ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือเอไอเอส (AIS) สนับสนุนการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ศูนย์ฯ สิริกิติ์ เป็นศูนย์การประชุมแห่งแรกในประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทย ไร้ E-Waste’ กับ AIS เพื่อแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะประเภทอื่นๆ และส่งต่อไปยังหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี โดยเปิดจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste บริเวณเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ชั้น LG

 

สุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กล่าวว่า “ทางศูนย์ฯ สิริกิติ์ มีความยินดีที่ได้เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ซึ่งเป็นโครงการ ที่ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี สอดรับกับพันธกิจหลัก ของศูนย์ฯ สิริกิติ์ ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในการรักษาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยผู้เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือชุมชนใกล้เคียง สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง แบตเตอรี่มือถือ มาทิ้ง ได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ นอกจากนั้นเรายังได้จัดวางถังแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้มาใช้บริการภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ ได้รับความสะดวก และง่ายต่อการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งขยะที่ผ่านการคัดแยกจะเข้าสู่กระบวนการ Recycle และ Upcycle เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ ตามระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยจัดสรรให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ มากที่สุด”

 

สายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส กล่าวว่า “AIS ในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการพัฒนาเครือข่ายสื่อสารอัจฉริยะให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีหลักของประเทศแล้ว เรายังวางนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม ที่วันนี้ AIS เดินหน้าสร้าง Ecosystem ในการบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้คนไทยตระหนักถึงปัญหา สร้างกระบวนการจัดเก็บเพื่อให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ผ่านการสร้างการมีส่วนร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย โดยครั้งนี้เราได้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เข้ามาเป็นหนึ่งในเครือข่าย ด้าน Green Partnerships โดยมีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน โดยผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ศูนย์ฯ สิริกิติ์ หรือมาเข้าร่วมงานประชุม งานแสดงสินค้า หรืองานแฟร์ต่างๆ สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาทิ้งได้ที่จุดรับขยะภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ เพื่อจะได้รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดอย่างถูกต้องต่อไป”

 

เพราะความยั่งยืนคือพันธกิจหลัก ศูนย์ฯ สิริกิติ์ จึงให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบอาคาร ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประหยัดพลังงาน การควบคุมมลพิษ การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดภูมิทัศน์ที่ช่วยเชื่อมโยงอาคารเข้ากับพื้นที่สีเขียวของสวนเบญจกิติ และการจัดพื้นที่ส่วนกลางเพื่อจัดกิจกรรมสันทนาการ การร่วมมือ ในโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ กับ AIS ในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนของศูนย์ฯ สิริกิติ์ อย่างแท้จริง”

นายสุทธิชัย บัณฑิตวรภูมิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ซ้าย) เดินหน้าตอกย้ำ การเป็น “ศูนย์ฯ ประชุม สีเขียว” จับมือ นางสายชล ทรัพย์มากอุดม รักษาการหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ เอไอเอส (ขวา) เข้าร่วมโครงการ ‘คนไทยไร้ E-Waste’ ตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์ พร้อมชวนคนไทยยุคดิจิทัล กำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน

วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) หลายๆ องค์กรได้เดินหน้าขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมด้วยตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อโลกและความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่ “มนุษย์” อย่างเราๆ

SCGC มุ่งมั่นสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรเพื่อความยั่งยืน (Chemicals Business for Sustainability)  โดยได้นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และ ESG (Environmental, Social and Governance) มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คนในสังคม โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งนำความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมาเป็นโซลูชั่นเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง (Innovation for Better Environment & Society)

และในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลกนี้ (World Environment Day) SCGC ขอแบ่งปันเรื่องราว เพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืนผ่านภารกิจ ภารกิจ เพิ่มผืนน้ำ ฟื้นผืนป่า คืนฝูงปลา ที่ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเห็นผลเชิงประจักษ์... มาร่วมติดตามเรื่องราวดีๆ เหล่านี้ไปด้วยกัน

 

ชุมชนคนน้ำดี เก็บน้ำดีมีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ

 “เขายายดาเมื่อก่อนไม่ใช่แบบนี้นะ เมื่อหลายปีที่แล้ว มันเกิดความแห้งแล้งจากการแผ้วถางป่า ที่ผ่านมาเราพยายามแล้วนะในเรื่องการปลูกป่า แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนเราได้ประสานไปที่บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ เขามาช่วยสอนเราเรื่องการจัดการน้ำ เราได้เขามาเป็นพี่เลี้ยง แล้วเวลามีปัญหา ปรึกษาได้ทุกเรื่อง ผู้ใหญ่วันดี อิทรพรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านมาบจันทร์ จังหวัดระยอง บอกเล่าถึงที่มาก่อนจะร่วมมือกับ SCGC พลิกฟื้นพื้นที่เขายายดา ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2550  SCGC ได้เริ่มรับรู้ถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำบริเวณพื้นที่รอบเขายายดา ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นการมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกจึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจชุมชน และจังหวัดระยองเป็นอย่างมาก  SCGC จึงเริ่มภารกิจเพิ่มผืนน้ำ ฟื้นผืนป่า ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมรอบเขายายดา จนกระทั่งนำไปสู่การจัดทำโครงการ เก็บน้ำดี มีน้ำใช้ ด้วยโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ เปลี่ยนชีวิตชุมชนด้วยการบริหารจัดการน้ำและสู้ภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ภายใต้หัวใจสำคัญ 4 ด้านคือ สร้างคน”  มุ่งสร้างนักวิจัยท้องถิ่นโดยทำงานร่วมกับ SCGC และผู้เชี่ยวชาญ สร้างกติกา กำหนดกติกาการใช้น้ำของชุมชนอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของความเกื้อกูลกัน เก็บข้อมูล เก็บข้อมูลปริมาณน้ำตามจุดต่าง ๆ โดยบันทึกสถิติอย่างเป็นระบบ สำหรับนำไปกำหนดกติกาการใช้น้ำร่วมกัน เก็บน้ำเก็บน้ำให้ได้มากและนานที่สุด ด้วยการดูแลแหล่งต้นน้ำ และแหล่งเก็บน้ำของชุมชน

SCGC ได้นำโมเดล 2 สร้าง 2 เก็บ มาบูรณการร่วมกับองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ป่าและน้ำ เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยการปลูกป่า 5 ระดับ หรือการคัดเลือกพรรณไม้ท้องถิ่นซึ่งมีเรือนยอดต่างระดับกัน การสร้างฝายชะลอน้ำ โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำในช่วงฤดูฝน การขุดลอกคลองเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ และสุดท้ายคือการทำธนาคารน้ำใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ใต้ดิน ประหยัดน้ำสำหรับรดน้ำต้นไม้และพืชผลทางการเกษตร ลดน้ำท่วมขังช่วงหน้าฝน และสร้างความชุ่มชื้นในช่วงหน้าแล้ง

จากการทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานราชการในพื้นที่อย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี ทำให้เกิดผลลัพท์เชิงประจักษ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับชุมชนอย่างประเมินค่าไม่ได้ อาทิ ช่วยเติมน้ำในลำธารได้ 14.83 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี อุณหภูมิอากาศต่อปีลดลง 1.6 องศาเซลเซียส สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 38.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไร่ พบสัตว์ป่า 123 ชนิด และพรรณไม้อีกกว่า 120 ชนิดพันธุ์

ปลูก เพาะ รัก : ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า สู่วิถีสังคมคาร์บอนต่ำ

จากความมุ่งมั่นในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ SCGC จึงเดินหน้าปลูกป่าทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เยาวชน ชุมชนในพื้นที่ และเหล่าจิตอาสา เกิดเป็นโครงการ ปลูก เพาะ รัก: ปลูกต้นไม้ เพาะต้นกล้า รักษาป่า

ปลูกต้นไม้ : พลิกฟื้นผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ด้วยการปลูกป่าบก และป่าชายเลน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าชุมชน และกิจกรรมปลูกต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศ โดยเบื้องต้น SCGC ได้ตั้งเป้าปลูกป่า 1 ล้านต้น ซึ่งได้ปลูกป่าชายเลนไปแล้วกว่า 181,800 ต้น คิดเป็นพื้นที่ 260 ไร่ สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,272 ตันคาร์บอนไดออกไซด์*  (*ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566)

เพาะต้นกล้า : จากการฟื้นฟูป่าบริเวณเขายายดา สู่การออมเมล็ดพันธุ์เพื่อสร้างธนาคารต้นไม้  SCGC ได้ร่วมกับชุมชนบ้านมาบจันทร์ เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพันธุ์ไม้หายาก จัดทำเป็นโรงเรือนเพาะชํากล้าไม้ เพื่อนําเมล็ดพันธุ์จากต้นไม้ในพื้นที่เขายายดามาเพาะขยายพันธุ์ ขณะเดียวกันได้แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ให้บุคคลทั่วไปนำไปเพาะ และส่งกลับคืนต้นกล้ามายังโรงเรือนเพื่อดูแลให้เป็นกล้าไม้ที่แข็งแรง พร้อมหยั่งรากลงดินต่อไป ที่ผ่านมาสามารถเพาะต้นกล้าได้มากกว่า 20,000 ต้น

รักษาป่า : การปลูกต้นไม้ในใจคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุด SCGC จึงได้ส่งเสริมจิตสำนึกรักป่า ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีพันธกิจร่วมกัน รวมถึงเครือข่ายอาสาสมัครการรวมกลุ่มอนุรักษ์ในท้องถิ่นให้มีการจัดกิจกรรมดูแลพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง เปิดรับสมัครสมาชิกรุ่นใหม่เพื่อสานต่องานของเครือข่าย และร่วมเป็นแกนนำในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต่อไป

บ้านปลาเอสซีจีซี คืนความสมบูรณ์ให้ทะเลไทย

SCGC ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง) และกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดระยอง หาทางแก้ปัญหาระบบนิเวศ เพื่อคืนความสมดุลสู่ท้องทะเลระยอง ด้วย นวัตกรรมบ้านปลา จากท่อ PE100 ซึ่งผลิตจากเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง ที่เหลือจากกระบวนการขึ้นรูปทดสอบในโรงงาน ซึ่งเม็ดพลาสติก PE100 ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากลว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทนแดด และแรงดันน้ำ จึงมีความปลอดภัยต่อระบบนิเวศทางทะเล

นับจากการวางบ้านปลาหลังแรกในปี 2555 จนถึงวันนี้ SCGC วางบ้านปลาไปแล้วกว่า 2,260 หลัง  สร้างพื้นที่อนุรักษ์ในทะเลกว่า 50 ตารางกิโลเมตร  เกิดความร่วมมือกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน 43 กลุ่ม* (ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566)  นอกจากนี้ ยังได้มีการสำรวจเรื่องไมโครพลาสติก ซึ่งไม่พบไมโครพลาสติกจากท่อ PE100 ในบริเวณบ้านปลาและพี้นที่โดยรอบ

ภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมจะสำเร็จและคงอยู่อย่างยั่งยืนได้นั้น เกิดขึ้นจากความร่วมแรงร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคม  สิ่งแวดล้อมจะไปต่อได้หรือไม่ คำตอบนี้จึงอยู่ที่ใจและสองมือของเราทุกคน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ และ บริษัท นิชิเร เฟรช อิงค์ คู่ค้าผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็งประเทศญี่ปุ่น ยกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตรักษ์โลก จับมือคิกออฟโครงการ "ซีพีเอฟ-นิชิเร ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศป่าชายเลน" นำร่องปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่ป่าชายเลน ต.ท่าพริก จ.ตราด มุ่งสู่เป้าหมายบรรเทาผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ(SDGs)

นายโมโตฮิโร  คิอูชิ  (Mr. Motohiro Kiuchi) ผู้บริหารงานกลุ่มผลิตภัณฑ์กุ้ง (กลุ่มงานจัดหาผลิตภัณฑ์อาหารทะเล 2)  บริษัท นิชิเร เฟรช อิงค์  คู่ค้าผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็งประเทศญี่ปุ่นของซีพีเอฟ และ นายวินัย  ด่านวัฒนะ ที่ปรึกษาธุรกิจฟาร์มเลี้ยงกุ้ง-โครงการพิเศษ ในฐานะประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์ป่าชายเลน จังหวัดตราด  นายสุธี สมุทระประภูต ผู้อำนวยการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและปกป้องฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซีพีเอฟ  ร่วมด้วยคณะทำงานป่าชายเลนยุทธศาสตร์ป่าชายเลน   ซีพีเอฟจิตอาสา   และชุมชนในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้  1,400 ต้น บนพื้นที่ 2 ไร่ ประกอบด้วย ต้นโปรงแดง โปรงขาว ถั่วขาว ถั่วดำ ฝาดดอกแดง ฝาดดอกขาว ลำแพน จิกทะเล ซึ่งเป็นกล้าไม้ที่เติบโตได้ดีในพื้นที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ

นายโมโตฮิโร  คิอูชิ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญและตระหนักในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหาร ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งมั่นสร้างพันธมิตรที่ดีและยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี  เราดำเนินธุรกิจกับซีพีเอฟมายาวนานและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจที่จะช่วยสร้างความยั่งยืน กิจกรรมปลูกป่าชายเลนในครั้งนี้ สอดคล้องกับแนวนโยบายของบริษัทฯ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustaianble Development Goals : SDGs) เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบริษัทฯ ได้รับการสอบถามจากผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างต่อเนื่อง  

"ทางนิชิเรฯ มีโอกาสเยี่ยมชมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนของซีพีเอฟมาแล้วหลายครั้ง รู้สึกประทับใจ และในครั้งนี้ ยินดีอย่างมากที่มีโอกาสทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลนร่วมกัน  สอดรับกับนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่สนับสนุนการจัดหาอาหารทะเลที่ยั่งยืน ร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานการจำหน่ายกุ้ง ในฐานะที่บริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น เราเชื่อว่ากิจกรรมปลูกป่าชายเลนเป็นภารกิจของบริษัทฯ ที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งเติบโตอย่างยั่งยืน" นายโมโตฮิโร  คิอูชิ กล่าว

ทางด้าน นายวินัย  ด่านวัฒนะ ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์ป่าชายเลน จังหวัดตราด กล่าวว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร และเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก ที่มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ธุรกิจของเรามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ เป็นวัตถุดิบในการกระบวนการผลิต ซึ่งเกี่ยวกับความยั่งยืนของโลก  ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าอาหารทุกคำที่กิน เป็นการกินเพื่อโลกที่ยั่งยืน  ขณะเดียวกัน เราส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกันด้วยความแข็งแกร่ง  บนพื้นฐานของการดำเนินธุรกิจที่ตระหนักร่วมกันในการมีส่วนร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและรักษาสมดุลระบบนิเวศ  ที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน และสนับสนุนพันธกิจประชาคมโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

"การจัดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างซีพีเอฟและนิชิเรฯ ในครั้งนี้ เราตระหนักในเป้าหมายเดียวกัน คือ ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญกับสินค้าที่มาจากกระบวนการผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  ถือเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้คู่ค้าธุรกิจของซีพีเอฟเติบโตไปด้วยกัน" นายวินัย กล่าว

ศึกษาแนวทางเสริมสร้างอาชีพด้วยกาแฟขี้ชะมด และปลูกไม้ดอก ณ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ จังหวัดชุมพร น้อมรำลึก 100 ปี กรมหลวงชุมพร

บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต นำทีมพนักงานอาสาสมัคร เข้าร่วมบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาดไทย ในโครงการบริจาคโลหิต 9 แสนซีซี 90 ปีหอการค้าไทย ครั้งที่ 2 จัดโดย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายสมาชิกผู้ประกอบการ หอการค้าไทย ได้มีส่วนร่วมกิจกรรมทำความดีเพื่อสังคม และเสริมสร้างจิตสาธารณะให้ผู้ป่วยที่ขาดแคลนโลหิตในการรักษาพยาบาล และเป็นโลหิตสำรองยามขาดแคลน ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ เมื่อเร็วๆนี้

23 พฤษภาคม 2566 - มูลนิธิแมค แฮปปี้ แฟมิลี่ ร่วมกับ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย เดินหน้าสานต่อพันธกิจ “โครงการสุขภาพดีใต้ร่มพระบารมี” พร้อมพันธมิตรจิตอาสาบูรณาการความร่วมมือ จัดนำทีมหน่วยรถ ทันตกรรมเคลื่อนที่ (Mobile Care) ออกเดินทางให้บริการตรวจรักษาฟันแก่เด็กและเยาวชน ให้โอกาสการเข้าถึงทันตสุขภาพฟันที่ดีมาแล้วมากกว่า 42,000 คน จวบจนเป็นเวลากว่า 7 ปี ลงพื้นที่ให้บริการตรวจและรักษาสุขภาพฟันฟรีแก่เด็กๆ ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม นับเป็นครั้งที่ 3 ของปี ซึ่งในปี 2566 นี้มีแผนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องอีก 3-4 จังหวัด คาดการณ์ส่งมอบสุขภาพฟันที่ดีแก่เด็กๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้อีกประมาณกว่า 600 คน

ม.ร.ว. จิยากร อาภากร เสสะเวช กรรมการอำนวยการ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย และนายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการ มูลนิธิแมค แฮปปี้ แฟมิลี่ นางสาวกิตติวรรณ อนุเวชสกุล รองประธานกรรมการ มูลนิธิแมค แฮปปี้ แฟมิลี่ และประธานกรรมการบริหารบริษัท แมคไทย จำกัด พร้อมด้วยนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ตลอดจนคณะผู้บริหารจากบริษัท แมคไทย จำกัด ร่วมเปิดโครงการฯ และเยี่ยมชมให้กำลังใจเหล่าพันธมิตรจิตอาสาจาก โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร มูลนิธิ ทันตแพทย์เอกชน ประเทศไทย ที่ได้มาร่วมสร้างโอกาสแก่เด็กในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ด้านทันตกรรม ตรวจสุขภาพฟันฟรี ครอบคลุมไปจนถึงการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาทันตอนามัยของตนเอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ณ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งมีกำหนดการออกให้บริการแก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ของจังหวัดนครปฐม ตั้งแต่วันที่ 23 – 26 พฤษภาคม 2566

มรว.จิยากร อาภากร เสสะเวช กรรมการอำนวยการ มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย กล่าวว่า “มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ได้ร่วมมือกับมูลนิธิแมค แฮปปี้ แฟมิลี่ พร้อมหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ โรงพยาบาลทันตกรรมมหาจักรีสิรินธร และมูลนิธิทันตแพทย์เอกชน (ประเทศไทย) รวมถึงทีมบุคลากรทางการแพทย์ และหน่วยงานด้านสาธารณสุขของแต่ละจังหวัดที่เราเข้าไปดำเนินการ พร้อมเดินหน้าภารกิจหน่วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่ฯ อย่างเต็มที่ ด้วยมุ่งหวังเห็นเด็กไทยได้เข้าถึงโอกาสในการมีสุขภาพปากและฟันที่แข็งแรง ซึ่งความสำเร็จของโครงการฯทั้งหมดจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากขาดความร่วมมือและช่วยเหลือจากพันธมิตรทุกฝ่าย ต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ยังคงสนับสนุนและขับเคลื่อนโครงการที่ดีนี้ไปด้วยกัน”

นางสาวกิตติวรรณ อนุเวชสกุล รองประธานกรรมการ มูลนิธิแมค แฮปปี้ แฟมิลี่ และประธานกรรมการบริหารบริษัท แมคไทย จำกัด เผยถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “ปัญหาสุขภาพฟันกับเด็กไทยถือเป็นปัญหาต้นๆ ที่ควรได้รับการดูแลและแก้ไข มูลนิธิฯ เล็งเห็นถึงปัญหานี้ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของ “โครงการสุขภาพดีใต้ร่มพระบารมี” จึงมีความ

มุ่งมั่นเดินหน้าพร้อมให้การสนับสนุนโครงการฯ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้พนักงานของแมคไทยได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคม มีจิตสาธารณะเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมที่อยู่ร่วมกัน ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทางมูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย ตลอดจนพันธมิตรผู้ที่ให้ความร่วมมือทุกภาคส่วนที่ทำงานร่วมกันด้วยดีกันมาโดยตลอด ด้วยความมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนสังคมที่ดีต่อไป”

กิจกรรมการออกหน่วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่ฯ ในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการจัดเตรียมเจ้าหน้าที่คัดกรอง ทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์ในพื้นที่ รวมถึงได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วนของจังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ ยังมีจิตอาสาใจดีจากบริษัท แมคไทย จำกัด เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และได้รับการสนับสนุนของเล่นเพื่อแจกแก่เด็กๆ จากแมคโดนัลด์

นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า “ตามที่มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย และมูลนิธิ แมค แฮปปี้แฟมิลี่ จัดโครงการ “สุขภาพดีใต้ร่มพระบารมี” ออกให้บริการทางทันตกรรม แก่เด็กนักเรียนในพื้นที่จังหวัดนครปฐมในครั้งนี้ เด็กและเยาวชนที่เข้ารับบริการ จะได้รับประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากเป็นบริการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ต้องขอขอบคุณแทนนักเรียนในจังหวัดนครปฐม ที่มีโอกาสได้รับบริการต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน ทั้งจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และจากส่วนกลางที่ได้เดินทางมาทำงานร่วมกัน”

พันธกิจนี้จะยังคงขับเคลื่อนต่อไปเพื่อเติมเต็มรอยยิ้ม และสุขภาพฟันที่ดีแก่เด็ก และเยาวชนของไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย สามารถติดตามให้กำลังใจหน่วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่ (Dental Care Unit) ภายใต้โครงการ “สุขภาพดีใต้ร่มพระบารมี” โดยมูลนิธิสงเคราะห์เด็กของสภากาชาดไทย มูลนิธิ แมค แฮปปี้ แฟมิลี่ และคาราวานพันธมิตรผ่านทาง www.rmhc.or.th และ facebook/rmhcthailand หรือแบ่งปันและมอบโอกาสให้กับผู้ป่วยเด็กและครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้โดยบริจาคออนไลน์ผ่าน www.rmhc.or.th

X

Right Click

No right click