กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) มอบผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนให้กับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนขาเทียมจำนวนทั้งสิ้น 920 กิโลกรัม มูลค่า 85,400 บาท โดยมีคณะผู้บริหารขอมูลนิธิขาเทียมเป็นผู้รับมอบ โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยให้การสนับสนุนมูลนิธิขาเทียมฯ อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 บริจาคผลิตภัณฑ์โพลิยูรีเทนสำหรับการทำขาเทียมแล้วกว่า 40,000 ขา รวมถึงจัดการอบรมต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงและพัฒนาระบบการผลิตเพื่อเพิ่มมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย
เคทีซีจับมือคาเธ่ย์ ปลูกต้นโกงกางที่ป่าชายเลนในประเทศไทยภายใต้โครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น” โดยโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น” เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างความยั่งยืนที่คาเธ่ย์ได้ดำเนินมาเป็นเวลา 3 ปี เพื่อสนับสนุนชุมชนท้องถิ่น ฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ และรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความยั่งยืน และสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ชุมชนท้องถิ่น เคทีซีจึงได้ร่วมสนับสนุนและต่อยอดโครงการดังกล่าว ด้วยการสมทบจำนวนต้นไม้สำหรับปลูกในป่าชายเลนเท่าจำนวนบัตรโดยสารของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ที่จำหน่ายผ่าน KTC World Travel Service และชำระด้วยบัตรเครดิต KTC ในปี 2566 ทั้งนี้ ทีมงานเคทีซีและคาเธ่ย์ ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้รวม 4,000 ต้น ณ ป่าชายเลนบางปู สมุทรปราการในวันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา
นางประณยา นิถานานนท์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เคทีซีดำเนินธุรกิจบนแนวคิดด้านความยั่งยืนโดยคำนึงถึงทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล การร่วมมือกับพันธมิตรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมแสดงความรับผิดชอบและบรรเทาปัญหาภาวะสิ่งแวดล้อมก็เป็นแนวคิดของเคทีซีด้วยเช่นกัน การร่วมมือกับ คาเธ่ย์ เพื่อต่อยอดโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น” เป็นส่วนหนึ่งที่เคทีซีต้องการสนับสนุนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ชุมชนท้องถิ่น และรณรงค์ให้สมาชิกเห็นความสำคัญของการปลูกต้นโกงกางในป่าชายเลน ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ช่วยลดโลกร้อนได้ดีเมื่อเทียบกับป่าบกทั่วไป ด้วยป่าชายเลนสามารถสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณที่มากกว่า เคทีซีจึงได้ร่วมสมทบต้นโกงกางเพิ่ม 1 ต้น เมื่อสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีจองบัตรโดยสารเครื่องบินสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ทุกๆ 1 ใบ ผ่าน KTC World Travel Service โดยโครงการดังกล่าวนี้ เป็นความร่วมมือระยะยาวระหว่างสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคและเคทีซี เริ่มต้นขึ้นในปี 2566 ซึ่งตลอดทั้งปีที่ผ่านมา มีจำนวนต้นโกงกางที่ได้รับจากโครงการนี้ถึง 4,000 ต้น และในปีนี้ สมาชิกเคทีซียังคงสามารถเป็นส่วนหนึ่งใน โครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น” ได้ตลอดทั้งปี 2567 คาเธ่ย์ ดำเนินโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น” เป็นครั้งแรกในปี 2564 ที่ประเทศไทย และได้ขยายผลไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนำไปสู่การปลูกป่าชายเลนมากกว่า 27,000 ต้นทั่วทั้งภูมิภาค
นางสาวเคอรี่ ลุย ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค กล่าวว่า “เราภูมิใจที่ได้สานต่อความพยายามในการส่งเสริมความยั่งยืนและตอบแทนชุมชนที่เราให้บริการ เรามุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไป และต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนในสังคมมาร่วมมือกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแก่โลกของเรา ในโอกาสนี้ เราจึงได้เชิญเด็กด้อยโอกาส 10 คนมาร่วมกิจกรรมกับเรา เพื่อให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ตรงในการปลูกป่า และฟูมฟักแนวความคิดด้านความยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้น เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับเคทีซี พันธมิตรที่มีแนวคิดเดียวกันในการเดินทางเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น”
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KTC World Travel Service โทรศัพท์ 02 123 5050 สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ https://ktc.today/apply-card หรือติดต่อศูนย์บริการสมาชิก “เคทีซี ทัช” ทุกสาขาทั่วประเทศ
หมายเหตุ : บัตรเครดิตใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้ตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ยสูงสุด 16% ต่อปี
นางสาวสิรีรัตน์ คอวนิช (กลางซ้าย) ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 29,402,285 บาท สมทบทุนเข้าโครงการอุปการะเด็กในมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เพื่อร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก ครอบครัวและชุมชนยากไร้ ซึ่งเผชิญกับปัญหาความยากจน รวมทั้งช่วยให้ครอบครัวและชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีได้ร่วมกันบริจาคผ่านการใช้คะแนนสะสม KTC FOREVER และบัตรเครดิตเคทีซี โดยมีดร.สราวุธ ราชศรีเมือง (กลางขวา) ผู้อำนวยการ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ให้เกียรติรับมอบ ณ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เขตห้วยขวาง เมื่อเร็วๆ นี้
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลเพื่อการพัฒนาและการรณรงค์เพื่อสร้างความยุติธรรมในสังคม โดยดำเนินพันธกิจช่วยเหลือเด็ก ผ่านการทำงานร่วมกับครอบครัวและชุมชน เพื่อเอาชนะปัญหาความยากจนและความไม่ยุติธรรมในสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเด็ก และชุมชนที่เปราะบางยากไร้ที่สุดโดยไม่มีการแบ่งแยกเพศ เชื้อชาติ ภาษาและศาสนา โดยมูลนิธิฯ มีเป้าหมายจะช่วยเหลือเด็ก 3 ล้านคนที่อยู่ในภาวะเปราะบางให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นภายในปี 2025 ปัจจุบันมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มีพื้นที่ดำเนินงานใน 36 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย และมีเด็กในความอุปการะ 38,479 คน
บริษัท ชูมณี จำกัด วิสาหกิจเพื่อสังคม ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท เค-เน็กซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เจ้าของแบรนด์ร้านสะดวกซัก Otteri wash & dry ร่วมกับ เรือนจำจังหวัดนนทบุรี “ลงนามบันทึกความเข้าใจในการพัฒนากลุ่มอาชีพงานบริการซักอบรีดและอาชีพในอุตสาหกรรมการโรงแรมครบวงจร” เพื่อพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้เป็นคนที่มีคุณภาพ สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้ผู้ต้องขังมีความรู้และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมภายนอกได้อย่างปกติสุขภายหลังพ้นโทษ และไม่กระทำผิดซ้ำในอนาคต ณ กรมราชทัณฑ์
กระทรวงยุติธรรม
นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า “กรมราชทัณฑ์มีนโยบายอันเป็นเป้าหมายสำคัญ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาระบบเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังในรูปแบบทวิภาคี ได้แก่ สถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เรือนจำ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรี ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายอย่างชูมณี ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโอกาส สร้างงาน สร้างอาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษต่อไป”
นายกวิน นิทัศนจารุกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชูมณี จำกัด เปิดเผยว่า “ชูมณี” ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมจากการขับเคลื่อนโครงการ มาจากการมองเห็นปัญหาต่างๆ ในสังคม และพยายามนำธุรกิจไปเป็นหนึ่งแนวทางช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาให้ผ่อนคลายลงได้ไม่มากก็น้อย และการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกับเรือนจำจังหวัดนนทบุรีในครั้งนี้ เราเล็งเห็นถึงความสำคัญของการมอบโอกาส ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ และช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจให้คนที่เคยทำผิดพลาดอย่างผู้ต้องขัง ให้สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ หนึ่งในนั้นคือ “โอกาสในการทำงาน” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด พัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี ประเทศไทยพบปัญหาผู้พ้นโทษกระทำผิดซ้ำสูงมาก เพราะไม่มีการให้พื้นที่ให้โอกาส ในการประกอบอาชีพและเข้าสู่ตลาดแรงงาน ผู้พ้นโทษจำนวนมากไม่มีที่ไป ไม่มีบ้านให้กลับ ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม แม้กระทั่งคนในครอบครัว จนต้องกลับสู่วงจรชีวิตเดิม และกระทำผิดซ้ำ จนต้องกลับสู่เรือนจำอีกครั้ง”
สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจในการพัฒนากลุ่มอาชีพงานบริการซักอบรีดและอาชีพในอุตสาหกรรมการโรงแรมครบวงจร ชูมณี ถือเป็นองค์กรหลักในการช่วยส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรมความสามารถในการให้บริการ ซัก อบ รีด ให้แก่ผู้ต้องขัง พร้อมส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกแก่การเรียนรู้ จนเกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ผู้ต้องขังได้มีรายได้ตั้งแต่ยังไม่พ้นโทษ จนมีอาชีพ เตรียมความพร้อมให้ผู้ต้องขังสามารถกลับคืนสู่สังคมได้หลังพ้นโทษ และไม่กระทำผิดซ้ำในอนาคต
นอกจากนี้ ชูมณี ร่วมกับตั้งต้นดี และภาคีเครือข่าย ในการร่วมสนับสนุนให้ผู้ต้องขังได้รับโอกาสใหม่ โดยการจ้างงานผู้พ้นโทษจากเรือนจำ ที่ผ่านการอบรมให้บริการ ซัก อบ รีด เข้าทำงานที่ศูนย์ฝึกอาชีพ ซัก อบ รีด ตั้งต้นดี By ชูมณี ให้สอดคล้องกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ความปลอดภัย ด้านสุขอนามัยและแรงงาน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้พ้นโทษ ตามที่เห็นสมควรภายใต้การดูแลของ ตั้งต้นดี ที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) Thailand Institute of Justice (TIJ)
มุ่งมั่นเดินหน้าปลูกจิตสำนึกเยาวชนและคนไทยทั้งประเทศ สร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ ผ่านการประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 29 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผนึกกำลังเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วยการดำเนินงานของ ซีพีเอฟ ซีพีออลล์ และทรู คอร์ปอเรชั่น จัดพิธีมอบรางวัลโครงการปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประกวดภาพถ่าย 'สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ' ประจำปี 2565-2566 พร้อมจัดนิทรรศการภาพถ่ายอันทรงคุณค่า ประจำปี 2565 และ ปี 2566 ณ ลานกิจกรรมชั้น 1 และผนังโค้งชั้น 3 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าสายงานกลยุทธ์องค์กรและด้านการศึกษา บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศในปี 2565-2566 มีดังนี้
- ประจำปี 2566 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทสัตว์มีค่า ภาพพฤติกรรมสัตว์ป่า
นายธีรพงศ์ เพ็ชร์รัตน์ เจ้าของภาพ “ศึกชนช้าง”
- ประจำปี 2565 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทสัตว์มีค่า ภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
นายปฤษฎิ์ เก่งสูงเนิน เจ้าของภาพ “More than Dream”
- ประจำปี 2566 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทป่ามีคุณ ภาพถ่ายระยะใกล้
นายศราวุฒิ ทองเมือง เจ้าของภาพ “Hoar Frost”
- ประจำปี 2565 ระดับบุคคลทั่วไป ประเภทป่ามีคุณ ภาพทิวทัศน์
นายสุชาติ เกื้อทาน เจ้าของภาพ “ไออุ่นแห่งขุนเขา”
ทั้งนี้ ในปี 2565 และปี 2566 มีเยาวชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประกวดทั้งสิ้น 1,126 คน รวม 4,041 ภาพ เป็นการตอกย้ำ และสร้างความตระหนัก ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สมบัติอันล้ำค่าอันเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติให้ยั่งยืนสืบไป
ปลูกใจรักสิ่งแวดล้อม ทรูปลูกปัญญา
บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต มอบเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันไฟป่า ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายดำรงค์ จักรมานนท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก เป็นตัวแทนรับมอบ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และบุคลากร จากหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเข้าปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ FWD ประกันชีวิต ให้ความสำคัญในการสร้างประโยชน์ให้สังคมอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีกรอบแนวคิดในการสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3 ด้าน คือ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
นางสาวปิยะสุดา แคว้นนนทรีย์ ผู้บริหารสูงสุด สายงานทรัพยากรบุคคล “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ “พิมพ์ & Prove” เพื่อน้องผู้พิการทางสายตา โดยชวนผู้บริหารและพี่พนักงานจิตอาสากว่า 50 คน ร่วมแรง ร่วมใจกันจัดพิมพ์ และตรวจทานหนังสือเรียนจากแบบเรียนต่างๆ ที่น้องๆ สายตาปกติใช้ในห้องเรียน เพื่อส่งมอบให้น้องๆ ผู้พิการทางสายตาที่ศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา ผ่านศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
หนังสือเรียนสำหรับน้องๆ ผู้พิการทางสายตานี้ เคทีซีได้รับหนังสือเรียนต้นฉบับมาจากศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด โดยจิตอาสาพนักงานเคทีซีช่วยกันพิมพ์ และตรวจรูปแบบความถูกต้องของตัวอักษรให้ตรงกับหนังสือเรียนต้นฉบับ ซึ่งจะพิมพ์เป็นไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ดรูปแบบตัวหนังสือเท่านั้น เมื่อพิมพ์และตรวจทานครบทุกเล่มแล้ว จะรวบรวมไฟล์ส่งให้ทางศูนย์ฯ เพื่อนำเข้าสู่โปรแกรม “อ่านหน้าจอ” แปลงตัวอักษรจากไฟล์ไมโครซอฟท์เวิร์ดเป็นรูปแบบเสียง เพื่อส่งต่อให้น้องผู้พิการทางสายตาได้เข้าถึงวิชาเรียนและสามารถเรียนร่วมกับนักเรียนสายตาปกติได้อย่างเท่าเทียม
งานดังกล่าวจัดขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 11 อาคารสมัชชาวาณิช 2 สุขุมวิท 33
นายไพโรจน์ ชื่นครุฑ (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกลยุทธ์และวางแผนธุรกิจองค์กร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้แทนมูลนิธิกรุงศรี มอบรถวีลแชร์สำหรับเยาวชนผู้พิการแก่มูลนิธิคนพิการไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวันแก่เยาวชนผู้พิการที่อยู่ในวัยเรียน โดยมี นายกิตติพงษ์ หาดทวายกาญจน์ (ขวาสุด) เหรัญญิกมูลนิธิคนพิการไทย เป็นผู้รับมอบ ณ มูลนิธิคนพิการไทย จ.นนทบุรี
บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ FWD ประกันชีวิต นำโดย นายอังเดร ปีเตอร์ ซานิค (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่สายงานทรานฟอร์เมชั่น เข้ามอบเงินที่ได้จากโครงการ “Omne by FWD ช่วยน้อง ให้มองเห็น” จำนวน 570,820 บาท ให้แก่กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก โดยมี พญ. พนิดา ศรีสันต์ (ที่ 4 จากขวา) ผู้จัดการกองทุน ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบ
โครงการ “Omne by FWD ช่วยน้อง ให้มองเห็น” เป็นกิจกรรมเชิญชวนให้ลูกค้า FWD ดาวน์โหลดและสมัครสมาชิกแอปพลิเคชัน Omne ไลฟ์สไตล์แพลตฟอร์มที่รวมครบทุกบริการแบบ All-in-One โดยทุกการดาวน์โหลดและสมัครสมาชิกบริการออนไลน์ 1 บัญชี ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน ถึง 31 ธันวาคม 2566 บริษัทฯ จะมอบเงินสมทบทุนจำนวน 20 บาท ให้แก่โครงการช่วยน้องให้มองเห็น เพื่อร่วมกันมอบโอกาสการมองเห็นให้แก่เด็กไทย
เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายแพทย์ประมุกข์ ทรงจักรแก้ว (ที่ 2 จากซ้าย) ที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการ พร้อมด้วยนางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ (ที่ 2 จากขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ เป็นตัวแทนมอบเงินบริจาคจำนวน 500,000 บาท แก่ศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแทพย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล (กลาง) เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการ "ศิริราช เดิน-วิ่ง ครั้งที่ 16" ที่ทางคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2567 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อการมีชีวิตที่มีความสุขและแข็งแรงอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของเอไอเอที่มุ่งสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา 'Healthier, Longer, Better Lives'