ยูนิลีเวอร์ องค์กรชั้นนำระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างยั่งยืน

บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ร่วมรณรงค์วันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศ คนหลากหลายทางเพศ และคนข้ามเพศ (IDAHOBIT) เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันในที่ทำงาน สามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างมีอิสระ และไม่มีข้อจำกัด ผ่านกิจกรรม “IDAHOBIT – Together Always: United in Diversity” นำโดย คุณแซลลี่ โอฮาร่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (คนที่ 2 จากซ้าย) และ คุณบุปผาวดี โอวรารินท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและภาพลักษณ์องค์กรและการสื่อสารองค์กร (คนที่ 2 จากขวา) ร่วมรณรงค์วันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนรักสองเพศ คนหลากหลายทางเพศ และคนข้ามเพศ (IDAHOBIT) ต้อนรับลูกค้า และพนักงาน พร้อมกล่าวถึงความสำคัญของสิทธิเท่าเทียมกัน และความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการส่งเสริมความเท่าเทียม และความหลากหลาย ภายใต้ธีมของปีนี้ คือ “Together Always: United in Diversity รวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อความแตกต่างที่หลากหลาย” เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกทางเพศของตนได้อย่างอิสระ โดยปราศจากความรุนแรงทางจิตใจหรือร่างกาย

โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก คุณปอย-ตรีชฎา หงส์หยก (คนกลาง) มาร่วมพูดคุยเรื่องความหลากหลาย และเติบโตไปด้วยกัน ทั้งนี้ กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ขอเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ร่วมเป็นกระบอกเสียง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ภายใต้แนวคิด I&D (Inclusion and Diversity) ในการสนับสนุนให้ทุกคนเป็นตัวของตัวเองในที่ทำงาน (Be Yourself At Work) เพราะเราเชื่อว่า เมื่อทุกคน ได้เป็นตัวของตัวเอง ได้เป็นอิสระในสิ่งที่อยากเป็น ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพภายในของตัวเองได้อย่างเต็มที่ และพัฒนาองค์กรของเราให้เติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทฯ พร้อมอยู่เคียงข้างทุกความเชื่อมั่น ดูแลกันตลอดไป

กรุงเทพฯ (18 พฤษภาคม 2566) – อากาศหนาว คือ ห้วงเวลาแห่งความสุขของคนไทยส่วนใหญ่ แต่รู้หรือไม่ยังมีคนบางกลุ่มในประเทศไทยที่อากาศหนาวมิได้หมายถึงห้วงเวลาแห่งความสุข แต่กลับเป็นความทุกข์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงและป้องกันได้ ในทุกๆ ปี ประเทศไทยของเรายังคงมีผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวจำนวนมาก และคนในพื้นที่ประสบภัยหนาวส่วนใหญ่ ไม่มีแม้เสื้อผ้าที่คอยมอบความอบอุ่นได้เพียงพอ

ยูนิโคล่ ตระหนักถึงความลำบากของผู้ที่ประสบภัยหนาวของประเทศไทย จึงมีความตั้งใจและตั้งเป้าหมายที่จะรวบรวมเสื้อกันหนาว จำนวน 50,000 ตัว ภายในปี 2566 เพื่อนำไปบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยหนาวภายในประเทศ ผ่านโครงการ ‘RE.UNIQLO’ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการ RECYCLEและ REUSE เสื้อผ้าที่ใม่จำเป็นแล้ว โดยในปีนี้ เสื้อกันหนาวที่เราได้รับ จะถูกส่งต่อผ่านมูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิบ้านร่มไทร และ UNHCR เพื่อกระจายเสื้อกันหนาวไปให้ถึงมือผู้รับ ยูนิโคล่เชื่อในพลังแห่งเสื้อผ้าว่าสามารถสร้างอนาคตที่ดีขึ้นได้

ยูนิโคล่ จึงขอเชิญชวนคนไทยมาร่วมกันบริจาคเสื้อกันหนาว และเสื้อแขนยาวทุกชนิดที่ท่านอาจไม่ได้ใช้งานแล้ว เพื่อร่วมกันส่งต่อเสื้อผ้าเหล่านี้ไปให้กับผู้ที่ยังขาดแคลนและมีความจำเป็นต้องใช้งาน เพื่อร่วมกันมอบความอบอุ่นให้แก่ผู้ที่ประสบภัยหนาว และป้องกันเหตุผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวที่จะมาถึงเพราะเสื้อกันหนาวเพียง 1 ตัวของคุณ อาจมีค่ามากสำหรับผู้ประสบภัยหนาวให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในโครงการ RE.UNIQLO นำเสื้อกันหนาวตัวเก่าของคุณ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใดก็ตาม ไปบริจาคที่กล่องรับบริจาคเสื้อผ้า ณ ร้านยูนิโคล่ทุกสาขาได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดูตำแหน่งสาขาได้ที่ https://map.uniqlo.com/th/th/ และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับแคมเปญ RE.UNIQLO ได้ที่ https://www.uniqlo.com/th/th/news/topics/2023042801/

ปูนซีเมนต์นครหลวง ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้โครงการโรงเรียนสีเขียว เป็นปีที่ 14 ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อสร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มาแล้วกว่า 33 แห่ง ด้วยวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2573” ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ของคนไทย ล่าสุดได้รับเข็มเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาตำรวจตระเวนชายแดน ประจำปี 2566

ดร.สุนีย์ ศรไชยธนะสุข กรรมการอิสระและประธานคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปูนซีเมนต์นครหลวงมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา โดยปัจจุบันได้ร่วมมือ กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สร้างโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กๆที่ด้อยโอกาส ในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้โครงการโรงเรียนสีเขียว มาเป็นปีที่ 14 ด้วยวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปี 2573” ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย มากว่า 20 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนเยาวชนที่ด้อยโอกาสให้เข้าถึงโอกาส ในการศึกษาอย่างเท่าเทียม

ทั้งนี้ โรงเรียนสีเขียวได้ดำเนินการก่อสร้างล่าสุดคือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนปูนอินทรี-มูลนิธิกรุงศรี อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งที่ 33 ของโครงการ โดยมีมูลนิธิกรุงศรีได้ร่วมสนับสนุนการก่อสร้างโรงเรียนดังกล่าวอีกด้วย

“รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ถือเป็นกำลังใจและแรงผลักดันให้ปูนซีเมนต์นครหลวง ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา สร้างขวัญและกำลังใจต่อการศึกษาของเยาวชน เพื่อต่อยอดและพัฒนาสู่การเป็นบุคลากรที่ดีของประเทศในอนาคต และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยโครงการยังมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม” ดร.สุนีย์ กล่าว

 

เอไอเอ ประเทศไทย โดย นายนายสุวิรัช พงศ์เสาวภาคย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลธุรกิจด้านกฎหมายและกิจการภายนอก เป็นตัวแทนรับโล่ประกาศเกียรติคุณ จาก พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี และประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในการที่เอไอเอ ประเทศไทย มีส่วนร่วมสนับสนุนกรมธรรมธ์ประกันอุบัติเหตุจำนวน 111 กรมธรรม์ ให้แก่เจ้าหน้าที่และทหารเรือที่ปฏิบัติงานวางปะการังและบ้านปลาบริเวณหน้าหาดทิศตะวันออกของเกาะแสมสาร 

ภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรและวางปะการัง เกาะแสมสาร เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยโครงการดังกล่าว มุ่งดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในแนวปะการัง บริเวณเกาะแสมสาร รวมทั้งยกระดับความสำคัญพื้นที่หมู่เกาะแสมสารให้เป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล เกิดความเชื่อมโยงของระบบนิเวศป่าชายเลน ป่าชายหาด พื้นทราย สาหร่าย หญ้าทะเล บ้านปลา และแนวปะการัง ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจในด้าน ESG ของเอไอเอ ที่มุ่งมั่นรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนให้แก่สังคม

โดยถือเป็นหนึ่งในแนวทางการดำเนินงานที่เอไอเอให้ความสำคัญมาโดยตลอด ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives - เพื่อสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น’ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้น ณ อ. สัตหีบ จ. ชลบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้

ปูนซีเมนต์นครหลวง ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ภายใต้โครงการโรงเรียนสีเขียว เป็นปีที่ 14

บริษัท ยู.เอส.สัมมิท (โอเวอร์ซีส์) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย สินค้าแม่และเด็ก ภายใต้แบรนด์เพียวรีน (PUREEN)

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ปลูกฝังพนักงาน ร่วมสร้างคุณค่าสู่สังคมและชุมชน เดินหน้าสร้างสรรค์โครงการเพื่อชุมชนและสังคมต่อเนื่อง มอบรางวัล Sustainability in Action 2022 รวม 69 โครงการ  แก่บุคลากรที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่เป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทที่คำนึงถึงการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพบนมาตรฐานการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม มุ่งมั่นปลูกฝังพนักงานร่วมสร้างคุณค่าทางสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยจัดการประกวดรางวัล CPF ยั่งยืนได้ด้วยมือเรา หรือ CPF Sustainability in Action Awards ขึ้นตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืน “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และตินน้ำป่าคงอยู่” เพื่อส่งเสริม สนับสนุน คัดเลือกโครงการที่สร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงานของทุกสายธุรกิจ

  

“พนักงานทุกคน ถือเป็นตัวแทนของบริษัทในการนำวิสัยทัศน์และความตั้งใจของซีพีเอฟไปสู่สังคม ด้วยการร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับชุมชน ซึ่งการทำธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น จะต้องคำนึงถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งหมด เพื่อให้ธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ตามปรัชญา 3 ประโยชน์ ประเทศได้ประโยชน์ ประชาชนได้ประโยชน์ และบริษัทจึงจะได้ประโยชน์ โดยมุ่งพัฒนาบริษัทให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม นอกจากจะทำให้ธุรกิจพัฒนาและประสบความสำเร็จ ซึ่งเท่ากับผู้บริโภคจะได้รับสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ดีจากบริษัทแล้ว ทุกคนต้องช่วยกันดูแลคนในสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกันด้วย” นายประสิทธิ์ กล่าว  

นอกจากนี้ ธุรกิจไม่เพียงต้องคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เท่านั้น ธุรกิจจะยั่งยืนได้ต้องมีความสมดุลระหว่าง 3องค์ประกอบหลักของความยั่งยืน ตาม BCG Model ทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ตลอดจนความสำคัญของลูกค้า ผู้บริโภค และธรรมาภิบาล สิ่งเหล่านี้นับเป็นองค์ประกอบที่เป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างความรัก ความผูกพัน  ความเชื่อมั่นให้กับชุมชน  สังคม ผู้บริโภค  ตลอดจนคู่ค้า และผู้ถือหุ้น ดังนั้น ใน ควบคู่กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ การประกวดฯในปี 2566 มีการยกระดับกระบวนการประกวดให้เข้มข้นขึ้น ทั้งการฝึกอบรมด้านการเขียนโครงการ และการนำเสนอแบบ Pitching ตลอดจนการพิจารณารางวัลจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานคิดสร้างสรรค์โครงการที่ดีอย่างต่อเนื่อง สอดรับตาม BCG Model นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับชุมชน รวมถึงการพัฒนาโครงการให้เกิดนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation) และดำเนินโครงการให้มีความต่อเนื่องสร้างคุณค่าทางสังคม เกิดเป็นผลกระทบทางสังคม (Social Impact) ในเชิงบวก ตามเป้าหมาย CPF 2030 Sustainability in Action และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 7 ด้าน ได้แก่ หลักการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ความมั่นคงทางอาหาร สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน พนักงานและชุมชน การดูแลทรัพยากรน้ำ การรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ

โครงการบ่มเพาะกิจการเพื่อสังคมที่อยู่กับสังคมไทยมานานกว่า 12 ปี อย่างโครงการ Banpu Champions For Change (BC4C) โดยบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ และสถาบัน ChangeFusion องค์กรไม่แสวงผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่บุกเบิกและบ่มเพาะเหล่ากิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ไปกว่า 119 กิจการ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในกลุ่มคนเบื้องหลังที่มีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันกิจการเพื่อสังคมเหล่านั้นก็คือ “คณะกรรมการ”

คณะกรรมการในโครงการ BC4C ไม่ใช่แค่ผู้คัดเลือกเท่านั้น แต่หลายครั้งที่บรรดากิจการเพื่อสังคมได้เจอจุดเปลี่ยนในการทำธุรกิจ หรือได้ไอเดียต่อยอดในการทำธุรกิจมาจากคำถามหรือข้อแนะนำจากเหล่าคณะกรรมการ โครงการ BC4C จึงสรรหาคณะกรรมการผู้คร่ำหวอดในแวดวงกิจการเพื่อสังคม ที่จะสามารถให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจได้อย่างรอบด้าน มองขาดทั้งปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบที่มีต่อธุรกิจ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และจุดประกายไอเดียเพื่อเร่งเครื่องธุรกิจ SE ให้ไปได้ไกลและเร็วกว่าเดิม

  • ไม่ใช่แค่ Passion แต่ต้องอินไซต์ปัญหา-เข้าถึงชุมชนให้เป็นด้วย

คุณสินี จักรธรานนท์ ประธานมูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีสาขาใน 38 ประเทศทั่วโลก ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีที่อโชก้า คุณสินีจึงมีความเข้าใจปัญหาสังคมที่ลึกซึ้ง มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการทำงานใกล้ชิดกับชุมชน มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่ต่างๆ

“ที่ผ่านมาเราเห็นผู้ประกอบการบางกลุ่มมี Passion ในการทำงานอย่างแรงกล้า แต่ยังไปไม่ถึงความสำเร็จ ไม่ใช่ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นไม่ดี แต่อาจจะยังไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ซึ่งสิ่งที่เป็นชิ้นส่วนที่ขาดหายไปคือ ‘การเข้าถึงชุมชนหรือกลุ่มคนเหล่านั้น’ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกต่างๆ และหยิบนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาต่อยอดและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เรามีความถนัด ซึ่งการคัดเลือกทีม SE ที่จะผ่านเข้ารอบในครั้งนี้ ก็จะนำมิติด้านการทำงานกับชุมชนเพื่อให้เข้าใจปัญหาสังคมอย่างถ่องแท้เข้ามามีส่วนในการประเมินด้วย”

  • “สร้างคุณค่าทางธุรกิจไปพร้อมกับการสร้างคุณค่าทางสังคม”

คุณภาวินท์ สุทธพงษ์ CEO บริษัท SpotON International Group - กูรูผู้คลุกคลีวงการบ่มเพาะและการวางแผนธุรกิจกว่า 15 ปี มีส่วนช่วยสร้างสตาร์ทอัพมากว่า 400 ธุรกิจ ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับรางวัล การแข่งขันสตาร์ทอัพระดับโลก ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการ   คนรุ่นใหม่ทำให้คุณภาวินท์ทราบถึงปัญหาและกลยุทธ์ในการเอาชนะอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นของธุรกิจเพื่อให้เดินต่อไปได้ คุณภาวินท์จึงเป็นทั้ง ‘กรรมการและเมนเทอร์’ ในโครงการ BC4C มาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 รุ่น

“ผมได้เห็นคนรุ่นใหม่หรือผู้ประกอบการมีการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคมมาโดยตลอด แต่บางคนอาจโฟกัสเรื่องการเติบโตมากไปจนอาจลืมมองกลับมาว่าธุรกิจที่เราทำนั้นสามารถสร้างคุณค่าแก่สังคมได้ อยากให้มองภาพการทำธุรกิจอย่างรอบด้านให้กว้างมากขึ้นและเปิดใจกับการก้าวเข้ามาเป็นกิจการเพื่อสังคม ส่วนคนที่เข้าใจเรื่องกิจการเพื่อสังคมอยู่แล้วนั้น สิ่งที่ควรตระหนักคือ การสร้างคุณค่าและการเติบโตของธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งหากธุรกิจเราเติบโตได้อย่างยั่งยืน นั่นหมายความว่าเราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสังคมหรือส่งมอบสิ่งที่ดีให้สังคมได้ดียิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน”

  • “ยึด 3 หลัก: Insight - Solution - Sustaining Model” หนุนธุรกิจ

คุณอธิชา ชูสุทธิ์ นักพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) – ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลอินโนเวชัน เบื้องหลังผู้วางแผนการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตลอดจนการให้คำปรึกษาแนะนำในการดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัลของ NIA

“เราเน้นย้ำถึง ‘3 องค์ประกอบหลัก’ ที่ทำให้ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ ‘Insight’ ความเข้าใจและองค์ความรู้ที่มีต่อประเด็นปัญหาที่ตนสนใจ ‘Solution’ การพัฒนาและคัดเลือกโซลูชันที่นำไปสู่นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ประเด็นปัญหาหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างเป็นรูปธรรม และ ‘Sustaining Model’ การพัฒนาแนวทางการขยายผลที่จะทำให้ธุรกิจของตนสามารถเติบโตต่อได้และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ก็จะถูกนำมาใช้ทั้งในการคัดเลือกและเป็นหลักแนะนำให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ BC4C ตามบริบทที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละกิจการ”

  • “วิเคราะห์บริบทของปัญหาที่รอบด้าน ‘กว้าง-ชัด-ลึก”

คุณภัฏ เตชะเทวัญ ผู้ก่อตั้ง TP Packaging Solution - อดีตผู้ชนะเลิศจากใน BC4C รุ่นที่ 6 ผู้ซึ่งเคยได้รับการบ่มเพาะจนในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง เป็นหนึ่งในผู้นำด้านนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมแถวหน้าของเมืองไทย ได้นำประสบการณ์จริงของตัวเองมาช่วยสรรหา SE ในโครงการ BC4C

 “ผมเห็นว่าสิ่งที่ช่วยให้ SE ประสบความสำเร็จมี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การมี ‘มุมมองที่กว้าง (Big Wide) ชัด และลึก’ กล่าวคือมีพื้นฐานของการมองเห็นปัญหาลึกซึ้ง เข้าใจถึงแก่นแท้ของปัญหา มี Passion ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามแนวทางของตนเอง และ ‘มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ที่สูงในทุกบริบทของปัญหา’ คือสามารถรู้เหตุของปัญหา รู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ และสามารถเสนอแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ตลอดจนรู้ถึงผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบอย่างรอบด้าน อย่างเช่นโมเดลธุรกิจของผมสมัยที่เข้าประกวด BC4C นั้น ได้หยิบยกปัญหา ‘โฟม’ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนมาเป็นตัวตั้งต้น เนื่องจากหลายภาคส่วนเน้นการรณรงค์เลิกใช้โฟมในภาคประชาชน แต่มันไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้คนเลิกใช้โฟมได้เพราะพวกเขาไม่มีสิ่งทดแทน เราจึงสร้างทางเลือกใหม่ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อทดแทนโฟม เป็นต้น”

คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส - สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “BC4C ในปีที่12 มาพร้อมกับแนวคิด “Champions of the Future Drive: แชมป์ผู้ขับเคลื่อนอนาคต” เราให้ความสำคัญในการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ เขาคืออนาคตของชาติ เขาคือคนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมท่ามกลางโลกที่มีพลวัตและความไม่แน่นอน ต้องขอขอบคุณคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพ SE ในประเทศไทย เรามีความมั่นใจในกระบวนการคัดเลือก และองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งกรรมการและเมนเทอร์ว่าจะสามารถนำพาผู้ประกอบการ SE ให้เพิ่มศักยภาพตัวเองเพื่อไปต่อยอดกิจการให้สามารถช่วยเหลือคุณภาพชีวิตผู้คนได้ต่อๆ ไป”

ด้าน คุณสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวยการสถาบัน ChangeFusion กล่าวเสริมว่า “โครงการ BC4C ได้บ่มเพาะและผลักดันผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 แล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้เห็นพัฒนาการของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทยที่มีหลากหลายครอบคลุมหลายมิติทางสังคมและมีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น ซึ่งเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในฐานะผู้ร่วมดำเนินโครงการและในฐานะกรรมการที่ได้ร่วมคัดสรร SE รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเข้ามาร่วมบ่มเพาะ ติดอาวุธทางความคิดอย่างรอบด้านไปกับโครงการฯ เพื่อให้พวกเขามีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน และเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผนึกกำลังสร้างเครือข่าย SE ในประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปอีกด้วย”

สำหรับผู้ประกอบการ SE หรือผู้สนใจในกิจการเพื่อสังคม สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Banpu Champions for Change ได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/banpuchampions หรือติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 087-075-4815

นายนภดล รมยะรูป กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซีเมนต์เอเซีย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง การเปิดตัว ปูนบัว GO GREEN ปูนรักษ์โลก ลดโลกร้อน

X

Right Click

No right click