 2/2567 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีหารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านวิชาการ ด้านการเรียนการสอน ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา และการทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกันของสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีการเรียนการสอนด้านบริหารธุรกิจ ใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 

สำหรับการประชุมเครือข่าย TRBS NET ในครั้งนี้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุมโดยมีรองศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ หังสพฤกษ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (FMS PSU) ประธานเครือข่ายฯ เป็นประธานการประชุม ร่วมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์สุทธิ พื้นแสน คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKBS) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ก้องภู นิมานันท์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMUBS) รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี พิมาพันธุ์ศรี คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา (BBS) และทีมผู้บริหารและบุคลากรสายสนับสนุนจากทั้ง 4 สถาบัน

โดยในที่ประชุมดังกล่าวมีการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงาน Working Group แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านการวิจัย ด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล และด้านพัฒนานักศึกษา นอกจากนี้ยังมีการประชุมแลกเปลี่ยนในหัวข้อ AACSB site visit peer review และการแลกเปลี่ยน Good practice ของแต่ละสถาบันการศึกษา รวมถึงหารือแผนการดำเนินงานในปีถัดไปร่วมกัน โดยการประชุมในครั้งถัดไปนั้นกำหนดจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 โดยมีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดประชุม  

นอกจากนี้เครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ (Thailand Regional Business Schools Network: TRBS Net) ยังได้กำหนดจัดการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2569 หรือ The International and National Conference on Business Administration and Accountancy (INCBAA 2026) ภายใต้หัวข้อ “Bridging Technological Transformation & Sustainable Performance” ซึ่งได้รับเกียรติจาก Prof. Dr. Dr. h.c. Marko Sarstedt, Head of the Institute, Institute for Finance & Banking, LMU Munich School of Management, Germany เป็นวิทยากรเสวนา และวิทยากรในการ workshop หัวข้อ Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2569 ณ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี และ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ และผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ช่องทางการสื่อสารของคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

X

Right Click

No right click