DEVIALET (เดอเวียเลต์) แบรนด์เครื่องเสียงสุดหรูจากฝรั่งเศสที่บุกเบิกเทคโนโลยีเสียงแห่งอนาคต เปิดตัวร้านแบรนด์แห่งแรกในประเทศไทย ในห้างเซ็นทรัลชิดลม การเปิดร้านนี้นับเป็นก้าวสำคัญของการขยายตลาดของ DEVIALET ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการนำเสนอประสบการณ์เสียงระดับโลกให้กับลูกค้าชาวไทย
ห้างเซ็นทรัลชิดลม เป็นห้างสรรพสินค้าที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการขยายตัวครั้งนี้ เนื่องจากเป็นห้างที่มีชื่อเสียงในด้านทำเลที่ตั้งและความเป็นผู้นำในแนวคิด "One-Stop-Shopping" มาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันเป็นเวลาถึง 50 ปี ที่ห้างเซ็นทรัลชิดลม เป็นห้างระดับไฮเอนด์ของประเทศไทยที่มอบประสบการณ์การเลือกซื้อสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและมีคุณภาพได้มาตรฐานระดับโลก การร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับภาพลักษณ์ของห้างเซ็นทรัลชิดลมในฐานะ “The Store of Bangkok”
การเปิดร้าน DEVIALET ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจ โดยการมีร้านในสถานที่สำคัญของกรุงเทพฯ เป็นสัญลักษณ์ของความต้องการเป็นหนึ่งของแบรนด์ในภูมิภาคนี้ DEVIALET ไม่เพียงแต่ตอกย้ำความทุ่มเทต่อตลาดไทย แต่ยังเป็นการปูทางสำหรับการเติบโตในอนาคตด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างประสบการณ์การฟังที่ยอดเยี่ยมสำหรับคนรักเสียงเพลงที่มีความต้องการสูง
หนึ่งในไฮไลท์ของร้าน DEVIALET แห่งใหม่คือ LISTENING ROOM ห้องฟังเพลงสุดพิเศษ ที่ได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่ส่วนตัวและให้ประสบการณ์การฟังเสียงแบบเต็มอิ่ม ช่วยให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงคุณภาพเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ DEVIALET ในสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาเฉพาะ ห้องฟังเพลงสีน้ำเงินนี้นำเสนอเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของ DEVIALET เป็นโอกาสพิเศษที่ผู้ฟังจะได้สัมผัสกับเสียงเพลงอย่างที่ควรจะได้ยินจริงๆ
Emmanuel Nardin (เอ็มมานูเอล นาร์แดง) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายออกแบบของ DEVIALET ได้แสดงถึงวิสัยทัศน์ในการออกแบบร้านนี้ว่า "เมื่อเราออกแบบร้านที่ห้างเซ็นทรัลชิดลม เป้าหมายของเราคือการสร้างพื้นที่ที่สะท้อนถึงแก่นแท้ของ DEVIALET การนำเสนออารมณ์ที่เกิดจากการฟังเสียงบริสุทธิ์ พื้นที่ที่เปิดโล่งและสว่างไสวนี้ ถูกกำหนดด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายแต่โดดเด่น เป็นการสดุดีต่อความบริสุทธิ์ เราได้ออกแบบห้องฟังเพลงด้วยการเล่นแสงที่ละเอียดอ่อน เพื่อสร้างประสบการณ์การฟังที่ทุกโน้ตและทุกการสั่นสะเทือนมีชีวิตชีวาอย่างแท้จริง"
นอกจากห้องฟังเพลงแล้ว ร้านยังนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ DEVIALET ครบครัน ตั้งแต่ลำโพงรุ่น Phantom ที่เป็นเอกลักษณ์ ไปจนถึง Soundbar รุ่น Dione และหูฟังไร้สายรุ่น Gemini II และร้านจะมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ลูกค้าได้สัมผัสกับนวัตกรรมเสียงล่าสุด
เพื่อฉลองการเปิดตัว DEVIALET ได้จัดงาน " DEVIALET Talk" โดยมี Martin Ku (มาร์ติน คู) ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ร่วมด้วยนักแสดงและนักร้องชื่อดัง ไอซ์ พาริส อินทรโกมาลย์สุต และดีเจมากฝีมือรุ่นใหม่ ไอริส อินทรโกมาลย์สุต (DJ Iris) ในการเสวนาครั้งนี้ นอกจากนี้ DJ Iris ยังมีการแสดงพิเศษ ที่โชว์ศักยภาพของลำโพง DEVIALET ผ่านดนตรีที่น่าตื่นเต้นด้วย งานนี้เป็นการเปิดตัวที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับแขกที่มาร่วมงาน และมอบโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมผัสกับโลกแห่งเสียงของ DEVIALET
SCGJWD ลุยโซลูชันโลจิสติกส์สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิครบวงจรทั่วอาเซียน รับเศรษฐกิจฟื้นตัว และแนวโน้มอุตสาหกรรมคลังสินค้าห้องเย็น อาหาร และเฮลท์แคร์ เติบโตแข็งแกร่ง นับจากปี 2024-2029 วาง 4 กลยุทธ์ ปักหมุดลงทุนในไทยต่อเนื่องบนทำเลยุทธศาสตร์อีก 8 โลเคชัน รุกสร้างโอกาสใหม่ในต่างประเทศ ร่วมมือพาร์ทเนอร์ขยายธุรกิจและนำเสนอโซลูชัน มุ่งโฟกัสตลาดเฮลท์แคร์และยาที่มีศักยภาพสูง นำเทคโนโลยี AI ยกระดับโลจิสติกส์และประหยัดพลังงาน ดันรายได้โตต่อเนื่อง
นายชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัทเอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGJWD ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแบบครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก ทำให้ความต้องการจัดเก็บและขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปพร้อมทานแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากการบริโภคภายในประเทศและการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำหรับส่งออก พร้อมกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับการจัดเก็บสินค้า อาทิ อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ เครื่องสำอาง อาหารสัตว์ ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยประเมินแนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) ในประเทศไทย จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 8.03% ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2024-2029) และคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 1.78 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2029
แผนการดำเนินธุรกิจของ เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี (SCGJWD) จึงเร่งเสริมความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจโลจิสติกส์สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยการต่อยอดจุดแข็งในปัจจุบัน เช่น เป็นผู้ให้บริการห้องเย็นสาธารณะที่มีพื้นที่ให้บริการมากที่สุด 8 โลเคชันครอบคุมทั่วประเทศ รวมกว่า 241,000 พาเลต (แท่นวางสินค้า), ติดตั้งระบบจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ, ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลและใบอนุญาตทุกประเภท เป็นต้น โดยในปี 2025-2029 ได้วางงบลงทุนธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นรวมกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันรายได้จากธุรกิจดังกล่าวให้มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย 12.8% ต่อปี จากเป้าหมายรายได้ปี 2025 ที่ 1,100 ล้านบาท ภายใต้ 4 กลยุทธ์หลักที่ขับเคลื่อนการขยายธุรกิจโลจิสติกส์สำหรับสินค้าควบคุมอุณหภูมิในประเทศไทยและอาเซียน ได้แก่
นายบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม SCGJWD กล่าวเสริมว่า บริษัทฯ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และ AI ตลอดกระบวนการซัพพลายเชนเพื่อยกระดับการบริหารจัดการคลังสินค้าห้องเย็นให้รวดเร็ว แม่นยำยิ่งขึ้น ช่วยบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ใช้เทคโนโลยีจัดเก็บและจ่ายสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage Retrieval System: ASRS) เพื่อช่วยจัดเก็บสินค้าได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำกว่า 99.9% ปลอดภัยสูง คงความสดใหม่และรักษาคุณภาพของสินค้าได้ดีกว่าเดิม รวมทั้งติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) คัดขนาดปลาทูน่า เพิ่มความแม่นยำได้มากกว่า 95% และจะขยายสู่การคัดแยกสายพันธุ์ปลาในปีหน้า
บริษัทฯ มุ่งดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ‘โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics)’ โดยการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) ที่คลังสินค้าห้องเย็นทุกแห่ง เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการซื้อไฟฟ้า เปลี่ยนมาใช้รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าแทนรถน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีจัดเก็บและจ่ายสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage Retrieval System: ASRS) ที่ช่วยลดการใช้ไฟฟ้า เพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บ เทคโนโลยีหลักที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ช่วยให้บริษัทบริหารต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้นและช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัทสามารถลดค่าไฟฟ้าได้กว่า 200 ล้านบาท และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 33,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และเทคโนโลยี TMS (Transport Management System) ที่ช่วยเรื่องวางแผนการเส้นทางการขนส่ง ทำให้สามารถประหยัดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ สู่ Net Zero ในปี 2050
พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง กรรมการการไฟฟ้านครหลวง และประธานกรรมการกิจการสัมพันธ์การไฟฟ้านครหลวง พร้อมด้วยนายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือการไฟฟ้านครหลวง และคณะผู้บริหาร จัดพิธีปล่อยขบวนรถในกิจกรรม "MEA ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัย" ณ การไฟฟ้านครหลวง สำนักใหญ่คลองเตย เพื่อสร้างความมั่นใจด้วยการปรับปรุงระบบไฟฟ้า เปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยจังหวัดเชียงรายระหว่างวันที่ 4-7 ตุลาคม 2567
ผู้ว่าการ กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย มีความห่วงใยประชาชนในเรื่องระบบไฟฟ้าหลังช่วงอุทกภัยจากสถานการณ์น้ำเหนือหลากได้ส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ภาคเหนือ และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสังคมแห่งการให้พร้อมบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการระดมพนักงานอาสา MEA ลงพื้นที่เพื่อไปช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัย พร้อมมอบเงินบริจาค อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ให้แก่เจ้าหน้าที่และหน่วยงานในการช่วยเหลือประชาชนเพื่อความปลอดภัย
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งนักแสดงวัยใส ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถ และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม สำหรับ “อลิศ - ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน” นักแสดงดาวรุ่งสังกัดช่อง 7HD และการันตีเสียงร้องจากการประกวดบนเวที The Golden Song Season 2 ซึ่งล่าสุด ได้รับเลือกเป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ใน “เทศกาลกินเจ อิ่มฟิน เสริมดวง” เนื่องในกิจกรรมณรงค์ถือศีลกินเจ ประจำปี 2567 ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ โครงการฟีนิกซ์ ประตูน้ำ เพื่อเป็นตัวแทนแห่งความศรัทธาต่อองค์พระโพธิสัตว์ฯ และร่วมส่งเสริมการทำบุญตามจารีตของพี่น้องเชื้อสายจีน สานต่อวัฒนธรรมการถือศีลกินเจ
สำหรับการแต่งตั้งองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ทางโครงการฟีนิกซ์ได้ร่วมมือกับมูลนิธิพุทธนุสรและเครือข่ายกรมศาสนา ในการสรรหาสุภาพสตรีที่พร้อมไปด้วยความบริสุทธิ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่มีประวัติในการทำผิดศีลธรรมอันดี ไม่ข้องเกี่ยวกับสุรายาเสพติดให้โทษ เปี่ยมศรัทธาในองค์พระโพธิสัตว์ฯ และทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอยู่เสมอ จนได้ อลิศ ธนัชศลักษณ์ ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเหมาะสมที่จะเป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ในเทศกาลกินเจประจำปี 2567
โดยงานนี้สาว อลิศ ธนัชศลักษณ์ เตรียมความพร้อมอย่างหนักสำหรับการเป็นองค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม เพื่อนำขบวนและร่วมพิธีอันเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิมปางประทานพร ที่มีความสูงมากถึง 4 เมตร ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงปักกิ่ง และพระโพธิสัตว์กวนอิมปางสำเร็จธรรม ซึ่งอัญเชิญมาจากเกาะโพวถ่อซาน ทะเลจีนใต้ เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อให้พี่น้องชาวไทยได้ร่วมกราบไหว้ ขอพร และสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลกันอย่างใกล้ชิด พร้อมร่วมกิจกรรมถือศีลทานเจเพื่อชำระล้างร่างกายและจิตใจตลอดเทศกาล ให้สมกับการได้รับหน้าที่อันทรงเกียรติในครั้งนี้
นอกจากนี้ อลิศ ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนและผู้ที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประเพณีการทำบุญครั้งสำคัญ และร่วมสักการะพระโพธิสัตว์ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล สร้างพลังบุญให้กับตัวเองและครอบครัว ตลอดจนอิ่มบุญ อิ่มอร่อยร่วมกันในบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ ในเทศกาลกินเจ อิ่มฟิน เสริมดวง ระหว่างวันที่ 2 - 11 ตุลาคม 2567 นี้ ณ บริเวณ Commonspace ชั้น G โครงการ Phenix Pratunam
ติดตามหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก Phenix Food Wholesale Hub หรืออินสตาแกรม @phenixfoodwholesalehub หรือ เว็บไซต์ www.phenixbox.com
BKV Corporation (“BKV”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบ้านปูได้แจ้งราคาเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO Price) จำนวน 15,000,000 หุ้น ที่ราคา 18 เหรียญสหรัฐ ต่อหุ้น และนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนใน New York Stock Exchange (NYSE) โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวสามารถทำการซื้อขายผ่าน NYSE เป็นครั้งแรกในวันที่ 26 กันยายน 2567 (ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกา) โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “BKV” คาดว่าการปิดรายการการจำหน่ายหุ้น IPO จะดำเนินการแล้วเสร็จภายในวันที่ 27 กันยายน 2567 หลังจากปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
คำแถลงการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายหุ้น IPO นี้ได้ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐอเมริกา (U.S. SEC) แล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 โดยสามารถดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวนจากเว็บไซต์ของ U.S. SEC www.sec.gov โดยค้นหาภายใต้ชื่อ BKV Corporation
นายสินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บ้านปูให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศยุทธศาสตร์ โดยมี BKV เป็นกุญแจสำคัญในการเดินหน้าธุรกิจก๊าซธรรมชาติเพื่ออำนวยประโยชน์ที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย เราภูมิใจและตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งกับก้าวต่อไปที่ยิ่งใหญ่ของบริษัทฯ ทั้งนี้ บ้านปูยังมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนเป้าหมายในการลดคาร์บอน (Decarbonization) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และคงความโดดเด่นในการดำเนินธุรกิจด้วยเป้าหมายในการส่งมอบนวัตกรรมโซลูชันพลังงานที่สะอาดและเชื่อถือได้ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก”
ภายใต้การบริหารงานของ BKV ธุรกิจพลังงานของบ้านปูในสหรัฐฯ เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 เริ่มต้นจากการดำเนินกิจการก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซบาร์เนตต์ (Barnett) ในรัฐเท็กซัส และแหล่งก๊าซมาร์เซลลัส (Marcellus) ในรัฐเพนซิลเวเนีย ต่อยอดสู่บริษัทร่วมทุน BKV-BPP ลงทุนในกิจการของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ Temple I และ Temple II ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (Combined Cycle Gas Turbines: CCGT) นอกจากนี้ BKV ยังดำเนินโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCUS) และการพัฒนาก๊าซธรรมชาติที่มีคาร์บอนเป็นกลาง (Carbon-Sequestered Gas: CSG) ด้วยคุณภาพระดับพรีเมียม รวมทั้งการร่วมทุนกับ BKV-BPP Power ในการจัดสรรพื้นที่ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่แหล่งก๊าซบาร์เนตต์ รัฐเท็กซัส ก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Ponder Solar)
กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองระดับมหานครหรือ Mega City หนึ่งของโลก เป็น Strategic Location ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีความเป็นพลวัต ภายใต้กระแสธารแห่งการเปลี่ยนผ่าน
การเปลี่ยนผ่านที่เห็นได้ชัดอย่างยิ่งคือ การขยายตัวของเมือง (Urbanization) โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย True Digital Group พัฒนาเมกะโปรเจกต์ True Digital Park (TDPK) ทรานสฟอร์มพื้นที่ชานเมืองสู่ “ฮับแห่งสตาร์ตอัพ” กับเป้าหมาย Silicon Valley เมืองไทย
ในโอกาสที่ TDPK ย่างเข้าสู่ปีที่ 6 True Blog ได้มีโอกาสสนทนากับ “ดร.ธาริต นิมมานวุฒิพงษ์” ผู้บริหารรุ่นใหม่ไฟแรงที่รั้งตำแหน่ง General Manager ของ TDPK ถึงเบื้องลึกเบื้องหลังโครงการ แนวทางการบริหารที่นำมาสู่การพลิกเมือง ตลอดจนวิธีคิด-การใช้ชีวิตในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ธาริตเติบโตในครอบครัวชนชั้นกลางชาวไทยเชื้อสายจีน เกิดและอาศัยในย่านทรงวาดของกรุงเทพฯ ที่คลาคล่ำไปด้วยธุรกิจค้าส่ง รวมถึงเคมีภัณฑ์ที่คุณพ่อเขาก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา และนั่นจึงนำมาสู่แรงบันดาลใจของธาริตที่มีความฝันประกอบอาชีพวิศวกรเคมี ตามสมัยนิยมของเด็กยุค 80 ที่มักเห็นพ่อแม่ของตัวเองเป็นไอดอล
ด้วยความเป็นเด็กขยันเรียน ใฝ่รู้ และมุมานะ ธาริตสอบติดและจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และออกไปเก็บประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ จ.ระยอง เป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะได้รับทุนรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ Fulbright Scholarship ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกที่ University of California, Davis ในสาขาวิศวกรรมเคมี ก่อนที่จะไปทำงานด้านวิจัยในฐานะ Postdoctoral Research Fellow ที่ MIT และห้องเแล็บของบริษัทด้านเทคโนโลยีพลังงานระดับโลก Topsoe ที่ประเทศเดนมาร์กรวมเป็นเวลากว่า 2 ปีก่อนเดินทางกลับประเทศไทย
“ผมเป็นคนที่ค่อนข้างมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจนตั้งแต่แรก โดยต้องการเรียนให้สูงที่สุด ด้วยความที่เราชอบเรียนหนังสือ และเรียนได้ดี เมื่อมีโอกาส ผมก็ทำมันให้ดีที่สุด ซึ่งนั่นก็คือ นักวิทยาศาสตร์” ธาริต เล่าถึงภูมิหลังในวัยเด็ก
เส้นทางชีวิตของธาริตดูราบรื่น สวยหรู เป็นเส้นตรง และคาดเดาได้ หากไม่กลับมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็เป็นนักวิจัยในแล็บของหน่วยราชการ แต่ระหว่างทาง เขาได้พบกับ “ทางเลือก” ที่ช่วยขยายเลนส์และทางเดินในอนาคต นั่นคือ การได้รับคัดเลือกเข้าโปรแกรม Bridge to BCG ของ Boston Consulting Group ทำให้เขาได้รู้จักงานที่ปรึกษาอย่างลึกซึ้งและค้นพบศักยภาพในตัวเอง
เมื่อกลับมายังมาตุภูมิ ธาริตเริ่มต้นการทำงานแรกที่ไทยในฐานะ Management Consultant ที่ Roland Berger บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกสัญชาติเยอรมัน โดยโปรเจกต์แรกที่มีส่วนร่วมคือ แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งเขาได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของ “ปลาคนละน้ำ” จาก “นักวิจัยสู่ที่ปรึกษา” ที่สามารถทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนร่วมทีมที่ต่างหิ้วดีกรี MBA มาทั้งนั้น เหนือไปกว่านั้น กรอบคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) ที่บ่มเพาะมาจากการคลุกคลีกับกิจการของที่บ้าน กลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างของความเป็นที่ปรึกษาให้เขา เรียกได้ว่า เป็นที่ปรึกษาที่มีทั้ง “บู๊และบุ๋น”
ในห้วงเวลา 2-3 ปีบนสนามที่ปรึกษา ธาริตมีโอกาสร่วมคิด-สร้างในโปรเจกต์ต่างๆ มากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ True Digital Park
บรีฟแรกที่ได้มาในโจทย์ TDPK คือ การทำให้ TDPK พิชิตเป้าหมายสถานะ “ฮับของสตาร์ทอัพเมืองไทย” เพื่อเติมเต็มอีโคซิสเต็มดิจิทัลของประเทศผ่านโครงสร้างพื้นฐานเชิง Community Hub โดยธาริตและทีมใช้เวลาร่วมปี ทำการค้นคว้าวิจัย ลงสนาม ดูงาน เทียบเคียงกับต่างประเทศ วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จนสำเร็จเป็น Blueprint ที่พร้อมนำไปปรับใช้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแผนบนกระดาษให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์ จำเป็นต้องมีผู้นำหรือผู้ที่เป็นเรี่ยวแรงในการส่งไม้ต่อ และธาริตก็ได้รับการทาบทามให้ทำหน้าที่นั้น โดยประเดิมในตำแหน่ง Head of Commercial และได้รับโปรโมทเป็น General Manager ในเวลาต่อมา
“เดิมทีเราทำงานเชิงแผนงานเสียมาก แต่พอต้องลงมือทำด้วยตัวเองจริงๆ ก็ท้าทายมากเช่นเดียวกัน ตอนแรกที่เข้ามาช่วงปี 2561 ซึ่งเป็นเฟส Pre-Leasing โจทย์สำคัญคือ การหาลูกค้าศักยภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเทคสตาร์ตอัพ มีเทคทาเลนท์อย่างโปรแกรมเมอร์หรือวิศวกรข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ TDPK เดินหน้าอย่างมีกลยุทธ์และเติบโตตามที่ตั้งเป้าไว้ ด้วยมายด์เซ็ตและการมูฟแบบสตาร์ทอัพของทีมที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ ทำให้ปีแรกของ TDPK มีอัตราเช่าพื้นที่ (Occupancy Rate) ของเฟสแรกหรือตึก East อยู่ที่ 70% ซึ่งถือว่ารวดเร็วและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดบริเวณ CBD
ฮันนีมูนพีเรียดเริ่มต้นได้เพียงไม่นาน บททดสอบหน้าใหม่สุดหินทีชื่อว่า “โควิด-19” ก็ได้เข้ามาทักทายผู้บริหารหนุ่มคนนี้เข้าอย่างจัง
“ความไม่แน่นอนเชิงพื้นที่และเวลา” จากวิกฤตโควิด-19 ถือเป็นความเสี่ยงสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้น Risk Management ที่ TDPK เทคแอ็คชั่นเป็นลำดับแรก คือ “การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า” เพื่อสร้างความสบายใจท่ามกลางความไม่แน่นอน ทั้งการให้ความช่วยเหลือ การจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ รวมถึงการปรับพื้นที่เป็นศูนย์ฉีดวัคซีน ซึ่งจากวิกฤตในครั้งนั้น ทำให้ธาริตเห็นโอกาสทางธุรกิจและกรุยทางสู่แหล่งรายได้ใหม่ๆ จนปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ถึง 6 กลุ่ม ได้แก่
โดยยังคงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้สอดรับกับความเป็นไปได้ใหม่ๆ อีกมากมาย
ธาริต เล่าว่า TDPK เกิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ของทรู ที่ต้องการสร้างความแตกต่างในตลาดโทรคมนาคมให้กับแบรนด์ทรู ซึ่งสะท้อนบทบาทความเป็น ”ผู้นำแห่งอนาคต” ด้วยการเดินหน้าเปลี่ยนผ่านดิจิทัลสู่ Telco Tech Company ด้วยเหตุนี้ ทรูจึงต้องเท่าทันและเข้าใจกระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค และสภาวการณ์ของโลกให้มากขึ้น ทั้งยังต้องใกล้ชิดกับคู่ค้าและคู่แข่งมากขึ้น
นอกจากนี้ TDPK ยังได้ทำหน้าที่คู่ขนานกับทรู ในฐานะ “แพลทฟอร์ม” แต่แพลทฟอร์มที่ว่านี้ ทำหน้าเที่เป็นสะพานเชื่อมผู้คนที่มีใจมุ่งมั่น ต้องการทำฝันให้เป็นจริง สร้างธุรกิจให้เติบโต ได้มาพบกันภายใต้บรรยากาศแห่งการตื่นรู้ พร้อมทั้งใช้ชีวิตในทุกมิติได้อย่างสมดุล สอดคล้องกับ motto ของ TDPK ที่ยึดถือมาตลอด นั่นคือ “One Roof, All Possibilities ที่เดียว ทุกความเป็นไปได้”
จากแนวคิดดังกล่าว ทำให้เกิดความเป็นคอมมูนิตี้ เกิดเป็นบทสนทนาระหว่างลูกค้ากันเอง และเกิดเป็นแบรนด์ที่แตกต่าง ถือเป็น Center of Gravity ในรูปแบบใหม่ ต่างจากการพัฒนาที่ดินในรูปแบบดั้งเดิมที่มองแต่เพียงอาคารเท่านั้น ดังนั้น “การสร้างคอมมูนิตี้” จึงถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของ TDPK
“คนทั่วไปอาจจะมองว่า TDPK คือตึก แต่สำหรับผม TDPK คือ แคมปัสและผู้คน” ธาริตกล่าวและเสริมว่า “ตึกในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มที่จะผุดขึ้นมาอีกมาก แต่...ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเช่าพื้นที่ต่อจากนี้ คือ Proximity ของทั้งพาร์ทเนอร์และเพื่อนฝูง เพื่อลดเวลาในการเดินทางไปมาหาสู่กัน ดังนั้น คีย์สำคัญของการสร้าง TDPK คือ Dynamics จากกิจกรรมในสังคมมนุษย์ผ่านความเป็น Campus พูดง่ายๆ คือ การสร้างเมือง”
และด้วยจุดเเข็งความเป็นคอมมูนิตี้ของ TDPK ที่ประกอบด้วยฟังก์ชันพื้นที่ที่หลากหลาย นั่นจึงเป็น “จุดขาย” ที่เหนือกว่าผู้ให้บริการพื้นที่อื่นๆ ทำให้ค่าบริการเชิงพื้นที่ของ TDPK สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด โดยเฉพาะจุดเด่นที่สะท้อนความเป็นคอมมูนิตี้ของชาวสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์ อีเว้นท์ที่เกิดขึ้นที่นี่จึงเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกือบทั้งสิ้น
ที่ผ่านมา TDPK ทำหน้าที่ให้บริการด้านพื้นที่เป็นสำนักงานของสตาร์ทอัพทั้งขนาดเล็กและใหญ่หลายร้อยบริษัท รวมถึงยูนิคอร์นถึง 4 ตัว ทั้งจากไทยและต่างชาติ จะเห็นได้ว่าเทคสตาร์ทอัพที่ให้ความสำคัญกับความเป็น “คอมมูนิตี้” ล้วนตั้งอยู่ที่ TDPK ทั้งสิ้น โดยผลลัพธ์ดังกล่าวมาจากความเชื่อมั่นใน TDPK จนเกิดเป็นการบอกต่อและชักชวนให้มาใช้บริการแบบปากต่อปาก
“เราพัฒนา TDPK จากหมวกหลายใบ ทั้งในฐานะผู้พัฒนาโครงการ เจ้าของธุรกิจ และลูกค้า” ธาริตย้ำ พร้อมอธิบายว่า เพื่อให้มั่นใจว่า TDPK ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง โดยเฉพาะความเป็นคอมมูนิตี้ ทั้งยังสามารถนำเสนอบริการใหม่ๆ ที่ตอบรับเทรนด์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่สะท้อนจากผลลัพธ์ทางการเงิน” ”
ก้าวถัดไปของ TDPK
ประเทศไทยมีการถกเถียงถึงความสำคัญของการวิจัยมาช้านานหลายทศวรรษ แต่ในทางปฏิบัติ ไทยยังไม่สามารถใช้การวิจัยให้เกิดผลกระทบเชิงประจักษ์ได้ โดยเฉพาะการเข้าถึงต่อสาธารณะ ส่งผลต่อการขาดแคลน “Role Model” หรือต้นแบบที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นหลังให้ก้าวสู่สนามแห่งการวิจัยให้มากขึ้น ทำให้รากฐานของประเทศเเข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งการให้ความสำคัญกับการวิจัยจะเป็นหนทางที่สำคัญในการต่อสู้และอยู่รอดของเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางความท้าทายจากสินค้าจีน ขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ต่ำลง การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี และความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของโลก
“ที่ผ่านมา ไทยใช้เม็ดเงินมหาศาลในการซื้อเทคโนโลยีต่างประเทศเข้ามา ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ไทยควรหันมาให้ความสำคัญกับการวิจัย” ธาริตเอ่ยความในใจในฐานะเด็กที่มีฝันเป็นนักวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงวาดฝันให้ TDPK เป็นกลไกหนึ่งของสังคมที่ช่วยผลักดันงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
จากประสบการณ์ในสนามงานวิจัยของธาริตนับสิบปี ทั้งที่ยุโรปและสหรัฐฯ เขามองว่า “ความตระหนักรู้ด้านการวิจัย” ต่อสาธารณะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างมาก ทั้งยังเป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำมาสู่ความสำเร็จของประเทศที่พัฒนาแล้ว นำมาสู่การพูดคุยเจรจาทั้งในมหภาคและจุลภาค การระดมทุน การพัฒนาห้องแล็บ การนำเสนอ รวมถึงการจับคู่ทางธุรกิจก็จะเกิดขึ้นตามมา
“ตึกๆ นี้ ไม่ได้สร้างเพื่อหาผู้เช่าให้เต็มแล้วไปพัฒนาที่ดินผืนใหม่ต่อไป แต่ TDPK ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็น Engine for Change สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อทั้งองค์กร ลูกค้า และสังคม ซึ่งทั้ง 3 ภาคี ล้วนมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ไม่สามารถแยกออกจากกันได้” เขาอธิบาย
ทั้งนี้ สถานะ Engine for Change ของ TDPK สะท้อนออกมาจากหลายมิติ อย่างการบริหารพื้นที่โซนต่างๆ ด้วยดาต้า การออกแบบพร้อมที่จะเปลี่ยนฟังก์ชั่นการทำงานของพื้นที่ให้สอดรับกับความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงที ตัวอย่างเช่น พื้นที่ที่เคยเป็นออฟฟิศสามารถทรานส์ฟอร์มเปลี่ยนพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อคอมมูนิตี้หรือ co-working space ได้ในระยะเวลาอันสั้น
ปัจจุบัน การระดมทุนในวงการสตาร์ทอัพไทยจะไม่ดูสดใสเหมือนในอดีต ทั้งยังมีข่าวที่ไม่สู้ดีนักผุดขึ้นมาอยู่เนืองๆ ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่จำกัดเพียงวงการสตาร์ตอัพเท่านั้น แต่ขยายไปสู่ธุรกิจ SMEs ซึ่งธาริตมองว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลกระทบจากวัฏจักรทางเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงถดถอย ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก ภาวะสงคราม รวมถึงโมเดลธุรกิจของสตาร์ทอัพที่เน้นการลงทุนอย่างมากในระยะเริ่มต้น ที่อาจไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่รุมเร้าด้วยปัจจัยลบ แต่ด้วยพันธกิจ TDPK เพื่อการเป็นฮับของสตาร์ทอัพ การรักษาโมเมนตัม สร้างแรงบันดาล ดึงดูดทาเลนท์ให้เข้าสู่วงการ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
“หากไฟมอดหรือดับลงแล้ว การจะจุดไฟให้ลุกโชนขึ้นอีกครั้งเป็นเรื่องยาก เราจึงต้องรักษาไฟนั้น อย่าให้ดับมอดลง ฉันใดฉันนั้น เช่นเดียวกับหน้าที่ของ TDPK ต่อสตาร์ทอัพไทย”
ปัจจุบัน TDPK เป็นฐานที่สตาร์ทอัพใช้ทำงาน สร้างนวัตกรรมอยู่ทั้งสิ้นกว่า 260 รายและมีสมาชิกกว่า 13,000 คน ซึ่งถือว่าไม่น้อย ขณะเดียวกัน แนวโน้มที่ชาวต่างชาติใช้ไทยเป็นฐานในการปฏิบัติการด้านสตาร์ทอัพก็มีมากขึ้น โดยความร่วมมือระหว่าง TDPK และ BOI ผ่านโปรแกรม Long-Term Resident Visa
ผลงานที่ประจักษ์ของ TDPK ในขวบปีที่ 6 ภายใต้การนำของธาริต เกิดขึ้นจากดีเอ็นเอ 3 ประการ 1. ความสมดุล 2. ความคิดสร้างสรรค์ และ 3. ความกล้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาบ่มเพาะและเรียนรู้จากการเป็นนักบริหารที่คิดแบบนักวิทยาศาสตร์ โดยเขาค้นพบว่า ทักษะและแนวคิดจากพาณิชยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ต่างเติมเต็มช่องว่างซึ่งกันและกัน ปิดจุดบอด อุดรูรั่ว รู้ลึกและรู้กว้าง เปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาส ผลิดอกออกผลเป็นสิ่งที่เรียกว่า “นวัตกรรม”
ยูนิลีเวอร์ ผู้นำตลาด FMCG ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างยั่งยืน ได้รับการยกย่องด้านวัฒนธรรมการทำงานที่ยอดเยี่ยมอีกครั้ง คว้ารางวัล HR Asia Best Company to Work For Awards หรือ รางวัลบริษัทที่น่าทำงานที่สุดในเอเชียเป็นปีที่ 6 ติดต่อกันจาก HR Asia (เอชอาร์ เอเชีย) สื่อชั้นนำด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาค สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของยูนิลีเวอร์ในการรังสรรค์สภาพแวดล้อมการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมาย (Purpose-driven) และจุดประกายแรงบันดาลใจ ตอกย้ำพันธกิจการพัฒนาพนักงานให้มีเป้าหมายการทำงาน และความตั้งใจที่จะบ่มเพาะบุคลากรให้มีทักษะที่พร้อมต่อการทำงานในอนาคต ผ่านแนวทาง 3 ด้านได้แก่ ด้านบุคลากรผ่านการพัฒนาอาชีพ (Career) ด้านการเสริมสร้างทักษะ (Capability) และด้านวัฒนธรรม (Culture)
นายอันชุล อะซาวา ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จครั้งนี้ว่า “ยูนิลีเวอร์ ดำเนินกิจการในประเทศไทยภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นเป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจที่ยั่งยืน การคว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 ไม่เพียงสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเรา แต่ยังเป็นแรงผลักดันให้เรายิ่งทุ่มเทให้ความสำคัญกับบุคลากรซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จที่แท้จริงให้กับเรา ผมขอขอบคุณพนักงานทุกคนสำหรับการร่วมแรงร่วมใจสร้างวัฒนธรรมการทำงานอันยอดเยี่ยมที่ยูนิลีเวอร์ เราจะเดินหน้าร่วมกันเพื่อพัฒนา ปรับเปลี่ยน และส่งเสริมให้บุคลากรของเราก้าวหน้าและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน”
นางสาว มิง ชู หลิง รองประธานฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลประเทศไทยและภาคพื้นอาเซียนยูนิลีเวอร์ กล่าวว่า “รางวัลที่ได้รับนี้เป็นบทพิสูจน์ความทุ่มเทที่ยูนิลีเวอร์มอบให้พนักงานของเรา จากกลยุทธ์ต่างๆที่ยูนิลีเวอร์รังสรรค์ขึ้นเพื่อส่งเสริมบุคลากรผ่านการพัฒนาทางด้านอาชีพ (career) เสริมสร้างทักษะ (capability) และวัฒนธรรมองค์กร (culture) เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้บุคลากรของเราประสบความสำเร็จท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่ส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและความใส่ใจอย่างลึกซึ้ง ช่วยให้เราดึงดูดบุคลากรที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมาย (purpose) ทั้งในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัว ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่มีความสามารถและทุ่มเทในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ จนทำให้ยูนิลีเวอร์ประเทศไทยเป็นสถานที่ทำงานที่สามารถช่วยปลดล็อกศักยภาพของทุกคนได้อย่างเต็มที่”
ยูนิลีเวอร์ได้ริเริ่มแนวคิดที่มีความโดดเด่นอย่าง Shape Your Own Adventure เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถกำหนดเส้นทางอาชีพของตนเอง รวมถึงเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าถึงโอกาสการเติบโตอย่างเท่าเทียมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยแนวคิดนี้มุ่งสร้างแรงบันดาลใจและพร้อมสนับสนุนบุคลากรให้สามารถบรรลุเป้าหมายชีวิตและอาชีพ ด้วยความตั้งใจของยูนิลีเวอร์ที่จะเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เราจึงให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมบุคลากรให้สามารถวางแผนอาชีพในอนาคตได้ด้วยตัวเอง แนวความคิดนี้พัฒนาขึ้นจากการรับฟังความคิดเห็นในแบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน บริษัทมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือพนักงานในการค้นหาเป้าหมายในอาชีพของตน ทักษะที่จำเป็น พร้อมทั้งให้คำแนะนำเพื่อช่วยให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โครงการดังกล่าวสามารถจุดประกายความมุ่งมั่นและปลดล็อกศักยภาพของพนักงาน นำไปสู่การเลื่อนตำแหน่งของพนักงานกว่าสองร้อยคน และการแต่งตั้งตำแหน่งในระดับภูมิภาคและนานาชาติอีกสี่สิบตำแหน่งในปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความเอาใจใส่ของยูนิลีเวอร์ในการรับฟังและพร้อมสนับสนุนเพื่อให้พนักงานได้บรรลุเป้าหมายทางหน้าที่การงานภายในองค์กร
ยูนิลีเวอร์ เดินหน้าลงทุนพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อให้สามารถปรับตัวและประสบความสำเร็จท่ามกลางสภาพแวดล้อมการทำงานในอนาคต ขณะเดียวกัน บริษัทฯ กำลังเร่งบูรณาการระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำยุคเพื่อพัฒนากระบวนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ในขณะที่ระบบอัตโนมัติและ AI กำลังเข้ามาปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ยูนิลีเวอร์ ยังคงศึกษาการนำพลังของเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายสูงสุด ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพพนักงานให้สามารถปรับตัวและรับมือกับรูปแบบการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ริเริ่ม ‘Digital Upskilling Program’ เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะและเครื่องมืออัจฉริยะใหม่ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับนำมาปรับใช้กับกระบวนการทำงานของตนเอง นอกจากนี้ยังมีโครงการ ‘Digital Factory’ ที่บ่มเพาะทักษะด้านการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจำเป็นต่อการดำเนินงานในโรงงานและศูนย์การผลิตที่กระบวนการมีความซับซ้อน
ยูนิลีเวอร์มุ่งเน้นสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่กระตุ้นให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โอบรับความท้าทายใหม่ พร้อมทั้งยกระดับวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่นและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานอย่างรอบด้านและเท่าเทียม พนักงานจะกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดการทำงานที่ชัดเจน และได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมจากบริษัทและหัวหน้างาน รวมถึงสวัสดิการที่ครอบคลุมความต้องการทั้งในมิติการทำงานและชีวิตส่วนตัว อาทิ การพัฒนารูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นเพื่อส่งเสริมการสร้างสมดุลในการทำงานและการใช้ชีวิต ด้วยการจัดระบบการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working Arrangement) และการเปิดโอกาสในการย้ายงานทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาวให้กับพนักงานทั่วโลกโดยไม่จำกัดเพศและสัญชาติ สำหรับด้านชีวิตส่วนตัว ยูนิลีเวอร์ มอบสวัสดิการลาคลอด 16 สัปดาห์ของคุณแม่และวันลา 15 วันสำหรับคุณพ่อ และโครงการ ‘Healthier U’ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและความสุขในที่ทำงาน พร้อมด้วยการสนับสนุนเฉพาะด้านตามความต้องการของแต่ละบุคคล ทั้งสุขภาพกายและใจ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและสามารถเป็นตัวเองในแบบที่ดีที่สุดได้ในทุกๆ วันที่มาทำงาน
“ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สถานที่ทำงานที่ไม่เพียงแต่ขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ยังส่งเสริมการเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานอีกด้วย ในขณะที่เราฉลองความสำเร็จนี้ เราจะเดินหน้าต่อไปในเส้นทางแห่งความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ความเท่าเทียม และความเป็นเลิศ เราจะพยายามทำให้ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เป็นสถานที่ที่พนักงานทุกคนสามารถเติบโตและมีส่วนร่วมในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้” นายอันชุล กล่าวเสริม
กรุงเทพประกันชีวิต ประสบความสำเร็จอีกครั้ง จากผลิตภัณฑ์ประกันสะสมทรัพย์ “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” ที่สามารถคว้ารางวัล “Product of the Year Awards 2024” ในงานมอบรางวัลสินค้าและบริการแห่งปี 2567 “BUSINESS+ PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2024” ภายใต้แนวคิด “Our Planet Resurrection ฟื้นคืนโลกของทุกคน” เพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติให้แก่ผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่นในด้านความยั่งยืนแห่งปี 2567 ที่ผ่านการวิจัยและวิเคราะห์จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผ่านการโหวตคัดเลือกจากผู้บริโภค จัดโดย นิตยสาร Business+ ร่วมกับ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี นายโชน โสภณพนิช (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ขึ้นรับรางวัลจาก นายนุรักษ์ มาประณีต (ขวา) องคมนตรี ที่ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อเร็วๆนี้
นายโชน กล่าวว่า กรุงเทพประกันชีวิตรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจที่ผลิตภัณฑ์ประกันสะสมทรัพย์ “กรุงเทพ สมาร์ทคิดส์” ประสบความสำเร็จกับรางวัล Product of the Year Award 2024 และขอขอบคุณนิตยสาร Business+ และ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เล็งเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่กรุงเทพประกันชีวิตมุ่งมั่น “ใส่ใจ” พัฒนาให้ดีที่สุดเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการสร้างอนาคตที่ดีให้กับลูก สะท้อนถึงการดำเนินงานตามภารกิจในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับประชาชนทุกคน
กรุงเทพประกันชีวิต ประสบความสำเร็จอีกครั้ง จากผลิตภัณฑ์ประกันสะสมทรัพย์ “กรุงเทพ สมาร์ท คิดส์” ที่สามารถคว้ารางวัล “Product of the Year Awards 2024” ในงานมอบรางวัลสินค้าและบริการแห่งปี 2567 “BUSINESS+ PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2024” ภายใต้แนวคิด “Our Planet Resurrection ฟื้นคืนโลกของทุกคน” เพื่อยกย่องและเชิดชูเกียรติให้แก่ผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่นในด้านความยั่งยืนแห่งปี 2567 ที่ผ่านการวิจัยและวิเคราะห์จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผ่านการโหวตคัดเลือกจากผู้บริโภค จัดโดย นิตยสาร Business+ ร่วมกับ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี นายโชน โสภณพนิช (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ขึ้นรับรางวัลจาก นายนุรักษ์ มาประณีต (ขวา) องคมนตรี ที่ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อเร็วๆนี้
นายโชน กล่าวว่า กรุงเทพประกันชีวิตรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจที่ผลิตภัณฑ์ประกันสะสมทรัพย์ “กรุงเทพ สมาร์ทคิดส์” ประสบความสำเร็จกับรางวัล Product of the Year Award 2024 และขอขอบคุณนิตยสาร Business+ และ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เล็งเห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่กรุงเทพประกันชีวิตมุ่งมั่น “ใส่ใจ” พัฒนาให้ดีที่สุดเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการสร้างอนาคตที่ดีให้กับลูก สะท้อนถึงการดำเนินงานตามภารกิจในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับประชาชนทุกคน