December 25, 2024

นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร และนางสาวปวีณา ศรีตระกูล หัวหน้าฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และการตลาด บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเปิดกิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” หนึ่งใน “From Waste To Worth” แคมเปญเพื่อสังคมประจำปีงบประมาณ 2567 ของบริษัทฯ ที่มุ่งผลักดันประเด็น “การลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากขวดพลาสติก” เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ 12 ขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเรื่องของการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยกิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหว่านเมล็ดความยั่งยืนในสังคมไทยด้วยการสร้างจิตสำนึกถึงการลด การรีไซเคิล และการนำขยะขวดพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ผ่านการสื่อสารภายในและนอกองค์กร

กิจกรรม “Greenhouse Effect: Plastic Trap Stimulation” เป็นกิจกรรมแนว social experiment ที่จำลองภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้นกับโลก ด้วยเรือนกระจกที่ทำจากขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว 1,400 ขวด ซึ่งจะปล่อยให้แสงแดดผ่านเข้าไปภายใน แต่เก็บกักความร้อนไว้ไม่ให้ระบายออกมาได้อย่างเต็มที่ คล้ายกับวิธีที่ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ อย่าง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน หรือ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ทำกับโลก ทำให้อุณหภูมิภายในเรือนเพิ่มสูงขึ้น และร้อนกว่าอากาศภายนอก 1-4 องศาเซลเซียสระหว่างวัน โดยเอปสัน ประเทศไทย ได้นำเรือนกระจกจำลองดังกล่าวไปทำการทดลองกับผู้มาใช้บริการมากกว่า 200 คน ที่สยามสแควร์ ก่อนที่จะย้ายมาที่อาคารปัน ที่ตั้งของบริษัทฯ เพื่อให้พนักงานเอปสัน และผู้ที่สัญจรแถวอาคารปันได้ร่วมกิจกรรม โดยหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมดังกล่าว บริษัทฯ จะนำเรือนกระจกจำลองนี้ไปมอบให้แก่โรงเรียนวัดขุนทิพย์ (สาครราษฎร์บำรุง) อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อใช้ทำเป็นโรงเรือนปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับอาหารกลางวันเด็กนักเรียนต่อไป

ครั้งแรกกับ Money Buffalo และ Buffalo Gags สองกูรูการเงินและอินฟลูเอนเซอร์คนดัง  พร้อมแจกบัตรเข้างานฟรี 300 ที่นั่งสำหรับลูกค้าใหม่!

สมาคมเพื่อการส่งเสริมการส่งออกผักและผลไม้แห่งประเทศญี่ปุ่น (JFEC) ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารญี่ปุ่นไปยังต่างประเทศ (JFOODO) และ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล กรุ๊ป ธุรกิจค้าปลีกฟู้ดรายใหญ่ของประเทศไทย ร่วมมือกันจัดงาน Experience the Japanese Fresh Fruits and Vegetables Fair” เพื่อเป็นการส่งเสริมการขยายการส่งออกผักและผลไม้ในท้องถิ่น

การจัดงานในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสินค้าส่งออกที่สำคัญในกลุ่มผักและผลไม้ของญี่ปุ่น 7 รายการ (แอปเปิ้ล องุ่น พีช ส้ม สตรอเบอร์รี่ ลูกพลับ และมันหวาน) ไปยัง 6 ประเทศและภูมิภาคในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยใช้เครื่องหมายผลไม้ญี่ปุ่น (Japanese Fruit Mark) ในการส่งเสริมผักและผลไม้ญี่ปุ่นคุณภาพสูง ซึ่งกำหนดเป้าหมายไปที่ครัวเรือนที่มีเด็ก

โดยมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2568 และจะจัดขึ้นที่ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์  5 สาขา ในกรุงเทพมหานคร (ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์ สาขาชิดลม, สาขาบางนา, สาขาลาดพร้าว, สาขาเมกาบางนา, สาขามาร์เช่ ทองหล่อ) ภายใต้ชื่อ “Experience the Japanese Fresh Fruits and Vegetables Fair” งานที่จะจัดขึ้นในระยะเวลา 6 เดือนนี้ ด้วยความร่วมมือกับเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล กรุ๊ป      จะมีการจัดพื้นที่ในการจำหน่ายผลไม้ญี่ปุ่นโดยเฉพาะ เพื่อให้บริการผลไม้สดระดับพรีเมียมจากทั่วประเทศญี่ปุ่น

ด้วยโครงการริเริ่มนี้ ผู้บริโภคชาวไทยจะมีโอกาสได้เพลิดเพลินกับผลไม้ญี่ปุ่นคุณภาพสูงตลอดทั้งปี นอกจากนี้ งานนี้ยังเป็นการส่งเสริมความจริงที่ว่าผลไม้ญี่ปุ่นไม่เพียงเหมาะสำหรับการบริโภคในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังเป็นของขวัญพิเศษได้อีกด้วย การจัดงานในครั้งนี้ เราจะร่วมมือกับตัวละครยอดนิยมของญี่ปุ่นเพื่อปรับปรุงการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องหมายผลไม้ญี่ปุ่น และเพื่อพัฒนาภาพลักษณ์ของผลไม้ญี่ปุ่นให้ดียิ่งขึ้น

สำหรับสโลแกนในครั้งนี้ “ปลูกด้วยความรักและเอาใจใส่ - ผลไม้พรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น คุณภาพรับประกันรอยยิ้ม - (Grown with Love and care -Japanese premium Fruit, Smile-guaranteed Quality-)” ซึ่งสื่อถึงความหมายสองอย่าง คือ ผักและผลไม้ของญี่ปุ่นได้รับการปลูกอย่างพิถีพิถันโดยผู้ผลิต และเด็กๆ ได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักขณะที่รับประทานผักและผลไม้เหล่านี้ เราได้ใส่ความหมายทั้งสองนี้ไว้ในสโลแกน "ปลูกด้วยความรักและความเอาใจใส่ - ผลไม้พรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น คุณภาพที่รับประกันรอยยิ้ม" เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจสิ่งนี้

เมื่อผู้บริโภคชาวไทยเห็นเครื่องหมายผลไม้ญี่ปุ่น ก็จะนึกถึง "ความอร่อยที่อัดแน่น" "คุณภาพสูง" "ความรู้สึกปลอดภัย" "พื้นที่การปลูกและพันธุ์ที่เป็นเอกลักษณ์" และ "คุณประโยชน์ที่คุ้มราคา" ของผลไม้ญี่ปุ่น เรามุ่งมั่นที่จะขยายการบริโภคผักและผลไม้ของญี่ปุ่นในประเทศไทยให้มากขึ้น โดยสร้างความแตกต่างจากผักและผลไม้ที่ผลิตในประเทศอื่นๆ

นอกจากการจัดงานที่ร้านค้าปลีกแล้ว เรายังจัดแคมเปญพัฒนาเมนูผลไม้ญี่ปุ่นเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยร่วมมือกับร้านอาหารไทยยอดนิยม “ยูเอฟโอ โดนัท (UFO Doughnuts)” “ลินซ์ คาเฟ่ (Lynx Café)” และโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ และฮอลิเดย์ อินน์ ในเครือ IHG Group งานนี้จะเป็นการทำงานร่วมกับร้านอาหารไทยที่คัดสรรมาอย่างดีเพื่อพัฒนาเมนูโดยใช้ผักและผลไม้ของญี่ปุ่น และจะยังคงนำเสนอผลไม้สดคุณภาพสูงจากญี่ปุ่นแก่ผู้บริโภคชาวไทยตลอดทั้งปีจากผู้ผลิตทั่วประเทศญี่ปุ่น ด้วยความคิดริเริ่มนี้ เราจะตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโดยใช้ช่องทางร้านอาหารในท้องถิ่น และสร้างโอกาสในการเข้าถึงผักและผลไม้ของญี่ปุ่นเพื่อขยายฐานผู้บริโภคและฐานแฟนคลับใหม่

พัชรา ทวีชัยวัฒนะ (ที่สี่จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารงานลูกค้าและความยั่งยืน บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ร่วมกับ สุรีพร จันทรประสาท (ที่สามจากขวา) ประธานกรรมการชุมชนซอยพระเจน ดร.อิทธิกร ศรีจันบาล (ที่สองจากซ้าย) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ จำกัด และ บริษัท เวสท์บาย เดลิเวอร์รี่ จำกัด รัชฎา อินทรชลิต (ที่สองจากขวา) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดนุเดช อุตสาหกรรม จำกัด กฤทธิ์ ดนุเดชสกุล (ขวา) ผู้บริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ถุงขยะแชมเปี้ยน บริษัท ดนุเดช อุตสาหกรรม จำกัด ม.ล.จิรทิพย์ เทวกุล (ที่สามจากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท Jak Reward Technology ผู้ก่อตั้ง KHAYA ต่อยอดความสำเร็จภายใต้โครงการ “มาหามิตร” เปิดตัว "สถานีแยกขยะชุมชนซอยพระเจน" ช่วยลดขยะกว่าพันกิโลต่อวัน สร้างรายได้หลักหมื่นแก่ชุมชน พร้อมสร้างวินัยการแยกขยะก่อนทิ้งให้เป็นนิสัย มุ่งเป็นต้นแบบการแยกและจัดการขยะในชุมชนต่างๆ ทั่วกรุงเทพ ณ อาคาร 140 Wireless  เมื่อเร็ว ๆ นี้

รัฐบาลพร้อมผลักดันข้อเสนอเร่งเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพิ่มโอกาส ชีวิตดี เศรษฐกิจโต สิ่งแวดล้อมยั่งยืน หลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม กว่า 3,500 คน ร่วมแสดงพลังและระดมสมองในงาน ESG Symposium 2024 มุ่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้ สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เป็นพื้นที่ทดลองสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ โดยเร่งเดินหน้า 4 แนวทาง ได้แก่ ปลดล็อกกฎหมายและข้อกำหนด ผลักดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว พัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว หนุนการปรับตัว เสริมศักยภาพ SMEs รัฐบาลเชื่อมั่นพลังความร่วมมือจะขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมงาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส’ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และรับฟังข้อเสนอร่วม-เร่ง-เปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จากการระดมความคิดทุกภาคส่วน

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนรวมกว่า 3,500 คน ร่วมแสดงพลังและระดมสมองเพื่อหาแนวทางร่วม-เร่ง-เปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ต่อเนื่องจากการขับเคลื่อนในปีที่ผ่านมาซึ่งมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรม ในงาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส’ และได้สรุปเป็นแนวทางนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น ผ่าน 2 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.) การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด พร้อมกับผลักดันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน 2.) ใช้ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย เป็นพื้นที่ทดลองแก้ปัญหาข้อติดขัด ทั้งในเชิงนโยบาย ระบบอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ควบคู่กับการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยสรุปเป็น 4 ข้อเสนอ ดังนี้

  • ปลดล็อกกฎหมายและข้อกำหนด (Law & Regulations) โดยภาครัฐเร่งเปิดเสรีซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงง่ายขึ้น สำหรับโครงการพลังงานสะอาดขนาดใหญ่ กำหนดให้มีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า เพื่อความเสถียรยิ่งขึ้น ภาครัฐนำการจัดทำกฎหมายแม่บทว่าด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนครอบคลุมทั้งระบบ กระตุ้นการบริโภคอย่างยั่งยืน ส่งเสริมผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัสดุทดแทนหรือวัสดุรีไซเคิล และจัดการของเสีย กำหนดมาตรการจูงใจ เช่น ลดภาษีหรือเงินสนับสนุน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมนโยบาย Green Priority’ ให้ความสำคัญกับการใช้สินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐนำร่องจัดซื้อ จัดจ้าง เพื่อส่งเสริมการใช้สินค้ากรีนและสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) เข้มแข็ง
  • ผลักดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว (Green Finance) โดยสนับสนุนงบประมาณพัฒนาบุคลากรของผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถขึ้นทะเบียนคาร์บอน ที่เป็นมาตรฐานสากล และจัดตั้งหน่วยงานในประเทศให้สามารถรับรองมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการทำคาร์บอนเครดิต เพื่อนำไปขอเงินทุนสีเขียว โดยเอสซีจีพร้อมเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน และเป็นตัวกลางประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ
  • พัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Technology & Green Infrastructure) โดยรัฐสนับสนุนการใช้และพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่กักเก็บความร้อน (Heat Battery) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงโครงสร้างและผลักดันการใช้โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำพื้นที่ว่างมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานสะอาด และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบสายส่งไฟฟ้าให้เพียงพอกับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด นอกจากนี้เร่งปรับปรุงระบบขนส่งสีเขียวครบวงจร ให้ใช้พลังงานสะอาดและประหยัดพลังงาน ลดต้นทุน ลดเวลา เช่น ใช้ระบบวิเคราะห์เส้นทาง วิเคราะห์การบรรทุกสินค้าที่เหมาะสม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะ ส่งเสริมการแยกขยะเปียกและขยะแห้ง โดยจัดตั้งศูนย์คัดแยกและจัดการขยะที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม เช่น เทคโนโลยีการคัดแยก ระบบบำบัดและจัดการขยะเหลือทิ้ง
  • สนับสนุนการปรับตัว เสริมศักยภาพการแข่งขัน SMEs พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดต้นทุน ส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Automation) และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs

“อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าว จะเห็นผลเป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับบริบทประเทศไทยยิ่งขึ้น หากรัฐบาลสนับสนุนการเดินหน้า ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (Public–Private–People Partnership) และนำทั้ง 4 ข้อเสนอมาปฏิบัติในพื้นที่จริง ซี่งจะทำให้เห็นโอกาสและข้อจำกัด แนวทางแก้ไข โดยรัฐบาลส่งเสริมกระจายอำนาจการตัดสินใจและการดำเนินงานสู่หน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อลดขั้นตอนและความไม่ชัดเจนในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนทุกด้านมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะเป็นโอกาสขยายผลไปสู่จังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศในอนาคต”

นายธรรมศักดิ์ กล่าวต่อว่า “คณะจัดงานขอขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่ให้เกียรติมาร่วมงาน และรับฟังข้อเสนอจากพวกเราทุกภาคส่วนในวันนี้ เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนและมีศักยภาพทางการแข่งขันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่สละเวลา ทุ่มเท มุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างบูรณาการตลอดมา เอสซีจีและพันธมิตรทุกภาคส่วนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนข้อเสนอข้างต้นไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง”

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “ข้อเสนอในวันนี้ รัฐบาลจะรับไป สิ่งใดที่สามารถทำได้จะประสานงานโดยเร็ว สิ่งใดต้องการความร่วมมือกับส่วนที่เกี่ยวข้อง เรายินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน นอกจากสิ่งที่รัฐจะทําแล้ว ภาคธุรกิจเองจะต้องปรับตัว แสวงหาโอกาส และเสริมสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อเป้าหมาย Net Zero โดยบูรณาการมาตรการเพื่อความยั่งยืน หรือ ESG เพื่อสร้างการเติบโตที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน เราทุกคนจะร่วมกันเปลี่ยนความท้าทาย แรงกดดัน และข้อจํากัด เป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน คือหัวใจแห่งความสําเร็จ รัฐบาลจะเร่งขับเคลื่อนทุก ๆ นโยบายสําคัญ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่การเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

งาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส’ จัดขึ้นวันที่ 30 กันยายน 2567 ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวลา 11.00-16.30 น. โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทุกภาคส่วน และมีวิทยากรระดับโลกร่วมแบ่งปันประสบการณ์และตัวอย่างที่หลากหลายในการเปลี่ยนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมชมนิทรรศการจำลองการใช้ชีวิตแบบโลว์คาร์บอน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.scg.com 

แท็บเล็ตจอใหญ่ 11 นิ้ว แบตอึด ลำโพงกระหึ่มถึง 4 ตัว ราคาเริ่มต้นเพียง 4,999 บาท

พร้อมทั้งวิธีและขั้นตอนในการยื่นขอรับชำระหนี้ของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้แก่ ตัวแทน – นายหน้าประกันภัย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต จังหวัดกาญจนบุรี

เจโทร กรุงเทพฯ ได้จัด “งานฟอรั่มเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 70 ปีจัดตั้งเจโทร กรุงเทพฯ” ในวันที่ 24 กันยายน ที่ผ่านมา โดยมีแขกผู้มีเกียรติจากภาครัฐ หน่วยงานภาครัฐ และผู้แทนจากภาคธุรกิจของทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นมาร่วมงานมากกว่า 200 ท่าน

นาย อิชิกุโระ โนริฮิโกะ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chairman and CEO) เจโทร สำนักงานใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้กล่าวเปิดงานว่า ผมหวังว่างานฟอรั่มวันนี้จะช่วยเร่งการเริ่มต้นใหม่เพื่อบรรลุการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันของทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น “การแก้ไขปัญหาสังคมโดยการร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation)”  และโดยนาย คุโรดะ จุนอิจิโร่ ประธานเจโทร กรุงเทพฯได้เล่าย้อนกิจกรรมที่ดำเนินมาในอดีตตลอดช่วงเวลา 70 ปีที่ผ่านมา เช่น การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม โครงการความร่วมมือ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” และการมีส่วนร่วมฟื้นฟูในเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นต้น และแนะนำการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม และความพยายามเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonization) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

ในฐานะผู้แทนนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ฯพณฯ นายพิชัย นริพทะพันธุ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ให้เกียรติมาร่วมงานและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พิพัฒน์ รัชกิจประการ ได้ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดี โดยได้มอบข้อความที่เปี่ยมด้วยพลังว่า ขอแสดงความขอบคุณสำหรับกิจกรรมที่ผ่านมาของเจโทร และคาดหวังว่าเจโทรจะยังคงมีบทบาทในการ ”เชื่อมประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น” ต่อไป

งานฟอรั่มดำเนินต่อด้วยการอภิปราย (Panel Discussion) และได้รับเกียรติจากท่านผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านที่มีบทบาทในหลากหลายสาขาตั้งแต่เศรษฐกิจสีเขียว สุขภาพและการดูแลสุขภาพ ไปจนถึงสาขาอวกาศ ขึ้นเวทีและให้ความคิดเห็นที่หลากหลายเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และความคาดหวังต่อเจโทร

ในช่วงถ้ดมาเป็น pitch event “Startup-Showcase” ได้รับเกียรติจากบริษัทสตาร์ทอัพ 6 บริษัทจากสาขาต่างๆขึ้นมานำเสนอ ซึ่งทุกบริษัทแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาให้โลกและแก้ไขปัญหาสังคมที่กำลังเผชิญอยู่ ตลอดจนการนำเสนอที่สัมผัสได้ถึงความมั่นใจในเทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจของแต่ละบริษัท และเจโทรพร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรและบริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่มาร่วมในงานฟอรั่มนี้เพื่อให้ความสำเร็จของแต่ละบริษัทนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาสังคมของทั้งสองประเทศ

ในโอกาสครบรอบ 70 ปี เจโทรได้ลงนามต่ออายุและลงนามบันทึกความร่วมมือใหม่กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐญี่ปุ่นที่รับผิดชอบการพัฒนาและใช้ประโยชน์การสำรวจอวกาศของประเทศญี่ปุ่น เจโทรลงนามบันทึกความร่วมมือกับสกพอ.เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 และได้ต่ออายุบันทึกความร่วมมือเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 และในบันทึกความร่วมมือฉบับใหม่นี้ได้เพิ่มขอบเขตความร่วมมือใหม่ เช่น การสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆเชิงธุรกิจ (commercialization) ในประเทศไทย การส่งเสริมสตาร์ทอัพ (Start-up)ในสาขาที่สอดคล้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่สกพอ.ให้ความสำคัญลำดับต้นและการลงนามบันทึกความร่วมมือกับ JAXA เพื่อส่งเสริมการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยและการร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation)ระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและไทยในเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจอวกาศผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การจัดงานอีเวนท์ และการสร้างโอกาสการเจรจาธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้น เจโทรกำลังจัดเตรียมลงนามต่ออายุบันทึกความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) 

ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา เจโทร กรุงเทพฯได้ปรับเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย แต่สิ่งที่เจโทรยังคงมุ่งมั่นมิเปลี่ยนแปลงคือ “การเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น”และเจโทรหวังว่างานฟอรั่มนี้จะมีส่วนเฉลิมฉลองการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ๆและเจโทรเองก็จะมุ่งมั่นกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอย่างเต็มความสามารถ

TikTok เผยกลยุทธ์การตลาดแบบครบวงจรและชุดเครื่องมือที่ขับเคลื่อนด้วย AI มุ่งผลักดันแบรนด์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ยกระดับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ และกระตุ้นการเพิ่มยอดขาย พร้อมเตรียมปล่อยคู่มือด้านการขายและการสร้างแบรนด์เพิ่มผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น เร็วๆ นี้

ดร.ชนะ ภูมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ - การบริหารความยั่งยืน เอสซีจี ร่วมเป็น Keynote Speaker เรื่อง Green Infrastructure ในงาน SETA 2024 มุ่งนำเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS)  และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Infrastructure)  มาใช้กับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว  ลดค่าใช้จ่าย รวมทั้งเข้าถึงคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

เอสซีจีในฐานะองค์กรผู้นำด้าน ESG ของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  โดยร่วมแสดงวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับ “เทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน” (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ในอนาคต   และ “โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” (Green Infrastructure) เช่น ข้อมูลสายส่ง สำหรับพลังงานสะอาด มาใช้กับกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ทั้งรวดเร็ว  ลดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)  ทั้งนี้ การร่วมบรรยาย แลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศ และพลังงานผันผวน   เป็นหนึ่งในการระดมสมองเพื่อหาวิธีการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกของเรา

งานแสดงพลังงานและเทคโนโลยีที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย (Sustainable Energy Technology Asia 2024)   หรือ SETA 2024  จัดขึ้นภายใต้แนวคิดหลัก Low Carbon & Sustainable ASEAN Economy ประกอบด้วย งานแสดงเทคโนโลยีแสงอาทิตย์และระบบการกักเก็บพลังงาน (Solar+Storage Asia 2024) งานยานยนต์อนาคตของเอเชีย (Sustainable Mobility Asia 2024) งานแสดงสินค้าทางด้านอุตสาหกรรม  เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม (FTI Energy Expo 2024) งานฟอรั่มในระดับรัฐมนตรีและระดับผู้นำในภาคตะวันออกและอาเซียน The Fourth Asia CCUS Network Forum และงานประชุมวิชาการเรื่องเซลล์แสงอาทิตย์ไทย ครั้งที่ 1 (The Thai Photovoltaic Science and Engineering Conference)  ตั้งแต่ปี 2016 SETA มีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานของอาเซียนและเอเชีย และมุ่งสร้างการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) ซึ่งประสบความสำเร็จ ได้รับความร่วมมืออย่างดีตลอด 8 ปีที่ผ่านมา 

X

Right Click

No right click