December 23, 2024

นายบัณฑิต สะเพียรชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นำผู้บริหารและพนักงาน EXIM BANK มอบเงินบริจาคสมทบทุนก่อสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอด พร้อมอาหารแห้งและสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้พิการทางสายตาในพื้นที่เข้าถึงโอกาสทาง การศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง เสริมสร้างวิสาหกิจชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีนายสุชาติ ด่านกระโทก นายกสมาคมคนตาบอดนครราชสีมา เป็นผู้รับมอบ ณ สมาคมคนตาบอดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567

บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) โดย คุณณัฐพล คุณกรสิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน ร่วมเปิดเทศกาลดนตรีสุดยิ่งใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯกับ Melody Of Life ในปีนี้มาในคอนเซปต์ The Earth Breathes ที่หมายถึงการการช่วยซัพซัปพอร์ตให้สิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลกนี้ได้มีลมหายใจต่อไป โดยมีศิลปินร่วมเวทีคับคั่ง นอกจากความสนุกจากคอนเสิร์ตแล้ว ภายในงานยังมีกิจกรรมมากมายที่ถูกแบ่งโซนไว้ให้ได้เลือกชมกันไม่ว่าจะเป็น นิทรรศการงานศิลปะ และตลาดมือสองกับร้านค้าของศิลปิน, ดารา, อินฟลูเอนเซอร์ มาร่วมกันเปิดร้านขายในงานนี้มากมาย ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ตอกย้ำความโดดเด่นด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และการให้บริการเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้แก่ลูกค้าทั่วประเทศ

บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมประกันสุขภาพ เปิดตัวบริการล่าสุด เพิ่มช่องทาง "พบแพทย์ออนไลน์" ผ่านแอปพลิเคชัน "MorDee” (หมอดี)  เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพของลูกค้าให้ง่าย  สะดวก รวดเร็ว ไร้กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย โดยให้บริการครอบคลุม ดังนี้

- พบแพทย์ออนไลน์ ปรึกษาสุขภาพกายได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสมาร์ทโฟน    

- ลูกค้าประกันกลุ่มที่มีความคุ้มครอง OPD เคลมประกันได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่าย ทั้งค่าแพทย์ ค่ายา ตามวงเงินผลประโยชน์

- บริการส่งยาถึงบ้านหรือสถานที่ที่ลูกค้าต้องการทั่วประเทศ (พิเศษ! ฟรีค่าจัดส่งยา ตามเงื่อนไขและระยะเวลาตามที่แอปฯ "MorDee” (หมอดี) กำหนด)

นายทาคาชิ ไซโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ภารกิจของเราคือการคุ้มครอง ดูแลลูกค้าในทุกช่วงเวลาของชีวิต ความร่วมมือกับ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ในการเพิ่มช่องทางดูแลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน 'MorDee' (หมอดี) ครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนให้ลูกค้าของเราใช้ชีวิตได้อย่างยืดหยุ่นและมั่นใจมากขึ้นในยุคดิจิทัล"

ด้วยบริการใหม่นี้ ลูกค้าประกันกลุ่มของโตเกียวมารีนประกันชีวิตสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่ต้องการความคล่องตัวและการดูแลสุขภาพที่ทันสมัย

นายชาง ฟู หัวหน้าสายงานด้านดิจิทัล เฮลท์ บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป พัฒนาแพลตฟอร์มดูแลสุขภาพอัจฉริยะ “MorDee” (หมอดี) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศ ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ (Telemedicine) และดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง พร้อมขยายความร่วมมือกับบริษัทประกันชั้นนำ เพิ่มทางเลือกสำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ให้ปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ทุกที่ ทุกเวลา บนทุกสมาร์ทดีไวซ์ รักษา รับยา เคลมประกันได้ในแอปฯเดียว ผ่านฟังก์ชัน “เทเลเมดิเคลม” (TeleMediClaim+) โดยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ “MorDee” (หมอดี) นำทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจากสถาบันการแพทย์ชั้นนำกว่า 500 คน ช่วยดูแลสุขภาพของลูกค้าประกันกลุ่มของโตเกียวมารีนประกันชีวิต ครอบคลุมกว่า 20 สาขา พบแพทย์ออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพกายได้แบบส่วนตัว ไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่าย พร้อมบริการส่งยาถึงบ้าน ช่วยประหยัดเวลาและลดความแออัดในโรงพยาบาล ทั้งยังสามารถดูประวัติการรักษาผ่านแอปฯ และมั่นใจได้ในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล”

ลูกค้าประกันกลุ่มของโตเกียวมารีนประกันชีวิต สามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์-รักษา-รับยา-เคลมประกัน ผ่านแอปฯ “MorDee” (หมอดี) ได้แล้ววันนี้ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ ในการดาวน์โหลดและเริ่มต้นใช้งานแอปฯ MorDee (หมอดี) ดังนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ MorDee ทาง Apps Store/Play Store หรือคลิก https://mordee.app.link/7me4in9appb แล้วลงทะเบียน เพื่อเริ่มต้นใช้งาน
  2. เชื่อมสิทธิ์ประกัน โดยเลือกเมนู เชื่อมสิทธิพิเศษ แล้วกด เพิ่มสิทธิพิเศษ จากนั้นเลือก โตเกียวมารีนประกันชีวิต แล้วกรอกข้อมูลให้เรียบร้อย
  3. ยืนยันตัวตน โดยถ่ายภาพหน้าตรง และภาพบัตรประชาชน/พาสสปอร์ต

ขั้นตอนการใช้บริการพบแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปฯ MorDee (หมอดี) ดังนี้

  1. ค้นหาแผนก โดยเลือกเมนู หน้าแรก กดแถบค้นหา แล้วเลือกแผนกหรืออาการที่ต้องการปรึกษา
  2. เลือกแพทย์ โดยเลือกจากรายชื่อแพทย์ที่มีโลโก้ โตเกียวมารีนประกันชีวิต
  3. ทำนัดหมาย โดยเลือกวันและเวลา เลือกรูปแบบการปรึกษาเป็นวิดีโอคอล เพื่อให้สามารถใช้สิทธิ์ประกันได้
  4. เคลมประกัน ในขั้นตอนชำระเงิน โดยให้กดเลือก การชำระเงิน/สิทธิพิเศษ แล้วเลือก  โตเกียวมารีนประกันชีวิต เพื่อใช้บริการได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
  5. ปรึกษา รับยา โดยให้เข้าห้องสนทนาในแอปฯ เพื่อทำการปรึกษาแพทย์เมื่อถึงเวลานัดหมาย จากนั้นรอแพทย์ส่งสรุปผลการปรึกษา พร้อมใบสั่งยา (ถ้ามี) โดยสามารถสั่งซื้อยา โดยการเคลมประกัน แล้วรอรับยาที่บ้านได้

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับแอปฯ “MorDee” (หมอดี) ได้ที่ Line OA: @mordeeapp สำหรับลูกค้าโตเกียวมารีนประกันชีวิต ที่สนใจบริการ "พบแพทย์ออนไลน์" ผ่านแอปฯ "MorDee" (หมอดี) สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่โทร 02-650-1400 บริการลูกค้าประกันกลุ่ม โตเกียวมารีนประกันชีวิต

*สำหรับกรมธรรม์ประกันกลุ่มที่มีความคุ้มครองการรักษาแบบ OPD  เมื่อพบแพทย์ผ่านแอปฯ MorDee (หมอดี) ด้วยการวิดีโอคอล เงื่อนไขเป็นไปตามที่โตเกียวมารีนประกันชีวิตกำหนด

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการไตรมาส 3/2567 เผยมีกำไรต่อเนื่อง โดยมีกำไรสุทธิหลังหักภาษีและหลังปรับปรุงรายการพิเศษ (Normalized Net Profit After Tax) ที่ 3.1 พันล้านบาท EBITDA ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากการมุ่งเน้นผลการดำเนินงานและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น พร้อมการรับรู้ผลประโยชน์จากการควบรวม (Synergy)

นาย มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "ในไตรมาส 3 ปี 2567 ทรู คอร์ปอเรชั่นมีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและภูมิภาค รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด การลงทุนด้านโครงข่ายของเราเสริมสร้างความเชื่อมั่นทั้งในด้านความพร้อมอย่างเต็มประสิทธิภาพ การดำเนินงานที่ยืดหยุ่นคล่องตัว และการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เรายังให้ความสำคัญในการเร่งช่วยเหลือลูกค้าและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สำหรับ EBITDA เติบโตเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถของเราในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทาย โดยมุ่งเน้นการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและการผสานปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อยกระดับทั้งการดำเนินงานภายในและการบริการลูกค้า เรายังคงมุ่งมั่นในการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด"

นายชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ในไตรมาส 3 ปี 2567 เรายังคงมุ่งเน้นการปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท โดยมุ่งเน้นที่การดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วมากกว่า 10,000 สถานีจากทั้งหมด 17,000 สถานี นอกจากนี้ เรากำลังนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าในเชิงลึก เพื่อสร้างสรรค์บริการรูปแบบใหม่ ยกระดับการดำเนินธุรกิจ และตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังภูมิใจที่เป็นรายแรกในประเทศไทยที่นำแผนการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีความรับผิดชอบ หรือ Responsible AI (RAI) Maturity Roadmap ของ GSMA มาใช้ เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้ AI ของเราเป็นไปอย่างมีจริยธรรมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล"

ในไตรมาส 3 ปี 2567 ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพของการได้มาในส่วนผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลงสุทธิ 1.2 ล้านเลขหมาย หรือ 2.3% จากไตรมาสก่อน โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการรวม 49.3 ล้านเลขหมาย ผู้ใช้บริการระบบรายเดือนลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมาอยู่ที่จำนวน 15.2 ล้านราย ในขณะที่ผู้ใช้บริการระบบเติมเงินมีจำนวน 34.1 ล้านราย ผู้ใช้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน อยู่ที่ 3.7 ล้านราย ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2567 ผู้ใช้บริการ 5G มีจำนวน 12.4 ล้านราย เพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน

นายนกุล เซห์กัล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า "ทรู คอร์ปอเรชั่นประสบความสำเร็จด้วยการเติบโตของ EBITDA เป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน ส่งผลให้ไตรมาส 3 ปี 2567 มีกำไรภายหลังการปรับปรุงดีขึ้นอยู่ที่ 3.1 พันล้านบาท รายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC เติบโต 4.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY) โดยมีปัจจัยหลักจากการเติบโตในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่และออนไลน์ รายได้รวมอยู่ที่ 5.08 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4% (YoY) โดยมีปัจจัยหลักจากการเติบโตของรายได้จากการให้บริการในทุกกลุ่มธุรกิจ"

จากการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการผสานการบริหารผลงานร่วมกับวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการ (ARPU) เพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มธุรกิจเมื่อเทียบกับปีก่อน รายได้จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น 3.7% (YoY) จาก ARPU เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5.6% (YoY) รายได้บริการออนไลน์เพิ่มขึ้น 7.5% (YoY) โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของ ARPU อย่างต่อเนื่องที่ 9.8% (YoY)  ส่วนรายได้จากบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (PayTV) เพิ่มขึ้น 0.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมี ARPU เพิ่มขึ้น 1.8% จากปีที่แล้ว

สำหรับไตรมาส 3 ปี 2567 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย หรือ D&A) ลดลง 9.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการรับรู้ผลประโยชน์จากการควบรวม และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนเครือข่ายลดลง 13.3% (YoY) โดยมีปัจจัยหลักจากการรับรู้ผลประโยชน์จากการควบรวมทั้งจากการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัยและการจัดซื้อจัดจ้าง ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) ลดลง 17.7% (YoY) โดยการรับรู้ผลประโยชน์จากการควบรวมในโครงการปรับปรุงด้านธุรกิจและการพัฒนาองค์กรให้ทันสมัย ซึ่งจากการเร่งดำเนินการเพื่อรับรู้ผลประโยชน์จากการควบรวมในด้านสำคัญต่าง ๆ และการมุ่งเน้นเชิงลึกในการเพิ่มประสิทธิภาพในเชิงโครงสร้าง ทรู คอร์ปอเรชั่น สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่อง

ทรู คอร์ปอเรชั่นบันทึกการเพิ่มขึ้นของ EBITDA จำนวน 5,530 ล้านบาท นับตั้งแต่การควบรวมกิจการ ซึ่งนับเป็นการเติบโตของ EBITDA เป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกัน สำหรับไตรมาส 3 ปี 2567 EBITDA ปรับตัวดีขึ้น 646 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน (QoQ) เพิ่มขึ้น 2.7% (QoQ) อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้จากการให้บริการปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่การควบรวมกิจการที่ 60.2% ในไตรมาส 3 ปี 2567

สำหรับไตรมาส 3 ปี 2567 ทรู คอร์ปอเรชั่นบันทึกผลกระทบเชิงลบที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว (one-time costs) จากการด้อยค่าสินทรัพย์ที่มีความซ้ำซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย จำนวน 3,917 ล้านบาท ส่งผลให้มีขาดทุนสุทธิหลังหักภาษี 810 ล้านบาท ซึ่งเมื่อปรับปรุงรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว กำไรสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 3,107 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น 709 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน โดยมีปัจจัยหลักจากการปรับตัวดีขึ้นของ EBITDA สำหรับค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (CAPEX) ไตรมาส 3 ปี 2567 อยู่ที่ 9,919 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นที่การดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย

แนวโน้มสำหรับทรู คอร์ปอเรชั่นในปี 2567 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) เติบโต 4-5% เมื่อเทียบกับปีก่อน EBITDA จะเติบโต 12-14% (YoY) ในขณะที่แนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (CAPEX) รวมถึงการลงทุนเพื่อการควบรวมกิจการยังคงอยู่ที่ 3 หมื่นล้านบาท โดยในปี 2567 จะยังคงมีกำไรหากไม่รวมการตัดจำหน่ายสินทรัพย์เครือข่ายที่มีความซ้ำซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัย

ตัวเลขทางการเงินที่สำคัญในไตรมาส 3 ปี 2567

  • รายได้จากบริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรือ IC จำนวน 41,509 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% (YoY) และคงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
  • EBITDA อยู่ที่ 24,981 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% (YoY) และ 2.7% (QoQ)
  • อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้จากการให้บริการอยู่ที่ 2%
  • กำไรสุทธิภายหลังการปรับปรุง (Normalized) จำนวน 3,107 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 709 ล้านบาท (QoQ)

 

ออเนอร์ (HONOR) ผู้ให้บริการอุปกรณ์อัจฉริยะชั้นนำระดับโลก ประกาศความสำเร็จจากการเข้าร่วมงาน Thailand Mobile Expo 2024 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 - 27 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยไฮไลท์ที่ดึงดูดผู้ใช้จำนวนมากและทำให้บูธ HONOR ได้รับความสนใจคือการเปิดตัวสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ล่าสุด HONOR Magic V3 ที่ผสานเทคโนโลยีสุดล้ำทั้งในด้านดีไซน์และฟังก์ชันการใช้งาน ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสเครื่องจริงอย่างใกล้ชิดและทดสอบฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมถึงยังจัดโปรโมชันพิเศษสำหรับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตหลากหลายรุ่นตัวดัง ช่วยสร้างกระแสตอบรับดีเยี่ยม ทำให้ผู้เข้าร่วมงานรู้สึกประทับใจและสนใจในผลิตภัณฑ์ของ HONOR อย่างมาก

HONOR ปิดฉากอย่างสวยงามกับการเข้าร่วมงาน Thailand Mobile Expo 2024 งานมหกรรมมือถือแห่งชาติส่งท้ายปี โดยบูธ HONOR ในปีนี้ถือว่ามาแรงมาก ๆ ด้วยการลดแลกแจกโปรโมชั่นสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่จัดเต็มตลอดระยะเวลา 4 วัน ภายในงานมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายซีรีส์ อาทิ Magic Series, N Series, X Series และ Pad Series พร้อมทั้งกิจกรรมและเกมสนุก ๆ ที่ช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ทำให้บูธของ HONOR กลายเป็นจุดนัดพบที่สำคัญสำหรับผู้ชื่นชอบเทคโนโลยีและยอดขายพุ่งขึ้นอย่างไม่หยุด ซึ่งหนึ่งในไฮไลต์ที่สร้างกระแสได้เป็นอย่างดี คือการจัดโชว์นวัตกรรมใหม่ ๆ อย่าง HONOR Magic V3 สมาร์ตโฟนจอพับรุ่นใหม่ล่าสุดที่มาพร้อมฟีเจอร์ทันสมัยและการออกแบบที่น่าสนใจ ทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกตื่นเต้นและสนใจผลิตภัณฑ์ของ HONOR มากยิ่งขึ้น

ความสำเร็จในงานนี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต โดย HONOR มุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ HONOR ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจและสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของเราอย่างอบอุ่น และหวังว่าจะได้พบทุกท่านในกิจกรรมต่อไปของ HONOR

เนื่องจากผลตอบรับที่ดีมากอย่างต่อเนื่องและความต้องการที่ล้นหลาม ใครที่สนใจพรีออเดอร์สมาร์ตโฟนHONOR Magic V3 สามารถพรีออเดอร์ได้ถึง 31 ตุลาคม 2567 และรับสินค้าภายในเดือนธันวาคม 2567 เป็นต้นไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.honor.com/th หรือเฟซบุ๊ก HONOR Thailand

บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำความเป็นผู้นำในธุรกิจประกันภัยที่มีความยั่งยืน ด้วยการคว้ารางวัลบริษัทประกันวินาศภัยที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น และรางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น ซึ่งได้รับรางวัลติดต่อกันเป็นปีที่ 5 จากงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร ประจำปี 2567 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยได้รับเกียรติจากนายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้มอบรางวัลให้แก่ ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ณ ห้อง World Ballroom ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567

ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ด้วยการยึดมั่นในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใสและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ใส่ใจและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งกรุงเทพประกันภัยมีความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านบรรษัทภิบาล สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงการเกิดทุจริต และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการพัฒนาด้านความยั่งยืนในธุรกิจประกันภัยดีเด่น จากการประเมินการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทประกันวินาศภัย

ไม่เพียงเท่านี้ บริษัทฯ ยังได้รับรางวัลบริษัทประกันภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น ประจำปี 2566 ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 จากความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้มีความหลากหลายตอบโจทย์ทุกความต้องการให้เข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะบริษัทฯ ได้มีการส่งเสริมการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย หรือไมโครอินชัวรันส์มาอย่างต่อเนื่อง ให้มีความคุ้มครองที่เข้าใจง่าย กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยที่สอดคล้องกับความต้องการในราคาจับต้องได้ และยังได้รับความร่วมมือที่ดีจากคู่ค้าและพันธมิตรในการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรายย่อยให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงการทำประกันภัยได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เป็นการสนับสนุนให้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สิน ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน พร้อมทั้งเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่สังคมและเศรษฐกิจต่อไป

นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของกรุงเทพประกันภัยที่ได้รับรางวัลเกียรติยศ 2 รางวัลใหญ่ดังกล่าว ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจการการดำเนินธุรกิจ พร้อมให้ความสำคัญกับดูแลใส่ใจลูกค้า คู่ค้า พันธมิตร และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตลอดจนมีรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความก้าวหน้าเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆ กัน  

 

มูลนิธิเฮอริเทจ (ประเทศไทย) ภายใต้การดูแลของเครือเฮอริเทจ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย

อลิอันซ์เปิดรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกอย่างรอบด้านสำหรับปี 2567-2569 โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตในระดับปานกลางแต่จะมีเสถียรภาพท่ามกลางปัญหาที่ยังคงดำเนินต่อไป และคาดว่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 2.8% ต่อปี โดยเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะเป็นกำลังสำคัญของการเติบโตในปี 2567 แม้จะยังคงมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะถดถอย เศรษฐกิจโลกจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก และยุโรปจะมีการเติบโตที่ช้าแต่คงที่ มาตรการรัดเข็มขัด การขึ้นภาษี และกลยุทธ์ลดต้นทุนในทั้งสองภูมิภาคจะส่งผลต่อจีดีพี

มีการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ซึ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ สามารถผ่อนปรนนโยบายการเงินได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป นโยบายเช่นนี้จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค การขึ้นค่าจ้างจะช่วยกระตุ้นการบริโภคมากขึ้น แม้ว่าเงินเฟ้อในระดับสูงในบางภาคส่วนจะยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ภาคธุรกิจยังฟื้นตัวไม่สม่ำเสมอ โดยมีสัญญาณของการเพิ่มการลงทุน แต่มีความกังวลเรื่องการล้มละลายในภาคธุรกิจ นโยบายของธนาคารกลางจะทำให้เกิดข้อจำกัดในตลาดการเงินโลก ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และความไม่แน่นอนทางการเมือง เช่น ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน และความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน

การเติบโตและความท้าทายของเอเชียแปซิฟิก

เศรษฐกิจจีนในปี 2567 คาดว่าจะเติบโตในอัตราประมาณ 5% แม้จะยังคงมีความเสี่ยงยังคงอยู่ ปัญหาของภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณสินค้าคงคลังจำนวนมากและราคาบ้านที่ลดลง ยังคงส่งผลต่อการบริโภคในภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกของจีนยังคงมีแนวโน้มที่ดีซึ่งส่งแรงหนุนให้ภาคการผลิตของประเทศ ธนาคารกลางจีนผ่อนปรนนโยบายและคาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในปี 2568 อย่างไรก็ตาม นโยบายนี้อาจช่วยบรรเทาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่อาจจะไม่ได้ช่วยกอบกู้สถานการณ์

ในทางกลับกัน เศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกในภาพรวมจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยคาดการณ์ว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้น 4.2% ในปี 2567 จากการเติบโตที่แข็งแกร่งของอินเดียและประเทศในกลุ่มอาเซียน การผ่อนคลายนโยบายการเงิน อัตราเงินเฟ้อที่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคารกลาง และการค้าโลกที่ฟื้นตัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจของภูมิภาค ธนาคารกลางของเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียจะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไปเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อลดลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจกำลังพัฒนาในเอเชียจะได้ประโยชน์จากพลวัตที่เปลี่ยนไปของโลกาภิวัตน์และการปฏิรูปนโยบายในประเทศ เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม ไทย และไต้หวัน จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในภาคการส่งออก โดยเฉพาะในตลาดอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศต่างๆ หลายประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศจากการกระจายความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

ความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภูมิภาค สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงดำเนินต่อไป รวมถึงความตึงเครียดที่มากขึ้นในทะเลจีนใต้และไต้หวันยังคงสร้างความไม่แน่นอนให้กับนักลงทุน แม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ โดยมีความโดดเด่นในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรมนุษย์ ประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์และจีนเป็นผู้นำในแง่ของความสะดวกในการทำธุรกิจและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แม้จะยังคงมีปัญหาในด้านต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานและทรัพย์สินทางปัญญา

ประเทศไทย: ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและความท้าทาย

เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโตถึง 2.7% ในปี 2567 และ 3.1% ในปี 2568 เมื่อเทียบกับการเติบโตเพียง 1.9% ในปี 2566 ความต้องการภายในประเทศยังสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากตลาดงานที่กำลังปรับตัวดีขึ้น ยอดค้าปลีกที่แข็งแกร่ง และกิจกรรมการผลิต ในภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับระดับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19

นโยบายแบบผสมผสานของไทยคาดว่าจะช่วยสนับสนุนการเติบโตนี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนปรนนโยบายการเงินด้วยความระมัดระวังในขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะต้องหาจุดสมดุลระหว่างการผ่อนคลายมาตรการและการรักษาวินัยทางการคลัง

แม้ว่าสินทรัพย์ในภาคครัวเรือนจะเติบโต แต่ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายทางด้านการเงินที่ไม่เหมือนประเทศอื่นๆ โดยสินทรัพย์ทางการเงินรวมลดลง 1.9% ในปี 2566 ถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินโลกในปี 2551 การลดลงของหลักทรัพย์และเงินฝากธนาคารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการลดลงนี้ อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ประเภทประกันและเงินบำนาญมีการเติบโตเล็กน้อย แม้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตก็ตาม อัตราหนี้สินที่สูงของประเทศไทย ซึ่งอยู่ที่ 91% ของจีดีพีที่เป็นตัวเงิน ยังคงเป็นหนึ่งในอัตราที่สูงที่สุดในภูมิภาค

นอกจากนี้ การกระจายความมั่งคั่งในประเทศยังคงไม่สมดุลอย่างมาก โดยประชากรกลุ่มมั่งคั่งเพียง 10% เป็นเจ้าของสินทรัพย์ทางการเงิน 76% ของสินทรัพย์ทางการเงินรวมสุทธิของประเทศ ความไม่เท่าเทียมนี้เกิดขึ้นเป็นเวลากว่าสองทศวรรษแล้ว โดยสถานการณ์แทบไม่ดีขึ้นเลย ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากรมากขึ้นในอนาคต

นายลูโดวิค เซอร์บราน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของกลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า "แนวโน้มเศรษฐกิจที่อลิอันซ์คาดการณ์สะท้อนถึงการมองโลกในแง่ดีอย่างระมัดระวังของเราท่ามกลางความท้าทายทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค แม้ว่าการเติบโตคาดว่าจะคงที่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เรายังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ วินัยทางการเงิน และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนที่ยังคงมีอยู่ จะยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่เราต้องแก้ไขเพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งในระยะยาว"

เร่งดำเนินการรื้อถอนสายสื่อสารถนนพระราม 4 ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยนายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล  หัวหน้าสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ นำทีมวิศวกรพื้นที่ร่วมปฏิบัติการสนับสนุน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) โดย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการฯ พร้อมด้วย กรุงเทพมหานคร โดย นาย  ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการฯ , กสทช. โดย ผศ.ดร. สาวัสดิ์ บุณยะเวศ ที่ปรึกษา และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินงานรื้อถอนสายสื่อสารที่ยกเลิกการใช้งานแล้วบนเสาไฟฟ้า หลังจากติดตั้งโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง Fiber Optic Cable (FOC) ฝังในระดับใต้ดินเพื่อใช้ทดแทนสายสื่อสารเดิม ย่านถนนพระราม 4 ช่วงแยกคลองเตย ถึงถนนสุขุมวิท

เร่งดำเนินการรื้อถอนสายสื่อสารถนนพระราม 4 ทรู คอร์ปอเรชั่น โดยนายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล  หัวหน้าสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ นำทีมวิศวกรพื้นที่ร่วมปฏิบัติการสนับสนุน การไฟฟ้านครหลวง (MEA) โดย นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการฯ พร้อมด้วย กรุงเทพมหานคร โดย นาย  ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการฯ , กสทช. โดย ผศ.ดร. สาวัสดิ์ บุณยะเวศ ที่ปรึกษา และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินงานรื้อถอนสายสื่อสารที่ยกเลิกการใช้งานแล้วบนเสาไฟฟ้า หลังจากติดตั้งโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง Fiber Optic Cable (FOC) ฝังในระดับใต้ดินเพื่อใช้ทดแทนสายสื่อสารเดิม ย่านถนนพระราม 4 ช่วงแยกคลองเตย ถึงถนนสุขุมวิท

 

X

Right Click

No right click