บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดย นางเอมอร จิรเสาวภาคย์ กรรมการผู้จัดการ มอบเสื้อกันฝนให้แก่นักเรียนโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร พื้นที่เขตพระนคร เขตบางพลัด และเขตดินแดง ภายใต้โครงการ “เทเวศประกันภัยห่วงใยเยาวชน” เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยและสุขอนามัยของเด็กเล็กในวัยเรียนให้ได้รับการดูแลและสามารถป้องกันตนเองจากโรคหวัดและโรคติดเชื้ออื่น ๆ จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในช่วงฤดูฝน ณ โรงเรียนราชบพิธ กรุงเทพมหานคร

มื้อกลางวันของ โรงเรียนบ้านหนองโบสถ์ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ภายใต้ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ดำเนินการโดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ในการสนับสนุนของ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของไข่เจียว เมนูโปรดของนักเรียนทุกคน โดยมีเด็กๆร่วมกับครูผู้รับผิดชอบกำลังช่วยกันปรุงเป็นอาหารกลางวันในวันนี้ ที่สำคัญไข่ไก่ที่นำมาปรุงเป็นเมนูต่างๆ ทั้งไข่ตุ๋นทรงเครื่อง ไข่พะโล้ และไข่ลูกเขย ที่เด็กๆ โหวตให้เป็นเมนูแสนอร่อยในดวงใจ ก็ได้มาจากฝีมือการเลี้ยงของทุกคน ไข่ไก่จึงไม่ใช่แค่ “อาหารกลางวัน” ของน้องๆ แต่ยังเป็น “ความภูมิใจ” ที่พวกเขาได้ลงมือเลี้ยงแม่ไก่ไข่ให้ได้ผลผลิตไข่ไก่คุณภาพปลอดภัยสำหรับทุกคน

ประเสริฐศรี ฉิมปาน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโบสถ์ บอกว่า สุขภาพร่างกายของเด็กนักเรียนเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะสุขภาพที่ดีย่อมทำให้เด็กๆมีกำลังกายในการศึกษาเล่าเรียน และอาหารโปรตีนคุณภาพดีอย่างไข่ไก่ก็จะเป็นผู้ช่วยชั้นดีในการบำรุงร่างกายและสมองของพวกเขา จึงเป็นที่มาของการสมัครเข้าร่วม “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน”

โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียน 60 กว่าคน และมีเด็กๆในศูนย์เด็กเล็กก่อนวันเรียนอีก 50 คน จึงได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ โดยรุ่นแรกได้รับการสนับสนุนแม่พันธุ์ไก่ไข่ 100 ตัว พร้อมอาหารไก่ไข่ รวมทั้งการสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่มาตรฐาน และมีนักสัตวบาลผู้เชี่ยวชาญจากซีพีเอฟมาให้ความรู้สนับสนุนวิชาการด้านการเลี้ยงไก่ไข่ การดูแลตั้งแต่เริ่มต้นเลี้ยงจนถึงปลดแม่ไก่ เพื่อให้ครูผู้ดูแลและน้องๆ นักเรียนมีพื้นฐานที่สามารถบริหารจัดการโครงการได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแนะนำการขาย การตลาด และบริหารให้มีเงินทุนส่งให้รุ่นต่อไป ทำให้โรงเรียนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง

“ปัจจุบันเราเลี้ยงไก่ไข่เป็นรุ่นที่ 2 โดยรุ่นแรกได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์แม่พันธุ์และอาหารสัตว์ฟรีจากโครงการฯ ในแต่ละวันผลผลิตไข่ไก่ที่ได้จะจำหน่ายเข้าสู่ระบบสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายต่อให้กับโครงการอาหารกลางวัน สำหรับใช้ปรุงประกอบเป็นอาหารกลางวันนักเรียน ส่วนที่เหลือจะจำหน่ายให้กับผู้ปกครองและชาวชุมชน โครงการฯ นี้จึงไม่เพียงเป็นแหล่งอาหารที่มั่นคงของนักเรียนทุกคน แต่ยังเป็นคลังอาหารของชุมชนด้วย” ผอ.ประเสริฐศรี กล่าว

โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน รุ่นแรกสร้างรายได้กลายเป็นเงินทุนสะสมสำหรับดำเนินโครงการได้ถึงกว่า 50,000 บาท สามารถนำไปต่อยอดการเลี้ยงไก่รุ่นใหม่ โดยขยายการเลี้ยงไก่เป็น 150 ตัว รองรับความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ส่วนแม่ไก่รุ่นแรกที่เลี้ยงมาแล้ว 1 ปี ซึ่งได้อายุปลดระวางแล้ว ผอ.ประเสริฐศรี ครูและนักเรียน มีความเห็นตรงกันว่าควรทำการศึกษาต่อจากสมมุติฐานที่ว่า แม่ไก่ยังคงให้ผลผลิตที่ดี น่าจะสามารถเลี้ยงต่อไปได้ จึงย้ายแม่ไก่ทั้งหมดลงเลี้ยงในโรงเรือนใหม่ในรูปแบบปล่อยพื้น เป็นแม่ไก่ไข่อารมณ์ดี พร้อมบันทึกการให้ผลผลิตต่อเนื่อง และวางแผนเลี้ยงต่อให้ได้ 1 ปีครึ่ง จึงจะปลดแม่ไก่ นี่จึงไม่ใช่เพียงการสร้างคลังอาหารในโรงเรียน แต่ยังเป็นการศึกษาทดลอง จากการเด็กๆรู้จักสังเกต เกิดการตั้งคำถาม และพิสูจน์สมมุติฐาน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในการเรียนรู้ ที่ประยุกต์สู่การเรียนการสอนและการทดลองอย่างแท้จริง

ขณะเดียวกัน นักเรียนยังได้ฝึกความรับผิดชอบ โดยมีพี่ๆชั้นประถมปีที่ 6 เป็นพี่ใหญ่นำน้องๆ แบ่งเวรกันเก็บไข่ไก่ในเวลา 09.00 น. ของทุกวัน จากนั้นเวลา 15.00 น. จึงช่วยกันเกลี่ยอาหารและให้อาหารเพิ่ม ทักษะเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาทักษะด้านอาชีพได้ และไข่ไก่คุณภาพดีที่ผลิตได้ ทำให้เด็กๆได้รับประทานไข่ไก่สด สะอาด ปลอดภัย นอกจากนั้น ยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับโรงเรียนและชุมชน ทั้งไข่ไก่ และผักต่างๆที่นักเรียนรับผิดชอบในการปลูก ดูแล และเก็บเกี่ยวผลผลิต ทั้งผักบุ้ง ผักสวนครัว พืชสมุนไพร และเห็ดนางฟ้า ที่นำเข้าโครงการอาหารกลางวัน  และส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายแก่ชาวชุมชนในราคาย่อมเยา เกิดเป็นกิจกรรมสร้างเสริมหลักการประกอบอาชีพ รู้จักการขาย การตลาด ซึ่งรายได้ที่เกิดขึ้นนำมาเป็นกองทุนหมุนเวียนโครงการฯ ต่อยอดเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญนักเรียนยังมีเงินออมจากการขายไข่ กลายเป็นเงินออมเพื่อศึกษาต่อ โดยหลังจากปลดแม่ไก่รุ่นแรก สามารถจัดสรรเงินทุนเพื่อการศึกษาต่อให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุนละ 1,500 บาท ได้ถึง 6 ทุน

นอกจากนี้ เด็กๆยังนำไข่ไก่ไปแปรรูปเป็นขนมโดนัทและขนมวาฟเฟิล เพื่อจำหน่ายให้กับนักเรียนและชุมชน เกิดเป็นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ช่วยส่งเสริมทักษะอาชีพ และโรงเรียนยังส่งเสริมให้นักเรียนนำผลิตภัณฑ์แปรรูป ร่วมมอบในงานบุญ โรงทาน และงานการกุศลต่างๆ เป็นการฝึกให้พวกเขารู้จักการแบ่งปันแก่ผู้อื่น

ด.ช.พงศธร ก้อนทอง หรือน้องปอน นักเรียนชั้นป.6 บอกว่า ดีใจที่ได้ร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ทำให้นักเรียนได้รับประทานไข่ไก่สด สะอาด ที่เด็กๆเป็นผู้ดูแลด้วยตัวเอง ช่วยให้ได้ฝึกทักษะอาชีพที่สามารถนำไปต่อยอดในชีวิตประจำวัน และเป็นพื้นฐานอาชีพในอนาคตได้ ส่วน ด.ช.ธีวสุ บุรินทร์ หรือน้องภูผา นักเรียนชั้นป.5 เสริมว่า โครงการฯนี้ ช่วยฝึกความซื่อสัตย์ มีวินัย และรู้จักการทำงานเป็นทีม ทางด้าน ด.ญ.ศุภาพิชญ์ มหาพันธ์ หรือน้องออย กล่าวขอบคุณเครือซีพี ซีพีเอฟ และมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ที่ช่วยสนับสนุนโครงการฯ พวกเราจะดูแลโครงการฯนี้ให้ดีที่สุด ให้มีความต่อเนื่องไปถึงน้องๆรุ่นต่อไป เราภูมิใจที่ได้เป็นต้นทางอาหารปลอดภัย และดีใจที่โรงเรียนของเรากลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานของโรงเรียนต่างๆ

โรงเรียนบ้านหนองโบสถ์ กลายเป็นต้นแบบของความสำเร็จในการบริหารจัดการโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ที่บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างแหล่งอาหารมั่นคงในโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีจากการได้บริโภคไข่ไก่ และยังสามารถต่อยอดความสำเร็จของโครงการฯ สู่โครงการเกษตรอื่นๆ และยังเป็นแหล่งอาหารของชุมชนได้อย่างยั่งยืน.

ทิพยประกันภัย ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย มอบประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มคุ้มครองเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังช้างป่าในพื้นที่หมู่บ้านคชานุรักษ์และหมู่บ้านเครือข่ายใน 5 จังหวัดภาคตะวันออก เพิ่มความอุ่นใจให้กับเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำและเติมแร่ธาตุในโป่งดิน เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้กับช้างป่าและสัตว์ป่า ณ บ้านเขาใหญ่ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี กิจกรรมนี้เน้นย้ำถึงความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของไทยอย่างยั่งยืน

ดร.พลรัตน์ เอกโยคยะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่อง ที่ทิพยประกันภัยสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยร่วมกับธนาคารกรุงไทยมอบประกันภัยอุบัติเหตุให้แก่อาสาสมัครฯ เฝ้าระวังและป้องกันภัยจากช้างป่า รวมทั้งสิ้นจำนวน 910 คน ซึ่งมีวงเงินความคุ้มครองสูงสุดต่อคนอยู่ที่ 200,000 บาท”

ทิพยประกันภัย ห่วงใยและคำนึงถึงความปลอดภัยของอาสาสมัครฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลชุมชนและเฝ้าระวังช้างป่าออกหากินนอกพื้นที่อนุรักษ์ในพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ซึ่งภารกิจสำคัญนี้จะช่วยลดการเผชิญหน้าระหว่างคนกับช้างป่า กรมธรรม์นี้ให้ความคุ้มครองครอบคลุมในกรณีที่อาสาสมัครฯ ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บ เข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ซึ่งเป็นหลักประกันที่มั่นคงสำหรับอาสาสมัครฯ เหล่านี้ แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของอาสาสมัครฯ ผู้เสียสละ”

นายวิชัย อัศรัสกร กรรมการบอร์ดบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ของรัฐ มุ่งมั่นดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับการผลักดันให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ผ่านโครงการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และธนาคารได้สนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการดูแลช้างและพัฒนาป่าธรรมชาติ รวมทั้งปรับปรุงพื้นที่แนวกันชนระหว่างช้างป่าและชุมชน เพื่อสร้างสมดุลในการอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้ ธนาคารกรุงไทย ยังได้ร่วมกับ ทิพยประกันภัย มอบประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้แก่อาสาสมัครฯ ระหว่างปฏิบัติหน้าที่เฝ้าระวังช้างป่าในพื้นที่หมู่บ้านคชานุรักษ์และหมู่บ้านเครือข่ายใน 5 จังหวัด  และยังจัดกิจกรรม “รวมใจภักดิ์ สร้างโป่งเพื่อช้าง สร้างน้ำเพื่อคน” เพื่อสร้างฝายชะลอน้ำและสร้างโป่งเพื่อเพิ่มแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นให้กับช้างป่าและสัตว์ป่า และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ที่ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งมูลนิธิพัชรสุธาคชานุรักษ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขึ้นอีกด้วย”

นอกจากนี้ ทิพยประกันภัยได้จัดกิจกรรมจิตอาสา โดยผู้บริหาร พนักงานจิตอาสา และภาคีเครือข่ายรวมพลังกับชาวบ้านในชุมชนกว่า 300 คน ร่วมกิจกรรมเติมแร่ธาตุในโป่งดินให้เป็นแหล่งอาหารช้างป่าและสัตว์ป่า เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารให้สัตว์ป่า ส่งผลให้ระบบนิเวศเกิดความสมดุล สามารถเป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติ รวมถึงการซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง กักเก็บน้ำไว้ใช้อุปโภค บริโภค และทำการเกษตรในช่วงหน้าแล้ง และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำอีกด้วย  กิจกรรมนี้เป็นการเสริมสร้างจิตสำนึกให้แก่พนักงาน ชุมชน และสังคมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ปกป้องธรรมชาติที่เป็นฐานทรัพยากรทางธรรมชาติที่ทรงคุณค่า ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

ปลูกฝังเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ “วัน ซันโทรี่ มิซุอิกุ: เรารักษ์น้ำ”

เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี (ที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมลงนามความร่วมมือการสนับสนุนโครงการ KKU Volleyball Academy กับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 นำโดย ดร.ณรงค์ชัย อัครเสรณี (กลาง) นายกสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ. นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล (ที่ 3 จากขวา) อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ. เพียรศักดิ์ ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และ รศ. ดร.เพ็ญศรี เจริญวานิช คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี พร้อมมอบเงินทุนสนับสนุนจำนวน 1.5 ล้านบาท เพื่อมุ่งส่งเสริมสนับสนุนนักเรียน-นักศึกษาหญิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความชื่นชอบและมีความสามารถด้านกีฬาวอลเลย์บอล ให้มีโอกาสฝึกซ้อมกีฬาด้วยองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการกีฬาของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะ และเพิ่มขีดศักยภาพให้สูงขึ้นจนสามารถต่อยอดก้าวสู่การเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลมืออาชีพทั้งในระดับชาติและระดับโลกในอนาคต ซึ่งการสนับสนุนในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพันธกิจของเอไอเอในการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) โดยมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมไทย ตลอดจนสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้นตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ โดยมีนายกฤช ธีรสุข ผู้อำนวยการฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต ภูมิภาค 4 และนายนครินทร์ ทองเฟื่อง ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต เขต 15 เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ณ ห้องรับขวัญ โรงแรมบายาสิตา เมื่อเร็วๆ นี้

ถึงแม้ว่าวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนบ้านหินดาด ต.หินดาด อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา จะพึ่งพิงอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ และเด็กๆในพื้นที่ อยู่ในบริบทของสิ่งแวดล้อมการเติบโตตามอัตลักษณ์ของชุมชน

แต่ด้วยยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป็นการส่งเสริมโอกาสและยกระดับการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน          

รร.บ้านหินดาด ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดกลาง เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียน 294 คน เป็นอีกหนึ่งโรงเรียนในโครงการมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์ อีดี ที่นำกระบวนการ Coding และ Robotics มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ภายใต้โครงการ "Coding Robotics Kids"

และกำหนดให้ Coding อยู่ในแผนการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยตั้งเป้าให้นักเรียนมีทักษะการเขียน โปรแกรมควบคุมบอร์ดสมองกล สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อและใช้ในชีวิตประจำวัน โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาสนับสนุนการอบรมครูผู้สอน และมีผู้นำทางการศึกษารุ่นใหม่ (School Partner :SP) จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ที่ชวนทีม Robot ของซีพีเอฟ และวิทยากรจากภายนอกมาร่วมสอนน้องๆ นักเรียน ฝึกให้นักเรียนมีทักษะการวางแผน คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการ Coding Robotics

นายสหพันธ์ เปาจันทึก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหินดาด เล่าว่า แม้โรงเรียนจะได้รับการสนับสนุนแท็บเล็ตจาก สพฐ. แต่วัสดุอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน Coding ก็ยังไม่เพียงพอ จึงนำเรื่องนี้ปรึกษากับทีมผู้นำทางการศึกษารุ่นใหม่ของซีพีเอฟ ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์ อีดี เสนอโครงการ Coding Robotics Kids และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากซีพีเอฟ เพื่อจัดซื้อชุดการเรียนการสอน Coding ด้วยโปรแกรม Micro:bit นำมาต่อยอดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ อาทิ  ป. 3- ป.4 ให้เรียน Coding อย่างง่าย เช่น การต่อบล็อกควบคุมหุ่นยนต์ ชั้นป.5 เริ่มเรียนโปรแกรม Coding ไมโครบิท ต่อบล็อกโค้ด การทำงาน-ควบคุม-รับค่าเซ็นเซอร์ เปิดปิดไฟหรือวัดอุณหภูมิ ด้วย Coding ชั้นป.6 เรียนรู้การเขียน Coding การควบคุมหุ่นยนต์รถวิ่ง

"Coding สอนให้เด็กๆคิดวิเคราะห์ ฝึกทักษะคิดแก้ปัญหาเป็นกระบวนการ นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้ ที่ผ่านมา จัดการสอนไปแล้ว 1 รุ่น มีนักเรียนประมาณ 40 คน ที่สามารถเขียน Coding อย่างง่ายได้  ภาคเรียนนี้จะสอนอีก1 รุ่น  ประมาณ 40-50 คน ให้นักเรียนในชุมนุมการเขียนโปรแกรมด้วยไมโครบิท Coding เป็นพี่เลี้ยงส่งต่อความรู้ให้น้องๆ คาดหวังว่าในระยะต่อไป จะต่อยอดกระบวนการคิดจากบทเรียน สู่การทำสมาร์ทฟาร์มง่ายๆ" ผอ.สหพันธ์ กล่าว 

ด.ญ.กัญญาพัชร แก้วขวาน้อย นักเรียนชั้นป.6 บอกว่า รู้สึกสนุกกับการเรียน Coding ได้ทำกิจกรรมเรียนรู้หลายอย่าง ที่สามารถนำความรู้ไปต่อยอด เช่น การทำโมเดลฟาร์มอัจฉริยะ ขอขอบคุณพี่ๆซีพีเอฟที่มอบโอกาสและสนับสนุนการเรียนรู้ดีๆ ขณะที่ ด.ญ.ปิ่นมาลา จินดามาตย์ เล่าถึงสิ่งที่ได้รับ นอกจากความรู้จากการเรียน Coding ยังสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการเรียนรู้วิชาอื่นได้ ดีใจมากที่มีพี่ๆซีพีเอฟเข้ามาสนับสนุนโครงการดีๆอย่างนี้ให้กับโรงเรียนของเรา ส่วน ด.ช.อภิณัฐ ตันกระโทก นักเรียนชั้นม.1 บอกว่า  Coding ทั้งสนุกและให้ความรู้ที่นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และยังได้ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ สามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปช่วยชุมชนต่อไป

ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในบริษัทเอกชนที่ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์ อีดี เพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 สร้างเด็กดี มีคุณธรรม โดยล่าสุด ปีการศึกษา 2567 ซีพีเอฟสนับสนุนการดำเนินโครงการด้านวิชาการ และฝึกทักษะด้านวิชาชีพ 74 โรงเรียน ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสระบุรี ควบคู่กับเดินหน้าสร้างผู้นำทางการศึกษารุ่นใหม่ (SP) ซึ่งปัจจุบันมี SP ของซีพีเอฟรวม 93 คน ทำหน้าที่เป็นคู่คิด ร่วมทำงานกับผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู สู่เป้าหมายยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของไทยและลดความเหลื่อมล้ำ

เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ นำทีมผู้บริหาร พนักงาน และตัวแทนนักวิ่งมาราธอน จากกิจกรรม เจนเนอราลี่ พรีเซ้นต์ เขาค้อ มาราธอน 2024 (Generali Presents Khaokho Marathon 2024) ต่อยอดการสร้างสังคมสู่ความยั่งยืน มอบอุปกรณ์การเรียนรู้ และของใช้จำเป็น พร้อมติดตั้งพัดลมจำนวน 22 เครื่อง รวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท ให้แก่น้อง ๆ โรงเรียนบ้านห้วยขอนหาด ในพื้นที่อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทยให้ดียิ่งขึ้น

ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายอาร์ช คอลมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคณะผู้บริหาร พนักงาน กลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ เยี่ยมชมโรงเรียน พร้อมทำกิจกรรมร่วมกับน้อง ๆ และส่งมอบอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้ และของใช้จำเป็น อาทิ เช่น น้ำดื่ม เก้าอี้ กระดาษ สี ชนิดต่าง ๆ รวมถึง หมวกนิรภัย จำนวน 100 ใบ นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งพัดลมติดผนังจำนวน 22 เครื่อง ภายในโรงเรียนบ้านห้วยขอนหาด  เพื่อปรับปรุงสภาพแวดในโรงเรียนให้มีคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น ภายใต้โครงการ "ปันรัก ปันของ ให้น้องใช้เรียน" เพื่อการสร้างอนาคตในการเรียนรู้ที่ดีให้กับน้อง ๆ เยาวชนของชาติ โดยมี นางสาวเปรมวิสาข์ คำหงษ์ รักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยขอนหาด เป็นตัวแทนรับมอบ เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ โรงเรียนบ้านห้วยขอนหาด จังหวัดเพชรบูรณ์

มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ภายใต้การดูแลของเครือเฮอริเทจ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ นำโดย วลัยทิพย์ ซื่อตรงมั่นคง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร เครือเฮอริเทจ (ขวาบน) จัดโครงการ “ห้องเรียนโภชนาการ ครั้งที่ 12” ณ โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาราม ตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม  เพื่อให้นักเรียนระดับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการ ประโยชน์ของสารอาหาร และการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างถูกต้อง รวมถึงการเสริมความรู้ในการอ่านและความเข้าใจ เกี่ยวกับข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์ ผ่านสื่อการเรียนรู้และกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผสานความร่วมมือกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สานต่อโครงการดิจิทัลบัส จัดกิจกรรมแรกของปี 2567 ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนค็อกนิสไทยฯ จังหวัดสกลนคร ตามเป้าหมายด้านการลดความเหลื่อมล้ำด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านดิจิทัลในประเทศไทย ผ่านการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรให้ได้อีก 2,000 คน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 6 จังหวัดทั่วประเทศไทยในปีนี้

โครงการดิจิทัลบัสครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมือระหว่างหัวเว่ย ประเทศไทย กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนค็อกนิสไทยฯ จังหวัดสกลนคร ซึ่งถือว่าศูนย์การศึกษาในพื้นที่ห่างไกล รองรับนักเรียนจาก 9 พื้นที่เขตหมู่บ้าน ทั้งหมด 262 คน ตั้งแต่ระดับการศึกษาชั้นอนุบาล 1 จนถึงประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยการจัดโครงการดิจิทัลบัสร่วมกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ครั้งนี้ได้มีการปรับเนื้อหาหลักสูตรให้มุ่งเน้นเรื่องการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการนำเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการลดความเหลื่อมล้ำและพัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทย โดยเฉพาะเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล

หัวเว่ยได้จัดโครงการดิจิทัลบัสผ่านการร่วมมือกับโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เพื่อนำความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาให้เยาวชนได้ประยุกต์ใช้กับความรู้จากสถาบันการศึกษา ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และวัฒนธรรมในพื้นที่ห่างไกล จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราพบว่าประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัลยังเป็นปัญหาที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงพื้นที่ห่างไกลในไทยซึ่งมีการพัฒนาและขยายตัวทางเทคโนโลยีค่อนข้างต่ำ ทำให้เกิดช่องว่างในการเข้าถึงองค์ความรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล

ทั้งนี้ หัวเว่ยตั้งเป้าหมายฝึกอบรมนักเรียนและบุคลากรในประเทศไทยจำนวน 2,000 คน ผ่านโครงการดิจิทัลบัส ในปี 2567 ครอบคลุมในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ นครพนม กระบี่ กาญจนบุรี ชัยภูมิ นครนายก และระยอง โดยโครงการในจังหวัดนครนายกและระยองเป็นความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยกับองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO และเป็นการต่อยอดจากโครงการที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2566 โดยในปีนี้ หัวเว่ยยังได้ปรับหลักสูตรดิจิทัลบัสให้เข้ากับโรงเรียนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างความตระหนักรู้เรื่องการนำเทคโนโลยีประยุกต์ใช้ภาคการเกษตร การนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาเกษตรกรรมในครัวเรือนให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการมอบความรู้เรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เยาวชนในการป้องกันภัยที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์

ดร.อภิสิทธิ์ พึ่งพร ผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้กล่าวถึงโครงการดิจิทัลบัสของหัวเว่ยว่า “ผมต้องขอขอบคุณหัวเว่ยที่ให้การสนับสนุนเยาวชนและบุคลากรในประเทศไทยด้วยการส่งมอบองค์ความรู้ดิจิทัลผ่านโครงการดิจิทัลบัสมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในครั้งนี้ยังเสริมด้วยกิจกรรมสันทนาการให้แก่เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 การมอบอาหารกลางวัน ร่วมปลูกต้นไม้ ปรับแต่งทัศนียภาพสถานศึกษา เป็นต้น โครงการดิจิทัลบัสถือเป็นโครงการที่สร้างแรงบันดาลใจที่ดี รวมทั้งช่วยสร้างโอกาสและสร้างความฝันให้กับเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย”

ตลอดช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โครงการดิจิทัลบัสของหัวเว่ยได้ให้การฝึกอบรมองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียนช่วงชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่พาณิชย์จังหวัด แพทย์อาสา และแรงงานท้องถิ่นรวมแล้วกว่า 4,500 คน ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี สงขลา พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ นครราชสีมา พิจิตร พะเยา กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงราย ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร นครศรีธรรมราช และนครนายก

นอกจากนี้หัวเว่ยยังมีโครงการให้การสนับสนุนด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล ร่วมมือกับโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนโครงการส่วนพระองค์ฯ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การสนับสนุนอุปกรณ์หน้าจออัจฉริยะ Ideahub จำนวน 24 เครื่องให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สุขศาลาพระราชทานทั่วประเทศไทย ตลอดจนโครงการนำร่อง Huawei Smart PV solution สนับสนุนโซลาร์เซลล์และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหม่องกั๊วะ จังหวัดตาก เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงไฟฟ้าและการเรียนการสอนผ่านห้องเรียนดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการดิจิทัลบัสถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจ “เติบโตพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ย ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมทางดิจิทัลผ่านภารกิจของหัวเว่ยเรื่อง ‘นำทุกฝ่ายก้าวไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง’ (Lead Everyone Forward, Leave No One Behind)

X

Right Click

No right click