สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) จัดกิจกรรม "การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครั้งที่ 4" ภายใต้หัวข้อ "แนวทางการพัฒนาทักษะและการอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "เพิ่มประสิทธิภาพและขยายการให้บริการแพลตฟอร์มภาครัฐ เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GPPC: Government Platform for PDPA Compliance)" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และยกระดับทักษะของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐให้สามารถปฏิบัติงานตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับเกียรติจากนายนิเวช มิ่งมิตรโอฬาร ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายกุลเศขร์ ลิมปิยากร รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง และ ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ข้อมูล และธรรมาภิบาลข้อมูล ร่วมเสวนาในหัวข้อ “การดำเนินงานตามหน้าที่และภารกิจในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ของหน่วยงานรัฐ” โดยกิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 5-6 ชั้น 5 โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้
ในช่วงการเสวนา นายกุลเศขร์ ลิมปิยากร รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ได้กล่าวถึงความท้าทายสำคัญที่กรมบัญชีกลางเผชิญในการเริ่มต้นดำเนินงานตามกฎหมาย PDPA โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคลากรของกรมฯ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยังเป็นปัญหาอีกประการหนึ่ง เนื่องจาก PDPA เป็นกฎหมายใหม่ที่ต้องอาศัยการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจัดอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีระบบ ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้จัดหาที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และได้รับการสนับสนุนการใช้งานแพลตฟอร์ม GPPC ทำให้สามารถดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกรมฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้เผชิญความท้าทายใน การจัดการเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อได้รับแจ้งเหตุจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กรมฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบในเบื้องต้น โดยรองอธิบดีกรมบัญชีกลางได้กล่าวว่า “แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นข้อมูลของเราหรือไม่ แต่เรามองไปยังปลายทางที่ต้องรักษาประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน เราจึงแจ้งเจ้าของข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิด แล้วจึงดำเนินการตรวจสอบและพิสูจน์ข้อเท็จจริง” ซึ่งต่อมากรมฯ ได้วางมาตรการเพื่อลดความเสี่ยง ทั้งการประชุมกับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัย และการเสริมสร้างมาตรการป้องกันทั้งมาตรการเชิงองค์กร (Organizational Measures) และมาตรการเชิงเทคนิค (Technical Measures) จากเหตุการณ์ดังกล่าว กรมฯ มองว่าเป็นบททดสอบให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการนำความรู้ความเข้าใจมาใช้ในการทำงานจริง และทำให้เจ้าหน้าที่ของกรมฯ มีความพร้อมในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น
โครงการ GPPC กับการสร้างมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับประเทศ
โครงการ GPPC นับเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างครบถ้วน โดยโครงการนี้ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล แต่ยังมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐผ่านการจัดอบรมออนไลน์ (MOOC) และการสอบวัดผล เพื่อสร้างบุคลากรของภาครัฐให้มีความเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ด้าน ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ได้กล่าวเสริมถึงความสำคัญของโครงการ GPPC ว่า โครงการนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดความซับซ้อนและเพิ่มความรวดเร็วในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล โดยระบบดังกล่าวมีฟังก์ชันที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (ROP) และตรวจสอบการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมอัปเดตแผนการพัฒนาระบบเพิ่มเติมในโครงการ GPPC ว่า ระบบจะสามารถสร้างเอกสารกฎหมาย เช่น ประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) จากข้อมูลที่มีอยู่ในระบบได้ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่อีกด้วย
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ GPPC และกิจกรรมอื่น ๆ ได้ที่เว็บไซต์ https://gppc.pdpc.or.th หรือเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/pdpc.th
ดิ แอสคอทท์ ลิมิเต็ด ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ ซัมเมอร์เซ็ท สุขุมวิท 71 กรุงเทพฯ โรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ ในย่านที่มีชีวิตชีวาใกล้เอกมัย ที่ผสมผสานไลฟ์สไตล์คนเมืองเข้ากับพื้นที่อยู่อาศัยอันเงียบสงบได้อย่างลงตัว โดยโครงการแห่งนี้ พร้อมแล้วที่จะมอบนิยามใหม่ให้กับการบริการ ให้กับหนึ่งในย่านที่มีชีวิตชีวาของกรุงเทพฯ
ซัมเมอร์เซ็ท สุขุมวิท 71 กรุงเทพฯ มอบความสะดวกสบายและการเชื่อมต่อที่เหนือระดับ โดยอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า BTS พระโขนงและเอกมัย เพียง 10 นาทีด้วยรถยนต์ ช่วยให้การเดินทางไปยังทั่วกรุงเทพฯ สะดวกและง่ายดายยิ่งขึ้น โครงการแห่งนี้ยังตั้งอยู่ใกล้แหล่งช้อปปิ้งชั้นนำ อย่าง เกตเวย์ เอกมัย และดิ เอ็มดิสทริค ซึ่งประกอบด้วย เอ็มโพเรียม เอ็มควอเทียร์ และ เอ็มสเฟียร์ อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยร้านคาเฟ่สุดชิค ตลาดนัดแสนคึกคัก รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ อย่าง แม็กซ์แวลู และแม็คโคร นอกจากนี้ โครงการยังอยู่ใกล้ถนนสายหลักอย่าง ถนนพระราม 4 สุขุมวิท และเพชรบุรี และสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ห่างออกไปเพียง 35 นาที ช่วยให้การเดินทางของผู้เข้าพักสะดวกสบายยิ่งขึ้น
ตัวโครงการมีห้องพักและอพาร์ทเมนท์ทั้งหมด 141 ห้อง ที่ออกแบบอย่างพิถีพิถัน เพื่อรองรับความต้องการของทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางระยะสั้นและผู้พักอาศัยระยะยาว โดยให้บริการตั้งแต่ห้องดีลักซ์ไปจนถึงห้องแบบหนึ่งและสองห้องนอนสุดกว้างขวาง ทุกพื้นที่ผสมผสานความทันสมัยเข้ากับการใช้งานได้จริง อีกทั้งยังมีห้องพักสำหรับครอบครัวสุดพิเศษที่มาพร้อมเตียงสองชั้น พร้อมต้อนรับทุกคนด้วยบรรยากาศสุดอบอุ่น
ซัมเมอร์เซ็ท สุขุมวิท 71 กรุงเทพฯ เป็นมากกว่าที่พักอาศัย โดยผสมผสานทุกองค์ประกอบเพื่อตอบโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลายไปกับสระว่ายน้ำบนชั้นดาดฟ้ากลางแจ้ง พร้อมชมวิวแบบพาโนราม่า หรือออกกำลังกายที่ฟิตเนสสุดทันสมัย รวมถึงเพลิดเพลินกับอาหารรสเลิศที่ Sol & Luna Rooftop Restaurant ท่ามกลางทิวทัศน์เมืองที่สวยงาม นอกจากนี้ โครงการยังมีจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อสุขภาพ และกิจกรรมสำหรับครอบครัว เพื่อส่งเสริมการสานสัมพันธ์และการเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้สำหรับผู้เข้าพักทุกคน
และเพื่อฉลองการเปิดตัวโครงการ ซัมเมอร์เซ็ท สุขุมวิท 71 กรุงเทพฯ มอบส่วนลดพิเศษ 10% สำหรับห้องพัก และส่วนลดเพิ่มอีก 15% สำหรับสมาชิก ASR โดยสามารถจองได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 สำหรับการเข้าพักระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ประกาศปรับปรุงทิศทางและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งในกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทฯ ซึ่งได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้างและพรีคาสท์ และธุรกิจเฮลท์แคร์ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้บริษัทฯ ได้วางแผนปรับโครงสร้างพอร์ตการลงทุน (Investment Portfolio) โดยมุ่งเน้นการลงทุนที่มีศักยภาพและสามารถสนับสนุนกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง ความชัดเจนในกลยุทธ์การดำเนินงาน และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติการแต่งตั้ง นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ โดยนายทองมาจะเข้ามาดูแลการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และด้านปฏิบัติการต่าง ๆ ในกลุ่มพฤกษา เพื่อให้สามารถตอบสนองเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2567
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อให้การบริหารงานของบริษัทฯ สอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในอนาคต ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในกลุ่มธุรกิจหลัก ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ แต่อย่างใด ทั้งยังเป็นการส่งเสริมกลยุทธ์การพัฒนาองค์กร ภายใต้แนวคิดการส่งมอบการอยู่อาศัยที่ “อยู่ดี มีสุข Live well Stay well” ที่พฤกษาต้องการมุ่งสร้างความแข็งแกร่งและการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สำหรับ 2 กลุ่มธุรกิจที่เป็นหัวใจหลัก อันได้แก่ (1) การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยที่ดีของทุกกลุ่มลูกค้า ทั้งในด้านการออกแบบ ฟังก์ชัน สิ่งอำนวยความสะดวก การส่งมอบบริการที่เป็นเลิศ รวมถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแบบเวลเนส เรสซิเดนซ์เต็มรูปแบบ โดยนำจุดแข็งที่เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายเดียวของไทยที่มีกลุ่มโรงพยาบาลวิมุตอยู่ในเครือ ร่วมพัฒนาโครงการของพฤกษา เพื่อยกระดับการอยู่อาศัยที่ “อยู่ดี มีสุข” และ (2) ธุรกิจเฮลท์แคร์ ที่มีความพร้อมในการพัฒนาและขยายธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเสาหลักที่สำคัญในการเติบโตของพฤกษา เพื่อช่วยยกระดับการดูแลสุขภาพ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมในวงกว้าง โดยมุ่งมั่นที่จะขยายการให้บริการที่เน้นคุณภาพสูง และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร ซึ่งธุรกิจเฮลท์แคร์ของพฤกษายังคงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่สร้างรายได้ที่ดีอย่างต่อเนื่อง และช่วยเสริมฐานรายได้ของบริษัทฯ ในภาพรวม
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจของบริษัทฯ ที่มุ่งมั่นในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างเต็มที่ อีกทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจและทิศทางของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยพฤกษาพร้อมเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจเฮลท์แคร์ที่ตอบโจทย์ทั้งลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต มุ่งเดินหน้าสู่เป้าหมายองค์กรแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดร.วุฒิพันธุ์ ตวันเที่ยง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและพนักงาน บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ร่วมส่งมอบที่ดินเป็นส และค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งหมด ซึ่งมีนายประภาส ทาสม ผู้ใหญ่บ้านมืดกา และนายทองอินทร์ แสนไชยน้อย ไวยาวัจกรของวัด เป็นผู้แทนรับมอบ ณ วัดมืดกาพัฒนาราม ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
BAM ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมด้านพระพุทธศาสนา โดยการมอบที่ดินดังกล่าวเป็นการมอบให้เป็นที่ธรณีสงฆ์โดยไม่มีค่าตอบแทน เพื่อใช้สำหรับการประกอบศาสนพิธี เป็นประโยชน์ ในการบำเพ็ญกุศลตามวัฒนธรรม ประเพณี สืบทอดกิจกรรมพระพุทธศาสนาของชุมชนในพื้นที่ นอกจากนี้ บริษัทฯ พร้อมผู้มีจิตศรัทธาชาวบ้านมืดกา ได้ร่วมกันทำบุญทอดถวายผ้าป่าสามัคคี เพื่อนำปัจจัยไปทำนุบำรุงวัดต่อไป
ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้คน โดยได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจ Fast-moving Consumer Goods (FMCG) หรือสินค้าอุปโภคบริโภค ยูนิลีเวอร์ ในฐานะผู้นำของอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค กล่าวคือผู้บริโภคมีศักยภาพมากขึ้นกว่าที่เคย ทั้งในแง่ของพฤติกรรมการรับสื่อที่เปลี่ยนไป การมีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ รวมถึงมีความคาดหวังต่อแบรนด์สูงขึ้น
ยูนิลีเวอร์ ในฐานะองค์กรชั้นนำที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 100 ปี และดำเนินธุรกิจโดยมีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางเล็งเห็นความสำคัญของพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป จึงได้ปฏิวัติองค์กรด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) ผ่านการนำนวัตกรรมต่างๆ ทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) และ Machine Learning ผสานรวมกับการใช้ข้อมูล (Data) และความสนใจเชิงลึก (Insight) เพื่อสร้างการเติบโตและเสริมความแกร่งให้องค์กรอย่างรอบด้าน ทั้งการสร้างสรรค์กลยุทธ์การตลาด การดำเนินงานทั่วไป รวมถึงทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างละเอียด และนำไปออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการกลุ่มเป้าหมายและวางจำหน่ายในช่องทางที่เหมาะสม ยูนิลีเวอร์จึงไม่เพียงสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับแวดวง FMCG แต่ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำในด้านดิจิทัลของยูนิลีเวอร์ที่มุ่งมั่นในการมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้บริโภคพร้อมขับเคลื่อนการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้อย่างยั่งยืน
การปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรด้วยการนำข้อมูล เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในองค์กรอย่างชาญฉลาดและรอบด้านมากขึ้นเปรียบเสมือนเข็มทิศในการดำเนินธุรกิจของยูนิลีเวอร์ นอกจากนั้น การออกแบบกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อผู้บริโภคในยุคดิจิทัลยังทำให้ยูนิลีเวอร์รักษาความเป็นผู้นำในการสร้างประสบการณ์แบรนด์ที่ทรงพลังและคว้ารางวัล Thailand Digital Excellence Awards 2024 สาขา Data and AI Go-to-Market Innovation จากสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย และเป็น FMCG เดียวที่ได้รับรางวัลต่อเนื่องถึง 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2565 - 2567)
อันชุล อะซาวา ประธานบริหารกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ครัวเรือนภาคพื้นอาเซียน และประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย
กลยุทธ์การผสานพลังของข้อมูลและ AI
หัวใจสำคัญของการดำเนินงานของยูนิลีเวอร์คือ ‘ผู้บริโภค’ การทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเสมอจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ยูนิลีเวอร์ใช้ AI และ Machine Learning พร้อมใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งความสนใจ ความชอบ ความต้องการ พฤติกรรมการซื้อ และการมีส่วนร่วมกับแบรนด์จากแหล่งต่างๆ มาไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลางที่ควบคุมการเข้าถึงอย่างเข้มงวด ก่อนจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคได้ลึกซึ้งมากขึ้น โดยข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วจะถูกนำมาแบ่งกลุ่มตามบุคลิกของผู้บริโภค และใช้ AI ในการคาดการณ์และขยายกลุ่มผู้บริโภคให้กว้างขึ้น นอกจากนั้น ข้อมูลเหล่านี้ยังช่วยให้ยูนิลีเวอร์ออกแบบเนื้อหาสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ยกระดับประสบการณ์ของผู้บริโภคอย่างรอบด้านผ่าน Digital Touchpoints
จากการศึกษาข้อมูลเชิงลึกของพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลพบว่า ผู้บริโภคไม่ได้ซื้อสินค้าจากจุดขายเพียงจุดเดียวอีกต่อไป ยูนิลีเวอร์จึงยกระดับทุกช่องทางการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค (Touchpoints) ให้มีประสิทธิภาพโดยใช้เครื่องมือ AI เพื่อสร้างความเหนือกว่าของแบรนด์ในการมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค รวมถึงตอบสนองและสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างราบรื่นตลอดเส้นทางตั้งแต่ก่อนตัดสินใจซื้อจนซื้อสินค้า (Consumer Journey) อย่างครอบคลุมทุกจุด
นิดารัตน์ อุไรเลิศประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการตลาดธุรกิจผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา และลาว
การหลอมรวมของข้อมูลและประโยชน์ของเทคโนโลยีขั้นสูง
ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ใช้ระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่ปลอดภัย จำกัดการเข้าถึงเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาไว้ด้วยกัน และใช้พลังของเทคโนโลยีขั้นสูงมาวิเคราะห์ด้วยโมเดล AI และ Machine Learning ที่พัฒนาขึ้นเอง ซึ่งช่วยให้ข้อมูลเหล่านี้ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับแต่ง เพื่อทำความเข้าใจความต้องการ ความชอบ ความคาดหวัง พฤติกรรมการซื้อ และการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้เรายังใช้ AI สำหรับคาดการณ์เพื่อขยายและระบุผู้ซื้อที่มีศักยภาพเพิ่มเติมมากขึ้น
LeverU กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของกลยุทธ์ Social-First ของยูนิลีเวอร์
ยูนิลีเวอร์มุ่งมั่นที่จะขยายขอบเขตความเป็นไปได้โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อปลดล็อกศักยภาพการดำเนินงานรวมถึงกลยุทธ์ต่างๆ จึงพัฒนา LeverU แพลตฟอร์มที่ใช้โซลูชัน AI สามประเภทในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ Social First ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประกอบด้วย
Unilever Excellence Lab: พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นเลิศที่เหนือกว่า
นับตั้งแต่เปิดตัว Digital Hub ในปี 2561 ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การตลาดด้วยด้วยนวัตกรรมและข้อมูล และความสำเร็จของโครงการในประเทศไทยยังเป็นแบบอย่างสำหรับการขยายกลยุทธ์นี้ไปทั่วโลกอีกด้วย ซึ่งความเป็นเลิศในด้านดิจิทัลนี้ ทำให้ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เป็น "ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการทดลองและเรียนรู้" (Test & Learn) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อทดสอบและพัฒนาโครงการต่างๆ และหากประสบความสำเร็จจึงจะขยายโครงการไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จึงช่วยให้ยูนิลีเวอร์สามารถ "เรียนรู้จากความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว" (Fail fast and learn fast) รวมถึงมีความคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนและตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดในการขยาย ปรับปรุง หรือยุติโครงการ โดยคำนึงถึงต้นทุนและประสิทธิภาพสูงสุดเป็นหลักสำคัญ ซึ่งกลยุทธ์นี้ยังถือเป็นข้อได้เปรียบสำคัญในสภาพแวดล้อมทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
สสว. จัดเวทีสัมมนาประจำปี “SME Symposium 2024” ชี้ทิศทางธุรกิจ SME ปี 2568 กลุ่มดาวรุ่ง ได้แก่ การผลิตสื่อคอนเทนต์ การขายสินค้าออนไลน์ การผลิตเครื่องดื่มอัดแก๊ส บริการจัดเลี้ยง ธุรกิจฟิตเนส ยิม และการจัดการแข่งขันกีฬา ส่วนธุรกิจหอพักนักเรียนนักศึกษา ต้องเฝ้าระวัง 3 ปีซ้อน เนื่องจากมูลค่าธุรกิจลดลงต่อเนื่อง ผลจากความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไป สสว. เชื่อมั่นทางรอดเอสเอ็มอีแข่งขันได้ คือ การค้นหาเอกลักษณ์ สร้างอัตลักษณ์ เพิ่มความแตกต่างจากคู่แข่ง และใช้ ESG ช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนได้ต่อไป
นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รักษาการ ผอ.สสว. กล่าวว่า สสว. จัดงาน SME Symposium 2024 ให้เป็นงานสัมมนาประจำปีเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย โดยจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 เป้าหมายสำคัญเพื่อสะท้อนถึงสถานการณ์ของเอสเอ็มอีในปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปี 2568 รวมทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง รวมทั้งแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
สำหรับสถานการณ์เอสเอ็มอีปัจจุบัน พบว่าเอสเอ็มอีไทยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจเอสเอ็มอีมีจำนวนทั้งสิ้น 3.2 ล้านราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงในอัตราร้อยละ 8.2 และ 5.4 ตามลำดับ ด้านการจ้างเอสเอ็มอีได้สร้างงานกว่า 12.93 ล้านตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจในภาคการบริการและภาคการค้าที่เอสเอ็มอีมีบทบาทอย่างมากทั้งในด้านจำนวนธุรกิจและการจ้างงาน
โดยเอสเอ็มอีสร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจไทยสะสมตั้งแต่ไตรมาส 1 - ไตรมาส 3 ปี 2567 มากกว่า 4.81 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35 ของ GDP ประเทศ ขยายตัวได้ร้อยละ 3.0 โดยภาคการค้า การผลิต และการบริการ ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง การบริโภคจากนักท่องเที่ยวและการส่งออกที่เติบโตขึ้นได้ช่วยเสริมแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอสเอ็มอีให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติหลายครั้งที่กระทบภาคธุรกิจการเกษตรอย่างมาก
ด้านการค้าระหว่างประเทศ 10 เดือนแรก เอสเอ็มอีไทยสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 1.15 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 ของรายได้จากการส่งออกรวม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 18.6
โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ในกลุ่มสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง ขณะที่การนำเข้าของเอสเอ็มอีไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 โดยเกือบร้อยละ 50 เป็นการนำเข้าสินค้าจากจีน โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางสำหรับใช้ในการผลิตทั้งเพื่อใช้ในประเทศและเพื่อส่งออก เนื่องจากสินค้าจีนมีราคาถูกกว่าและช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการไทยได้
จากผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลของ สสว. ในปี 2567 เทียบกับปี 2566 เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจใดขยายตัวหรือธุรกิจใดมียอดขายลดลง โดยใช้เกณฑ์ยอดขายมากกว่า หรือน้อยกว่า 30% จากปีก่อน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวหรือการลดลงของยอดขายในธุรกิจ มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังสถานการณ์โควิด-19 สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่แน่นอน เทรนด์หรือแนวโน้มการปรับตัวไปสู่ธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยธุรกิจที่มีรายได้ขยายตัวมากกว่า 30% จากปีก่อน หรือที่เรียกว่ากลุ่มดาวรุ่ง
ได้แก่ กลุ่มธุรกิจห้องพักรายเดือน ขยายตัวตามพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่ไม่นิยมการซื้ออสังหาริมทรัพย์และต้องการใช้ชีวิตในเมือง กลุ่มธุรกิจการขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ ขยายตัวจากพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนแปลงและง่ายต่อการเข้าถึง กลุ่มธุรกิจผลิตสื่อคอนเทนต์ ขยายตัวจากการผลิตสื่อบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เติบโตสูง กลุ่มธุรกิจฟิตเนส/ยิมและการจัดแข่งกีฬา ที่ขยายตัวตามเทรนด์การดูแลสุขภาพและการเติบโตของกิจกรรมการแข่งกีฬา และธุรกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ขยายตัวได้ตามความนิยมการซื้อของออนไลน์
ส่วนธุรกิจเฝ้าระวัง พบว่า อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตได้ง่าย และต้องใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม ยากต่อการปรับตัวเพื่อให้เข้าสู่ธุรกิจสีเขียวและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ยาก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก การผลิตเคมีภัณฑ์ การผลิตเครื่องหนัง การผลิตสิ่งทอ และกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมผู้บริโภครวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้น
ได้แก่ กลุ่มธุรกิจหอพักนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีตัวเลือกมากและหลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน ธุรกิจสวนสนุก เช่น สวนน้ำที่มีการแข่งขันสูงกับธุรกิจสวนสนุกขนาดใหญ่ที่มีเครื่องเล่นหลากหลาย มีความเฉพาะในรูปแบบการท่องเที่ยวที่ต้องเน้นไปยังกลุ่มวัยรุ่นและเด็ก ต้องอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหลักที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ การทำโปรโมชั่นที่แข่งขันอย่างรุนแรงในตลาด
โดยกลุ่มธุรกิจที่ได้กล่าวไปนั้น ทั้งในส่วนที่เป็นกลุ่มดาวรุ่งและกลุ่มธุรกิจเฝ้าระวัง ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องในปี 2568 จากความผันผวนทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อภาคประชาชน เทรนด์หรือแนวโน้มใหม่ที่จะเกิดขึ้น
รักษาการ ผอ. สสว. เผยอีกว่า ส่วนการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์เอสเอ็มอีปี 2568 สสว. คาดว่า GDP เอสเอ็มอีไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5-3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ และการส่งออกที่ยังคงเติบโตได้ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและการผลิต เช่น อาหารและเครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง แต่ยังคงต้องกังวลกับสถานการณ์การแข่งขันด้านราคาจากสินค้าจีนบุกตลาดไทยและทั่วโลก เอสเอ็มอีไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวจากความท้าทายดังกล่าว โดยสร้างความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ หรือการสร้างคุณค่าผ่านอัตลักษณ์ไทย
จากการศึกษาของ สสว. ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ไทยมีศักยภาพสูงในหลายด้าน ทั้งในด้านการท่องเที่ยว แหล่งผลิตอาหารคุณภาพสูงของโลก ศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า แต่ยังขาดการเชื่อมโยงไปยังสินค้าและบริการที่จะส่งผ่านคุณค่าไปยังกลุ่มเป้าหมาย หากเอสเอ็มอีไทยจะก้าวข้ามและสามารถแข่งขันได้ในระยะต่อไป จำเป็นต้องสู้ในธุรกิจมูลค่าสูง โดยการยกระดับสินค้าและบริการด้วยคุณค่าที่มากกว่าการซื้อสินค้าและบริการตามความจำเป็นในการใช้ชีวิต แต่ต้องสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการเชิงอารมณ์ ที่สามารถเข้าถึงประสบการณ์ใหม่ ประสบการณ์ที่แตกต่าง ประสบการณ์ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตที่เหนือกว่าความปกติ สามารถส่งผ่านประสบการณ์ผ่าน Social Media ได้
ทั้งนี้ การยกระดับ พัฒนาสินค้าและบริการให้ไปถึงความต้องการนั้นได้ ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ แนวความคิดของผู้ประกอบการ การเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย การสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการได้ตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้ง 3 ปัจจัยหลักถูกเชื่อมโยงกันและขับเคลื่อนเป็นพลวัต ไม่สามารถทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะประสบความสำเร็จได้ โดยปัจจัยด้านแนวคิดของผู้ประกอบการ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ของตัวผู้ประกอบการเองที่มีความสามารถในการมองเห็นโอกาส ทิศทาง หรือแนวโน้มอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ การสร้างคอนเนคชั่นในเชิงธุรกิจที่สามารถเชื่อมโยงและนำไปต่อยอดได้อย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนปัจจัยในด้านกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มลูกค้า พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญ อาทิ ความเข้าใจและจำแนกกลุ่มลูกค้าของตนได้อย่างชัดเจน สามารถสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการได้ตรงจุด พัฒนากลยุทธ์การตลาดกับกลุ่มเป้าหมายให้สามารถเข้าถึงและเกิดความต้องการ
เช่น การสร้างเรื่องราวที่สัมพันธ์กับสินค้าหรือบริการ การดึงจุดเด่นที่สามารถเชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สามารถใช้กลยุทธ์และเครื่องมือการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่กำหนดไว้
ส่วนปัจจัยด้านคุณค่าของสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ เพื่อส่งต่อคุณค่าไปยังกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ โดยมีพื้นฐานจากการใช้วัตถุดิบที่ดีและมีคุณภาพ การมีทักษะการผลิตหรือการให้บริการขั้นสูง มีมาตรฐานหรือผ่านการประกวด ได้รับรางวัลจากเวทีต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการ
ในส่วนการสร้างธุรกิจมูลค่าสูงนั้น ผู้ประกอบการต้องมีแนวคิดและเข้าใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย สามารถส่งผ่านคุณค่าของสินค้าและบริการนั้น ไปยังเป้าหมายที่กำหนด เพื่อให้เกิดความต้องการเชิงอารมณ์ มากกว่าแค่ความจำเป็นในการดำรงชีวิต
โดยสามารถเชื่อมโยงกับความเป็นไทย ศิลปะท้องถิ่น ทรัพยากรเฉพาะถิ่น นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมทั้งการใช้เครื่องมือการตลาดที่เหมาะสม เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง คุณค่าดังกล่าวสามารถทำให้ผู้บริโภคมองข้ามปัจจัยด้านราคา และยอมจ่ายในราคาที่เหมาะสมกับคุณค่าที่ได้รับ และเป็นการสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้
อย่างไรก็ดี ภายในงาน “SME Symposium 2024” ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “สรรค์สร้างอัตลักษณ์
ฝ่าวงล้อมมังกรใหญ่ ทางรอดธุรกิจ SME ไทย” โดยวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มาร่วมให้ข้อมูลรวมถึงมุมมองแนวคิดที่เป็นประโยชน์ ได้แก่
1) นายตฤณ วุ่นกลิ่นหอม นายกสมาคมการค้าดิจิทัลไทย (TDTA) มาให้ข้อมูลแนวทางการรับมือกับการเข้ามาของสินค้าจีนและสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยในการเข้าสู่ตลาดจีน
2) นายดุลยพล ศรีจันทร์ Co-Founder ของ PDM Brand ผู้จำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์ เสื่อตกแต่งบ้านที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว มีการจัดจำหน่ายสินค้าโดยไม่ต้องมีโรงงานผลิต ไม่มีสินค้าในคลังสินค้าให้เป็นต้นทุนหลัก
3) นางสาวณัฐธิดา พละศักดิ์ เจ้าของธุรกิจร้านอาหารซาว ร้านอาหารอีสานพรีเมี่ยมที่มี Style เฉพาะตัวด้วยเมนูอีสานแท้หาทานยากและมีความหลากหลาย เน้นวัตถุดิบคุณภาพ สะอาด รสชาติที่มีความเป็นอีสานอย่างมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร
และ 4) นายจิรายุทธ ภูวพูนผล Co-Founder ร้าน โอ้กะจู๋ กิจการฟาร์มผักออแกนิคสู่ร้านสลัดพันล้าน ผู้ให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่ถือเป็นต้นทางของวัตถุดิบคุณภาพและการพัฒนาเครือข่ายสังคมให้ท้องถิ่นเติบโตไปพร้อมกัน การสร้างธุรกิจที่อยู่ในกระแสสุขภาพ รวมถึงการขยายธุรกิจโดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ร่วมทุนด้วยทำให้สามารถเสริมศักยภาพกิจการให้เติบโตได้เร็วขึ้น
เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มตลาดทั้งในและต่างประเทศให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นจากการเลือกใช้สินค้าหรือบริการที่มีการผลิต หรือมีส่วนของการดำเนินการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การคิดเพื่อสังคม รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่เชื่อถือได้ ตามแนวทาง ESG (Environment, Social, และ Governance) เพื่อความยั่งยืน (Sustainability) ในการดำเนินธุรกิจด้วย
ดังนั้น เอสเอ็มอีที่เริ่มลงทุนใหม่หรือวางแผนลงทุนเพิ่มเติม ควรคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า แม้กระทั่งการเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ธุรกิจทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ สสว. ได้ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งด้านการให้ความรู้เตรียมความพร้อมให้ การเพิ่มศักยภาพ การให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน การจัดทำมาตรฐาน การจัดทำข้อมูลการใช้คาร์บอน ผ่านงานส่งเสริมต่าง ๆ ของ สสว. และหน่วยร่วมดำเนินการ โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SME Connext และยังสามารถสอบถามรายละเอียดหรือข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ให้บริการ SME ครบวงจรซึ่งตั้งอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือที่ สสว. Call Center โทร. 1301
มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย (คีนัน) พร้อมพันธมิตรหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จัดสัมมนา “การบูรณาการทักษะ AI และทักษะสีเขียว สู่การเป็นแรงงานที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในอนาคตของเยาวชนไทย เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการสร้างกำลังคน เพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในอนาคตของประเทศไทย จากที่รัฐบาลไทยได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision 2030 “Ignite Thailand: จุดพลัง รวมใจ ไทยเป็นหนึ่ง”
เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมระดับโลก พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยตั้งเป้าประเทศไทยจะก้าวไปเป็นที่ 1 ของภูมิภาค ด้วยข้อได้เปรียบทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว ภูมิอากาศ โครงสร้างที่พร้อมต่อยอด และที่สำคัญ คือ ศักยภาพของคนไทย ซึ่งธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การบูรณาการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในขณะเดียวกันการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือธุรกิจสีเขียว (Green Business) เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่อุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังปรับรูปแบบธุรกิจ เข้าสู่อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด การมีแรงงานที่มีความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการดึงดูดการลงทุนและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
ดังนั้น กำลังคนที่มีทักษะด้านสิ่งแวดล้อมและความเชี่ยวชาญใน AI จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน พร้อมทั้งได้รับโอกาสการจ้างงานที่มีคุณค่า สามารถเชื่อมโยงจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทางมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย (คีนัน) เล็งเห็นถึงความสำคัญในการหาแนวทางในการพัฒนาทักษะงานให้แก่เยาวชน การแก้ไขช่องว่างด้านทักษะเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะเหล่านี้ไม่เพียงช่วยเพิ่มโอกาสการจ้างงาน แต่ยังสนับสนุนการประกอบธุรกิจและการมีส่วนร่วมในชุมชน และทำให้เยาวชนสามารถเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางคีนัน จึงได้ร่วมกับพันธมิตรทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และนักวิชาการจากทั้งในและต่างประเทศ จัดสัมมนาในหัวข้อ “การบูรณาการทักษะ AI และทักษะสีเขียว สู่การเป็นแรงงานที่ยั่งยืน (Building AI and Green Skills for a Sustainable Workforce Conference” ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจากนายโรเบิร์ตเอฟ. โกเดค (Robert F. Godec) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ให้เกียรติกล่าวเปิดงานในหัวข้อ “โอกาสและช่องทางในการเร่งพัฒนากำลังคนผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน” และ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ให้เกียรติปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ความจำเป็นในการสร้างความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจใน
อนาคต” นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อสำคัญของการสัมมนา อาทิ ภาพรวมของความต้องการและช่องว่างสำหรับกำลังคนยุคใหม่ในประเทศไทย, การนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการพัฒนากำลังคนจากทั้งในประเทศและระดับสากล และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เป็นต้น
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า “การสัมมนาครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญที่มุ่งหาแนวทางความร่วมมือและสร้างการบูรณาการระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายภาคส่วน เพื่อสร้างนวัตกรรมและอนาคตที่ยั่งยืน โดยนำเสนอทั้งมุมมองจากระดับสากลและในประเทศ มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกและสร้างความสำเร็จในอนาคตให้กับเยาวชนไทย ด้วยการเน้นส่งเสริมการพัฒนาทักษะสีเขียว ดิจิทัล และ STEM โดยมุ่งหวังที่จะเป็นตัวเร่งสำคัญในการแก้ไขช่องว่างและตอบสนองความต้องการของเยาวชนอย่างเหมาะสม เพื่อรับมือกับความต้องการทักษะในการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต คีนันได้ขยายการฝึกอบรมให้ครอบคลุมทักษะด้าน AI และ Green Skills เพื่อเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับความต้องการของอุตสาหกรรมและสังคมสมัยใหม่”
มร.ริชาร์ด เบิร์นฮาร์ด กรรมการอำนวยการ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า “ตลอด 28 ปีที่ผ่านมาคีนันมีโครงการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ครูมากกว่า 19,000 คน และนักเรียน 3 ล้านคน ความสำเร็จของโปรแกรมฝึก อบรมของคีนัน เกิดจากการผสานความเชี่ยวชาญในท้องถิ่นเข้ากับหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ เพื่อได้โปรแกรมที่ตอบสนองต่อความต้องการในระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้ งานประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นได้ จากการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ทั้งผู้บรรยาย ผู้นำในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้สละเวลาแบ่งปันความรู้ และแนวคิดที่สร้างสรรค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนไทย รวมถึงผู้สนับสนุน ได้แก่ มูลนิธิแคทเธอร์พิลลาร์ (Caterpillar Foundation), JPMorganChase, โบอิ้ง, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารออมสิน และ บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ คีนัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสัมมนาครั้งนี้ จะช่วยสร้างแนวทางการพัฒนาทักษะงาน เพื่อให้สามารถรับมือกับความท้าทายอันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานเยาวชน และการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทุกกลุ่มคนในสังคมอย่างเท่าเทียม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต”
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัว Virtual Exhibition รวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านสื่อพระพุทธศาสนาไว้ในระบบออนไลน์ในงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้าง สันติสุข ปีที่ 3 “สื่อ เตือน สติ” โดยมี ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้บริหารกองทุนพัฒนาสื่อฯ ภาคีเครือข่ายและ นักท่องที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้าร่วมงาน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ภายในงานมีพิธีมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดคลิปสั้นหนูได้ธรรม ในหัวข้อ “การให้ข้อคิดธรรมะใน ชีวิตประจำวัน” โดยกองทุนพัฒนาสื่อฯ เปิดพื้นที่ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาจากทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าประกวด ได้รับเกียรติจาก ดร.ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้มอบรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวด โดยมีผู้ได้รางวัล ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล ได้แก่
ผลงาน : Little great thing ผลงานจาก : ทีม Tortake House
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน
รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้แก่
วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม
รางวัลชมเชย 10 รางวัล ได้แก่
โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา จังหวัดลพบุรี
โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า จังหวัดอุดรธานี
โรงเรียนควนเนียงวิทยา จังหวัดสงขลา
โรงเรียนอนุบาลเมืองใหม่ชลบุรี
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ
โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
ผลงานจาก : ทีมโรงเรียนบ้านหนองบัว โรงเรียนบ้านหนองบัว จังหวัดชัยภูมิ
ผลงานจาก : ด.ช.ณฐชยนต์ ชยาวิวัฒน์กุล โรงเรียนวัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี
โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก
ทั้งนี้ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เล็งเห็นถึงความสามารถของเยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษาในปัจจุบัน ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสื่อ กองทุนพัฒนาสื่อฯ จึงใช้พื้นที่ในงาน มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้าง สันติสุข ปีที่ 3 “สื่อ เตือน สติ” จัดโครงการประกวดคลิปสั้น “หนูได้ธรรม” โดยนำเสนอประเด็นเรื่องใกล้ตัว ธรรมะในชีวิตประจำวันมาเป็นหัวข้อในการประกวด ปีนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีเยาวชนส่งผลงานคลิป สั้นเข้าประกวดเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนถึงเท่าตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ชื่นชมและภูมิใจที่เด็กไทยนำเวลามาสร้างสรรค์สื่อที่มี ประโยชน์ กองทุนพัฒนาสื่อฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและสนับสนุนการ ประกวดในครั้งนี้
กิจกรรมภายในงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปีที่ 3 “สื่อ เตือน สติ” มีการจัดแสดง นิทรรศการแบบผสมผสาน กิจกรรมสุขาใจ โดยทีมอาสาธนาคารสติ เครือข่ายชีวิตสิกขา รับฟังการเสวนา สื่อสารธรรมจากวิทยากร พระสุธีวชิรปฏิภาณ (พระมหาวีรพล), คุณกิ๊ก มยุริญ ผ่องผุดพันธ์ และคุณแอน ศศวรรณ จิรายุส สนทนาเพลงธรรมะพุทธประวัติ รำลึก “ครูเพลิน พรหมแดน” โดย ดร. ธนกร ศรีสุขใส, คุณศิรินทรา นิยากร และคุณแพนเค้ก ดร.เขมนิจ จามิกรณ์
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้า จัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ” ในรูปแบบกิจกรรมสื่อผสมผสานอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ ให้เข้าถึงได้โดยง่าย ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2567
ท่านพระครูวินัยธรจีรเดช จิรเตโช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์) กล่าวสัมโมทนียกถา นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม) (ประธานพิธีฝ่ายฆราวาส) กล่าวเปิดงาน โดยมี ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประชาชนนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ร่วมพิธีเปิด งานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” ณ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายในการส่งเสริมสร้างสรรค์ ผลักดันทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นทุนทางเศรษฐกิจเสริมสร้างระบบนิเวศและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรม พัฒนาพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อเสริมพลังสร้างสรรค์ให้คนเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวัฒนธรรมและสังคม กระทรวงวัฒนธรรม มีความยินดีที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทย และการส่งเสริมสถาบันพระพุทธศาสนา โดยเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบกิจกรรมสื่อผสมผสานอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ ให้เข้าถึงได้โดยง่าย ผ่านการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปีที่ 3 ในรูปแบบ On Ground Event ซึ่งได้รับความกรุณาจาก วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ในการจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ” เผยแพร่สื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ที่เดินมายังวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2567
ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวว่า เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงได้สร้างสรรค์กิจกรรมทั้งในรูปแบบ On Ground Event และ Online Event สร้างพื้นที่ให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนา เผยแพร่ให้ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศเข้าถึงสื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนาได้โดยง่าย โดยการจัดงานพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 โดยปีนี้ทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้จัดภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ” ซึ่งมุ่งเน้นที่จะให้ผู้ที่มาชมงานครั้งนี้ ได้รับสาระ ความรู้ หลักธรรม หลักคิด รวมถึงความสนุกสนานเบิกบานใจ ต้องการให้ทุกท่านมีสติในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาการเจริญปัญญาโดยการคิดแบบโยนิโสมนสิการมาประยุกต์เป็นให้เป็นหลักธรรมนำสุข
ทั้งนี้ กิจกรรมในวันที่ 13 ธันวาคม 2567 ได้มีการเปิดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” ในรูปแบบ On Ground Event เพื่อให้ประชาชน ผู้สนใจ ได้เข้าชมภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมนิทรรศการแบบผสมผสาน กิจกรรมสุขาใจ นำโดย ครูโกโก้ กกกร ทีมอาสาธนาคารสติ เครือข่ายชีวิตสิกขา รับฟังการเสวนาธรรมจากวิทยากร รศ.สุเชาว์ พลอยชุม, คุณเพชรี พรหมช่วย,คุณฤดีมาส ปางพุฒิพงศ์ และการแสดงจากผู้รับทุนโครงการเมตะดนตรีไทย ระนาดไทยเมตะเวิร์ส โดยงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ปี 3 “สื่อ เตือน สติ” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 ธันวาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
ส่วนกิจกรรมในวันที่ 14 ธันวาคม 2567 จะเป็นการเปิดงานในรูปแบบ Online Event ซึ่งประชาชนผู้สนใจ สามารถศึกษาธรรมในรูปแบบดิจิทัล ได้อย่างสะดวกผ่านระบบออนไลน์ทาง www.tmfbuddhistmedia.thaimediafund.or.th ซึ่งจะเผยแพร่ข้อมูลธรรมะอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั้งภายในและต่างประเทศ ให้เข้าถึงได้โดยง่าย โดยรวบรวมผลงานด้านพุทธศาสนามาแบ่งเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ อ่านธรรม ดูธรรม ฟังธรรม ท่องเที่ยวธรรม และ สนทนาธรรม